สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวพันทิปทุกคน
ผมเคยมีประสบการณ์ไปเรียนในระดับปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไต้หวันมาสองปีครับ โดยได้ทุนแบบออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดจากองค์กรของรัฐบาลแห่งหนึ่งของไต้หวัน เมื่อเร็วๆนี้มีเพื่อนคนหนึ่งแนะนำให้ผมลองเขียนประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนที่ไต้หวันของตัวเองลงพันทิปดู ผมเลยอยากมาแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนเทอมแรกที่มหาวิทยาลัยที่นั่นให้เพื่อนๆ ชาวพันทิปฟังครับ ทั้งนี้ก็เพื่อเก็บเป็นบันทึกความทรงจำให้ตัวเองไม่ลืมด้วย จบมาแล้วหนึ่งปีก็รู้สึกเหมือนกับว่าความทรงจำตัวเองเริ่มเลือนลางอยู่บ้าง ฮ่ะๆ
ทีแรกผมคิดว่าผมจะตั้งกระทู้เล่าเกี่ยวกับการเตรียมตัวชิงทุนและการสมัครทุนก่อน แต่สุดท้ายผมก็ตัดสินใจข้ามมาเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนเทอมแรกเลยด้วยสองเหตุผล เหตุผลแรกคือผมคิดว่าในพันทิปมีกระทู้แนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการชิงทุนเรียนต่อต่างประเทศเยอะอยู่แล้ว ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือ ถึงผมคิดว่าการหาทุนไปเรียนต่อและการสมัครทุนจะยากแค่ไหนก็ตาม แต่สิ่งที่ยากกว่ามากๆคือการเรียนให้จบครับ และผมรู้สึกว่าคนที่ได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศยังไม่ค่อยมีใครเขียนเน้นเกี่ยวกับการเอาชีวิตให้รอดผ่านการเรียนเทอมแรกเท่าไรนัก เลยตัดสินใจมาตั้งกระทู้นี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ได้ทุนแล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องไปเจอกับอะไรในชีวิตระดับปริญญาโทครับ
มหาวิทยาลัยที่ผมไปเรียนมีชื่อย่อว่า NCCU และมีชื่อเต็มที่แปลเป็นภาษาไทยคือ “มหาวิทยาลัยการเมืองแห่งชาติไต้หวัน” มหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่ที่กรุงไทเป ใกล้ๆกับ Taipei Zoo และ Maokong Gondola (ถ้าใครเคยไปเที่ยวแถวนั้นอาจได้แวะเวียนผ่านไปบ้าง) มหาวิทยาลัยของเราจะมีจุดเด่นที่คณะสายสังคมศาสตร์ครับ (ตามชื่อเลย) โดยเฉพาะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จะโดดเด่นเป็นพิเศษ (แต่คณะ MBA และนิเทศศาสตร์เองก็ดังมากเหมือนกันนะ)
ภาพตึกคณะผมครับ (ตึกขวา) ตึกซ้ายเป็นโรงยิม
แนะนำมหาวิทยาลัยแบบสั้นๆ ไปแล้วก็ขอกลับมาเข้าเรื่องการเรียนในเทอมแรกดีกว่า…
