คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ตอบ คุณสมาชิกหมายเลข 5932972 ความเห็น 9
ผมขอทบทวนข้อความในกระทู้ ที่ว่า
- มีจุด Wstpl ถ้าราคามันหลุด(ต้องดูวันศุกร์หรือหากระหว่างสัปดาห์กราฟบอกเสียแล้วก็ต้องตัดสินใจ)ผมก็จะขาย
- และถ้าอยากอยู่กับมันต่อ เมื่อราคาลงไปแต่ไม่หลุด Mstpl ให้รับของกลับ ในราคาที่ต่ำกว่า
นั้นคือ ประโยชน์ของการมี จุดตัดสินใจ 2 ระยะ นอกจากนั้นยังมีประโยชน์
1. สำหรับคนเงินเย็น/ถือยาว/ได้ต้นทุนมาถูก/ไม่อยากยุ่งกับกราฟ/ไม่สนใจข่าวใดๆ/เพราะจะเป็นVI/รันเทรนด์ >>>> ดูแต่ Mstpl จบ
2. Wstpl มีประโยชน์ ในกรณี ที่กราฟใหญ่มาดีไม่เสียทรง แต่เกิดมีมรสุมตลาด ทำให้ราคาลงมาตามดัชนี และหลุดWstpl เมื่อราคานิ่ง แต่ไม่หลุด
Mstpl เป็นโอกาสที่จะเก็บเพิ่ม >>> หากต้องการ ......(เพราะช่วงเวลาตอนที่ราคาหล่นหลุด Wstpl เราก็ไม่ได้ขายเนื่องจากเราจะถือยาว
เราจึงยึด Mstpl เป็นหลัก หรือ ตั้งตัวไม่ทันทำอะไรไม่ถูก + ตื่นตกใจ)
เห็นมั๊ย !! ถ้าไม่มี Wstpl เราก็จะไม่ได้กระทำการใด นั่งดูเฉยๆ เหมือนวันที่ดัชนีร่วง-70จุด แล้วกลับขึ้นมา-15(มั๊ง)ภายใน15 นาที
ถ้ากราฟใหญ่ไม่เสียทรง เราควรเก็บหุ้นตัวนั้นเพิ่ม(หากมีเงินสดเหลืออยู่ หรือ แล้วแต่การตัดสินใจของแต่ละคน)
3. บางกรณี หุ้นบางตัวมีแท่งเทียนเดือนที่ยาวมาก หรือ หางยาวมาก ทำให้ Mstpl อยู่ต่ำมาก จึงเพิ่ม Wstpl เข้ามาดูแล
เพราะหากราคาลงมาก เราเสียหาย(ขาดทุน)กำไรไปเยอะ ถ้าเราไม่สนใจเพราะยังไม่ถึง Mstpl เราอาจเสียหายได้ เพราะมันไม่แน่ หากหลุดไป
ถึง Mstpl มันอาจหมายถึง ทุกอย่างจบแล้ว เราอาจไม่ขาดทุนก็จริง แต่นึกถึงกำไรที่หายไปสิครับ ยิ่งกว่านั้น หากการลงทำให้กราฟใหญ่เสีย ก็
ยิ่งเสียดาย ดังนั้น Wstpl จึงเปรียบเสมือน จุดเตือนใจ
4. การมี Wstpl เป็นจุดเตือนใจ เพราะภาวะปกติ หุ้นไม่ควรลงมากเกินแนวรับ เราก็จะไม่ตามกราฟมาก แต่เมื่อมันลงมาแตะ Wstpl เราควรเข้าดูกราฟ
ทันที
........ไม่มีหุ้นตัวไหน ไม่ว่าจะหุ้นพื้นฐาน/หุ้นปั่น/หุ้นเก็ง/หุ้นบ้าหุ้นบอแบบเดลต้า(555) >>>>> หุ้นทุกตัว ขึ้นแล้วต้องลง
เพิ่มเติม
การกำหนดจุด Stop Loss อีกวิธี ที่ผมใช้ คือ การกำหนดจากRSI ซึ่งจะแม่นกว่า การกำหนดจากแท่งเทียน(นั่นมันพื้นๆ) เอาไว้จะมาแบ่งบันครับ
ผมขอทบทวนข้อความในกระทู้ ที่ว่า
- มีจุด Wstpl ถ้าราคามันหลุด(ต้องดูวันศุกร์หรือหากระหว่างสัปดาห์กราฟบอกเสียแล้วก็ต้องตัดสินใจ)ผมก็จะขาย
- และถ้าอยากอยู่กับมันต่อ เมื่อราคาลงไปแต่ไม่หลุด Mstpl ให้รับของกลับ ในราคาที่ต่ำกว่า
นั้นคือ ประโยชน์ของการมี จุดตัดสินใจ 2 ระยะ นอกจากนั้นยังมีประโยชน์
1. สำหรับคนเงินเย็น/ถือยาว/ได้ต้นทุนมาถูก/ไม่อยากยุ่งกับกราฟ/ไม่สนใจข่าวใดๆ/เพราะจะเป็นVI/รันเทรนด์ >>>> ดูแต่ Mstpl จบ
