ยังหนัก! โควิดคร่าชีวิตอีก 44 ราย ติดเชื้อใหม่ยังพุ่ง 5,916 คน
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2810130
ยังหนัก! โควิดคร่าชีวิตอีก 44 ราย ติดเชื้อใหม่ยังพุ่ง 5,916 คน
เมื่อเวลา 07.50 น. วันที่ 4 กรกฎาคม ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ประจำวัน โดยระบุว่า พบผู้ติดเชื้อรวมรวม 5,916 ราย จำแนกเป็น
-ติดเชื้อใหม่ 5,877 ราย
-ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 39 ราย
-หายป่วยกลับบ้าน 3,404 ราย
-ผู้ป่วยสะสม 254,204 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
-เสียชีวิต 44 ราย
วิโรจน์ สงสัยทำไมไทยซื้อ ซิโนแวค แพงกว่าอินโดนีเซีย ถึงโดสละ 98.5 บาท
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6489120
3 ก.ค. 2564 – นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการนำเข้าวัคซีน ซิโนแวค ของรัฐบาล ที่มีราคาแพงกว่าของอินโดนีเซียมาก โดยอ้างอิงราคาจากมติครม. เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา
นาย
วิโรจน์ ระบุว่า
จากมติครม. 27 เม.ย. 64 ซิโนแวค 5 แสนโดส = 271.25 ล้านบาท ตกราคาโดสละ 542.5 บาท แต่อินโดนีเซียซื้อโดสละ Rp 200,000 = หรือเท่ากับ 444 บาท ต่อโดส ส่วนต่าง = 98.5 บาทต่อโดส
ตอนนี้จัดหาซิโนแวคมาแล้ว 19.5 ล้านโดส หักบริจาค 1 ล้านโดส เท่ากับซื้อ 18.5 ล้านโดส ใช้งบประมาณ 10,036.25 ล้านบาท แต่ถ้าซื้อในราคาอินโดนีเซียจะใช้งบประมาณ 8,214 ล้านบาท แตกต่างกัน 1,822.25 ล้านบาท
ถ้าซื้ออีก 28 ล้านโดส จะใช้งบประมาณ = 15,190 ล้านบาท ถ้าซื้อในราคาอินโดนีเซียจะใช้งบประมาณ = 12,432 ล้านบาท แตกต่างกัน = 2,758 ล้านบาท
เมื่อนำตัวเลข 18.5 ล้านโดส (ที่จัดหามาแล้ว) มารวมกับ 28 ล้านโดส (กรณีซื้อเพิ่ม) จะ = 46.5 ล้านโดส ใช้งบประมาณ 25,226.25 ล้านบาท มูลค่าส่วนต่าง = 4,580.25 ล้านบาท
https://twitter.com/wirojlak/status/1411333006267092995
https://twitter.com/wirojlak/status/1411334288658747398
https://twitter.com/wirojlak/status/1411334834652270595
บิ๊กธุรกิจผวา 7 วันอันตราย คุมโควิดไม่อยู่-จี้เร่งแก้ปมวัคซีน
https://www.prachachat.net/general/news-704501
กทม.-ปริมณฑลโคม่า โควิดสายพันธุ์อินเดียลามหนัก ผู้ติดเชื้อ-ตายเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง หมอหวั่นวิกฤตเตียงขาดดันยอดผู้เสียชีวิตพุ่งไม่หยุด จากเดือน ก.ค.ที่ 1,400 คน เป็น 2,800 คนในเดือน ก.ย. ทำระบบสาธารณสุขเดินต่อไม่ได้ จี้รื้อแผนบริหารจัดการวัคซีนพุ่งเป้ากลุ่มเสี่ยง “แอสตร้าเซนเนก้า” ผิดนัดตามคาด เผยส่งมอบได้แค่ 5-6 ล้านโดสจากเป้า 10 ล้านโดส/เดือน ธุรกิจผวายอดป่วย-ตายพุ่ง กระทุ้งรัฐเร่งฉีดวัคซีน หนุน 120 วันเปิดประเทศภูเก็ตแซนด์บอกซ์ วงการรับเหมาโอดเสียหายหมื่นล้าน
การแพร่ระบาดของโควิด-19 วิกฤตรุนแรงกว่าที่คาด ยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตรายวันยังพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดระบบสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มรับไม่ไหว ผู้ป่วยอาการรุนแรง ผู้ติดเชื้อจำนวนมากไม่มีโรงพยาบาล เตียงรองรับได้เพียงพอ ต้องกักตัวรอเตียงที่บ้านเพิ่มขึ้นทุกวัน จนน่าห่วงว่าระบบสาธารสุขไทยที่ตกอยู่ในภาวะกำแพงแตกจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยอาการรุนแรง ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งในอัตราเร่งมากขึ้น ขณะที่วัคซีนหลักอย่างแอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแวค ยังมีปริมาณไม่เพียงพอ