ผมคิดว่าช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดของการใช้ชีวิตอยู่ที่ไต้หวันก็น่าจะเป็นช่วงสามสัปดาห์ก่อนเปิดเทอมแรกนี่แหละครับ (ฮา) เพราะมันเป็นช่วงที่เรายังอยู่ใน Honeymoon Phase เป็นช่วงที่เรายังไม่ต้องเริ่มเรียน เป็นช่วงที่เราเพิ่งได้เจอกับเพื่อนร่วมสาขาวิชา ได้ทำความรู้จักกัน ได้เข้าร่วมปฐมนิเทศ ได้ไปซื้อของที่ IKEA เพื่อประดับตกแต่งหอพักด้วยกัน ได้ไปเยี่ยมชมส่วนต่างๆของเมืองแห่งใหม่ที่เราเพิ่งมาอยู่ ได้พูดคุยเพื่อขอคำแนะนำด้านการเรียนจากรุ่นพี่ ได้ไปลองรับประทานอาหารใหม่ๆ (โดยที่มีเพื่อนที่พูดภาษาจีนเป็นคอยแปลเมนูให้) โอ๊ย...มันเป็นช่วงที่ทำอะไรก็มีความสุขไปหมด! มีความสุขจนไม่รู้ตัวเลยว่า นรกแห่งการเรียนกำลังจะมาเยือน….หึหึ
สาขาวิชาที่ผมเคยเรียนถือเป็นส่วนหนึ่งของ College of International Affairs ครับ มีชื่อเล่นของสาขาวิชาน่ารักๆ ว่า IMPIS วิชาเรียนที่มีสอนในสาขาวิชานี้ทั้งหมดจะเป็นคอร์สภาษาอังกฤษครับ คือเรียนเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ ไม่มีสอนเป็นภาษาจีน (แต่ถ้าใครอยากหัดพูด อ่าน หรือเขียนภาษาจีนก็สามารถไปลงเรียนคอร์สภาษาจีนพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยจัดให้ได้นะ) เพื่อนร่วมสาขาวิชาก็จะมีมาจากทุกมุมโลกเลย ไม่ว่าจะเป็นจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา ประเทศในแถบละตินอเมริกา (ฮอนดูรัส กัวเตมาลา เบลิซ ฯลฯ) ประเทศจากฝั่งยุโรป (เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ ฯลฯ) และก็เด็กๆ จากเอเชีย (มีทั้งจากไต้หวัน ญี่ปุ่น เวียดนาม และมีผมเป็นคนไทยเพียงคนเดียวของชั้นปี) ถึงจะมาจากหลากหลายแห่งทั่วมุมโลก แต่ทุกคนก็สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส และจีนเป็นภาษากลางครับ (อย่างไรก็ดี เวลาพูดกันในคลาสก็พูดกันเป็นภาษาอังกฤษนะ จะได้รู้เรื่องเข้าใจกันทุกคน )
การเรียนในเทอมแรก ถ้าจะให้พูดตามตรงคือน่าจะเป็นเทอมที่ผมคิดว่าสร้างผลกระทบที่สาหัสต่อจิตใจผมมากที่สุดแล้วครับ (มากกว่าเทอมสุดท้ายที่ต้องเขียนทีสิสซะด้วยซ้ำ) ทั้งนี้เพราะก่อนที่ผมจะมาเรียนที่ไต้หวัน ผมไม่เคยเรียนเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองการปกครองมาก่อนเลย เรียกได้ว่าผมเปลี่ยนสายการเรียนมาก็ได้ (ถึงผมจะจบจากมหาวิทยาลัยที่เป็นที่รู้จักเพราะคณะสายรัฐศาสตร์แห่งหนึ่งของไทยก็ตาม) ผมรู้สึกว่าผมน่าจะเป็นเพียงไม่กี่คนในห้องที่ต้องมาเริ่มเรียนโดยนับจากศูนย์ใหม่ทั้งหมดครับ สิ่งที่ผมมีในตอนนั้น เอาตรงๆเลยคือมีแค่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง ไม่ได้ equip ด้วยสิ่งอื่นใดที่จะทำให้มีชีวิตรอดในการเรียนรัฐศาสตร์ทั้งสิ้น!
