สุดสะเทือนใจ 'ไบร์ท' เปิดคลิปเบื้องหลัง 'สรยุทธ สุทัศนะจินดา' อ่านข่าวไป ร้องไห้ไป
https://www.matichon.co.th/entertainment/news_2826427
วันนี้มีหลายข่าวที่อ่านแล้วเศร้าสะเทือนใจ’
ไบร์ท พิชญทัฬน์ จันทร์พุฒ เล่าในอินสตาแกรม
bright_ch3 จากนั้นก็โพสต์คลิปเบื้องหลังการทำงานของ
สรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่เธอใช้คำว่า ‘
อ่านข่าวไป ร้องไห้ไป ..กลั้นไม่ไหว เบรกโฆษณา พี่ @sorrayuth9111 ก้มหน้าร้องไห้..’
โดยสิ่งที่
ไบร์ทเขียนไว้ทั้งหมดมีว่า
‘อ่านข่าวไป ร้องไห้ไป ..กลั้นไม่ไหว เบรกโฆษณา พี่ @sorrayuth9111 ก้มหน้าร้องไห้..
วันนี้มีหลายข่าวที่อ่านแล้วเศร้าสะเทือนใจ
* ยายวัย 68 สงสัยติดโควิดจากสามี อาการทรุด ไปรพ.เอ็กซเรย์ ปอดขึ้นฝ้า แต่รพ.ไม่ตรวจโควิดให้ อ้างไม่มีเตียง ต้องกลับมานอนเสียชีวิตที่บ้าน
* ชายวัย 49 ติดเชื้ออยู่ระหว่างรอเตียง พบนอนเสียชีวิตข้างโซฟา ใกล้กันมีถุงอาหาร หลานบอกเอาอาหารมาส่งให้ ลักษณะคล้ายอาคลานลงจากที่นอน ไปหยิบถุงอาหาร แต่ล้มลง เสียชีวิต
* ยายวัย 71 ที่ร่ำไห้รอตรวจโควิดกลางสายฝนที่ตลาดมหานาควันก่อน ผลติดเชื้อ ยายร้องไห้ตลอดเวลา เพราะแม่วัย 88 ที่ป่วยติดเตียงติดโควิด เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 3 วันก่อน ยังทำใจไม่ได้ อาสาเส้นด้ายรับยายไปรพ.บุษราคัม ภาพยายขึ้นรถทุลักทุเล ส่วนน้องสาว กับหลานยายยังไม่มีเตียง
* เด็ก 9 ขวบ ต้องกำพร้าแม่ อยู่ลำพัง เพราะแม่รอตรวจโควิด แต่อาการทรุด เสียชีวิตก่อน กู้ภัยฮุก 31 พาน้องกลับโคราช ไปอยู่กับพ่อ ซึ่งติดโควิด รักษาตัวอยู่ในรพ.
