......ตั้งอยู่เลขที่ 163 บ้านผางยอย หมู่ที่ 3 ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1358
อาณาเขต
ทิศเหนือประมาณ 160 เมตร จดถนนสาธารณประโยชน์
ทิศใต้ประมาณ 150 เมตร จดที่นาของราษฎร
ทิศตะวันออกประมาณ 90 เมตร จดถนนสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตกประมาณ 70 เมตร จดถนนสาธารณประโยชน์
มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 งาน 25 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1307
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กุฏิสงฆ์ วิหาร ศาลาบำเพ็ญบุญ ศาลาโรงทานและโรงครัว
ปูชนียวัตถุมี เจดีย์
......วัดผางยอย สร้างเมื่อ พ.ศ.2407 ทางวัดแจ้งในแบบกรอกประวัติวัดว่า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2477
เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 3.50 เมตร ยาว 7.50 เมตร
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ 1 พระอธิการอินถา พ.ศ.2445-2459
รูปที่ 2 พระอธิการคาต พ.ศ.2460-2479
รูปที่ 3 พระอิ่นแก้ว พ.ศ.2480-2486
รูปที่ 4 พระอธิการดวงแก้ว ถาวโร พ.ศ.2487-2495
รูปที่ 5 พระพรหมา พ.ศ.2496-2498
รูปที่ 6 พระรักเกียรติ พ.ศ.2499-2501
รูปที่ 7 พระอธิการนิคม กนฺตสีโล พ.ศ.2502-2511
รูปที่ 8 พระอธิการสุพรรณ ฐิตงฺกุโร พ.ศ.2512-2522
รูปที่ 9 พระละออ พ.ศ.2522-2523
รูปที่ 10 พระสมุห์ อินถา สมฺปุณฺโณ พ.ศ.2523....
วัดผางยอยเป็นวัดโบราณในสมัยก่อนเวียงกุมกามกว่าพันปีมาแล้ว เป็นวัดร้างมานานมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา
ท่านครูบาสิทธิได้มาแผ้วถางและบูรณะขึ้นมาใหม่ ณ เวลานั้นคงเหลือพระเจดีย์อยู่เพียงครึ่งองค์ ส่วนทั้งพระอุโบสถและพระวิหารนั้นก็เหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้น
การที่วัดนี้ได้ชื่อว่า "วัดผางยอย" นั้น สืบเนื่องมาจากลักษณะที่ตั้งของปูชนียสถานในวัดแห่งนี้นั่นเอง
เอกลักษณ์อันโดดเด่นของวัดนี้คือองค์พระเจดีย์ ประดิษฐานอยู่เป็นศูนย์กลางระหว่างพระอุโบสถซึ่งประดิษฐานทางทิศตะวันออก
และพระวิหารซึ่งประดิษฐานทางทิศตะวันตก เรียงรายอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด เหมือนลักษณะของเครื่องชั่งตวงโบราณ ที่เรียกว่า "ยอย"
ด้วยเหตุนี้คำว่า "ผางยอย" จึงน่าจะหมายถึง "ความยุติธรรม" นั่นเอง
เมื่อครั้งที่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดผางยอยอยู่นั้น เล่ากันว่ามีถ้ำอยู่ในวัดนี้ด้วย ในเวลาที่ฝนตก น้ำฝนจะไหลลงไปในโพรงถ้ำนั้นหมด
แต่เมื่อเวลาล่วงเลยไปนานวัน น้ำได้พัดพาเอากรวด หิน ดิน ทราย ไปปิดโพรงนั้นเสีย เพราะในเวลานั้นยังไม่มีใครคอยดูแล
ส่วนเหตุที่พระเจดีย์ในวัดนี้ ปรากฏศิลปกรรมแบบพม่า ปรากฏเรื่องเล่าขานกันด้วยว่า คหบดีผู้ใจบุญที่ให้การสนับสนุนการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดผางยอยในเวลานั้นเป็นชาวพม่า
วัดผางยอยมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 งาน 25 ตารางวา
