"ไหล่ทางกับการเกิดอุบัติเหตุจราจร" เขียนโดย พ.ต.ท.ภูมิรพี ผลาภูมิ✅
เมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจร การชี้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด มีหลักการ ดังนี้
1. ฝ่ายใดฝ่าฝืน กฎจราจร
2. และการฝ่าฝืนตามข้อ 1. นั้น ต้องมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุ
3. หากไม่ได้ฝ่าฝืนกฎจราจร แต่มีความประมาท ปราศจากความระมัดระวังตามสมควรซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นหรือวิญญูชนคนทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
4. มีผู้พิพากษาท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ผู้ขับขี่มีความประมาทติดตัวตั้งแต่ขับรถออกมาบนท้องถนน เนื่องจากมีโอกาสที่ผู้ขับขี่จะขับรถชนคนหรือรถอื่นได้ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เหตุเกิด การที่ผู้ขับขี่จะอ้างว่าไม่มีส่วนก่อให้เกิดเหตุนั้น จึงเป็นเรื่องยากกว่าการพิจารณาว่าผู้ขับขี่มีส่วนก่อให้เกิดเหตุ
5. การรับผิดชอบทางแพ่ง ตามสัดส่วนแห่งความประมาทนั้น
ขออนุญาตยกข่าวที่เกี่ยวข้องมาประกอบ 2 ข่าว
1. เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูนสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในการออกมาตรการความปลอดภัยบนทางพิเศษด้วยกล้องตรวจจับความเร็วและกล้องตรวจจับรถยนต์วิ่งไหล่ทางซ้าย (ช่องทางฉุกเฉิน) รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย วิ่งไหล่ทางปรับ 1,000 บาท สำหรับผู้ฝ่าฝืน มีโทษตามกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 มีระบุในมาตรา 103 ว่า “ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน” ประกอบมาตรา 33 จึงมีความผิดตามมาตรา 139 ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนรายละเอียดการใช้ทาง กรณีฉุกเฉินจะไม่ถือว่าเข้าข่ายต้องบังคับใช้กฎหมาย
2. ด้าน พ.ต.อ.ชูตระกูล ยศมาดี รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจ.สมุทรปราการ กล่าวว่า การวิ่งบนไหล่ทางเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จะอนุญาตให้เฉพาะรถฉุกเฉิน รถพยาบาล และรถดับเพลิงใช้เท่านั้น หรือในชั่วโมงเร่งด่วนหากมีเจ้าพนักงานจราจรเปิดช่องให้ใช้ไหล่ทางก็สามารถทำได้ อย่างไรก็ตามบทลงโทษการวิ่งบนไหล่ทางไม่ได้มีการระบุชัด แต่ผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดีโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท... อ่านต่อที่ :
https://www.dailynews.co.th/article/835191/
ตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ไหล่ทาง มีไว้สำหรับ คนเดินเท้า รถจักรยาน และรถฉุกเฉิน เท่านั้น รถอื่น ต้องใช้ทางเดินรถ แต่พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ไม่ได้ระบุความผิดสำหรับรถอื่นที่ขับขี่บนไหล่ทางไว้อย่างชัดเจน การขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ บนไหล่ทาง หากไม่มีคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร หรือเครื่องหมายจราจร ห้ามไว้ ตาม ม.139 ผู้ขับขี่จึงยังไม่มีความผิด แต่หากเกิดอุบัติเหตุจราจร สามารถ นำข้อที่ฝ่าฝืน มาพิจารณา ในคดีได้ ผู้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ โดยไม่มีเหตุอันควร แล้วก่อให้เกิดอุบัติเหตุ จึงมีส่วนประมาท เช่น ผู้ขับรถตามหลัง ต้องขับในระยะห่างพอสมควร หยุดได้เมื่อจำเป็นต้องหยุด แม้กฎหมายไม่กำหนดเป็นความผิดและไม่มีบทลงโทษไว้ แต่เมื่อกฎหมายมีข้อปฏิบัติแล้วไม่ปฏิบัติตาม เหตุจึงเกิดจากความประมาทของผู้นั้นได้ เป็นต้น
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ แบ่งออก เป็น
1. ข้อให้ปฏิบัติ แต่การฝ่าฝืนไม่ระบุว่า มีความผิด เช่น