นี่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะ ..หดหู่จริงๆ ค่ะ ..เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด’
https://www.instagram.com/p/CRP_nfhA7Oa/
หัวหน้าทีมนักวิทย์อนามัยโลกเตือน ‘ฉีดวัคซีนผสมสูตร’ อาจเป็นอันตรายได้
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/85190/
หัวหน้าทีมนักวิทย์อนามัยโลกเตือน ‘ฉีดวัคซีนผสมสูตร’ นั้นอาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้รับยาได้ ขณะที่ผอ.ใหญ่จี้ประเทศร่ำรวยบริจาควัคซีนให้ประเทศยากจน
วันนี้ ( 13 ก.ค. 64 )ในระหว่างการแถลงข่าวรายวัน ในวันจันทร์ ที่นครเจนีวา
เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ WHO รายงานว่า ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 จากทั่วโลกกลับมาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกันแล้ว ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตก็พุ่งสูงอีกครั้งหลังลดลงมาตลอด 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสาเหตุหลักของสถานการณ์ที่เลวร้ายลงนี้คือ การแพร่กระจายของเชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธุ์สายพันธ์เดลตา ที่ค้นพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย และกลายเป็นสายพันธุ์หลักไปแล้ว ซึ่งปัจจุบัน มีการพบเชื้อไวรัสสายพันธุเดลตาแล้วในพื้นที่กว่า 104 ประเทศทั่วโลก และหลายประเทศยังไม่ได้รับวัคซีนเพียงพอในการป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ของพวกเขาด้วยซ้ำ
เกเบรเยซุส กล่าวว่า รายงานจากสำนักงานองค์การอนามัยโลกจาก 6 ภูมิภาค ชี้ว่า โรงพยาบาลในหลายประเทศเริ่มขาดบุคลากรและเตียงเพื่อดูแลผู้ป่วยอีกครั้งแล้ว และเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตานั้นยังแพร่กระจายไปยังพื้นที่ที่มีการฉีดวัคซีนสูง และส่งผลกระทบต่อผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดและกลุ่มคนที่มีความเปราะบางด้วย
เกบรเยซุส ยังตำหนิประเทศร่ำรวยทั้งหลายที่มีการฉีดวัคซีนให้ประชากรในอัตราที่สูงแล้ว รวมทั้งบริษัทยา ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โมเดอรนา (Moderna) ผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังพิจารณาการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ ในช่วงที่ประเทศอีกจำนวนมากยังขาดแคลนวัคซีนแม้สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุขและกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง
เขากล่าวว่า ข้อมูลปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า “
การฉีดวัคซีนครบโดสนั้นจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านการอาการป่วยโควิด-19 ที่รุนแรงและถึงแก่ชีวิต ให้กับตัวผู้รับไปได้อีกนาน” ดังนั้น ความจำเป็นเร่งด่วนในตอนนี้ต้องเป็นการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดแม้แต่เข็มเดียวมากกว่า
ด้านไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการงานด้านสาธารณสุขฉุกเฉินของ WHO กล่าวเสริมว่า กิจกรรมขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นในภูมิภาคที่มีการฉีดวัคซีนระดับหนึ่งแล้ว เช่น การแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 ที่อนุญาตให้มีผู้เข้าชมในสนามแบบไม่เต็มพื้นที่ เป็นตัวอย่างของความยากลำบากสำหรับรัฐบาลที่ต้องดำเนินมาตรการจำกัดต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดที่เหมาะสม
ขณะเดียวกัน สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า
โซมญา สวามินาธาน หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ WHO แนะนำว่า ไม่ควรมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผสมสูตรจากผลิตต่างบริษัทให้กับประชาชน เนื่องจากจะเป็นการก่อ
“เทรนด์อันตราย” (dangerous trend) เพราะยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพในการดำเนินการดังกล่าว
สวามินาธาน กล่าวว่า สถานการณ์ในบางประเทศอาจจะมีความวุ่นวายมากขึ้น หากประชาชนมีโอกาสที่จะเลือกว่าจะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 ได้เมื่อไหร่ และจะใช้วัคซีนของผู้ผลิตรายใด มันต้องอาศัยหลักฐานและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่บริษัทเอกชนจะประกาศได้เองว่า จำเป็นต้องฉีดวัคซีนของพวกเขาเป็นเข็มกระตุ้นได้
'ครูจุ๊ย' อัด ศธ.บริหารปัดความรับผิดชอบ ออกนโยบายลดค่าเทอม เสี้ยมโรงเรียน-ผู้ปกครองทะเลาะกัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2826462
‘ครูจุ๊ย’ อัด ศธ.บริหารปัดความรับผิดชอบ สั่งงานบนหอคอย ออกนโยบายลดค่าเทอม เสี้ยม ร.ร.-ผู้ปกครอง ทะเลาะกัน เลือดเย็นมอง น.ร.เป็นแค่ ‘จำนวนนับ’ ของกระทรวงฯ
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม น.ส.
กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า กล่าวถึงการบริหารจัดการของ น.ส.
ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า สิ่งเดียวที่ตนมองเห็นคือรูปแบบการทำงานที่ปัดความรับผิดชอบ ปัดความรับผิดชอบที่ 1 เปิดเทอมผ่านการประเมิน 44 ข้อ ปลอดภัยจากโควิดใช่หรือไม่
น.ส.
กุลธิดากล่าวว่า หลักการมอบอำนาจให้พื้นที่และโรงเรียนเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงในการเปิดโรงเรียนเป็นหลัก ซึ่งมีหลายข้อที่โรงเรียนต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติม ทางกระทรวงฯได้จัดเตรียมทรัพยากรช่วยโรงเรียนเหล่านี้หรือไม่ เช่น น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว การจ้างพนักงานทำความสะอาด การซ่อมแซมจุดล้างมือในโรงเรียน สบู่ เจลแอลกอฮอล์ หรือหน้ากากอนามัยที่สะอาดเปลี่ยนได้ทุกวัน เหล่านี้จำเป็น โรงเรียนขนาดเล็กจำนวนครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั้งหมดในประเทศไทย อยู่ในพื้นที่ที่มีนักเรียนยากจน ส่วนโรงเรียนก็ขาดทรัพยากรแม้จะไม่มีสถานการณ์โควิด ถามว่ารัฐมนตรีได้ดูแลพวกเขาอย่างดีมากกว่าการนั่งมอนิเตอร์จากห้องทำงานแล้วหรือ
น.ส.
กุลธิดากล่าวว่า ปัดความรับผิดชอบที่ 2 สั่งโรงเรียนลดค่าเทอม และกระทรวงฯทำอะไรบ้าง จะสักแต่เขียนคำสั่งสวยๆ ไม่ได้ จะบอกว่าลดค่าเทอมโดยไม่ช่วยเหลือโรงเรียน และไม่อธิบายบริบทของค่าใช้จ่ายของโรงเรียนเลย เพราะที่สุดแล้วค่าใช้จ่ายที่คืนได้ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่นักเรียนไม่ได้ใช้ พอคำนวณออกมาแล้วจะไม่ได้เป็นตัวเลขที่มากมายอะไร เพราะโรงเรียนรัฐและเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายที่เป็น fixed cost วิ่งทุกเดือน เงินเดือนครู แม่บ้าน รปภ. ธุรการ ที่ต้องจ่าย
น.ส.
กุลธิดากล่าวอีกว่า ถ้าโรงเรียนไหนกู้เงินมาลงทุนทำห้องเรียนใหม่ ปรับปรุงพื้นที่ ดอกเบี้ยก็จะวิ่งไป รัฐไม่ได้ช่วยเรื่องการพักเงินต้นและดอกเบี้ยอย่างเป็นรูปธรรมเลย ออกแต่ซอฟต์โลนเพิ่มหนี้ ทั้งที่โรงเรียนก็ต้องเผชิญการแบกรับค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่คิดเป็นส่วนลดให้ผู้ปกครองได้ตามความเป็นจริงจึงไม่เยอะมากนัก
“ครูสอนหนักขึ้น แต่พอถึงเวลาบางโรงเรียนต้องขอลดเงินเดือนบุคลากรกัน ครูก็เข้าใจ บางครั้งก็ต้องจำใจ ยอมถูกให้ลดเงินเดือน แต่งานยังทำอยู่ แถมมากกว่าเดิม แต่ทุกคนก็พยายามช่วยแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกันไป เพื่อให้การลดค่าเทอมเป็นไปได้จริง ที่ผ่านมามีแต่ขอความร่วมมือ ที่กลายเป็นคำเสี้ยมให้ผู้ปกครองและโรงเรียนทะเลาะกันมากยิ่งขึ้น คุณดูเหมือนพระเอกขี่ม้าขาว โรงเรียนกลายเป็นผู้ร้าย ที่สุดแล้วคุณก็ลอยตัวเหนือปัญหา” น.ส.
