การขอตรวจบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ใช่การขอค้นตัว การขอตรวจบัตรฯ
เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน เจ้าพนักงานตรวจบัตร มีอำนาจขอดู
บัตร ( มาตรา 17 พ.ร.บ.บัตรฯ 2526 )
ผู้ถือบัตรจะต้องมีบัตรประจำตัวไว้พร้อมที่จะแสดงต่อเจ้าพนักงานตลอดเวลา
หากไม่อาจแสดงได้ในเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ มีความผิดต้องถูกปรับไม่
เกิน 200 บาท เจ้าพนักงานตรวจบัตร ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้น
ผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้น
นายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
นอกจากนี้ ตามด่านตรวจที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ยังกำหนดให้เจ้าพนักงาน
ฝ่ายปกครองตำรวจ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายในหรือเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ตามด่านดังกล่าว เป็นเจ้า
พนักงานตรวจบัตรด้วย
ส่วนการค้นหรือขอค้นเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มตรา 93
http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=259556
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชนชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554
บุคคลที่มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยต้องไปยื่นขอทำบัตรประชาชน ณ ที่ทำการอำเภอ สำนักงานเขต (ในกรุงเทพฯ) หรือที่ทำการกิ่งอำเภอท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่นั้น ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ โดยนำหลักฐานต่อไปนี้ไปแสดง
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้แจ้งอยู่ด้วย
2. สูติบัตรหรือใบสุทธิสำเนาทะเบียนนักเรียน
3. ใบเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
การนับอายุเพื่อขอบัตรประจำตัวประชาชน ให้นับปีชนปีตามวันเกิด เช่น เด็กที่เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 จะครบกำหนด 7 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ซึ่งหลังจากนี้ไม่เกิน 60 วัน จะต้องยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน มิฉะนั้นจะต้องถูกปรับไม่เกิน 100 บาท
บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุเท่าใด
บัตรประชาชนให้ใช้ได้ 8 ปี นับแต่วันที่ออกบัตรและมีอายุ 8 ปี นับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังวันออกบัตร ซึ่งในบัตรประจำตัวประชาชนนั้นเองจะระบุวันที่บัตรหมดอายุไว้ เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว จะต้องขอเปลี่ยนบัตรใหม่ภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากฝ่าฝืนจะถูกปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ถือบัตรที่มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ให้คงใช้ได้ตลอดชีวิต
กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย หรือชำรุดมาก หรือกรณีเปลี่ยนชื่น เปลี่ยนนามสกุล ต้องขอทำบัติใหม่หรือเปลี่ยนบัตรใหม่ภายใน 60 วัน
กรณีที่ได้สัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือกรณีที่เพิ่มชื่อในทะเบียบบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร์ หรือกรณีที่พ้นสภาพจากการได้รับยกเว้นไม่ต้องขอมีบัตร จะต้องขอมีบัตรภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันได้สัญชาติไทยหรือกลับคืนสัญชาติไทย หรือได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านหรือพ้นสภาพการได้รับยกเว้นไม่ต้องมีบัตร
การไม่แสดงบัตรประจำตัว
ผู้ถือบัตรจะต้องมีบัตรประจำตัวไว้พร้อมที่จะแสดงต่อเจ้าพนักงานตลอดเวลา หากไม่อาจแสดงได้ในเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ มีความผิดต้องถูกปรับไม่เกิน 200 บาท เจ้าพนักงานตรวจบัตร ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ตามด่านตรวจที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ยังกำหนดให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตำรวจ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในหรือเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ตามด่านดังกล่าว เป็นเจ้าพนักงานตรวจบัตรด้วย
การขอตรวจบัตรประจำตัวประชาชนไม่ใช่การขอค้น
เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน เจ้าพนักงานตรวจบัตร มีอำนาจขอดู
บัตร ( มาตรา 17 พ.ร.บ.บัตรฯ 2526 )
ผู้ถือบัตรจะต้องมีบัตรประจำตัวไว้พร้อมที่จะแสดงต่อเจ้าพนักงานตลอดเวลา
หากไม่อาจแสดงได้ในเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ มีความผิดต้องถูกปรับไม่
เกิน 200 บาท เจ้าพนักงานตรวจบัตร ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้น
ผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้น
นายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
นอกจากนี้ ตามด่านตรวจที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ยังกำหนดให้เจ้าพนักงาน
ฝ่ายปกครองตำรวจ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายในหรือเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ตามด่านดังกล่าว เป็นเจ้า
พนักงานตรวจบัตรด้วย
ส่วนการค้นหรือขอค้นเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มตรา 93
http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=259556
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชนชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554
บุคคลที่มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยต้องไปยื่นขอทำบัตรประชาชน ณ ที่ทำการอำเภอ สำนักงานเขต (ในกรุงเทพฯ) หรือที่ทำการกิ่งอำเภอท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่นั้น ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ โดยนำหลักฐานต่อไปนี้ไปแสดง
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้แจ้งอยู่ด้วย
2. สูติบัตรหรือใบสุทธิสำเนาทะเบียนนักเรียน
3. ใบเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
การนับอายุเพื่อขอบัตรประจำตัวประชาชน ให้นับปีชนปีตามวันเกิด เช่น เด็กที่เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 จะครบกำหนด 7 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ซึ่งหลังจากนี้ไม่เกิน 60 วัน จะต้องยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน มิฉะนั้นจะต้องถูกปรับไม่เกิน 100 บาท
บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุเท่าใด
บัตรประชาชนให้ใช้ได้ 8 ปี นับแต่วันที่ออกบัตรและมีอายุ 8 ปี นับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังวันออกบัตร ซึ่งในบัตรประจำตัวประชาชนนั้นเองจะระบุวันที่บัตรหมดอายุไว้ เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว จะต้องขอเปลี่ยนบัตรใหม่ภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากฝ่าฝืนจะถูกปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ถือบัตรที่มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ให้คงใช้ได้ตลอดชีวิต
กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย หรือชำรุดมาก หรือกรณีเปลี่ยนชื่น เปลี่ยนนามสกุล ต้องขอทำบัติใหม่หรือเปลี่ยนบัตรใหม่ภายใน 60 วัน
กรณีที่ได้สัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือกรณีที่เพิ่มชื่อในทะเบียบบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร์ หรือกรณีที่พ้นสภาพจากการได้รับยกเว้นไม่ต้องขอมีบัตร จะต้องขอมีบัตรภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันได้สัญชาติไทยหรือกลับคืนสัญชาติไทย หรือได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านหรือพ้นสภาพการได้รับยกเว้นไม่ต้องมีบัตร
การไม่แสดงบัตรประจำตัว
ผู้ถือบัตรจะต้องมีบัตรประจำตัวไว้พร้อมที่จะแสดงต่อเจ้าพนักงานตลอดเวลา หากไม่อาจแสดงได้ในเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ มีความผิดต้องถูกปรับไม่เกิน 200 บาท เจ้าพนักงานตรวจบัตร ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ตามด่านตรวจที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ยังกำหนดให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตำรวจ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในหรือเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ตามด่านดังกล่าว เป็นเจ้าพนักงานตรวจบัตรด้วย