-ลักษณะ 7 ม.75 รถฉุกเฉิน มีสิทธิ์ขับรถโดยฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น วิ่งช่องทางใดก็ได้ ขับเร็วเกินกำหนดได้ ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรได้ ฯ
-ลักษณะ 3 ม.40 ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ
2. ข้อให้ปฏิบัติ หรือ ข้อห้าม การฝ่าฝืนระบุว่า มีความผิด เช่น
-ลักษณะ 10 ม.79-84 ผู้ขับขี่รถจักรยาน ใช้ทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางรถจักรยาน ได้ แต่ถ้ามีทางรถจักรยานต้องขับขี่บนทางรถจักรยานที่ กำหนดไว้ ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ และความผิดอื่นๆ อีก มีบทลงโทษตาม ม.147,158 ปรับไม่เกิน 200 บาท หรือ 500 บาทแล้วแต่กรณี
-ลักษณะ 13 ม.103 ทางใดที่มีทางเท้า หรือ ไหล่ทาง อยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้า เดินบนทางเท้า หรือไหล่ทาง แล้วแต่กรณี ฝ่าฝืน ต้อง ระวางโทษ ตาม ม.147 ปรับไม่เกิน 200 บาท
-ลักษณะ 3 ม.33 ผู้ขับรถ ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาหรือล้ำ กึ่งกลางของทางเดินรถได้
(1) ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(2) ทางเดินรถนั้นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(3) ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึงหกเมตร
ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษตาม ม.151 ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท
-ลักษณะ 3 ม.35 รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้....ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ตาม ม.157 ปรับ 400-1,000 บาท
-ลักษณะ 3 ม.36 ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า เปลี่ยนช่องเดินรถ ลดความเร็วของรถ จอดรถ หรือหยุดรถ ต้องให้สัญญาณ...ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ตาม ม.148 ปรับไม่เกิน 500 บาท
-ลักษณะ 3 ม.44 ผู้ขับขี่ซึ่งประสงค์จะขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในทางเดินรถ ซึ่งไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ ต้องให้สัญญาณโดยกระพริบไฟหน้าหลายครั้ง....การแซงต้องแซงด้านขวาโดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควร เมื่อเห็นว่าได้ขับผ่านขึ้นหน้ารถที่ถูกแซงไปในระยะที่ห่างเพียงพอแล้วจึงจะขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถได้ ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ตาม ม.148 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 500 บาท
-ลักษณะ 3 ม.45 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นด้านซ้าย เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
(2) ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป
การขับรถแซงด้านซ้ายตาม (1) หรือ (2) จะกระทำได้เมื่อไม่มีรถอื่นตามมาในระยะกระชั้นชิดและมีความปลอดภัยพอ
ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษตาม ม.157 ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
-ลักษณะ 3 ม.46 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
(2) ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ
(3) เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะหกสิบเมตร
(4) เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษตาม ม.157 ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
การแก้ปัญหาความสับสนในการใช้ทาง จึงควร ออกกฎกระทรวง หรือ แก้ พรบ.จราจร เพิ่มข้อห้ามให้ชัดเจน ว่า ห้ามหรืออนุญาต ให้รถ ชนิดใดบ้างขับบนไหล่ทาง และมีข้อยกเว้น ในกรณีใดบ้าง ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ….