ล่าสุดในส่วนของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเดิมจะส่งมอบให้รัฐบาลเดือนละ 10 ล้านโดส ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะครบตามเป้า 61 ล้านโดส จะส่งให้ได้แค่ 5-6 ล้านโดส/เดือน ทำให้รัฐอาจต้องปรับแผนการบริหารจัดการวัคซีนทั้งระบบใหม่ จากปัจจุบันที่หลายจังหวัดต้องเลื่อนระยะเวลาฉีดวัคซีนให้กับประชาชน เนื่องจากได้รับจัดสรรวัคซีนจากส่วนกลางน้อย กระทบแผนการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นภายในประเทศปลายปีนี้ ส่งผลต่อเนื่องถึงแผนเปิดประเทศที่รัฐบาลกำหนดระยะเวลาไว้ 1 ต.ค.นี้
ขณะเดียวกันก็ทำให้ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ภัตตาคาร ภาคอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ วิตกกังวลว่า ถ้าสถานการณ์โควิดขณะนี้ที่รุนแรงเกินจุดวิกฤต ภาครัฐต้องยืดระยะเวลากึ่งล็อกดาวน์พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 6 จังหวัด จากที่กำหนดไว้ 1 เดือนจนถึงปลายเดือนนี้ออกไปอีก จะยิ่งส่งผลกระทบสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ ช่วง 7-14 วันจากนี้ไปจึงเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องรีบตัดสินใจก่อนสายเกินแก้
เดลต้าพิษร้าย-ยอดตายพุ่ง
วันที่ 2 ก.ค. 2564 นพ.
คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบาดวิทยา และที่ปรึกษาด้านวิชาการ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยในงานเสวนา “วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปได้อย่างไร” จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข ว่า ปัจจุบันไทยยังอยู่ในการระบาดระลอก 3 ซึ่งเดิมมีสายพันธุ์อัลฟ่า หรือสายพันธุ์อังกฤษ เป็นสายพันธุ์หลัก แต่การเข้ามาของสายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย จะทำให้สถานการณ์ 3 เดือนจากนี้ไปแย่ลง สะท้อนจากพื้นที่แพร่ระบาดหนักเขตกรุงเทพฯ เป็นสายพันธุ์เดลต้ากว่า 40% คาดว่าอีก 1-2 เดือน จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทยแทน จะติดง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 1.4 เท่า
หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ โดยเดือน มิ.ย.มีผู้เสียชีวิต 992 คน เดือน ก.ค.คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 1,400 คน เดือน ส.ค.จะเพิ่มเป็น 2,000 คน จากนั้นเดือน ก.ย.จะเสียชีวิตสูงถึง 2,800 คน ทำให้ระบบสาธารณสุขเดินต่อไปไม่ได้
พุ่งเป้ากลุ่มเสี่ยงแก้เตียงขาด
นอกจากนี้จะเห็นว่าในกลุ่มผู้เสียชีวิตกว่า 80% เป็นผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ดังนั้น หากเปลี่ยนเป้าวัคซีนจากการปูพรมฉีดในทุกกลุ่ม ซึ่งฉีดกลุ่มสูงวัยได้ราวเดือนละ 10% และมีเป้าหมายหลักหลายจุดประสงค์ ตั้งแต่เปิดโรงเรียน โรงงาน หากดำเนินตามแผนเดิมจะไม่ทันวิกฤตเตียงขาด ตนในฐานะนักวิชาการอยากเสนอให้เปลี่ยนเป้าฉีดวัคซีน โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้สูงอายุก่อน เพื่อลดการเสียชีวิต ลดอาการเจ็บหนัก นำไปสู่การใช้เตียงวิกฤต ห้องไอซียู โดยนำวัคซีนที่มีในมือจำกัดมาใช้กับกลุ่มดังกล่าวจึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด
“หากทำได้จะลดอัตราการเสียชีวิตลง เดือน ก.ค.จะเหลือราว 1,000 คน ส.ค.เหลือ 800 คน และเดือน ก.ย.เหลือเดือนละ 600-700 คน เฉลี่ยวันละ 20 คน อยู่ในวิสัยที่ยังรับได้ วันนี้ไม่มีเตียงไอซียูแล้ว กลุ่มคนสูงวัยและผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีประมาณ 18 ล้านคน ตอนนี้ฉีดไปแล้ว 2 ล้านคน ถ้าระดมฉีดกลุ่มนี้ใน 2 เดือน สถานการณ์จะดีขึ้น”
ซิโนแวค-แอสตร้าฯพอใช้ได้
นพ.
ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยมีวัคซีนหลัก 2 ยี่ห้อ ได้แก่ ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า โดยซิโนแวคนำเข้ามาเฉพาะกิจรอบที่ระบาดหนัก พบว่าได้ผลในการป้องกันโรค 71-91% หากติดเชื้อโควิดจะมีอาการน้อย ผลการศึกษาในบราซิล ในกลุ่มประชาชน 70,000-80,000 คน ในสายพันธุ์บราซิล หรือ P1 สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ 80-90% ส่วนผลการศึกษาจากอินโดนีเซียระบุว่า ฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้วยังติดเชื้อ หรือเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ มาจากสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาของจีนพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่เมืองกว่างโจว 166 คน ฉีดซิโนแวคแล้วลดการติดเชื้อได้ 69% ลดอาการปอดอักเสบได้ 73% ลดอาการบาดเจ็บรุนแรงจนถึงการเสียชีวิตได้ถึง 95%
ด้านวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งจะเป็นวัคซีนหลักของไทย ป้องกันการติดเชื้อในสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ได้สูงถึง 70-90% และในอินเดียมีประสิทธิภาพสูงถึง 97% ส่วนการศึกษาในสายพันธุ์เดลต้าลดการติดเชื้อได้ 80-90% ประสิทธิภาพใกล้เคียงวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงราว 94-95%
แอสตร้าฯเดือนละ 5-6 ล้านโดส
ขณะที่ นพ.
นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ในส่วนของการจัดหาวัคซีนในของไทย สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้เร่งจัดหาวัคซีนให้ได้เดือนละ 10 ล้านโดส แต่ด้วยการผลิตวัคซีนแอสตร้าฯ โดยสยามไบโอไซเอนซ์เพิ่งเริ่มผลิต ทำให้เดือน มิ.ย.ได้เพียง 6 ล้านโดส ส่วนเดือนต่อไปคาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตวัคซีนในประเทศมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 15-16 ล้านโดส/เดือน แต่ด้วยข้อตกลงกับบริษัทแอสตร้าฯ ซึ่งต้องส่งออกวัคซีนไปประเทศอื่น ๆ แต่ละเดือนไทยจะได้แอสตร้าเซนเนก้าเพียง 5-6 ล้านโดสเท่านั้น
สถาบันวัคซีนฯจึงพยายามจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่นมาเสริม โดยได้จัดหาไฟเซอร์ ซึ่งได้สั่งจองแล้ว 20 ล้านโดส เบื้องต้นคาดว่าน่าจะนำเข้ามาได้ไตรมาส 4 จากเดิมไตรมาส 3 เนื่องจากรูปแบบของบริษัทวัคซีนต้องผลิตไปพร้อม ๆ กับการส่งมอบ ประกอบกับไทยสั่งจองช้า ติดปัญหารอบด้าน ที่ขณะนี้ดีมานด์ทั่วโลกสูง ผู้ซื้อเสียเปรียบหลายด้าน จึงต้องปรึกษาหลายฝ่าย อาทิ อัยการสูงสุด คณะรัฐมนตรี
