Disney Pixar : Luca (2021) กับประเด็นเรื่อง LGBTQ+
หลังจากที่หนังปล่อย Teaser ออกไป และฉายจริง มีกระแสในเรื่อง LGBTQ+
แรงมากๆ แฟนๆบางคนนับเป็น Call me by your name ในเวอร์ชั่นการ์ตูน เพราะมีการเทียบตัวละครกับฉากที่แทบจะใกล้เคียงกัน กระแสนี้ทำให้ผู้กำกับต้องออกมาแก้ต่างว่า จริงๆแล้ว Luca ต้องการจะสื่อสารเกี่ยวกับ “มิตรภาพระหว่างเพื่อน มากกว่าความรักชายหญิง” มากกว่า และปฏิเสธเรื่องความเป็นการ์ตูนเกย์โรแมนติค ซึ่งในมุมมองของผม หลังจากที่ได้ดูเรื่องนี้จบและหาข้อมูลในเว็บต่างประเทศ ผมตีความได้ประมาณนี้
.................................................
1. ในเรื่องประเด็นที่ Disney ออกมาปฏิเสธเนื้อหาเกี่ยวกับ LGBTQ+
- ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า กลุ่มลูกค้าหลักของ Disney คือกลุ่มเด็กและครอบครัว เพราะฉะนั้นเรทของการ์ตูนจึงต้องเป็นเรทที่เด็กดูได้ การออกมายอมรับในเรื่องเนื้อหา LGBTQ+ อาจจะทำให้การ์ตูนถูกจัดไปในเรท 13+ ซึ่ง Disney ไม่มีทางยอมเสียกลุ่มลูกค้าหลักไปอยู่แล้ว
- ประเด็นความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากกลุ่มหัวอนุรักษ์นิยม ถ้าลองศึกษาประวัติศาสตร์ของ Disney ในเรื่อง LGBTQ+ ดีๆจะพบว่า Disney เคยทำตัวละคร LGBTQ+ ออกมาครั้งหนึ่งในเรื่อง Beauty and the Beast
เป็นตัวละครชายรักชาย Disney ต้องการสร้างตัวละครนี้ขึ้นมาเพื่ออุทิศให้แก่ ฮาเวิร์ด แอชแมน นักแต่งเนื้อเพลงมือทองของดิสนีย์ผู้มีรสนิยมชายรักชาย และเสียชีวิตจากโรคเอดส์ก่อนที่เพลงในการ์ตูน Beauty and the Beast จะคว้ารางวัลออสการ์ได้ไม่นาน ซึ่งผลที่ตามมาคือเกิดกระแสต่อต้านจากกลุ่มหัวอนุรักษ์นิยม ทำให้การ์ตูนไม่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในหลายๆรัฐของสหรัฐอเมริกา นี่เลยกลายเป็นบทเรียนความเสี่ยงที่ Disney น่าจะกังวลถ้าต้องออกมาพูดถึงประเด็นนี้ในการ์ตูนตัวเอง อ่านเพิ่มเติมได้ใน
https://news.thaipbs.or.th/content/260642
- บางรายได้หลักของ Disney อยู่ในประเทศที่มีความอนุรักษ์นิยมสูงอย่างประเทศจีน ทำให้การออกมายอมรับในเรื่องนี้น่าจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดีในเชิงการลงทุน
- แต่ในอีกทาง กระแสของโลกกำลังรณรงค์เรื่องความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ ดังนั้นการตลาดในการจับกลุ่มคนที่มองหาเนื้อหาแนวนี้มันเลยถูกมองข้ามไม่ได้ แต่จะทำแบบโต้งๆเลยก็เสี่ยงเกินไป ผมมองว่า Disney กำลังค่อยๆแฝงความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปตามกระแสโลก
.................................................
