การนับอายุตามกฎหมายแพ่ง เกิดคนละวัน แต่ครบ 20 ปีบริบูรณ์วันเดียวกัน (กระทู้แสดงความเข้าใจ)

อายุของบุคคลเริ่มนับตั้งแต่วันที่เกิดเป็น 1 วัน แม้จะเกิดเวลาใกล้ข้ามวันเป็นวันใหม่แล้วก็ตาม (ป.พ.พ. มาตรา 16)

เกิดคนละวัน คือ วันที่ 1 กับ 2 มกราคม พ.ศ. เดียวกัน (สมมติเป็น พ.ศ. 2544)

ระยะเวลา 20 ปี เป็นกำหนดระยะเวลาเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทิน (ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคหนึ่ง)

ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งปี (ทุกวัน นอกจากวันที่ 1 มกราคม) ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น (ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคสอง)

กรณีเกิดวันที่ 1 มกราคม 2544 ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่วันนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 16 อันเป็นวันต้นแห่งปี กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคหนึ่ง ให้คำนวณปีตามปีปฏิทิน จึงครบ 20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม 2564

กรณีเกิดวันที่ 2 มกราคม 2544 ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่วันนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 16 อันมิใช่วันต้นแห่งปี กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคสอง ให้ระยะเวลาสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น (วันที่ 2 มกราคม 2564) จึงครบ 20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม 2564

ถ้าเห็นว่าเข้าใจผิด โปรดชี้แนะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่