เชียงใหม่-นำชมวัดผางยอย
......ตั้งอยู่เลขที่ 163 บ้านผางยอย หมู่ที่ 3 ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1358
อาณาเขต
ทิศเหนือประมาณ 160 เมตร จดถนนสาธารณประโยชน์
ทิศใต้ประมาณ 150 เมตร จดที่นาของราษฎร
ทิศตะวันออกประมาณ 90 เมตร จดถนนสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตกประมาณ 70 เมตร จดถนนสาธารณประโยชน์
มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 งาน 25 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1307
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กุฏิสงฆ์ วิหาร ศาลาบำเพ็ญบุญ ศาลาโรงทานและโรงครัว
ปูชนียวัตถุมี เจดีย์
......วัดผางยอย สร้างเมื่อ พ.ศ.2407 ทางวัดแจ้งในแบบกรอกประวัติวัดว่า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2477
เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 3.50 เมตร ยาว 7.50 เมตร
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ 1 พระอธิการอินถา พ.ศ.2445-2459
รูปที่ 2 พระอธิการคาต พ.ศ.2460-2479
รูปที่ 3 พระอิ่นแก้ว พ.ศ.2480-2486
รูปที่ 4 พระอธิการดวงแก้ว ถาวโร พ.ศ.2487-2495
รูปที่ 5 พระพรหมา พ.ศ.2496-2498
รูปที่ 6 พระรักเกียรติ พ.ศ.2499-2501
รูปที่ 7 พระอธิการนิคม กนฺตสีโล พ.ศ.2502-2511
รูปที่ 8 พระอธิการสุพรรณ ฐิตงฺกุโร พ.ศ.2512-2522
รูปที่ 9 พระละออ พ.ศ.2522-2523
รูปที่ 10 พระสมุห์ อินถา สมฺปุณฺโณ พ.ศ.2523....
วัดผางยอยเป็นวัดโบราณในสมัยก่อนเวียงกุมกามกว่าพันปีมาแล้ว เป็นวัดร้างมานานมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา
ท่านครูบาสิทธิได้มาแผ้วถางและบูรณะขึ้นมาใหม่ ณ เวลานั้นคงเหลือพระเจดีย์อยู่เพียงครึ่งองค์ ส่วนทั้งพระอุโบสถและพระวิหารนั้นก็เหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้น
การที่วัดนี้ได้ชื่อว่า "วัดผางยอย" นั้น สืบเนื่องมาจากลักษณะที่ตั้งของปูชนียสถานในวัดแห่งนี้นั่นเอง
เอกลักษณ์อันโดดเด่นของวัดนี้คือองค์พระเจดีย์ ประดิษฐานอยู่เป็นศูนย์กลางระหว่างพระอุโบสถซึ่งประดิษฐานทางทิศตะวันออก
และพระวิหารซึ่งประดิษฐานทางทิศตะวันตก เรียงรายอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด เหมือนลักษณะของเครื่องชั่งตวงโบราณ ที่เรียกว่า "ยอย"
ด้วยเหตุนี้คำว่า "ผางยอย" จึงน่าจะหมายถึง "ความยุติธรรม" นั่นเอง
เมื่อครั้งที่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดผางยอยอยู่นั้น เล่ากันว่ามีถ้ำอยู่ในวัดนี้ด้วย ในเวลาที่ฝนตก น้ำฝนจะไหลลงไปในโพรงถ้ำนั้นหมด
แต่เมื่อเวลาล่วงเลยไปนานวัน น้ำได้พัดพาเอากรวด หิน ดิน ทราย ไปปิดโพรงนั้นเสีย เพราะในเวลานั้นยังไม่มีใครคอยดูแล
ส่วนเหตุที่พระเจดีย์ในวัดนี้ ปรากฏศิลปกรรมแบบพม่า ปรากฏเรื่องเล่าขานกันด้วยว่า คหบดีผู้ใจบุญที่ให้การสนับสนุนการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดผางยอยในเวลานั้นเป็นชาวพม่า
วัดผางยอยมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 งาน 25 ตารางวา