ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์

ส่วนหนึ่งจากซูเราะห์(บท) อัลฟัจรฺ อายะห์(วรรค)ที่15-30

     ธรรมชาติของมนุษย์นั้นสำหรับผู้ไม่ศรัทธาต่อพระเจ้าโดยแท้มักจะรู้สึกยินดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เขายึดถือ (อาจจะบอกว่ายึดถือพระเจ้าแต่เป็นการยึดแบบปากเปล่า) ซึ่งนำมาในสิ่งที่เขาโปรดปราณมาให้แก่เขา 
แต่เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เขาไม่พอใจหรือเป็นทุกข์เขาก็มักจะโทษสิ่งต่างๆ เช่น โทษฟ้าดิน โทษชะตา โทษทุกสิ่ง
ดั่งคำวจนะของพระผู้เป็นเจ้า(อัลลอฮฺ) ความว่า :

فَأَمَّا الْإِنسَانُ إِذَا مَا ابْتَلَاهُ رَبُّهُ فَأَكْرَمَهُ وَنَعَّمَهُ فَيَقُولُ رَبِّي أَكْرَمَنِ ( 15 )  
ส่วนมนุษย์นั้น เมื่อพระเจ้าของเขาทรงทดสอบเขา โดยทรงให้เกียรติเขาและทรงโปรดปรานเขา เขาก็จะกล่าวว่าพระเจ้าของฉันทรงยกย่องฉัน
وَأَمَّا إِذَا مَا ابْتَلَاهُ فَقَدَرَ عَلَيْهِ رِزْقَهُ فَيَقُولُ رَبِّي أَهَانَنِ ( 16 ) 
 แต่ครั้งเมื่อพระองค์ทรงทดสอบเขาทรงให้การครองชีพของเขาเป็นที่คับแคบแก่เขา เขาก็จะกล่าวว่า พระเจ้าของฉันทรงเหยียดหยามฉัน

และอัลลอฮฺทรงได้บอกอีกว่าเหตุใดพระองค์ถึงทดสอบบ่าวด้วยกับสิ่งที่ทำให้เขาคับแคบใจหรือไม่พอใจ ความว่า : 

كَلَّا بَل لَّا تُكْرِمُونَ الْيَتِيمَ ( 17 )  มิใช่เช่นนั้นดอก แต่ว่าพวกเจ้ามิได้ให้เกียรติแก่เด็กกำพร้าต่างหาก
وَلَا تَحَاضُّونَ عَلَىٰ طَعَامِ الْمِسْكِينِ ( 18 )  และพวกเจ้ามิได้ส่งเสริมกันในการให้อาหารแก่คนยากจนขัดสน
وَتَأْكُلُونَ التُّرَاثَ أَكْلًا لَّمًّا ( 19 )  และพวกเจ้ากินมรดกกันอย่างหมดเกลี้ยง
وَتُحِبُّونَ الْمَالَ حُبًّا جَمًّا ( 20 )  และพวกเจ้ารักสมบัติกันอย่างมากมาย

จากวรรคที่ 17-20 อาจะได้ข้อสรุปว่า เพราะพวกเขาอธรรมต่อตนเอง(ทั้งๆที่รู้ว่าการกระทำดั่งกล่าวเป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่ยอมทำ) และผู้อื่น(การปล่อยให้เด็กกำพร้าหรือผู้ขัดสนทุกข์เป็นการอธรรมต่อเขา) เปรียบเสมือนช่วยได้แต่ไม่ยอมช่วย โดยการไม่ปฏิบัติตามลู่ทางของศาสนา(ไม่ปฏิบัติความดีที่ศาสนาส่งเสริม) ปล่อยปะละเลยแม้กระทั่งมีโอกาสให้ทำ
 
كَلَّا إِذَا دُكَّتِ الْأَرْضُ دَكًّا دَكًّا ( 21 )  หามิได้ เมื่อแผ่นดินถูกทำให้สั่นสะเทือนเป็นผุยผง
وَجَاءَ رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفًّا صَفًّا ( 22 )  และพระเจ้าของเจ้าเสด็จมาพร้อมทั้งมะลาอิกะฮฺด้วยเป็นแถว ๆ
وَجِيءَ يَوْمَئِذٍ بِجَهَنَّمَ يَوْمَئِذٍ يَتَذَكَّرُ الْإِنسَانُ وَأَنَّىٰ لَهُ الذِّكْرَىٰ ( 23 )  และวันนั้นนรกญะฮันนัมจะถูกนำมาให้ปรากฏ ในวันนั้นมนุษย์จะรำลึกขึ้นมาได้ แต่การรำลึกนั้นจะมีผลแก่เขาได้อย่างไร ?