2. Wstpl มีประโยชน์ ในกรณี ที่กราฟใหญ่มาดีไม่เสียทรง แต่เกิดมีมรสุมตลาด ทำให้ราคาลงมาตามดัชนี และหลุดWstpl เมื่อราคานิ่ง แต่ไม่หลุด
Mstpl เป็นโอกาสที่จะเก็บเพิ่ม >>> หากต้องการ ......(เพราะช่วงเวลาตอนที่ราคาหล่นหลุด Wstpl เราก็ไม่ได้ขายเนื่องจากเราจะถือยาว
เราจึงยึด Mstpl เป็นหลัก หรือ ตั้งตัวไม่ทันทำอะไรไม่ถูก + ตื่นตกใจ)
เห็นมั๊ย !! ถ้าไม่มี Wstpl เราก็จะไม่ได้กระทำการใด นั่งดูเฉยๆ เหมือนวันที่ดัชนีร่วง-70จุด แล้วกลับขึ้นมา-15(มั๊ง)ภายใน15 นาที
ถ้ากราฟใหญ่ไม่เสียทรง เราควรเก็บหุ้นตัวนั้นเพิ่ม(หากมีเงินสดเหลืออยู่ หรือ แล้วแต่การตัดสินใจของแต่ละคน)
3. บางกรณี หุ้นบางตัวมีแท่งเทียนเดือนที่ยาวมาก หรือ หางยาวมาก ทำให้ Mstpl อยู่ต่ำมาก จึงเพิ่ม Wstpl เข้ามาดูแล
เพราะหากราคาลงมาก เราเสียหาย(ขาดทุน)กำไรไปเยอะ ถ้าเราไม่สนใจเพราะยังไม่ถึง Mstpl เราอาจเสียหายได้ เพราะมันไม่แน่ หากหลุดไป
ถึง Mstpl มันอาจหมายถึง ทุกอย่างจบแล้ว เราอาจไม่ขาดทุนก็จริง แต่นึกถึงกำไรที่หายไปสิครับ ยิ่งกว่านั้น หากการลงทำให้กราฟใหญ่เสีย ก็
ยิ่งเสียดาย ดังนั้น Wstpl จึงเปรียบเสมือน จุดเตือนใจ
4. การมี Wstpl เป็นจุดเตือนใจ เพราะภาวะปกติ หุ้นไม่ควรลงมากเกินแนวรับ เราก็จะไม่ตามกราฟมาก แต่เมื่อมันลงมาแตะ Wstpl เราควรเข้าดูกราฟ
ทันที
........ไม่มีหุ้นตัวไหน ไม่ว่าจะหุ้นพื้นฐาน/หุ้นปั่น/หุ้นเก็ง/หุ้นบ้าหุ้นบอแบบเดลต้า(555) >>>>> หุ้นทุกตัว ขึ้นแล้วต้องลง
เพิ่มเติม
การกำหนดจุด Stop Loss อีกวิธี ที่ผมใช้ คือ การกำหนดจากRSI ซึ่งจะแม่นกว่า การกำหนดจากแท่งเทียน(นั่นมันพื้นๆ) เอาไว้จะมาแบ่งบันครับ
แสดงความคิดเห็น
วิธีการทำการบ้าน(วางแผนการเทรด)หุ้นที่เรามีอยู่ในมือ >>> ตามแบบของผม >>> ซึ่งเป็นแบบง่ายๆ
....เนื่องจากสมาชิกภาพของผมไม่ได้ยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์(วาจาสามหาว>จึงถูกยึดIDเก่าไปและไม่อยากเพิ่มซิมและลงทะเบียนซิมเพิ่มอีกแล้ว) ทำให้ผมตั้งกระทู้ได้เพียงวันละ 1 กระทู้เท่านั้น และ ไม่สามารถแนบไฟล์ภาพได้ ดังนั้น ผมจึงต้องมีมานะในการสื่อสารตัวเลขต่างๆมากขึ้น
ก่อนอื่น....การที่เราจะได้หุ้นมา 1 ตัวนั้น เราก็จำเป็นต้องทำการบ้านเพื่อจะได้มันมาเช่นกัน ไม่ใช่อยากจิ้มก็จิ้มเลย
แต่ผมจะข้ามประเด็นการได้มาไปก่อนนะครับ เพราะการได้มาซึ่งหุ้นของแต่ละคนจะต่างสไตล์กัน
เริ่มจาก สมมุติว่าเมื่อวันศุกร์2/7/64 ตอนเย็น ผมได้ซื้อหุ้น TFG มา ในราคาปิด 4.84 บาท
เมื่อตลาดปิด ผมต้องทำอะไรบ้างกับหุ้นตัวนี้
1. ตั้ง month stop loss โดยใช้ราคาเปิด หรือ ราคาปิด ของเดือนก่อนหน้า อันไหนต่ำกว่าเอาอันนั้น
