ไทยติดกลุ่มประเทศเสี่ยงสูงสุดโควิดสายพันธุ์เดลตาระบาด
https://www.nationtv.tv/news/378828805
ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีความเปราะบางมากที่สุดต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด "สายพันธุ์เดลตา" หลังมีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำเมื่อเทียบกับการแพร่ระบาดของไวรัส
เจพีมอร์แกน ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ เปรู โคลอมเบีย แอฟริกาใต้ และไทย อยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีความเปราะบางมากที่สุดต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 "สายพันธุ์เดลตา"
รายงานระบุว่า บางประเทศในกลุ่มดังกล่าวมีอัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างรวดเร็ว ขณะที่รัฐบาลถูกกดดันให้ขยายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อจำกัดการเดินทางของประชาชน
ผลการประเมินพบว่า ฟิลิปปินส์ เปรู โคลอมเบีย แอฟริกาใต้ และไทย ต้องใช้เวลามากที่สุดกว่าที่การเดินทางของประชาชนจะกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่สิงคโปร์ ตุรกี อินเดีย และบราซิลจะใช้เวลาน้อยที่สุด
นอกจากนี้ บทวิเคราะห์ยังระบุว่า ภูมิภาคลาตินอเมริกามีแนวโน้มน้อยที่จะจำกัดการเดินทางของประชาชน แต่เจพีมอร์แกนเตือนว่ากลุ่มประเทศดังกล่าวมีความเสี่ยงในช่วงขาลงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ความเชื่อมั่นได้รับผลกระทบจากระบบสาธารณสุขที่ย่ำแย่ลง
‘กู้ภัย’หวั่นใจโลงศพบริจาคไม่พอ ‘สุริยาหีบศพ’เปิดเผยถึงยอดขาย
https://www.dailynews.co.th/news/39789/
แหล่งข่าวมูลนิธิกู้ภัยองค์กรใหญ่ เริ่มเป็นกังวลหลังยอดโควิด-19 พุ่งสูงไม่หยุด คาดในอนาคตปริมาณจำนวนโลงศพบริจาคอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่ “สุริยาหีบศพ” รับยอดขายกระเตื้อง แต่ไม่ถึงกับกำไร เหตุศพโควิดเน้นใช้โลงราคาถูก.
จากกรณียอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นทุกวัน ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้โลงศพมากขึ้นไปด้วย เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจร้านจำหน่ายโลงศพต่าง ๆ ในพื้นที่ กทม. และ ปริมณฑล เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณความต้องการใช้โรงศพที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน
โดย นาย
รัฐวิชญ์ สุริยเสนีย์ อายุ 39 ปี ผู้จัดการทั่วไปสำนักงานใหญ่ร้านสุริยาหีบศพ หนึ่งในผู้จำหน่ายโลงศพรายใหญ่ระดับประเทศ เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายโลงศพของทางร้านช่วงนี้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากเดิมที่เคยจำหน่ายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 5-6 โลง เพิ่มขึ้นเป็น 10 กว่าโลง ยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 จึงต้องเร่งกำลังการผลิตในแต่ละวันให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการซึ่ง ณ ตอนนี้ ยังยืนยันว่าโลงศพที่มีสต๊อกเก็บไว้อยู่และกำลังการผลิตที่มีอยู่ยังคงมีเพียงพอ
“