ผู้ที่เมินเฉยต่ออัลลอฮฺเมื่อถึงเวลาที่พบกับสิ่งที่เขาปฏิเสธหรือเมินเฉยเขาก็จะระลึกขึ้นได้ทันที แต่การรำลึกนั้นจะมีผลอันใดแก่เขาในเวลานั้น

يَقُولُ يَا لَيْتَنِي قَدَّمْتُ لِحَيَاتِي ( 24 )  เขาจะกล่าวว่า โอ้ถ้าฉันได้ทำความดีไว้ล่วงหน้าสำหรับชีวิตของฉัน
فَيَوْمَئِذٍ لَّا يُعَذِّبُ عَذَابَهُ أَحَدٌ ( 25 )  แล้วในวันนั้นไม่มีผู้ใดลงโทษเช่น การลงโทษของพระองค์
وَلَا يُوثِقُ وَثَاقَهُ أَحَدٌ ( 26 )  และไม่มีผู้ใดผูกมัด เช่นการผูกมัดของพระองค์

เมื่อเวลานั้นมาถึงเขาจะกล่าวย้อนหลังไปว่าหากวันนั้นฉันได้ความดีเอาไว้คงจะดี และเขาจะรู้ว่าวันนั้นจะไม่มีผู้ใดที่จะลงโทษหรือเป็นผู้ผูกมัดนอกจากพระองค์ว่าจะได้รับผลตอบแทน (แต่มันสายไปแล้ว) 

يَا أَيَّتُهَا النَّفْسُ الْمُطْمَئِنَّةُ ( 27 )  โอ้ชีวิตที่สงบแน่นเอ๋ย(อัลลอฮฺพูดกับผู้ศรัทธา)
ارْجِعِي إِلَىٰ رَبِّكِ رَاضِيَةً مَّرْضِيَّةً ( 28 )  จงกลับมายังพระเจ้าของเจ้าด้วยความยินดีและเป็นที่ปิติเถิด
فَادْخُلِي فِي عِبَادِي ( 29 )  แล้วจงเข้ามาอยู่ในหมู่ปวงบ่าวของข้าเถิด
وَادْخُلِي جَنَّتِي ( 30 )  และจงเข้ามาอยู่ในสวนสวรรค์ของข้าเถิด

ในส่วนท้ายอัลลอฮฺได้กล่าวถึงผู้ศรัทธาว่าพวกเขาจะได้รับการต้อนรับสู่สวรรค์อันนิรันดร์      

*ซึ่งในบางส่วนของบทนี้ทำให้เรารู้ว่าผู้ใดก็ตามที่ไม่มีความศรัทธาอย่างแท้จริงเมื่อเขาประสบภัยหรือสิ่งทุกข์ใดๆเขาจะไม่เป็นพวกอดทนต่อบททดสอบและโทษโน้นโทษนี่ไปหมด(ซึ่งเป็นธรรมชาติของคนทั่วไป) ซึ่งมุสลิมที่เข้าใจศาสนาจะไม่มีพฤติกรรมเหล่านี้โดยการโทษอัลลอฮฺแต่มุสลิมจะอดทนและยอมรับชะตาที่พระเจ้ามอบให้ และยังกล่าวถึงผู้ที่รู้จักอัลลอฮฺแต่เมินเฉยต่อคำสั่งของพระองค์ซึ่งเมื่อถึงเวลาเขาจะสำนึกทันทีซึ่งสายไปแล้ว บทดังกล่าวเป็นข้อเตือนใจแก่มุสลิมได้ดีทีเดียวว่าท่านทั้งหลายจงอย่าเมินเฉยต่ออัลลอฮฺจงทำในสิ่งที่อัลลอฮฺสั่งใช้ให้ทำหากท่านทำได้
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่