2. Sense of LGBTQ+ กับการตีความแฝง
**ขอบอกไว้ก่อนว่านี่เป็นการตีความส่วนตัวจากประสบการณ์ตัวเองที่เป็นชาว LGBTQ+ ดังนั้นถ้าการตีความผมไม่ตรงกับใคร ก็ขอให้มองว่าการ์ตูนเรื่องนี้ทำมามีมิติลึกและสามารถตีความได้กว้างมากๆ ดังนั้นสำหรับผมไม่มีการตีความไหนที่ผิดหรือถูกครับ แต่ที่จะมาอธิบายดังต่อไปนี้คือข้อสังเกตครับว่าทำไมผมถึงมองว่าการ์ตูนเรื่องนี้มี Sense of LGBTQ+
- การเล่นกับประเด็น “การปิดบัง-การเปิดเผย” ที่เป็นประเด็นคลาสสิคของ LGBTQ+ ในเรื่องการ Coming out ในการ์ตูนเรื่องนี้จะสื่อออกมาจากการ Design Character ให้เป็นมนุษย์เงือกที่โดนน้ำแล้วจะเผยร่างจริง หลายๆคนมองว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นประเด็นเรื่องชาติพันธุ์มากกว่าหรือเปล่า ส่วนตัวผมมองว่าคอนเสปนี้เอนเอียงไปในประเด็น LGBTQ+ มากกว่า เพราะ ถ้าจะเล่นเรื่องชาติพันธุ์จริงๆ หนังควรจะเริ่มมาด้วยการที่ตัวละครไม่ต้องปกปิดชาติพันธุ์และต่อสู้การมีอยู่ของตัวเองในแบบที่ไม่ต้องปิดบังตัวตน ตัวอย่างเช่น Pocahontas
- บทพูดที่ส่งเสริมประเด็นนี้ เช่น ในตอนท้ายที่แม่ของ Luca พูดว่า “ไม่ว่ายังไงก็จะยังมีคนที่ไม่ยอมรับในตัวลูก แต่แม่เชื่อว่าลูกจะเลือกอยู่กับคนดีๆรอบตัว” สิ่งนี้คือสิ่งที่ชาว LGBTQ+ ต้องเจอมาตลอดชีวิตและเลือกที่จะใช้แนวคิดนี้ (ซึ่งในประเด็นชาติพันธุ์ บทพูดนี้สามารถสอดคล้องได้เช่นกัน) ซึ่งผมในฐานะคนที่เป็น LGBTQ+ ถ้าจะให้บอกว่าการ์ตูนเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น LGBTQ+ เลยนั้น ผมบอกเลยว่าเป็นไปไม่ได้
- ประสบการณ์ต่างๆในทาง LGBTQ+ ที่เชื่อมโยงกับแต่ละฉาก เช่น
การหึงหวงของ Alberto อันนี้ตีความได้ทั้งเป็นการหวงเพื่อน แต่ถ้ามองในมุมของ LGBTQ+ การหวงมันจะมีความรู้สึกลึกซึ้งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การ Skinship ต่างๆของ Alberto และ Luca อันนี้อยากให้มองกว้างๆว่า มันเป็นความรักและความใกล้ชิดแบบหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้แล้วแต่คนจะตีความเลยครับ ในการ์ตูนไม่ได้สื่อออกมาในเชิง Sexual เลย เพราะฉะนั้นผมมองว่าเป็นความรักที่บริสุทธิ์แบบหนึ่งครับ ซึ่งสามารถต่อยอดไปได้หลายรูปแบบถ้ามองว่า หากตัวละครมีการเติบโตเป็นวัยรุ่นได้ (ส่วนผมนี่จิ้นทุกฉาก โดยเฉพาะฉากที่กอดตอนซ้อนเวสป้าลงเนิน >.,<)
การที่ Luca ไม่ยอมรับตัวตนในขณะที่ Alberto เผยร่างจริงให้ Guilia เห็น ทำให้ Luca แสร้งทำเป็นรังเกียจมนุษย์เงือก ฉากนี้มีสามารถเชื่อมโยงไปที่ เหตุการณ์ที่เกย์อยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับเกย์ ทำให้ตัวเองต้องแสร้งว่าตัวเองไม่ได้เป็น และแสดงออกว่าเกลียดเกย์ทั้งๆที่ตัวเองก็เป็น
การที่ตอนจบ คู่ยาย-ยาย มนุษย์เงือกเผยตัวตน มีความสงสัยไหมครับว่าทำไมเค้าถึงเลือกที่จะใช้ตัวละครเพศเดียวกัน ซึ่งก็สามารถตีความได้หลายแบบทั้ง เป็นเพื่อนกัน,เป็นพี่น้อง, หรือเป็นคู่รักหญิง-หญิง
.......................................................
3. อันนี้ไม่เกี่ยวกับ LGBTQ+ แต่เกี่ยวกับเรื่องความหลากหลาย
- สังเกตได้ว่า Disney ออกแบบตัวละครมามีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ตัวละครหลัก Guilia เป็นเด็กผู้หญิงที่มีความ Masculine ลุยๆแบบเด็กผู้ชาย หรือตัวละคร Massimo ที่เป็นชายพิการแขนที่ดูแข็งแรงและใช้ชีวิตแบบปกติ
.......................................................