ผมเลือกลงเรียนทั้งหมดสี่วิชาในเทอมแรกครับ ทั้งสี่วิชานั้นประกอบด้วย 1. วิชา IR Theory 2. วิชา Political Philosophy (ปรัชญาการเมือง) 3. วิชา Development Economics และ 4. วิชาสถิติ (ซึ่งเป็นวิชาบังคับ) นอกจากนี้ผมก็ยังลงเรียนภาษาจีนขั้นพื้นฐานด้วยครับ แต่หลังจากเรียนผ่านเทอมแรกไปได้สักสองสัปดาห์ผมก็ตัดสินใจทิ้งวิชา Political Philosophy ไป เพราะรู้สึกได้ว่าการเขียนเปเปอร์ให้วิชาเรียนสี่วิชาพร้อมกันเป็นเรื่องที่หนักมาก แต่ผมก็ไม่ได้ทิ้งไปโดยสิ้นเชิงนะครับ เพราะสุดท้ายแล้วผมจะไปเลือกเรียนวิชานี้อีกทีเมื่อมีพลังแก่กล้ามากขึ้นในปีสองเทอมหนึ่ง (และก็ทำให้เราได้รู้ว่าเราไม่ควรไปแตะอะไรเกี่ยวกับปรัชญาอีกแล้ว ฮา)
วิชา IR Theory ถือได้ว่าเป็นวิชารับน้องปีหนึ่งเลยล่ะครับ เพราะวิชานี้จะช่วยปูพื้นฐานให้เราทั้งหมด เราจะได้เริ่มเรียนตั้งแต่แนวคิดหลักทาง IR ทั้งสามแนวคิด ซึ่งได้แก่ Realism, Liberalism และ Constructivism ไปจนถึงเหตุการณ์สำคัญทางด้านการเมืองระหว่างประเทศในโลกเรา ซึ่ง...เป็นสิ่งที่เพื่อนทุกคนได้เรียนกันไปหมดแล้วครับในสมัยปอตรี T_T สารภาพตามตรงว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ทำให้ผมเครียดมาก เพราะวิชานี้ทำให้ผมทราบว่าผมนี่ช่างไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับโลกของเราซะเลย ผมกลายเป็นเด็กคนหนึ่งในห้องที่แทบจะไม่มีความคิดอะไรไปแชร์กับเพื่อนเวลาทุกคน discuss กัน ได้แต่นั่งเงียบๆ และจะคอยเปิดปากพูดต่อเมื่ออาจารย์ถามแบบระบุตัวอย่างเจาะจงในคลาสเท่านั้น การเรียนในวิชานี้ทำให้ผม question ตัวเองบ่อยครั้งมากว่าเรามานั่งอยู่ถูกที่แล้วใช่ไหม? นี่เราเป็นเด็กที่ได้ทุนมาจริงๆ หรือเปล่าเนี่ย? ทำไมเพื่อนทุกคนเก่งกันเหมือนเป็นคนที่เคยนั่งในที่ประชุมยูเอ็นมาก่อน? แล้วเราจะสามารถเอาชีวิตรอดไปจนถึงเทอมสุดท้ายได้จริงๆ เหรอ?
(มีต่อข้างล่างในคอมเมนต์ครับ)
เล่าประสบการณ์การเรียนป.โทด้าน IR เทอมแรกที่ไต้หวันครับ
ผมเคยมีประสบการณ์ไปเรียนในระดับปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไต้หวันมาสองปีครับ โดยได้ทุนแบบออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดจากองค์กรของรัฐบาลแห่งหนึ่งของไต้หวัน เมื่อเร็วๆนี้มีเพื่อนคนหนึ่งแนะนำให้ผมลองเขียนประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนที่ไต้หวันของตัวเองลงพันทิปดู ผมเลยอยากมาแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนเทอมแรกที่มหาวิทยาลัยที่นั่นให้เพื่อนๆ ชาวพันทิปฟังครับ ทั้งนี้ก็เพื่อเก็บเป็นบันทึกความทรงจำให้ตัวเองไม่ลืมด้วย จบมาแล้วหนึ่งปีก็รู้สึกเหมือนกับว่าความทรงจำตัวเองเริ่มเลือนลางอยู่บ้าง ฮ่ะๆ
ทีแรกผมคิดว่าผมจะตั้งกระทู้เล่าเกี่ยวกับการเตรียมตัวชิงทุนและการสมัครทุนก่อน แต่สุดท้ายผมก็ตัดสินใจข้ามมาเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนเทอมแรกเลยด้วยสองเหตุผล เหตุผลแรกคือผมคิดว่าในพันทิปมีกระทู้แนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการชิงทุนเรียนต่อต่างประเทศเยอะอยู่แล้ว ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือ ถึงผมคิดว่าการหาทุนไปเรียนต่อและการสมัครทุนจะยากแค่ไหนก็ตาม แต่สิ่งที่ยากกว่ามากๆคือการเรียนให้จบครับ และผมรู้สึกว่าคนที่ได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศยังไม่ค่อยมีใครเขียนเน้นเกี่ยวกับการเอาชีวิตให้รอดผ่านการเรียนเทอมแรกเท่าไรนัก เลยตัดสินใจมาตั้งกระทู้นี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ได้ทุนแล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องไปเจอกับอะไรในชีวิตระดับปริญญาโทครับ