อย่างไรก็ตาม แม้ พรบ จราจร ฯ ไม่มีบทบัญญัติใด ห้ามรถจักรยานยนต์ และรถยนต์วิ่งบนไหล่ทาง โดยชัดเจน แต่บทบัญญัติในแต่ละมาตราก็กล่าวถึงข้อปฏิบัติ และข้อห้ามในการขับขี่รถบนทางเดินรถสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไว้ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกล่าวถึงในกรณีรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์วิ่งบนไหล่ทางเลย จึงอนุมานได้ว่า รถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้วิ่งได้เฉพาะในทางเดินรถ ไม่ควรวิ่งบนไหล่ทางซึ่งกฎหมายจัดให้มีไว้สำหรับคนเดินเท้า ,รถจักรยาน และรถฉุกเฉิน เว้นแต่มีเหตุอันควร หากเกิดอุบัติเหตุ สามารถนำข้อพึงควรปฏิบัติมาประกอบการพิจารณาได้
แต่ถ้าหากมีเครื่องหมายจราจรติดตั้งไว้ หรือมีเจ้าพนักงานจราจรยืนสั่งการ ห้าม หรือ อนุญาตให้รถชนิดใดวิ่งได้ ในถนนแห่งนั้น ผู้ขับขี่ก็ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืน จึงจะมีความผิด ฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร ตาม ม.139 ต้องระวางโทษ ตาม ม.147 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ตัวอย่างข้อพิจารณา คดี รถชนกันบนไหล่ทาง ในกรณีรถยนต์เลี้ยวซ้ายชนกับรถจักรยานยนต์ที่วิ่งบนไหล่ทาง
-ไหล่ทาง ถึงแม้ไม่ใช่ ช่องทางเดินรถ แต่ก็เป็นทาง ดังนั้นเมื่อรถจักรยานยนต์ขับขี่อยู่ข้างหน้าในไหล่ทาง ถือว่าเป็นผู้ใช้ทางอยู่ก่อน รถยนต์แซงขึ้นไปแล้วเลี้ยวตัดหน้า ไม่ให้สัญญาณจราจรก่อนเลี้ยว ถือว่าผู้ขับขี่รถยนต์ไม่ใช้ความระมัดระวังเท่าที่วิญญูชนพึงจะมี
- เมื่อไหล่ทาง ให้รถฉุกเฉิน หรือรถจักรยาน วิ่ง ได้ จึงถือว่า ไหล่ทางเป็นช่องทางเดินรถจำกัดเฉพาะรถบางประเภทและเป็นทางเท้าสำหรับคนเดินเท้าเท่านั้น การใช้สิทธิ์บนช่องทางเดินรถ ที่มีผู้ใช้อยู่ก่อนแล้ว จะต้องขออนุญาตเขาก่อน แม้รถนั้นจะละเมิดกฎเข้าไปวิ่งอยู่ในไหล่ทาง ผิดประเภทรถและการใช้ทางก็ตาม เปรียบเทียบกับกรณีมีรถยนต์แอบเข้าไปวิ่งในช่องทางเดินรถประจำทาง รถอื่นจะเลี้ยว จะแซงรถนั้น ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเลี้ยว การแซง การเปลี่ยนช่องทางเดินรถ ให้ถูกต้องเสียก่อน
- แต่ถ้าจากการสอบสวน ปรากฏ ว่า รถจักรยานยนต์ที่ใช้ทางบนไหล่ทางผิดประเภทรถนี้ วิ่งมาด้วยความเร็วสูง กว่ารถที่วิ่งอยู่ในทางเดินรถ ซึ่งรถที่มีความเร็วสูงกว่าควรวิ่งในช่องทางเดินรถ มิใช่วิ่งบนไหล่ทาง และหากกำลังจะแซงขึ้นหน้ารถยนต์ไป ซึ่งควรแซงในช่องทางเดินรถทางด้านขวา เว้นแต่ทางเดินรถทางเดียวกันมีตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไป หรือรถยนต์กำลังเลี้ยวขวา จึงแซงในช่องทางเดินรถด้านซ้ายได้ อีกทั้งรถยนต์ให้สัญญาณเลี้ยวซ้ายแล้ว เป็นระยะทางก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร รถจักรยานยนต์ก็น่าจะเห็นได้ นอกจากนี้ กฎหมายห้ามผู้ขับขี่ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางร่วมทางแยก แต่ยังฝืนขับแซงขึ้นไปบนไหล่ทางเช่นนี้ ย่อมถือว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขับโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งวิญญูชนจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ด้วย
หลักการแซง กฎหมายกำหนด การแซงไว้เฉพาะบนทางเดินรถเท่านั้น หากแซงบนไหล่ทางซึ่งกฎหมายไม่ได้บัญญัติเอาไว้ จึงถือว่าผิดทุกกรณี หากเกิดอุบัติเหตุย่อมถือว่าผู้ขับขี่มีความประมาท
ข้อสังเกต มาตรา 48 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงหรือผ่านขึ้นหน้ารถคันอื่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง เว้นแต่ในกรณีที่มีสิ่งกีดขวางการจราจรในทางเดินรถข้างหน้าหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร แต่ทั้งนี้จะขับรถอยู่ในช่องเดินรถประจำทางได้เพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น มาตรานี้ ได้กล่าวถึงห้ามแซงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง แต่ยังไม่มีมาตราใด กล่าวว่า ห้ามแซงล้ำเข้าไปในไหล่ทาง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่คนเดินเท้า,รถจักรยาน,รถฉุกเฉิน หรือรถอื่นที่จอดเสียอยู่ ดังนั้น จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ห้ามแซงล้ำเข้าไปในไหล่ทางใน พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ด้วยนะครับ