“ขณะนี้วัคซีนที่จะได้ในช่วงไตรมาส 3 ได้แก่ ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม และแอสตร้าเซนเนก้า และอยู่ระหว่างศึกษาการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 โดยฉีดยี่ห้อเดียวกัน รวมไปถึงการสลับฉีดกับวัคซีน mRNA เพื่อหาวิธีป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด”
ธุรกิจกังวลยอดป่วย-ตายพุ่ง
ในส่วนของมุมมองภาคธุรกิจ นาย
บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บมจ.สหพัฒนพิบูล ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ทั้งตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ และการตายที่มีเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจกังวล และติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด เพราะส่งผลกระทบกับธุรกิจค่อนข้างมาก ตั้งแต่การระบาดรอบแรกปีที่แล้วจนถึงปีนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ยังไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ มีคลัสเตอร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่อง ดั้งนั้น สาธารณสุขควรหาทางหยุดวงจรติดเชื้อให้ได้
สำหรับปัญหาเรื่องวัคซีนที่รัฐบาลพยายามแก้ไข เข้าใจว่าส่วนหนึ่งมาจากความต้องการทั่วโลกที่มีมาก ทำให้วัคซีนขาดแคลน แต่วันนี้วัคซีนที่มีอยู่ทั้งหมด รัฐบาลหรือกระทรวงสาธารณสุขต้องเร่งฉีดให้เร็ว ต้องจัดสรรให้เหมาะสม จัดลำดับว่ากลุ่มไหนควรได้ก่อนหรือหลัง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ภาคบริการ คนที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับวัคซีนเร็ว ๆ
เมื่อถามว่าจากสถานการณ์ที่หนักขึ้นจะส่งผลกระทบและอันตรายต่อเศรษฐกิจกำลังซื้ออย่าไร นาย
บุญชัยกล่าวว่า “เราพูดเรื่องเศรษฐกิจกำลังซื้อมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็ยังน่าเป็นห่วง กำลังซื้อตกลงมาก รัฐบาลต้องอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเพื่อกระตุ้นและประคับประคอง แต่ยังหาทางออกไม่ได้ ที่สำคัญคือ ตอนนี้คนต้องได้รับการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด”
“ตอนนี้ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เมื่อไหร่โควิดจะจบ เศรษฐกิจแย่ลงทุกวัน การค้าก็แย่ลง ต่างประเทศเข้ามาไม่ได้ อย่างภูเก็ตแซนด์บอกซ์ จากนี้ไปไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเข้ามาแล้วคุมการติดเชื้อได้ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดี หรือ 120 วันที่จะเปิดประเทศ ถ้ามันไม่ได้จะแย่ คนจะหมดศรัทธาในรัฐบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับควบคุมสถานการณ์ได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับการประกาศล็อกดาวน์ 30 วัน โดยส่วนตัวมองว่าได้ผลไม่มากก็น้อย ดีกว่าไม่ทำอะไร ถ้าไม่ได้ผลก็มีโอกาสขยายเวลาออกไปอีก”
รับเหมาเสียหายหมื่นล้าน
สำหรับวงการรับเหมาก่อสร้าง นางสาว
ลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCA) กล่าวว่า มองว่ารัฐบาลจะควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดได้จากมาตรการปิดแคมป์ก่อสร้าง และควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด เพราะตอนนี้รัฐไม่มีทางเลือกแล้ว จะเอาไม่อยู่ไม่ได้อีกต่อไป หากเอาไม่อยู่จะเสียหายต่อเศรษฐกิจประเทศ ในส่วนของผู้รับเหมาก่อสร้างประเมินความเสียหายจากมาตรการ 10,000 ล้านบาท แต่ทุกบริษัทจะถือโอกาสใน 30 วันนี้เคลียร์ตัวเองอย่างเต็มที่