ในที่นี้ TFG มีค่าดังนี้ O4.92 H5.15 L4.72 C4.94 month stop loss ของเดือน7/64 คือ 4.92
จะเห็นว่า มันสูงกว่าราคาที่ซื้อมา 4.84 ..........ไม่ต้อง งง
มีอีกเทคนิคหนึ่ง คือ เราเจอแท่งเทียนที่แคบ หรือ แท่งเทียนที่มีหางบนหางล่าง ยาว
ผมจะเอาความยาวหาง หารครึ่งครับ(บางท่านหรือส่วนใหญ่ใช้ปลายหางเลย)
ดังนั้น จุด Mstpl ของผมจะเท่ากับ (4.92+4.72)/2=4.82
แต่ส่วนใหญ่จะใช้ 4.72 ใช่มั๊ยครับ? ลองคิดนะครับ ซื้อมา 4.84 ถ้ามันหลุด 4.82 เราขาดทุนนิดเดียว
ถ้าเราปล่อยให้ไป4.72 คือ -2.5% มันมีวิธีคือ ถ้าเราอยากเล่นกับมันอยู่ หลุด 4.82 ขาย แล้วรอลงไปซื้อ4.72 ถ้ามันไม่หลุดเกินลงไป
แล้วแต่เลือกเลยครับ สำหรับผม ถ้าเราซื้อมาแล้วผิด ผมปาทิ้งเลยแบบไม่สนใจ แสดงว่าเราอ่านผิดไม่ควรเสี่ยงต่อไป
อีกประเด็น คือ หุ้นบางตัวมีหางยาวมากๆ ถ้าเราใช้ปลายหาง มันเสี่ยงเกินไป
2. ตั้ง Week stop loss
โดยใช้ค่า O H L C จากสัปดาห์ก่อนหน้าเช่นเดียวกันกับการกำหนด Mstpl
TFG มีค่า O H L C ของสัปดาห์ก่อนหน้า(28/6-2/7) = O4.88 H5.05 L4.82 C4.84
ดังนั้น จุด Wstpl ถ้าเลือกจากราคาปิดคือ 4.84 แต่....ราคาต่ำสุดมันต่างกันแค่นิดเดียว และก็บังเอิญไปตรงกับราคาMstplพอดี จึงเลือกปลาย
หาง ที่ราคาต่ำสุดของสัปดาห์ก่อนคือ 4.82
สรุป Wstpl=4.82
3. กำหนดบันไดราคาเพื่อ Take Profit
การกำหนดบันไดราคาเพื่อขายทำกำไรเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อขจัดความลังเลของจิตใจ ว่าจะขายดีหรือไม่? ขายแล้วกลัวขายราคาต่ำเกินไป หรือ
กลัวลงเลยขายหมูไปหมดเล้า
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมากเวลาปฏบัติ เนื่องจาก มันมีการอ่านกราฟเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ถ้ากราฟบอกให้ขายให้หมด เราก็ต้องขายให้หมด
ถ้ากราฟบอกยังไม่ต้องขาย แต่ราคามันมาถึงบันไดแล้ว เราต้องขายโดยแบ่งขายตามแต่ใจต้องการ(ซึ่งผมก็มีวิธีการแบ่งขายเจาะลึกลงไปอีกต่าง
จากที่นักวิเคราะห์แนะนำโดยทั่วไป) ส่วนใหญ่ ก็แนะนำง่ายๆเช่น 30-30-40 หรือ 20-20-20-20-20 หรือ 50-50
**การสร้างบันไดราคา ให้ทำจากกราฟเดือน และใช้ราคา O H L C ของเดือนก่อนหน้าเป็นตัวกำหนดจุด
**การกำหนดจุด ผมใช้ Fibo Retracement โดยเข้าไปตั้งค่าเปอร์เซ็นต์ จาก 0 ไปถึง 10 (ยกเลิกค่ามาตรฐานออกไป)เพื่อเป็นบันได10ขั้น
**ดังนั้น TFG จะมีบันไดราคา จุดวาง fibo ดังนี้ จุดprice 1 =5.15 และ จุดprice 2 =4.82
5.15 มาจากราคาสูงสุด ของเดือนก่อนหน้า(สำหรับTFGมีช่วงแท่งเทียนเดือนก่อนหน้าสั้น ผมจึงใช้ปลายหางบนแทน ทว่าหากเราไป เจอหุ้นที่แท่งเทียนยาวๆ เราก็อาจใช้ราคาบนของแท่งเทียนแทนปลายหาง
4.82 มาจากราคาMstpl ของ ข้อ1.