…ถามว่าวิกฤติโควิด ช่วยส่งผลให้รายได้จากการจำหน่ายเพิ่มขึ้นไหม ก็คงมีบ้าง แต่ก็ไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น หากเทียบกับปริมาณโลงที่จำหน่ายออกไป เนื่องจากโลงศพส่วนใหญ่ที่ใช้กับผู้เสียชีวิตโควิดจะเป็นโลงธรรมดา ราคาถูก หรือ โลงบริจาคที่ผู้ใจบุญซื้อไว้บริจาคผู้ยากไร้ ต่างจากโลงศพผู้เสียชีวิตทั่วไปที่จะมีราคาสูงกว่า ผลกำไรที่ทางร้านได้รับจึงไม่ต่างจากเดิมเท่าไร แม้ยอดจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นก็ตาม” นาย
รัฐวิชญ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะเดียวกันจากการสำรวจจำนวนการใช้โลงศพในแต่ละวันของมูลนิธิกู้ภัยต่าง ๆ ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล พบว่า ปริมาณการใช้โลงศพของมูลนิธิฯ แต่ละแห่งค่อนข้างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ขอบเขตความรับผิดชอบ ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่มูลนิธิกู้ภัยองค์กรใหญ่แห่งหนึ่ง ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บศพ พบว่าในแต่ละวันจะมีการเบิกใช้โลงศพสำหรับผู้ป่วยโควิดยืนยันและสุ่มเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิดที่ยังไม่ได้รับการยืนยันไม่ต่ำกว่า 20 โลง แบ่งเป็นผู้ป่วยโควิด ยืนยัน ประมาณ 10 ศพ แยกย่อยเป็นเสียชีวิตจากโรงพยาบาลประมาณ 5-6 ศพ และอีกประมาณ 4-5 ศพ เป็นผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านพัก ส่วนที่เหลือนั้นจะเป็นศพที่ยังไม่แน่ชัดว่าเสียชีวิตจากโควิดแต่มีความเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า จากตัวเลขจำนวนการใช้โลงศพบริจาคดังกล่าว เมื่อนำมาเทียบเคียงกับปริมาณจำนวนโลงศพบริจาคที่มูลนิธิกู้ภัยองค์กรใหญ่ต่าง ๆ มีสำรองอยู่ ณ ตอนนี้ เฉลี่ยมูลนิธิละประมาณร้อยกว่าโลง จะพบว่าค่อนข้างเป็นที่น่ากังวล และอาจไม่เพียงพอในอนาคต หากยอดผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด ยังคงพุ่งสูงขึ้นทุกวัน นอกจากนี้ปัญหายอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลไปถึงปริมาณความต้องการชุดพีพีอี หรือ อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ของเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวเจ้าหน้าที่ ซึ่งการเก็บศพแต่ละศพ จะใช้เจ้าหน้าที่จำนวน 6 คนขึ้นไป ใช้ชุดพีพีอีประมาณ 6 ชุด ต้นทุนค่าใช้จ่ายตกอยู่ชุดละประมาณ 1 พันบาท ซึ่งในแต่ละวันจำเป็นต้องใช้ไม่ต่ำกว่า 100 ชุด ค่าใช้ใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้นตามมาเป็นทวีคูณ.
สลดใจ! หมอรามาฯ โชว์ภาพ ICU สะท้อนรัฐบาลล้มเหลว วิกฤตโควิด ล็อกดาวน์กรุงเทพ
https://www.springnews.co.th/blogs/news/812146
รัฐบาลล้มเหลว! นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยภาพสลดใจ โชว์ภาพห้อง ICU อยู่ในขั้นที่เลวร้าย ผู้คนแย่งคิวกันตรวจโควิด เหยียบคนแก่-เด็กเจ็บ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และล่าสุดเพิ่งมี ประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพ
นพ.
ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ออกมาเปิดเผย สถานการณ์การจัดการในโรงพยาบาลที่ตนเองรับผิดชอบดูแลอยู่ ว่าการรับรองและตรวจคนไข้โควิด-19 เข้าขั้นลำบากแล้ว บางวัน มีคนมารอตรวจตั้งแต่ 4 ทุ่มเพื่อที่จะได้ตรวจโควิดตอนเช้า
ขณะที่แพทย์ ยังต้องใช้ หน้ากาก Mask N95 แบบ reuse (วนกลับมาใช้ใหม่) ให้ได้ใช้ได้นานที่สุดเพื่อประหยัดทรัพยากรที่ นพ.
ศุภโชค เกิดลาภ ไม่รู้ว่าอนาคตสายป่านต่างๆจะหมดลงตอนไหน
โดย นพ.
ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊ก
“Suppachok NeungPeu Kirdlarp” ระบุข้อความว่า
มีคนถามว่าสถานการณ์ตอนนี้ เลวร้ายขนาดไหน
- คนไข้วิ่งแย่งกันมาจับจองคิวตรวจ covid มีเหยียบคนแก่และเด็กบาดเจ็บกัน บาง รพ. มีคนมารอตรวจตั้งแต่ 4 ทุ่มเลย
- คนไข้เหนื่อยมาหอบหนักหน้า ER เรื่อยๆ
- ER กลายเป็นที่พักพิงคนไข้ covid ที่หายใจหอบ on High flow Oxygen แต่ไปไหนไม่ได้ เหตุการณ์นึ้เป็นหลายๆที่ ทั่วประเทศไทย
- cohort ward คนไข้หนักขึ้น จนตอนนี้คิดว่สเหมือนดูคนไข้กึ่งๆ intermediate ward (sub ICU)
- ICU เป็นอย่างไรนะหรอ ให้รูปนี้อธิบายแทนคำพูดนะครับ
รูปนี้คือน้องของผมที่เป็นอายุรแพทย์ที่กำลังเรียนต่อยอดโรคปอด ต้องกลับมาช่วยดูแลคนไข้ ICU COVID เวรวันเว้นวัน แทบไม่ได้หยุด Mask N95 ที่เราใช้จะพยายาม reuse ให้ใช้ได้นานที่สุดเพื่อประหยัดทรัพยากรที่เราไม่รู้ว่าอนาคตสายป่านต่างๆจะหมดลงเมื่อไหร่ และที่แปะข้างกำแพง คือปริมาณ N95 ของบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่ใช้ใน ICU เพราะเรามีเคสล้นไปหมดแล้ว
- เจ้าหน้าที่ X-ray ทำงานหนักกว่า 7-11 และแทบจะลุกไม่ไหวแล้ว แต่ก็ทำเพื่อคนไข้ตลอด ผมไม่รู้ว่าเรามาถึงตรงนี้ได้อย่างไร
ยิ่งวันก่อนมีคนพูดว่า #อย่าเห็นแก่ตัว ก็อยากให้ท่านที่พูดมาช่วยดูคนไข้ด้วยกันครับ พวกเราทำมาตลอด 1 ปีแล้วครับ
สิ่งที่ นพ.
ศุภโชค เกิดลาภ แสดงความคิดเห็นผ่านทางโซเชียลเน็ทเวิร์กนั้น ถือเป็นการสะท้อนความเหนื่อยล้าของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 มาอย่างยาวนานและดูจะต้องเป็นแนวหน้าในการสู้รบสงครามครั้งนี้ไปอีกนาน เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใกล้แตะหลักวันละ 10,000 เข้าไปทุกขณะ โดย วันที่ 10 ก.ค. 2021 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มถึง 9,323 ราย
https://www.facebook.com/nungtoxic/posts/4229442330427733
JJNY : 4in1 ไทยติดกลุ่มเสี่ยงสูงสุดเดลตาระบาด│กู้ภัยหวั่นโลงศพบริจาคไม่พอ│หมอรามาฯโชว์ภาพICU│พ่อค้าแม่ค้าวอนรัฐแก้ปัญหา
https://www.nationtv.tv/news/378828805
เจพีมอร์แกน ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ เปรู โคลอมเบีย แอฟริกาใต้ และไทย อยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีความเปราะบางมากที่สุดต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 "สายพันธุ์เดลตา"
รายงานระบุว่า บางประเทศในกลุ่มดังกล่าวมีอัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างรวดเร็ว ขณะที่รัฐบาลถูกกดดันให้ขยายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อจำกัดการเดินทางของประชาชน
ผลการประเมินพบว่า ฟิลิปปินส์ เปรู โคลอมเบีย แอฟริกาใต้ และไทย ต้องใช้เวลามากที่สุดกว่าที่การเดินทางของประชาชนจะกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่สิงคโปร์ ตุรกี อินเดีย และบราซิลจะใช้เวลาน้อยที่สุด
นอกจากนี้ บทวิเคราะห์ยังระบุว่า ภูมิภาคลาตินอเมริกามีแนวโน้มน้อยที่จะจำกัดการเดินทางของประชาชน แต่เจพีมอร์แกนเตือนว่ากลุ่มประเทศดังกล่าวมีความเสี่ยงในช่วงขาลงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ความเชื่อมั่นได้รับผลกระทบจากระบบสาธารณสุขที่ย่ำแย่ลง
‘กู้ภัย’หวั่นใจโลงศพบริจาคไม่พอ ‘สุริยาหีบศพ’เปิดเผยถึงยอดขาย
https://www.dailynews.co.th/news/39789/
แหล่งข่าวมูลนิธิกู้ภัยองค์กรใหญ่ เริ่มเป็นกังวลหลังยอดโควิด-19 พุ่งสูงไม่หยุด คาดในอนาคตปริมาณจำนวนโลงศพบริจาคอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่ “สุริยาหีบศพ” รับยอดขายกระเตื้อง แต่ไม่ถึงกับกำไร เหตุศพโควิดเน้นใช้โลงราคาถูก.
จากกรณียอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นทุกวัน ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้โลงศพมากขึ้นไปด้วย เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจร้านจำหน่ายโลงศพต่าง ๆ ในพื้นที่ กทม. และ ปริมณฑล เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณความต้องการใช้โรงศพที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน
โดย นายรัฐวิชญ์ สุริยเสนีย์ อายุ 39 ปี ผู้จัดการทั่วไปสำนักงานใหญ่ร้านสุริยาหีบศพ หนึ่งในผู้จำหน่ายโลงศพรายใหญ่ระดับประเทศ เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายโลงศพของทางร้านช่วงนี้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากเดิมที่เคยจำหน่ายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 5-6 โลง เพิ่มขึ้นเป็น 10 กว่าโลง ยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 จึงต้องเร่งกำลังการผลิตในแต่ละวันให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการซึ่ง ณ ตอนนี้ ยังยืนยันว่าโลงศพที่มีสต๊อกเก็บไว้อยู่และกำลังการผลิตที่มีอยู่ยังคงมีเพียงพอ
“…ถามว่าวิกฤติโควิด ช่วยส่งผลให้รายได้จากการจำหน่ายเพิ่มขึ้นไหม ก็คงมีบ้าง แต่ก็ไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น หากเทียบกับปริมาณโลงที่จำหน่ายออกไป เนื่องจากโลงศพส่วนใหญ่ที่ใช้กับผู้เสียชีวิตโควิดจะเป็นโลงธรรมดา ราคาถูก หรือ โลงบริจาคที่ผู้ใจบุญซื้อไว้บริจาคผู้ยากไร้ ต่างจากโลงศพผู้เสียชีวิตทั่วไปที่จะมีราคาสูงกว่า ผลกำไรที่ทางร้านได้รับจึงไม่ต่างจากเดิมเท่าไร แม้ยอดจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นก็ตาม” นายรัฐวิชญ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะเดียวกันจากการสำรวจจำนวนการใช้โลงศพในแต่ละวันของมูลนิธิกู้ภัยต่าง ๆ ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล พบว่า ปริมาณการใช้โลงศพของมูลนิธิฯ แต่ละแห่งค่อนข้างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ขอบเขตความรับผิดชอบ ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่มูลนิธิกู้ภัยองค์กรใหญ่แห่งหนึ่ง ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บศพ พบว่าในแต่ละวันจะมีการเบิกใช้โลงศพสำหรับผู้ป่วยโควิดยืนยันและสุ่มเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิดที่ยังไม่ได้รับการยืนยันไม่ต่ำกว่า 20 โลง แบ่งเป็นผู้ป่วยโควิด ยืนยัน ประมาณ 10 ศพ แยกย่อยเป็นเสียชีวิตจากโรงพยาบาลประมาณ 5-6 ศพ และอีกประมาณ 4-5 ศพ เป็นผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านพัก ส่วนที่เหลือนั้นจะเป็นศพที่ยังไม่แน่ชัดว่าเสียชีวิตจากโควิดแต่มีความเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า จากตัวเลขจำนวนการใช้โลงศพบริจาคดังกล่าว เมื่อนำมาเทียบเคียงกับปริมาณจำนวนโลงศพบริจาคที่มูลนิธิกู้ภัยองค์กรใหญ่ต่าง ๆ มีสำรองอยู่ ณ ตอนนี้ เฉลี่ยมูลนิธิละประมาณร้อยกว่าโลง จะพบว่าค่อนข้างเป็นที่น่ากังวล และอาจไม่เพียงพอในอนาคต หากยอดผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด ยังคงพุ่งสูงขึ้นทุกวัน นอกจากนี้ปัญหายอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลไปถึงปริมาณความต้องการชุดพีพีอี หรือ อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ของเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวเจ้าหน้าที่ ซึ่งการเก็บศพแต่ละศพ จะใช้เจ้าหน้าที่จำนวน 6 คนขึ้นไป ใช้ชุดพีพีอีประมาณ 6 ชุด ต้นทุนค่าใช้จ่ายตกอยู่ชุดละประมาณ 1 พันบาท ซึ่งในแต่ละวันจำเป็นต้องใช้ไม่ต่ำกว่า 100 ชุด ค่าใช้ใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้นตามมาเป็นทวีคูณ.