กุลธิดากล่าว
น.ส.
กุลธิดากล่าวว่า ปัดความรับผิดชอบที่ 3 ครูและผู้ปกครองทุกคนยังรอคอยการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม ต้นทุนการสอนออนไลน์ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน ครูต้องหาอุปกรณ์เพิ่มไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้ปกครอง ต้องปรับกิจกรรมใหม่หมดเพื่อให้เหมาะกับการสอนออนไลน์ บางครั้งแบ่งครึ่งห้องสอนสองรอบก็ต้องทำ เพราะการสอนออนไลน์กับเด็กจำนวนมากๆ ไม่เป็นประโยชน์ และจะเสียเวลาทั้งสองฝ่าย ทุกคนดิ้นรนกันอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
น.ส.
กุลธิดากล่าวต่อว่า สรุปคือเราตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก โรงเรียนต้องมาทะเลาะกับผู้ปกครอง ทั้งที่จริงๆ ควรจับมือทำงานด้วยกันเพื่อพัฒนาเด็กๆ ครูต้องอดทนเอาเงินเดือนมาใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์การทำงานให้สอนออนไลน์ได้ ส่วนรัฐมนตรีออกคำขอความร่วมมือสวยๆ มาลดค่าเทอม จบ งานเสร็จ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
“ถ้ามีอุปกรณ์เหมาะสมกับบริบท จะช่วยให้ไม่ต้องบังคับพ่อแม่ต้องเฝ้าลูก จนทำงานไม่ได้ ขาดรายได้ วนมาจนถึงต้องพาลูกออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะไม่มีเงิน ซึ่งแน่ล่ะ คุณไม่ได้สนใจอะไรมาก เพราะนักเรียนเป็นเพียงจำนวนนับสำหรับคุณเท่านั้น” น.ส.
กุลธิดากล่าว
JJNY : สรยุทธอ่านข่าวไปร้องไห้ไป│หน.ทีมนักวิทย์Who เตือน‘ฉีดผสมสูตร’อาจเป็นอันตราย│ครูจุ๊ยอัดศธ.│ชี้ล็อกดาวน์แค่ซื้อเวลา
https://www.matichon.co.th/entertainment/news_2826427
วันนี้มีหลายข่าวที่อ่านแล้วเศร้าสะเทือนใจ’ ไบร์ท พิชญทัฬน์ จันทร์พุฒ เล่าในอินสตาแกรม bright_ch3 จากนั้นก็โพสต์คลิปเบื้องหลังการทำงานของ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่เธอใช้คำว่า ‘อ่านข่าวไป ร้องไห้ไป ..กลั้นไม่ไหว เบรกโฆษณา พี่ @sorrayuth9111 ก้มหน้าร้องไห้..’
โดยสิ่งที่ไบร์ทเขียนไว้ทั้งหมดมีว่า
‘อ่านข่าวไป ร้องไห้ไป ..กลั้นไม่ไหว เบรกโฆษณา พี่ @sorrayuth9111 ก้มหน้าร้องไห้..