สุดท้ายนี้ อยากมาแชร์ว่าชอบหนังเรื่องนี้มากๆ อยากดูซ้ำและส่วนตัวอยากให้ Luca และ Alberto ได้ลงเอยกันมากในฐานะ LGBTQ+ คนหนึ่ง เพราะชอบความรักของสองคนนี้มาก (ยังไม่หายตาบวมจากตอนร้องไห้ฉากจบ) ใครอยากแชร์ความเห็นมาแชร์กันได้ครับ
Disney Pixar : Luca (2021) กับประเด็นเรื่อง LGBTQ+
หลังจากที่หนังปล่อย Teaser ออกไป และฉายจริง มีกระแสในเรื่อง LGBTQ+
แรงมากๆ แฟนๆบางคนนับเป็น Call me by your name ในเวอร์ชั่นการ์ตูน เพราะมีการเทียบตัวละครกับฉากที่แทบจะใกล้เคียงกัน กระแสนี้ทำให้ผู้กำกับต้องออกมาแก้ต่างว่า จริงๆแล้ว Luca ต้องการจะสื่อสารเกี่ยวกับ “มิตรภาพระหว่างเพื่อน มากกว่าความรักชายหญิง” มากกว่า และปฏิเสธเรื่องความเป็นการ์ตูนเกย์โรแมนติค ซึ่งในมุมมองของผม หลังจากที่ได้ดูเรื่องนี้จบและหาข้อมูลในเว็บต่างประเทศ ผมตีความได้ประมาณนี้
.................................................
1. ในเรื่องประเด็นที่ Disney ออกมาปฏิเสธเนื้อหาเกี่ยวกับ LGBTQ+
- ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า กลุ่มลูกค้าหลักของ Disney คือกลุ่มเด็กและครอบครัว เพราะฉะนั้นเรทของการ์ตูนจึงต้องเป็นเรทที่เด็กดูได้ การออกมายอมรับในเรื่องเนื้อหา LGBTQ+ อาจจะทำให้การ์ตูนถูกจัดไปในเรท 13+ ซึ่ง Disney ไม่มีทางยอมเสียกลุ่มลูกค้าหลักไปอยู่แล้ว
- ประเด็นความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากกลุ่มหัวอนุรักษ์นิยม ถ้าลองศึกษาประวัติศาสตร์ของ Disney ในเรื่อง LGBTQ+ ดีๆจะพบว่า Disney เคยทำตัวละคร LGBTQ+ ออกมาครั้งหนึ่งในเรื่อง Beauty and the Beast
เป็นตัวละครชายรักชาย Disney ต้องการสร้างตัวละครนี้ขึ้นมาเพื่ออุทิศให้แก่ ฮาเวิร์ด แอชแมน นักแต่งเนื้อเพลงมือทองของดิสนีย์ผู้มีรสนิยมชายรักชาย และเสียชีวิตจากโรคเอดส์ก่อนที่เพลงในการ์ตูน Beauty and the Beast จะคว้ารางวัลออสการ์ได้ไม่นาน ซึ่งผลที่ตามมาคือเกิดกระแสต่อต้านจากกลุ่มหัวอนุรักษ์นิยม ทำให้การ์ตูนไม่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในหลายๆรัฐของสหรัฐอเมริกา นี่เลยกลายเป็นบทเรียนความเสี่ยงที่ Disney น่าจะกังวลถ้าต้องออกมาพูดถึงประเด็นนี้ในการ์ตูนตัวเอง อ่านเพิ่มเติมได้ใน https://news.thaipbs.or.th/content/260642
- บางรายได้หลักของ Disney อยู่ในประเทศที่มีความอนุรักษ์นิยมสูงอย่างประเทศจีน ทำให้การออกมายอมรับในเรื่องนี้น่าจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดีในเชิงการลงทุน
- แต่ในอีกทาง กระแสของโลกกำลังรณรงค์เรื่องความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ ดังนั้นการตลาดในการจับกลุ่มคนที่มองหาเนื้อหาแนวนี้มันเลยถูกมองข้ามไม่ได้ แต่จะทำแบบโต้งๆเลยก็เสี่ยงเกินไป ผมมองว่า Disney กำลังค่อยๆแฝงความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปตามกระแสโลก
.................................................