จากนั้นเมื่อตี Fibo เราก็จะได้ บันไดราคาดังนี้ 4.82/5.15/5.48/5.81/6.14/6.47/6.80/7.13/7.46/7.79/8.12
**บันไดราคานี้จะถูกปรับเปลี่ยนไปทุกเดือน ตามแท่งเทียนเดือนก่อนหน้า(พอเข้าใจนะครับ) มันหมายถึง ถ้าเจอหุ้นเป็นหุ้นผู้ชนะ
ผมก็ขยับราคาขายเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆเช่นกัน
4. การกำหนดจุด Day stop loss
ตั้งหัวข้อนี้ขึ้นมา เพื่อจะบอกว่า "ผมไม่กำหนดจุดDstpl" เนื่องจากมันสั้นเกินไปสำหรับการเก็งกำไรหุ้นที่เป็นรอบ และราคาในแต่ละวันมัน
อาจหลุดจุดDstplได้ทุกวัน แต่สุดท้ายวันศุกร์ของสัปดาห์มันก็กลับมาปิดเหนือจุด Wstpl จนได้ แบบนี้มีเยอะครับ
(ถ้าจะเล่นสั้นๆ ผมจะใช้กราฟ 15 นาทีเลย นั้งจ้องจอไม่ไปไหน เช่นทุกวันนี้ เล่น DW S50xxx ก็ใช้กราฟ15นาที จบในวัน)
5. การปรับ จุด Wstpl และ Mstpl และรวมถึงบันไดราคา ผมจะทำทุกสิ้นสัปดาห์ และทุกสิ้นเดือน ตามลำดับ
ถึงตรงนี้ ผมก็ได้แผนการเทรด เบื้องต้น
- ผมมีจุด Wstpl ถ้าราคามันหลุด(ต้องดูวันศุกร์หรือหากระหว่างสัปดาห์กราฟบอกเสียแล้วก็ต้องตัดสินใจ)ผมก็จะขาย
- และถ้าอยากอยู่กับมันต่อ เมื่อราคาลงไปแต่ไม่หลุด Mstpl ให้รับของกลับ ในราคาที่ต่ำกว่า
(แต่สำหรับผมเองผมปาทิ้งแล้วไม่มองอีก เพราะถือว่าก่อนซื้อมาเราอ่านผิด ซื้อแล้วต้องขึ้นไม่ใช่ลง)
- เมื่อราคาขึ้นไปถึงบันไดแต่ละขั้น ผมก็จะแบ่งขายออกไป (อันนี้มีรายละเอียดแยกออกไปว่างๆจะมาเขียนบอก)
โดยที่ผมจะขายไม่หมด ที่เหลือก็รันเทรนด์ต่อไป ทีละขั้น ๆ แบบนี้ ถ้าได้หุ้นผู้ชนะ ผมก็จะมีหุ้นขายตลอดไม่ว่ามันจะขึ้นไปถึงไหน
(ที่สำคัญ ต้องดูกราฟไปด้วยเสมอว่าเมื่อRSI เข้าเขตOVS ถ้าราคาขึ้นสูงกว่า แต่จุดนั้นRSI ต่ำกว่า =bearish diver= ขายให้หมดเลย ไม่รอ
บันไดแล้วโว้ย)
ลองเอาวิธีนี้ ไป testกับ JMART สิครับ คนอื่นขายหมดไปแล้ว แต่ผมยังเหลือไว้ขายที่ราคาสูงสุด
วิธีนี้ เหมาะกับ ผู้ที่ไม่มีเวลาเฝ้ากราฟ หรือ อ่านกราฟไม่คล่อง หรือไม่มีเวลาเฝ้าจอ
และเหมาะกับ การถือหุ้นยาวๆ แบบมีแผนคอยกำกับ ไม่ใช่บื้อถือไปแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว
และ เหมาะกับการถือโดยไม่ต้องไปสนใจ ข่าวใดๆ ดูแค่การเดินทางของราคา ลงมาถึงจุดขายก็ต้องขาย ขึ้นไปถึงบันใดขายก็ต้องขาย