บทความ "ไหล่ทางกับการเกิดอุบัติเหตุจราจร" :บทความนี้เป็นวิทยาทานครับ ท่านมีความคิดเห็นเป็นประการใด ชี้แนะได้ครับ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจร การชี้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด มีหลักการ ดังนี้
1. ฝ่ายใดฝ่าฝืน กฎจราจร
2. และการฝ่าฝืนตามข้อ 1. นั้น ต้องมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุ
3. หากไม่ได้ฝ่าฝืนกฎจราจร แต่มีความประมาท ปราศจากความระมัดระวังตามสมควรซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นหรือวิญญูชนคนทั่วไปจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
4. มีผู้พิพากษาท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ผู้ขับขี่มีความประมาทติดตัวตั้งแต่ขับรถออกมาบนท้องถนน เนื่องจากมีโอกาสที่ผู้ขับขี่จะขับรถชนคนหรือรถอื่นได้ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เหตุเกิด การที่ผู้ขับขี่จะอ้างว่าไม่มีส่วนก่อให้เกิดเหตุนั้น จึงเป็นเรื่องยากกว่าการพิจารณาว่าผู้ขับขี่มีส่วนก่อให้เกิดเหตุ
5. การรับผิดชอบทางแพ่ง ตามสัดส่วนแห่งความประมาทนั้น
ขออนุญาตยกข่าวที่เกี่ยวข้องมาประกอบ 2 ข่าว
1. เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูนสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในการออกมาตรการความปลอดภัยบนทางพิเศษด้วยกล้องตรวจจับความเร็วและกล้องตรวจจับรถยนต์วิ่งไหล่ทางซ้าย (ช่องทางฉุกเฉิน) รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย วิ่งไหล่ทางปรับ 1,000 บาท สำหรับผู้ฝ่าฝืน มีโทษตามกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 มีระบุในมาตรา 103 ว่า “ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน” ประกอบมาตรา 33 จึงมีความผิดตามมาตรา 139 ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนรายละเอียดการใช้ทาง กรณีฉุกเฉินจะไม่ถือว่าเข้าข่ายต้องบังคับใช้กฎหมาย
2. ด้าน พ.ต.อ.ชูตระกูล ยศมาดี รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจ.สมุทรปราการ กล่าวว่า การวิ่งบนไหล่ทางเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จะอนุญาตให้เฉพาะรถฉุกเฉิน รถพยาบาล และรถดับเพลิงใช้เท่านั้น หรือในชั่วโมงเร่งด่วนหากมีเจ้าพนักงานจราจรเปิดช่องให้ใช้ไหล่ทางก็สามารถทำได้ อย่างไรก็ตามบทลงโทษการวิ่งบนไหล่ทางไม่ได้มีการระบุชัด แต่ผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดีโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/835191/
ตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ไหล่ทาง มีไว้สำหรับ คนเดินเท้า รถจักรยาน และรถฉุกเฉิน เท่านั้น รถอื่น ต้องใช้ทางเดินรถ แต่พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ไม่ได้ระบุความผิดสำหรับรถอื่นที่ขับขี่บนไหล่ทางไว้อย่างชัดเจน การขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ บนไหล่ทาง หากไม่มีคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร หรือเครื่องหมายจราจร ห้ามไว้ ตาม ม.139 ผู้ขับขี่จึงยังไม่มีความผิด แต่หากเกิดอุบัติเหตุจราจร สามารถ นำข้อที่ฝ่าฝืน มาพิจารณา ในคดีได้ ผู้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ โดยไม่มีเหตุอันควร แล้วก่อให้เกิดอุบัติเหตุ จึงมีส่วนประมาท เช่น ผู้ขับรถตามหลัง ต้องขับในระยะห่างพอสมควร หยุดได้เมื่อจำเป็นต้องหยุด แม้กฎหมายไม่กำหนดเป็นความผิดและไม่มีบทลงโทษไว้ แต่เมื่อกฎหมายมีข้อปฏิบัติแล้วไม่ปฏิบัติตาม เหตุจึงเกิดจากความประมาทของผู้นั้นได้ เป็นต้น