JJNY : โควิดคร่า44ติดเชื้อ 5,916│วิโรจน์สงสัยซื้อซิโนแวคแพงกว่าอินโด│บิ๊กธุรกิจผวา7วันอันตราย│อินโดฯอนุมัติโมเดอร์น่า
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2810130
ยังหนัก! โควิดคร่าชีวิตอีก 44 ราย ติดเชื้อใหม่ยังพุ่ง 5,916 คน
เมื่อเวลา 07.50 น. วันที่ 4 กรกฎาคม ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ประจำวัน โดยระบุว่า พบผู้ติดเชื้อรวมรวม 5,916 ราย จำแนกเป็น
-ติดเชื้อใหม่ 5,877 ราย
-ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 39 ราย
-หายป่วยกลับบ้าน 3,404 ราย
-ผู้ป่วยสะสม 254,204 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
-เสียชีวิต 44 ราย
วิโรจน์ สงสัยทำไมไทยซื้อ ซิโนแวค แพงกว่าอินโดนีเซีย ถึงโดสละ 98.5 บาท
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6489120
3 ก.ค. 2564 – นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการนำเข้าวัคซีน ซิโนแวค ของรัฐบาล ที่มีราคาแพงกว่าของอินโดนีเซียมาก โดยอ้างอิงราคาจากมติครม. เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา
นายวิโรจน์ ระบุว่า
จากมติครม. 27 เม.ย. 64 ซิโนแวค 5 แสนโดส = 271.25 ล้านบาท ตกราคาโดสละ 542.5 บาท แต่อินโดนีเซียซื้อโดสละ Rp 200,000 = หรือเท่ากับ 444 บาท ต่อโดส ส่วนต่าง = 98.5 บาทต่อโดส
ตอนนี้จัดหาซิโนแวคมาแล้ว 19.5 ล้านโดส หักบริจาค 1 ล้านโดส เท่ากับซื้อ 18.5 ล้านโดส ใช้งบประมาณ 10,036.25 ล้านบาท แต่ถ้าซื้อในราคาอินโดนีเซียจะใช้งบประมาณ 8,214 ล้านบาท แตกต่างกัน 1,822.25 ล้านบาท
ถ้าซื้ออีก 28 ล้านโดส จะใช้งบประมาณ = 15,190 ล้านบาท ถ้าซื้อในราคาอินโดนีเซียจะใช้งบประมาณ = 12,432 ล้านบาท แตกต่างกัน = 2,758 ล้านบาท
เมื่อนำตัวเลข 18.5 ล้านโดส (ที่จัดหามาแล้ว) มารวมกับ 28 ล้านโดส (กรณีซื้อเพิ่ม) จะ = 46.5 ล้านโดส ใช้งบประมาณ 25,226.25 ล้านบาท มูลค่าส่วนต่าง = 4,580.25 ล้านบาท
https://twitter.com/wirojlak/status/1411333006267092995
https://twitter.com/wirojlak/status/1411334288658747398
https://twitter.com/wirojlak/status/1411334834652270595
บิ๊กธุรกิจผวา 7 วันอันตราย คุมโควิดไม่อยู่-จี้เร่งแก้ปมวัคซีน
https://www.prachachat.net/general/news-704501
กทม.-ปริมณฑลโคม่า โควิดสายพันธุ์อินเดียลามหนัก ผู้ติดเชื้อ-ตายเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง หมอหวั่นวิกฤตเตียงขาดดันยอดผู้เสียชีวิตพุ่งไม่หยุด จากเดือน ก.ค.ที่ 1,400 คน เป็น 2,800 คนในเดือน ก.ย. ทำระบบสาธารณสุขเดินต่อไม่ได้ จี้รื้อแผนบริหารจัดการวัคซีนพุ่งเป้ากลุ่มเสี่ยง “แอสตร้าเซนเนก้า” ผิดนัดตามคาด เผยส่งมอบได้แค่ 5-6 ล้านโดสจากเป้า 10 ล้านโดส/เดือน ธุรกิจผวายอดป่วย-ตายพุ่ง กระทุ้งรัฐเร่งฉีดวัคซีน หนุน 120 วันเปิดประเทศภูเก็ตแซนด์บอกซ์ วงการรับเหมาโอดเสียหายหมื่นล้าน
การแพร่ระบาดของโควิด-19 วิกฤตรุนแรงกว่าที่คาด ยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตรายวันยังพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดระบบสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มรับไม่ไหว ผู้ป่วยอาการรุนแรง ผู้ติดเชื้อจำนวนมากไม่มีโรงพยาบาล เตียงรองรับได้เพียงพอ ต้องกักตัวรอเตียงที่บ้านเพิ่มขึ้นทุกวัน จนน่าห่วงว่าระบบสาธารสุขไทยที่ตกอยู่ในภาวะกำแพงแตกจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยอาการรุนแรง ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งในอัตราเร่งมากขึ้น ขณะที่วัคซีนหลักอย่างแอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแวค ยังมีปริมาณไม่เพียงพอ