มหาวิทยาลัยที่ผมไปเรียนมีชื่อย่อว่า NCCU และมีชื่อเต็มที่แปลเป็นภาษาไทยคือ “มหาวิทยาลัยการเมืองแห่งชาติไต้หวัน” มหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่ที่กรุงไทเป ใกล้ๆกับ Taipei Zoo และ Maokong Gondola (ถ้าใครเคยไปเที่ยวแถวนั้นอาจได้แวะเวียนผ่านไปบ้าง) มหาวิทยาลัยของเราจะมีจุดเด่นที่คณะสายสังคมศาสตร์ครับ (ตามชื่อเลย) โดยเฉพาะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จะโดดเด่นเป็นพิเศษ (แต่คณะ MBA และนิเทศศาสตร์เองก็ดังมากเหมือนกันนะ)
ภาพตึกคณะผมครับ (ตึกขวา) ตึกซ้ายเป็นโรงยิม
แนะนำมหาวิทยาลัยแบบสั้นๆ ไปแล้วก็ขอกลับมาเข้าเรื่องการเรียนในเทอมแรกดีกว่า…
ผมคิดว่าช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดของการใช้ชีวิตอยู่ที่ไต้หวันก็น่าจะเป็นช่วงสามสัปดาห์ก่อนเปิดเทอมแรกนี่แหละครับ (ฮา) เพราะมันเป็นช่วงที่เรายังอยู่ใน Honeymoon Phase เป็นช่วงที่เรายังไม่ต้องเริ่มเรียน เป็นช่วงที่เราเพิ่งได้เจอกับเพื่อนร่วมสาขาวิชา ได้ทำความรู้จักกัน ได้เข้าร่วมปฐมนิเทศ ได้ไปซื้อของที่ IKEA เพื่อประดับตกแต่งหอพักด้วยกัน ได้ไปเยี่ยมชมส่วนต่างๆของเมืองแห่งใหม่ที่เราเพิ่งมาอยู่ ได้พูดคุยเพื่อขอคำแนะนำด้านการเรียนจากรุ่นพี่ ได้ไปลองรับประทานอาหารใหม่ๆ (โดยที่มีเพื่อนที่พูดภาษาจีนเป็นคอยแปลเมนูให้) โอ๊ย...มันเป็นช่วงที่ทำอะไรก็มีความสุขไปหมด! มีความสุขจนไม่รู้ตัวเลยว่า นรกแห่งการเรียนกำลังจะมาเยือน….หึหึ
สาขาวิชาที่ผมเคยเรียนถือเป็นส่วนหนึ่งของ College of International Affairs ครับ มีชื่อเล่นของสาขาวิชาน่ารักๆ ว่า IMPIS วิชาเรียนที่มีสอนในสาขาวิชานี้ทั้งหมดจะเป็นคอร์สภาษาอังกฤษครับ คือเรียนเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ ไม่มีสอนเป็นภาษาจีน (แต่ถ้าใครอยากหัดพูด อ่าน หรือเขียนภาษาจีนก็สามารถไปลงเรียนคอร์สภาษาจีนพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยจัดให้ได้นะ) เพื่อนร่วมสาขาวิชาก็จะมีมาจากทุกมุมโลกเลย ไม่ว่าจะเป็นจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา ประเทศในแถบละตินอเมริกา (ฮอนดูรัส กัวเตมาลา เบลิซ ฯลฯ) ประเทศจากฝั่งยุโรป (เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ ฯลฯ) และก็เด็กๆ จากเอเชีย (มีทั้งจากไต้หวัน ญี่ปุ่น เวียดนาม และมีผมเป็นคนไทยเพียงคนเดียวของชั้นปี) ถึงจะมาจากหลากหลายแห่งทั่วมุมโลก แต่ทุกคนก็สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส และจีนเป็นภาษากลางครับ (อย่างไรก็ดี เวลาพูดกันในคลาสก็พูดกันเป็นภาษาอังกฤษนะ จะได้รู้เรื่องเข้าใจกันทุกคน )
การเรียนในเทอมแรก ถ้าจะให้พูดตามตรงคือน่าจะเป็นเทอมที่ผมคิดว่าสร้างผลกระทบที่สาหัสต่อจิตใจผมมากที่สุดแล้วครับ (มากกว่าเทอมสุดท้ายที่ต้องเขียนทีสิสซะด้วยซ้ำ) ทั้งนี้เพราะก่อนที่ผมจะมาเรียนที่ไต้หวัน ผมไม่เคยเรียนเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองการปกครองมาก่อนเลย เรียกได้ว่าผมเปลี่ยนสายการเรียนมาก็ได้ (ถึงผมจะจบจากมหาวิทยาลัยที่เป็นที่รู้จักเพราะคณะสายรัฐศาสตร์แห่งหนึ่งของไทยก็ตาม) ผมรู้สึกว่าผมน่าจะเป็นเพียงไม่กี่คนในห้องที่ต้องมาเริ่มเรียนโดยนับจากศูนย์ใหม่ทั้งหมดครับ สิ่งที่ผมมีในตอนนั้น เอาตรงๆเลยคือมีแค่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเท่านั้นเอง ไม่ได้ equip ด้วยสิ่งอื่นใดที่จะทำให้มีชีวิตรอดในการเรียนรัฐศาสตร์ทั้งสิ้น!