บางแห่ง สอนเล่นสั้นๆ เขาให้ใช้ สัดส่วน ความเสี่ยงrisk:เป้าหมายกำไรreward เช่น 1:2 1:3 มันหมายถึง ราคาขึ้นมาถึง2หรือ3ต้องเทขายไป
เลยทั้งหมด ถ้ามันขึ้นไปต่อ ก็ไม่ต้องสนใจ ต่างจากวิธีของผม ราคาขึ้นไปเรื่อยๆผมก็ยังมีหุ้นในมือไว้ขายตลอด
คำถาม..... ถ้ามันขึ้นไปเราก็ขายไปทีละขั้น ถ้าราคามันย้อนลงมาทำยังไง
คำตอบ...
1. เรามี จุด Wstpl และ Mstpl อยู่จริงม่ะ ทว่าราคามันขึ้นไปเกิน 2 จุดนั้นมาก จะรอให้มันลงมาแล้วค่อยคัทหรือ...ใครจะโง่!!!!!!!
2. เราก็ขยับ+ปรับ จุด stop loss เป็น จุด Trailing Stop สิครับ ความหมายคือ เราเลือกได้เลย เอาบันไดราคาขั้นล่าสุดที่ราคามันผ่านขึ้นไป
เป็น trailing stop ถ้ามันกลับลงมา เราก็ตัดสินใจขาย ซึ่งสำหรับคนที่อ่านกราฟไม่เป็นไม่คล่อง ก็ตัดสินใจเอาเลยครับ ว่าจะขายหมด หรือ
แบ่งขาย เผื่อมันย้อนกลับขึ้นมาและไปต่อสูงกว่า(มันอยู่ที่ว่าเราพอใจกำไรที่ได้มาพอแล้วรึยัง สำหรับผม ๆดูกราฟประกอบครับ)
ด้วยความปรารถนาดี
ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ
ขอขอบคุณทุกท่าน ที่เข้ามาร่วมแจมนะครับ
ขอให้ทุกๆท่านที่ผ่านเข้ามา (แม้จะเพียงอ่านอย่างเดียว)
มีอายุมั่น ขวัญยืน สุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ต้องพึ่งยาไม่ต้องหาหมอ
ขอให้สมหวังในทุกสิ่งที่ประสงค์ ขอให้โชคดี มีลาภ ถูกหวย ถูกล็อตเตอรี่บ่อยๆ
ขอให้ซื้อ ถือ รวย จับหุ้นตัวไหน ขอให้กลายเป็นเงินเป็นทองเต็มพอร์ต ครับ
หมายเหตุ ความเห็นที่ได้แสดงทั้งหมดนี้ ไม่มีเจตนาเพื่อการนำเสนอหรือเชิญชวนหรือชี้นำทั้งด้านบวกหรือลบ เพราะผมเองก็ไม่ได้เก่งไปซะทั้งหมด นี่เป็นเพียงแนวทางของผม เทคนิคการใช้indicatorก็เฉพาะตัว ดังนั้นการอ่านเทคนิค ณ เวลาใดเวลาหนึ่งอาจไม่ตรงกับท่านผู้รู้ท่านอื่น ขอได้โปรดให้ความเคารพในการใช้เทคนิคของผมด้วย ผมไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆอันจะเกิดจากการนำความเห็นของผมไปใช้ในการลงทุนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้นผู้อ่านต้องตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของผู้อ่านเอง และรับผิดชอบผลที่จะเกิดขึ้นเองเป็นสำคัญ
ปล. ทู้บทความแชร์ครั้งหน้า ผมว่าจะแชร์ "วิธีการแบ่งขายทำกำไรตามแบบของผม"แต่ยังลังเลเพราะมันต้องอธิบายตัวเลขเยอะมาก ใช้ภาพก็ไม่ได้..เฮ่อ!!