วันนี้มีหลายข่าวที่อ่านแล้วเศร้าสะเทือนใจ
* ยายวัย 68 สงสัยติดโควิดจากสามี อาการทรุด ไปรพ.เอ็กซเรย์ ปอดขึ้นฝ้า แต่รพ.ไม่ตรวจโควิดให้ อ้างไม่มีเตียง ต้องกลับมานอนเสียชีวิตที่บ้าน
* ชายวัย 49 ติดเชื้ออยู่ระหว่างรอเตียง พบนอนเสียชีวิตข้างโซฟา ใกล้กันมีถุงอาหาร หลานบอกเอาอาหารมาส่งให้ ลักษณะคล้ายอาคลานลงจากที่นอน ไปหยิบถุงอาหาร แต่ล้มลง เสียชีวิต
* ยายวัย 71 ที่ร่ำไห้รอตรวจโควิดกลางสายฝนที่ตลาดมหานาควันก่อน ผลติดเชื้อ ยายร้องไห้ตลอดเวลา เพราะแม่วัย 88 ที่ป่วยติดเตียงติดโควิด เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 3 วันก่อน ยังทำใจไม่ได้ อาสาเส้นด้ายรับยายไปรพ.บุษราคัม ภาพยายขึ้นรถทุลักทุเล ส่วนน้องสาว กับหลานยายยังไม่มีเตียง
* เด็ก 9 ขวบ ต้องกำพร้าแม่ อยู่ลำพัง เพราะแม่รอตรวจโควิด แต่อาการทรุด เสียชีวิตก่อน กู้ภัยฮุก 31 พาน้องกลับโคราช ไปอยู่กับพ่อ ซึ่งติดโควิด รักษาตัวอยู่ในรพ.
นี่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะ ..หดหู่จริงๆ ค่ะ ..เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด’
https://www.instagram.com/p/CRP_nfhA7Oa/
หัวหน้าทีมนักวิทย์อนามัยโลกเตือน ‘ฉีดวัคซีนผสมสูตร’ อาจเป็นอันตรายได้
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/85190/
หัวหน้าทีมนักวิทย์อนามัยโลกเตือน ‘ฉีดวัคซีนผสมสูตร’ นั้นอาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้รับยาได้ ขณะที่ผอ.ใหญ่จี้ประเทศร่ำรวยบริจาควัคซีนให้ประเทศยากจน
วันนี้ ( 13 ก.ค. 64 )ในระหว่างการแถลงข่าวรายวัน ในวันจันทร์ ที่นครเจนีวา เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ WHO รายงานว่า ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 จากทั่วโลกกลับมาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกันแล้ว ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตก็พุ่งสูงอีกครั้งหลังลดลงมาตลอด 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสาเหตุหลักของสถานการณ์ที่เลวร้ายลงนี้คือ การแพร่กระจายของเชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธุ์สายพันธ์เดลตา ที่ค้นพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย และกลายเป็นสายพันธุ์หลักไปแล้ว ซึ่งปัจจุบัน มีการพบเชื้อไวรัสสายพันธุเดลตาแล้วในพื้นที่กว่า 104 ประเทศทั่วโลก และหลายประเทศยังไม่ได้รับวัคซีนเพียงพอในการป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ของพวกเขาด้วยซ้ำ
เกเบรเยซุส กล่าวว่า รายงานจากสำนักงานองค์การอนามัยโลกจาก 6 ภูมิภาค ชี้ว่า โรงพยาบาลในหลายประเทศเริ่มขาดบุคลากรและเตียงเพื่อดูแลผู้ป่วยอีกครั้งแล้ว และเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตานั้นยังแพร่กระจายไปยังพื้นที่ที่มีการฉีดวัคซีนสูง และส่งผลกระทบต่อผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดและกลุ่มคนที่มีความเปราะบางด้วย
เกบรเยซุส ยังตำหนิประเทศร่ำรวยทั้งหลายที่มีการฉีดวัคซีนให้ประชากรในอัตราที่สูงแล้ว รวมทั้งบริษัทยา ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โมเดอรนา (Moderna) ผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังพิจารณาการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ ในช่วงที่ประเทศอีกจำนวนมากยังขาดแคลนวัคซีนแม้สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุขและกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง
เขากล่าวว่า ข้อมูลปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า “การฉีดวัคซีนครบโดสนั้นจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านการอาการป่วยโควิด-19 ที่รุนแรงและถึงแก่ชีวิต ให้กับตัวผู้รับไปได้อีกนาน” ดังนั้น ความจำเป็นเร่งด่วนในตอนนี้ต้องเป็นการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดแม้แต่เข็มเดียวมากกว่า
ด้านไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการงานด้านสาธารณสุขฉุกเฉินของ WHO กล่าวเสริมว่า กิจกรรมขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นในภูมิภาคที่มีการฉีดวัคซีนระดับหนึ่งแล้ว เช่น การแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 ที่อนุญาตให้มีผู้เข้าชมในสนามแบบไม่เต็มพื้นที่ เป็นตัวอย่างของความยากลำบากสำหรับรัฐบาลที่ต้องดำเนินมาตรการจำกัดต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดที่เหมาะสม
ขณะเดียวกัน สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า โซมญา สวามินาธาน หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ WHO แนะนำว่า ไม่ควรมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผสมสูตรจากผลิตต่างบริษัทให้กับประชาชน เนื่องจากจะเป็นการก่อ “เทรนด์อันตราย” (dangerous trend) เพราะยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพในการดำเนินการดังกล่าว
สวามินาธาน กล่าวว่า สถานการณ์ในบางประเทศอาจจะมีความวุ่นวายมากขึ้น หากประชาชนมีโอกาสที่จะเลือกว่าจะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 ได้เมื่อไหร่ และจะใช้วัคซีนของผู้ผลิตรายใด มันต้องอาศัยหลักฐานและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่บริษัทเอกชนจะประกาศได้เองว่า จำเป็นต้องฉีดวัคซีนของพวกเขาเป็นเข็มกระตุ้นได้
'ครูจุ๊ย' อัด ศธ.บริหารปัดความรับผิดชอบ ออกนโยบายลดค่าเทอม เสี้ยมโรงเรียน-ผู้ปกครองทะเลาะกัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2826462
‘ครูจุ๊ย’ อัด ศธ.บริหารปัดความรับผิดชอบ สั่งงานบนหอคอย ออกนโยบายลดค่าเทอม เสี้ยม ร.ร.-ผู้ปกครอง ทะเลาะกัน เลือดเย็นมอง น.ร.เป็นแค่ ‘จำนวนนับ’ ของกระทรวงฯ
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม น.ส.กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า กล่าวถึงการบริหารจัดการของ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า สิ่งเดียวที่ตนมองเห็นคือรูปแบบการทำงานที่ปัดความรับผิดชอบ ปัดความรับผิดชอบที่ 1 เปิดเทอมผ่านการประเมิน 44 ข้อ ปลอดภัยจากโควิดใช่หรือไม่
น.ส.กุลธิดากล่าวว่า หลักการมอบอำนาจให้พื้นที่และโรงเรียนเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงในการเปิดโรงเรียนเป็นหลัก ซึ่งมีหลายข้อที่โรงเรียนต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติม ทางกระทรวงฯได้จัดเตรียมทรัพยากรช่วยโรงเรียนเหล่านี้หรือไม่ เช่น น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว การจ้างพนักงานทำความสะอาด การซ่อมแซมจุดล้างมือในโรงเรียน สบู่ เจลแอลกอฮอล์ หรือหน้ากากอนามัยที่สะอาดเปลี่ยนได้ทุกวัน เหล่านี้จำเป็น โรงเรียนขนาดเล็กจำนวนครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั้งหมดในประเทศไทย อยู่ในพื้นที่ที่มีนักเรียนยากจน ส่วนโรงเรียนก็ขาดทรัพยากรแม้จะไม่มีสถานการณ์โควิด ถามว่ารัฐมนตรีได้ดูแลพวกเขาอย่างดีมากกว่าการนั่งมอนิเตอร์จากห้องทำงานแล้วหรือ