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ แบ่งออก เป็น
1. ข้อให้ปฏิบัติ แต่การฝ่าฝืนไม่ระบุว่า มีความผิด เช่น
-ลักษณะ 7 ม.75 รถฉุกเฉิน มีสิทธิ์ขับรถโดยฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น วิ่งช่องทางใดก็ได้ ขับเร็วเกินกำหนดได้ ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรได้ ฯ
-ลักษณะ 3 ม.40 ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ
2. ข้อให้ปฏิบัติ หรือ ข้อห้าม การฝ่าฝืนระบุว่า มีความผิด เช่น
-ลักษณะ 10 ม.79-84 ผู้ขับขี่รถจักรยาน ใช้ทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางรถจักรยาน ได้ แต่ถ้ามีทางรถจักรยานต้องขับขี่บนทางรถจักรยานที่ กำหนดไว้ ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ และความผิดอื่นๆ อีก มีบทลงโทษตาม ม.147,158 ปรับไม่เกิน 200 บาท หรือ 500 บาทแล้วแต่กรณี
-ลักษณะ 13 ม.103 ทางใดที่มีทางเท้า หรือ ไหล่ทาง อยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้า เดินบนทางเท้า หรือไหล่ทาง แล้วแต่กรณี ฝ่าฝืน ต้อง ระวางโทษ ตาม ม.147 ปรับไม่เกิน 200 บาท
-ลักษณะ 3 ม.33 ผู้ขับรถ ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาหรือล้ำ กึ่งกลางของทางเดินรถได้
(1) ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(2) ทางเดินรถนั้นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(3) ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึงหกเมตร
ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษตาม ม.151 ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท
-ลักษณะ 3 ม.35 รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้....ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ตาม ม.157 ปรับ 400-1,000 บาท
-ลักษณะ 3 ม.36 ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า เปลี่ยนช่องเดินรถ ลดความเร็วของรถ จอดรถ หรือหยุดรถ ต้องให้สัญญาณ...ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ตาม ม.148 ปรับไม่เกิน 500 บาท
-ลักษณะ 3 ม.44 ผู้ขับขี่ซึ่งประสงค์จะขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในทางเดินรถ ซึ่งไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ ต้องให้สัญญาณโดยกระพริบไฟหน้าหลายครั้ง....การแซงต้องแซงด้านขวาโดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควร เมื่อเห็นว่าได้ขับผ่านขึ้นหน้ารถที่ถูกแซงไปในระยะที่ห่างเพียงพอแล้วจึงจะขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถได้ ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ตาม ม.148 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 500 บาท
-ลักษณะ 3 ม.45 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นด้านซ้าย เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
(2) ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป
การขับรถแซงด้านซ้ายตาม (1) หรือ (2) จะกระทำได้เมื่อไม่มีรถอื่นตามมาในระยะกระชั้นชิดและมีความปลอดภัยพอ
ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษตาม ม.157 ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
-ลักษณะ 3 ม.46 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
(2) ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ
(3) เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะหกสิบเมตร
(4) เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษตาม ม.157 ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
การแก้ปัญหาความสับสนในการใช้ทาง จึงควร ออกกฎกระทรวง หรือ แก้ พรบ.จราจร เพิ่มข้อห้ามให้ชัดเจน ว่า ห้ามหรืออนุญาต ให้รถ ชนิดใดบ้างขับบนไหล่ทาง และมีข้อยกเว้น ในกรณีใดบ้าง ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ….