ล่าสุดในส่วนของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเดิมจะส่งมอบให้รัฐบาลเดือนละ 10 ล้านโดส ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะครบตามเป้า 61 ล้านโดส จะส่งให้ได้แค่ 5-6 ล้านโดส/เดือน ทำให้รัฐอาจต้องปรับแผนการบริหารจัดการวัคซีนทั้งระบบใหม่ จากปัจจุบันที่หลายจังหวัดต้องเลื่อนระยะเวลาฉีดวัคซีนให้กับประชาชน เนื่องจากได้รับจัดสรรวัคซีนจากส่วนกลางน้อย กระทบแผนการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นภายในประเทศปลายปีนี้ ส่งผลต่อเนื่องถึงแผนเปิดประเทศที่รัฐบาลกำหนดระยะเวลาไว้ 1 ต.ค.นี้
ขณะเดียวกันก็ทำให้ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ภัตตาคาร ภาคอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ วิตกกังวลว่า ถ้าสถานการณ์โควิดขณะนี้ที่รุนแรงเกินจุดวิกฤต ภาครัฐต้องยืดระยะเวลากึ่งล็อกดาวน์พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 6 จังหวัด จากที่กำหนดไว้ 1 เดือนจนถึงปลายเดือนนี้ออกไปอีก จะยิ่งส่งผลกระทบสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ ช่วง 7-14 วันจากนี้ไปจึงเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องรีบตัดสินใจก่อนสายเกินแก้
เดลต้าพิษร้าย-ยอดตายพุ่ง
วันที่ 2 ก.ค. 2564 นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบาดวิทยา และที่ปรึกษาด้านวิชาการ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยในงานเสวนา “วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปได้อย่างไร” จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข ว่า ปัจจุบันไทยยังอยู่ในการระบาดระลอก 3 ซึ่งเดิมมีสายพันธุ์อัลฟ่า หรือสายพันธุ์อังกฤษ เป็นสายพันธุ์หลัก แต่การเข้ามาของสายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย จะทำให้สถานการณ์ 3 เดือนจากนี้ไปแย่ลง สะท้อนจากพื้นที่แพร่ระบาดหนักเขตกรุงเทพฯ เป็นสายพันธุ์เดลต้ากว่า 40% คาดว่าอีก 1-2 เดือน จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทยแทน จะติดง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 1.4 เท่า
หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ โดยเดือน มิ.ย.มีผู้เสียชีวิต 992 คน เดือน ก.ค.คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 1,400 คน เดือน ส.ค.จะเพิ่มเป็น 2,000 คน จากนั้นเดือน ก.ย.จะเสียชีวิตสูงถึง 2,800 คน ทำให้ระบบสาธารณสุขเดินต่อไปไม่ได้
พุ่งเป้ากลุ่มเสี่ยงแก้เตียงขาด
นอกจากนี้จะเห็นว่าในกลุ่มผู้เสียชีวิตกว่า 80% เป็นผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ดังนั้น หากเปลี่ยนเป้าวัคซีนจากการปูพรมฉีดในทุกกลุ่ม ซึ่งฉีดกลุ่มสูงวัยได้ราวเดือนละ 10% และมีเป้าหมายหลักหลายจุดประสงค์ ตั้งแต่เปิดโรงเรียน โรงงาน หากดำเนินตามแผนเดิมจะไม่ทันวิกฤตเตียงขาด ตนในฐานะนักวิชาการอยากเสนอให้เปลี่ยนเป้าฉีดวัคซีน โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้สูงอายุก่อน เพื่อลดการเสียชีวิต ลดอาการเจ็บหนัก นำไปสู่การใช้เตียงวิกฤต ห้องไอซียู โดยนำวัคซีนที่มีในมือจำกัดมาใช้กับกลุ่มดังกล่าวจึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด
“หากทำได้จะลดอัตราการเสียชีวิตลง เดือน ก.ค.จะเหลือราว 1,000 คน ส.ค.เหลือ 800 คน และเดือน ก.ย.เหลือเดือนละ 600-700 คน เฉลี่ยวันละ 20 คน อยู่ในวิสัยที่ยังรับได้ วันนี้ไม่มีเตียงไอซียูแล้ว กลุ่มคนสูงวัยและผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีประมาณ 18 ล้านคน ตอนนี้ฉีดไปแล้ว 2 ล้านคน ถ้าระดมฉีดกลุ่มนี้ใน 2 เดือน สถานการณ์จะดีขึ้น”
ซิโนแวค-แอสตร้าฯพอใช้ได้
นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยมีวัคซีนหลัก 2 ยี่ห้อ ได้แก่ ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า โดยซิโนแวคนำเข้ามาเฉพาะกิจรอบที่ระบาดหนัก พบว่าได้ผลในการป้องกันโรค 71-91% หากติดเชื้อโควิดจะมีอาการน้อย ผลการศึกษาในบราซิล ในกลุ่มประชาชน 70,000-80,000 คน ในสายพันธุ์บราซิล หรือ P1 สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ 80-90% ส่วนผลการศึกษาจากอินโดนีเซียระบุว่า ฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้วยังติดเชื้อ หรือเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ มาจากสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาของจีนพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่เมืองกว่างโจว 166 คน ฉีดซิโนแวคแล้วลดการติดเชื้อได้ 69% ลดอาการปอดอักเสบได้ 73% ลดอาการบาดเจ็บรุนแรงจนถึงการเสียชีวิตได้ถึง 95%
ด้านวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งจะเป็นวัคซีนหลักของไทย ป้องกันการติดเชื้อในสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ได้สูงถึง 70-90% และในอินเดียมีประสิทธิภาพสูงถึง 97% ส่วนการศึกษาในสายพันธุ์เดลต้าลดการติดเชื้อได้ 80-90% ประสิทธิภาพใกล้เคียงวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงราว 94-95%
แอสตร้าฯเดือนละ 5-6 ล้านโดส
ขณะที่ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ในส่วนของการจัดหาวัคซีนในของไทย สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้เร่งจัดหาวัคซีนให้ได้เดือนละ 10 ล้านโดส แต่ด้วยการผลิตวัคซีนแอสตร้าฯ โดยสยามไบโอไซเอนซ์เพิ่งเริ่มผลิต ทำให้เดือน มิ.ย.ได้เพียง 6 ล้านโดส ส่วนเดือนต่อไปคาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตวัคซีนในประเทศมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 15-16 ล้านโดส/เดือน แต่ด้วยข้อตกลงกับบริษัทแอสตร้าฯ ซึ่งต้องส่งออกวัคซีนไปประเทศอื่น ๆ แต่ละเดือนไทยจะได้แอสตร้าเซนเนก้าเพียง 5-6 ล้านโดสเท่านั้น
สถาบันวัคซีนฯจึงพยายามจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่นมาเสริม โดยได้จัดหาไฟเซอร์ ซึ่งได้สั่งจองแล้ว 20 ล้านโดส เบื้องต้นคาดว่าน่าจะนำเข้ามาได้ไตรมาส 4 จากเดิมไตรมาส 3 เนื่องจากรูปแบบของบริษัทวัคซีนต้องผลิตไปพร้อม ๆ กับการส่งมอบ ประกอบกับไทยสั่งจองช้า ติดปัญหารอบด้าน ที่ขณะนี้ดีมานด์ทั่วโลกสูง ผู้ซื้อเสียเปรียบหลายด้าน จึงต้องปรึกษาหลายฝ่าย อาทิ อัยการสูงสุด คณะรัฐมนตรี