น.ส.กุลธิดากล่าวว่า ปัดความรับผิดชอบที่ 2 สั่งโรงเรียนลดค่าเทอม และกระทรวงฯทำอะไรบ้าง จะสักแต่เขียนคำสั่งสวยๆ ไม่ได้ จะบอกว่าลดค่าเทอมโดยไม่ช่วยเหลือโรงเรียน และไม่อธิบายบริบทของค่าใช้จ่ายของโรงเรียนเลย เพราะที่สุดแล้วค่าใช้จ่ายที่คืนได้ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่นักเรียนไม่ได้ใช้ พอคำนวณออกมาแล้วจะไม่ได้เป็นตัวเลขที่มากมายอะไร เพราะโรงเรียนรัฐและเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายที่เป็น fixed cost วิ่งทุกเดือน เงินเดือนครู แม่บ้าน รปภ. ธุรการ ที่ต้องจ่าย
น.ส.กุลธิดากล่าวอีกว่า ถ้าโรงเรียนไหนกู้เงินมาลงทุนทำห้องเรียนใหม่ ปรับปรุงพื้นที่ ดอกเบี้ยก็จะวิ่งไป รัฐไม่ได้ช่วยเรื่องการพักเงินต้นและดอกเบี้ยอย่างเป็นรูปธรรมเลย ออกแต่ซอฟต์โลนเพิ่มหนี้ ทั้งที่โรงเรียนก็ต้องเผชิญการแบกรับค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่คิดเป็นส่วนลดให้ผู้ปกครองได้ตามความเป็นจริงจึงไม่เยอะมากนัก
“ครูสอนหนักขึ้น แต่พอถึงเวลาบางโรงเรียนต้องขอลดเงินเดือนบุคลากรกัน ครูก็เข้าใจ บางครั้งก็ต้องจำใจ ยอมถูกให้ลดเงินเดือน แต่งานยังทำอยู่ แถมมากกว่าเดิม แต่ทุกคนก็พยายามช่วยแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกันไป เพื่อให้การลดค่าเทอมเป็นไปได้จริง ที่ผ่านมามีแต่ขอความร่วมมือ ที่กลายเป็นคำเสี้ยมให้ผู้ปกครองและโรงเรียนทะเลาะกันมากยิ่งขึ้น คุณดูเหมือนพระเอกขี่ม้าขาว โรงเรียนกลายเป็นผู้ร้าย ที่สุดแล้วคุณก็ลอยตัวเหนือปัญหา” น.ส.กุลธิดากล่าว
น.ส.กุลธิดากล่าวว่า ปัดความรับผิดชอบที่ 3 ครูและผู้ปกครองทุกคนยังรอคอยการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม ต้นทุนการสอนออนไลน์ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน ครูต้องหาอุปกรณ์เพิ่มไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้ปกครอง ต้องปรับกิจกรรมใหม่หมดเพื่อให้เหมาะกับการสอนออนไลน์ บางครั้งแบ่งครึ่งห้องสอนสองรอบก็ต้องทำ เพราะการสอนออนไลน์กับเด็กจำนวนมากๆ ไม่เป็นประโยชน์ และจะเสียเวลาทั้งสองฝ่าย ทุกคนดิ้นรนกันอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
น.ส.กุลธิดากล่าวต่อว่า สรุปคือเราตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก โรงเรียนต้องมาทะเลาะกับผู้ปกครอง ทั้งที่จริงๆ ควรจับมือทำงานด้วยกันเพื่อพัฒนาเด็กๆ ครูต้องอดทนเอาเงินเดือนมาใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์การทำงานให้สอนออนไลน์ได้ ส่วนรัฐมนตรีออกคำขอความร่วมมือสวยๆ มาลดค่าเทอม จบ งานเสร็จ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
“ถ้ามีอุปกรณ์เหมาะสมกับบริบท จะช่วยให้ไม่ต้องบังคับพ่อแม่ต้องเฝ้าลูก จนทำงานไม่ได้ ขาดรายได้ วนมาจนถึงต้องพาลูกออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะไม่มีเงิน ซึ่งแน่ล่ะ คุณไม่ได้สนใจอะไรมาก เพราะนักเรียนเป็นเพียงจำนวนนับสำหรับคุณเท่านั้น” น.ส.กุลธิดากล่าว