อย่างไรก็ตาม แม้ พรบ จราจร ฯ ไม่มีบทบัญญัติใด ห้ามรถจักรยานยนต์ และรถยนต์วิ่งบนไหล่ทาง โดยชัดเจน แต่บทบัญญัติในแต่ละมาตราก็กล่าวถึงข้อปฏิบัติ และข้อห้ามในการขับขี่รถบนทางเดินรถสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไว้ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกล่าวถึงในกรณีรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์วิ่งบนไหล่ทางเลย จึงอนุมานได้ว่า รถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้วิ่งได้เฉพาะในทางเดินรถ ไม่ควรวิ่งบนไหล่ทางซึ่งกฎหมายจัดให้มีไว้สำหรับคนเดินเท้า ,รถจักรยาน และรถฉุกเฉิน เว้นแต่มีเหตุอันควร หากเกิดอุบัติเหตุ สามารถนำข้อพึงควรปฏิบัติมาประกอบการพิจารณาได้
แต่ถ้าหากมีเครื่องหมายจราจรติดตั้งไว้ หรือมีเจ้าพนักงานจราจรยืนสั่งการ ห้าม หรือ อนุญาตให้รถชนิดใดวิ่งได้ ในถนนแห่งนั้น ผู้ขับขี่ก็ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืน จึงจะมีความผิด ฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร ตาม ม.139 ต้องระวางโทษ ตาม ม.147 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ตัวอย่างข้อพิจารณา คดี รถชนกันบนไหล่ทาง ในกรณีรถยนต์เลี้ยวซ้ายชนกับรถจักรยานยนต์ที่วิ่งบนไหล่ทาง
-ไหล่ทาง ถึงแม้ไม่ใช่ ช่องทางเดินรถ แต่ก็เป็นทาง ดังนั้นเมื่อรถจักรยานยนต์ขับขี่อยู่ข้างหน้าในไหล่ทาง ถือว่าเป็นผู้ใช้ทางอยู่ก่อน รถยนต์แซงขึ้นไปแล้วเลี้ยวตัดหน้า ไม่ให้สัญญาณจราจรก่อนเลี้ยว ถือว่าผู้ขับขี่รถยนต์ไม่ใช้ความระมัดระวังเท่าที่วิญญูชนพึงจะมี
- เมื่อไหล่ทาง ให้รถฉุกเฉิน หรือรถจักรยาน วิ่ง ได้ จึงถือว่า ไหล่ทางเป็นช่องทางเดินรถจำกัดเฉพาะรถบางประเภทและเป็นทางเท้าสำหรับคนเดินเท้าเท่านั้น การใช้สิทธิ์บนช่องทางเดินรถ ที่มีผู้ใช้อยู่ก่อนแล้ว จะต้องขออนุญาตเขาก่อน แม้รถนั้นจะละเมิดกฎเข้าไปวิ่งอยู่ในไหล่ทาง ผิดประเภทรถและการใช้ทางก็ตาม เปรียบเทียบกับกรณีมีรถยนต์แอบเข้าไปวิ่งในช่องทางเดินรถประจำทาง รถอื่นจะเลี้ยว จะแซงรถนั้น ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเลี้ยว การแซง การเปลี่ยนช่องทางเดินรถ ให้ถูกต้องเสียก่อน
- แต่ถ้าจากการสอบสวน ปรากฏ ว่า รถจักรยานยนต์ที่ใช้ทางบนไหล่ทางผิดประเภทรถนี้ วิ่งมาด้วยความเร็วสูง กว่ารถที่วิ่งอยู่ในทางเดินรถ ซึ่งรถที่มีความเร็วสูงกว่าควรวิ่งในช่องทางเดินรถ มิใช่วิ่งบนไหล่ทาง และหากกำลังจะแซงขึ้นหน้ารถยนต์ไป ซึ่งควรแซงในช่องทางเดินรถทางด้านขวา เว้นแต่ทางเดินรถทางเดียวกันมีตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไป หรือรถยนต์กำลังเลี้ยวขวา จึงแซงในช่องทางเดินรถด้านซ้ายได้ อีกทั้งรถยนต์ให้สัญญาณเลี้ยวซ้ายแล้ว เป็นระยะทางก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร รถจักรยานยนต์ก็น่าจะเห็นได้ นอกจากนี้ กฎหมายห้ามผู้ขับขี่ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางร่วมทางแยก แต่ยังฝืนขับแซงขึ้นไปบนไหล่ทางเช่นนี้ ย่อมถือว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขับโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งวิญญูชนจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ด้วย
หลักการแซง กฎหมายกำหนด การแซงไว้เฉพาะบนทางเดินรถเท่านั้น หากแซงบนไหล่ทางซึ่งกฎหมายไม่ได้บัญญัติเอาไว้ จึงถือว่าผิดทุกกรณี หากเกิดอุบัติเหตุย่อมถือว่าผู้ขับขี่มีความประมาท
ข้อสังเกต มาตรา 48 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงหรือผ่านขึ้นหน้ารถคันอื่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง เว้นแต่ในกรณีที่มีสิ่งกีดขวางการจราจรในทางเดินรถข้างหน้าหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร แต่ทั้งนี้จะขับรถอยู่ในช่องเดินรถประจำทางได้เพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น มาตรานี้ ได้กล่าวถึงห้ามแซงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง แต่ยังไม่มีมาตราใด กล่าวว่า ห้ามแซงล้ำเข้าไปในไหล่ทาง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่คนเดินเท้า,รถจักรยาน,รถฉุกเฉิน หรือรถอื่นที่จอดเสียอยู่ ดังนั้น จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ห้ามแซงล้ำเข้าไปในไหล่ทางใน พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ด้วยนะครับ