ผมเลือกลงเรียนทั้งหมดสี่วิชาในเทอมแรกครับ ทั้งสี่วิชานั้นประกอบด้วย 1. วิชา IR Theory 2. วิชา Political Philosophy (ปรัชญาการเมือง) 3. วิชา Development Economics และ 4. วิชาสถิติ (ซึ่งเป็นวิชาบังคับ) นอกจากนี้ผมก็ยังลงเรียนภาษาจีนขั้นพื้นฐานด้วยครับ แต่หลังจากเรียนผ่านเทอมแรกไปได้สักสองสัปดาห์ผมก็ตัดสินใจทิ้งวิชา Political Philosophy ไป เพราะรู้สึกได้ว่าการเขียนเปเปอร์ให้วิชาเรียนสี่วิชาพร้อมกันเป็นเรื่องที่หนักมาก แต่ผมก็ไม่ได้ทิ้งไปโดยสิ้นเชิงนะครับ เพราะสุดท้ายแล้วผมจะไปเลือกเรียนวิชานี้อีกทีเมื่อมีพลังแก่กล้ามากขึ้นในปีสองเทอมหนึ่ง (และก็ทำให้เราได้รู้ว่าเราไม่ควรไปแตะอะไรเกี่ยวกับปรัชญาอีกแล้ว ฮา)
วิชา IR Theory ถือได้ว่าเป็นวิชารับน้องปีหนึ่งเลยล่ะครับ เพราะวิชานี้จะช่วยปูพื้นฐานให้เราทั้งหมด เราจะได้เริ่มเรียนตั้งแต่แนวคิดหลักทาง IR ทั้งสามแนวคิด ซึ่งได้แก่ Realism, Liberalism และ Constructivism ไปจนถึงเหตุการณ์สำคัญทางด้านการเมืองระหว่างประเทศในโลกเรา ซึ่ง...เป็นสิ่งที่เพื่อนทุกคนได้เรียนกันไปหมดแล้วครับในสมัยปอตรี T_T สารภาพตามตรงว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ทำให้ผมเครียดมาก เพราะวิชานี้ทำให้ผมทราบว่าผมนี่ช่างไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับโลกของเราซะเลย ผมกลายเป็นเด็กคนหนึ่งในห้องที่แทบจะไม่มีความคิดอะไรไปแชร์กับเพื่อนเวลาทุกคน discuss กัน ได้แต่นั่งเงียบๆ และจะคอยเปิดปากพูดต่อเมื่ออาจารย์ถามแบบระบุตัวอย่างเจาะจงในคลาสเท่านั้น การเรียนในวิชานี้ทำให้ผม question ตัวเองบ่อยครั้งมากว่าเรามานั่งอยู่ถูกที่แล้วใช่ไหม? นี่เราเป็นเด็กที่ได้ทุนมาจริงๆ หรือเปล่าเนี่ย? ทำไมเพื่อนทุกคนเก่งกันเหมือนเป็นคนที่เคยนั่งในที่ประชุมยูเอ็นมาก่อน? แล้วเราจะสามารถเอาชีวิตรอดไปจนถึงเทอมสุดท้ายได้จริงๆ เหรอ?
(มีต่อข้างล่างในคอมเมนต์ครับ)