สลดใจ! หมอรามาฯ โชว์ภาพ ICU สะท้อนรัฐบาลล้มเหลว วิกฤตโควิด ล็อกดาวน์กรุงเทพ
https://www.springnews.co.th/blogs/news/812146
รัฐบาลล้มเหลว! นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยภาพสลดใจ โชว์ภาพห้อง ICU อยู่ในขั้นที่เลวร้าย ผู้คนแย่งคิวกันตรวจโควิด เหยียบคนแก่-เด็กเจ็บ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และล่าสุดเพิ่งมี ประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพ
นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ออกมาเปิดเผย สถานการณ์การจัดการในโรงพยาบาลที่ตนเองรับผิดชอบดูแลอยู่ ว่าการรับรองและตรวจคนไข้โควิด-19 เข้าขั้นลำบากแล้ว บางวัน มีคนมารอตรวจตั้งแต่ 4 ทุ่มเพื่อที่จะได้ตรวจโควิดตอนเช้า
ขณะที่แพทย์ ยังต้องใช้ หน้ากาก Mask N95 แบบ reuse (วนกลับมาใช้ใหม่) ให้ได้ใช้ได้นานที่สุดเพื่อประหยัดทรัพยากรที่ นพ.ศุภโชค เกิดลาภ ไม่รู้ว่าอนาคตสายป่านต่างๆจะหมดลงตอนไหน
โดย นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊ก “Suppachok NeungPeu Kirdlarp” ระบุข้อความว่า
มีคนถามว่าสถานการณ์ตอนนี้ เลวร้ายขนาดไหน
- คนไข้วิ่งแย่งกันมาจับจองคิวตรวจ covid มีเหยียบคนแก่และเด็กบาดเจ็บกัน บาง รพ. มีคนมารอตรวจตั้งแต่ 4 ทุ่มเลย
- คนไข้เหนื่อยมาหอบหนักหน้า ER เรื่อยๆ
- ER กลายเป็นที่พักพิงคนไข้ covid ที่หายใจหอบ on High flow Oxygen แต่ไปไหนไม่ได้ เหตุการณ์นึ้เป็นหลายๆที่ ทั่วประเทศไทย
- cohort ward คนไข้หนักขึ้น จนตอนนี้คิดว่สเหมือนดูคนไข้กึ่งๆ intermediate ward (sub ICU)
- ICU เป็นอย่างไรนะหรอ ให้รูปนี้อธิบายแทนคำพูดนะครับ
รูปนี้คือน้องของผมที่เป็นอายุรแพทย์ที่กำลังเรียนต่อยอดโรคปอด ต้องกลับมาช่วยดูแลคนไข้ ICU COVID เวรวันเว้นวัน แทบไม่ได้หยุด Mask N95 ที่เราใช้จะพยายาม reuse ให้ใช้ได้นานที่สุดเพื่อประหยัดทรัพยากรที่เราไม่รู้ว่าอนาคตสายป่านต่างๆจะหมดลงเมื่อไหร่ และที่แปะข้างกำแพง คือปริมาณ N95 ของบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่ใช้ใน ICU เพราะเรามีเคสล้นไปหมดแล้ว
- เจ้าหน้าที่ X-ray ทำงานหนักกว่า 7-11 และแทบจะลุกไม่ไหวแล้ว แต่ก็ทำเพื่อคนไข้ตลอด ผมไม่รู้ว่าเรามาถึงตรงนี้ได้อย่างไร
ยิ่งวันก่อนมีคนพูดว่า #อย่าเห็นแก่ตัว ก็อยากให้ท่านที่พูดมาช่วยดูคนไข้ด้วยกันครับ พวกเราทำมาตลอด 1 ปีแล้วครับ
สิ่งที่ นพ.ศุภโชค เกิดลาภ แสดงความคิดเห็นผ่านทางโซเชียลเน็ทเวิร์กนั้น ถือเป็นการสะท้อนความเหนื่อยล้าของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 มาอย่างยาวนานและดูจะต้องเป็นแนวหน้าในการสู้รบสงครามครั้งนี้ไปอีกนาน เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใกล้แตะหลักวันละ 10,000 เข้าไปทุกขณะ โดย วันที่ 10 ก.ค. 2021 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มถึง 9,323 ราย
https://www.facebook.com/nungtoxic/posts/4229442330427733