2. Sense of LGBTQ+ กับการตีความแฝง
**ขอบอกไว้ก่อนว่านี่เป็นการตีความส่วนตัวจากประสบการณ์ตัวเองที่เป็นชาว LGBTQ+ ดังนั้นถ้าการตีความผมไม่ตรงกับใคร ก็ขอให้มองว่าการ์ตูนเรื่องนี้ทำมามีมิติลึกและสามารถตีความได้กว้างมากๆ ดังนั้นสำหรับผมไม่มีการตีความไหนที่ผิดหรือถูกครับ แต่ที่จะมาอธิบายดังต่อไปนี้คือข้อสังเกตครับว่าทำไมผมถึงมองว่าการ์ตูนเรื่องนี้มี Sense of LGBTQ+
- การเล่นกับประเด็น “การปิดบัง-การเปิดเผย” ที่เป็นประเด็นคลาสสิคของ LGBTQ+ ในเรื่องการ Coming out ในการ์ตูนเรื่องนี้จะสื่อออกมาจากการ Design Character ให้เป็นมนุษย์เงือกที่โดนน้ำแล้วจะเผยร่างจริง หลายๆคนมองว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นประเด็นเรื่องชาติพันธุ์มากกว่าหรือเปล่า ส่วนตัวผมมองว่าคอนเสปนี้เอนเอียงไปในประเด็น LGBTQ+ มากกว่า เพราะ ถ้าจะเล่นเรื่องชาติพันธุ์จริงๆ หนังควรจะเริ่มมาด้วยการที่ตัวละครไม่ต้องปกปิดชาติพันธุ์และต่อสู้การมีอยู่ของตัวเองในแบบที่ไม่ต้องปิดบังตัวตน ตัวอย่างเช่น Pocahontas
- บทพูดที่ส่งเสริมประเด็นนี้ เช่น ในตอนท้ายที่แม่ของ Luca พูดว่า “ไม่ว่ายังไงก็จะยังมีคนที่ไม่ยอมรับในตัวลูก แต่แม่เชื่อว่าลูกจะเลือกอยู่กับคนดีๆรอบตัว” สิ่งนี้คือสิ่งที่ชาว LGBTQ+ ต้องเจอมาตลอดชีวิตและเลือกที่จะใช้แนวคิดนี้ (ซึ่งในประเด็นชาติพันธุ์ บทพูดนี้สามารถสอดคล้องได้เช่นกัน) ซึ่งผมในฐานะคนที่เป็น LGBTQ+ ถ้าจะให้บอกว่าการ์ตูนเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น LGBTQ+ เลยนั้น ผมบอกเลยว่าเป็นไปไม่ได้
- ประสบการณ์ต่างๆในทาง LGBTQ+ ที่เชื่อมโยงกับแต่ละฉาก เช่น
การหึงหวงของ Alberto อันนี้ตีความได้ทั้งเป็นการหวงเพื่อน แต่ถ้ามองในมุมของ LGBTQ+ การหวงมันจะมีความรู้สึกลึกซึ้งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การ Skinship ต่างๆของ Alberto และ Luca อันนี้อยากให้มองกว้างๆว่า มันเป็นความรักและความใกล้ชิดแบบหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้แล้วแต่คนจะตีความเลยครับ ในการ์ตูนไม่ได้สื่อออกมาในเชิง Sexual เลย เพราะฉะนั้นผมมองว่าเป็นความรักที่บริสุทธิ์แบบหนึ่งครับ ซึ่งสามารถต่อยอดไปได้หลายรูปแบบถ้ามองว่า หากตัวละครมีการเติบโตเป็นวัยรุ่นได้ (ส่วนผมนี่จิ้นทุกฉาก โดยเฉพาะฉากที่กอดตอนซ้อนเวสป้าลงเนิน >.,<)
การที่ Luca ไม่ยอมรับตัวตนในขณะที่ Alberto เผยร่างจริงให้ Guilia เห็น ทำให้ Luca แสร้งทำเป็นรังเกียจมนุษย์เงือก ฉากนี้มีสามารถเชื่อมโยงไปที่ เหตุการณ์ที่เกย์อยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับเกย์ ทำให้ตัวเองต้องแสร้งว่าตัวเองไม่ได้เป็น และแสดงออกว่าเกลียดเกย์ทั้งๆที่ตัวเองก็เป็น
การที่ตอนจบ คู่ยาย-ยาย มนุษย์เงือกเผยตัวตน มีความสงสัยไหมครับว่าทำไมเค้าถึงเลือกที่จะใช้ตัวละครเพศเดียวกัน ซึ่งก็สามารถตีความได้หลายแบบทั้ง เป็นเพื่อนกัน,เป็นพี่น้อง, หรือเป็นคู่รักหญิง-หญิง
.......................................................
3. อันนี้ไม่เกี่ยวกับ LGBTQ+ แต่เกี่ยวกับเรื่องความหลากหลาย
- สังเกตได้ว่า Disney ออกแบบตัวละครมามีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ตัวละครหลัก Guilia เป็นเด็กผู้หญิงที่มีความ Masculine ลุยๆแบบเด็กผู้ชาย หรือตัวละคร Massimo ที่เป็นชายพิการแขนที่ดูแข็งแรงและใช้ชีวิตแบบปกติ
.......................................................
สุดท้ายนี้ อยากมาแชร์ว่าชอบหนังเรื่องนี้มากๆ อยากดูซ้ำและส่วนตัวอยากให้ Luca และ Alberto ได้ลงเอยกันมากในฐานะ LGBTQ+ คนหนึ่ง เพราะชอบความรักของสองคนนี้มาก (ยังไม่หายตาบวมจากตอนร้องไห้ฉากจบ) ใครอยากแชร์ความเห็นมาแชร์กันได้ครับ