“ขณะนี้วัคซีนที่จะได้ในช่วงไตรมาส 3 ได้แก่ ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม และแอสตร้าเซนเนก้า และอยู่ระหว่างศึกษาการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 โดยฉีดยี่ห้อเดียวกัน รวมไปถึงการสลับฉีดกับวัคซีน mRNA เพื่อหาวิธีป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด”
ธุรกิจกังวลยอดป่วย-ตายพุ่ง
ในส่วนของมุมมองภาคธุรกิจ นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บมจ.สหพัฒนพิบูล ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ทั้งตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ และการตายที่มีเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจกังวล และติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด เพราะส่งผลกระทบกับธุรกิจค่อนข้างมาก ตั้งแต่การระบาดรอบแรกปีที่แล้วจนถึงปีนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ยังไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ มีคลัสเตอร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่อง ดั้งนั้น สาธารณสุขควรหาทางหยุดวงจรติดเชื้อให้ได้
สำหรับปัญหาเรื่องวัคซีนที่รัฐบาลพยายามแก้ไข เข้าใจว่าส่วนหนึ่งมาจากความต้องการทั่วโลกที่มีมาก ทำให้วัคซีนขาดแคลน แต่วันนี้วัคซีนที่มีอยู่ทั้งหมด รัฐบาลหรือกระทรวงสาธารณสุขต้องเร่งฉีดให้เร็ว ต้องจัดสรรให้เหมาะสม จัดลำดับว่ากลุ่มไหนควรได้ก่อนหรือหลัง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ภาคบริการ คนที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับวัคซีนเร็ว ๆ
เมื่อถามว่าจากสถานการณ์ที่หนักขึ้นจะส่งผลกระทบและอันตรายต่อเศรษฐกิจกำลังซื้ออย่าไร นายบุญชัยกล่าวว่า “เราพูดเรื่องเศรษฐกิจกำลังซื้อมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็ยังน่าเป็นห่วง กำลังซื้อตกลงมาก รัฐบาลต้องอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเพื่อกระตุ้นและประคับประคอง แต่ยังหาทางออกไม่ได้ ที่สำคัญคือ ตอนนี้คนต้องได้รับการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด”
“ตอนนี้ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เมื่อไหร่โควิดจะจบ เศรษฐกิจแย่ลงทุกวัน การค้าก็แย่ลง ต่างประเทศเข้ามาไม่ได้ อย่างภูเก็ตแซนด์บอกซ์ จากนี้ไปไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเข้ามาแล้วคุมการติดเชื้อได้ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดี หรือ 120 วันที่จะเปิดประเทศ ถ้ามันไม่ได้จะแย่ คนจะหมดศรัทธาในรัฐบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับควบคุมสถานการณ์ได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับการประกาศล็อกดาวน์ 30 วัน โดยส่วนตัวมองว่าได้ผลไม่มากก็น้อย ดีกว่าไม่ทำอะไร ถ้าไม่ได้ผลก็มีโอกาสขยายเวลาออกไปอีก”
รับเหมาเสียหายหมื่นล้าน
สำหรับวงการรับเหมาก่อสร้าง นางสาวลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCA) กล่าวว่า มองว่ารัฐบาลจะควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดได้จากมาตรการปิดแคมป์ก่อสร้าง และควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด เพราะตอนนี้รัฐไม่มีทางเลือกแล้ว จะเอาไม่อยู่ไม่ได้อีกต่อไป หากเอาไม่อยู่จะเสียหายต่อเศรษฐกิจประเทศ ในส่วนของผู้รับเหมาก่อสร้างประเมินความเสียหายจากมาตรการ 10,000 ล้านบาท แต่ทุกบริษัทจะถือโอกาสใน 30 วันนี้เคลียร์ตัวเองอย่างเต็มที่