ยอดพุ่ง! โควิดไทยวันนี้ ติดเชื้อ 5,406 คน ดับ 22 ราย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2798861
ยอดพุ่ง! โควิดไทยวันนี้ ติดเชื้อ 5,406 คน ดับ 22 ราย
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 รวม 5,406 ราย จำแนกเป็น
ติดเชื้อใหม่ 5,397 ราย
ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 9 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 3,343 ราย
ผู้ป่วยสะสม 220,990 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
เสียชีวิต 22 ราย
เด็ก 2 ขวบติดโควิด-19 รอเตียง 5 วันยังไม่ได้
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/150348
เจอต่อเนื่องสำหรับ ผู้ติดเชื้อโควิด ที่ยังรอเตียงรักษา ล่าสุด ทีมข่าวพบ เด็กหญิงวัย 2 ขวบ ติดเชื้อโควิด นอนรอเตียงรักานาน 5 วัน ตอนนี้เริ่มอาการแย่ลง แม่เด็กกังวลมาก เพราะ ลูกยังพูดไม่รู้เรื่อง เจ็บปวดหรือมีอาการอะไรก็บอกไม่ได้ ที่รู้ตอนนี้ คือ ลูกมีอาการไม่ยอมกินนม และ ท้องเสีย
สภาพบ้านของนางสาว
พัชชา สะพะพันธ์ วัย24 ปี แม่ของน้องเป็ปซี่ ลูกสาววัย2ขวบ เธออยู่กันเพียงลำพังภายในชุมชนเคหะหลังคาแดง เขตลาดกระบัง หลังจากที่ทราบผลว่าลูกสาวติดเชื้อโควิด
เธอเล่าให้ทีมข่าวฟังว่า ก่อนหน้านี้ลูกสาวอยู่กับลุง และ น้าสาว ซึ่งเป็นพี่น้องของเธอ ที่บ้านอีกหลังหนึ่งในกรุงเทพฯ เนื่องจาก เธอซึ่งเป็นแม่ต้องทำงาน จากนั้นพบว่า น้าสาวของเป๊ปซี่ ไม่สบาย จึงไปตรวจ พบว่าติดเชื้อโควิดเมื่อวันที่21 มิถุนายน โดยมีรถโรงพยาบาลมารับตัวไปทันทีช่วงเย็น
นางสาว
พัชชา บอกว่าทันทีที่ทราบเรื่อง ตัดสินใจเดินทางไปรับน้องเป๊ปซี่กลับมาดูแลเอง จากนั้นวันรุ่งขึ้น (22 มิถุนายน) พี่ชายของเธอมารับน้องเป๊ปซี่ ไปตรวจหาเชื้อที่แล็ปแห่งหนึ่งย่านศรีนครินทร์ ผลปรากฎว่า น้องติดเชื้อโควิด เธอจึงประสานขอเตียงไปที่เบอร์สายด่วน1669 แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าให้รอเตียง เนื่องจากตอนนี้เตียงไม่เพียงพอต่อจำนวนคนไข้ ให้เธอเตรียมตัวไว้ หากมีเตียงว่างจะรีบมารับทันที
จนกระทั่งวันที่26 มิถุนายน (เมื่อวาน) ลูกสาวเริ่มมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ มีไข้สูง ไม่กินนม หายใจหอบเหนื่อย ไอตลอดเวลา และเริ่มมีอาการท้องเสียร่วมด้วย เธอจึงตัดสินใจโทรกลับไปหาเจ้าหน้าที่อีกครั้ง แต่ปลายสายให้เธอถือสายรอ นานกว่า10นาที บอกว่าจะตรวจสอบข้อมูลให้ จนเธอรอไม่ไหว จึงตัดสายไป
หลังจากนั้น เธอโทรกลับไปอีกซึ่งเจ้าหน้าที่รับสายและบอกกับเธอว่า ผลตรวจของน้องเป๊ปซี่ไม่ชัดเจน ให้กลับไปตรวจใหม่อีกครั้ง และอ้างว่าเธอไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อขอเตียงไว้ ให้รอคิวใหม่ นางสาว
พัชชา ยอมรับว่า เธอรู้สึกสงสัยการทำงานของเจ้าหน้าที่ ว่า หากผลตรวจของน้องเป๊ปซี่ไม่ชัดเจนจริง ทำไมถึงไม่แจ้งตั้งแต่แรก ปล่อยให้น้องอาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ ทำไม
นอกจากนี้ นางสาว
พัชชายังบอก ส่วนตัวคิดว่าตนเองน่าจะติดเชื้อโควิดไปด้วยแล้ว เพราะเริ่มมีอาการคั่นเนื้อคั่นตัว เหมือนจะเป็นไข้ ตอนนี้เป็นห่วงลูกน้อยวัย2ขวบมากกว่า เกรงว่าอาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้ป่วยรอเตียงอยู่จำนวนมาก เจ้าหน้าที่ทำงานหนัก แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่าทำไมเจ้าหน้าที่ถึงเพิ่งมาบอกให้เธอพาลูกไปตรวจใหม่
สำหรับผลตรวจโควิดของน้องเป๊ปซี่ ตอนแรกเป็นผลตรวจแบบ Rapid test แต่เจ้าหน้าที่อยากได้ผลตรวจแบบ RT-PCR ซึ่งเป็นการตรวจโดยเก็บตัวอย่างไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
"วิศวกร" สะกิด ศบค.สั่งหยุดก่อสร้างกะทันหัน อาจเกิดโศกนาฏกรรมโดยไม่ตั้งใจ
https://www.pptvhd36.com/news/
"สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์" วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านปฐพี โพสต์เตือนศบค.เบรกก่อสร้างในกทม.กะทันหัน อันตราย ต้องให้เวลาทำมาตรการความปลอดภัย
จากกรณี พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19(ศบค.) ออกข้อกำหนดตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อหนึ่งคือสั่งปิดไซต์ - ปิดแคมป์ก่อสร้าง สั่งหยุดการก่อสร้างในพื้นที่ และห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน เฉพาะใน กทม.และ 5 จังหวัดปริมณฑล ซึ่งต่อมากรุงเทพมหานครออกประกาศคำสั่งปิดแคมป์ก่อสร้างและสั่งหยุดการก่อสร้างของไซต์งานทุกแห่งในพื้นที่แล้ว แต่ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอให้ทบทวน
ข้อ 2 ตามกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34) มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
รศ.ดร.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ประเด็นสั่งปิดแคไซต์งานก่อสร้าง ในเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
ความอันตรายของการประกาศปิดไซต์งานก่อสร้าง ในโครงการที่มีงานขุดระดับลึกในกรุงเทพฯ
"การประกาศปิด ไซต์งานของ ศคบ. อย่างกระทันหัน อาจจะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ
งานขุดระดับลึกในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นงานที่ยากเเละอันตรายระดับต้นๆในงานด้านโยธาในโลกนี้ เพราะพื้นดินกรุงเทพฯเป็นดินอ่อน เเถมปัจจุบันตั้งเเต่เราหยุดใช้น้ำบาดาล น้ำใต้ดินใน กทม. ก็ยกระดับสูงขึ้นมาก การขุดระดับลึก คือลึกลงไปตั้งเเต่ 5 เมตร จนบางที่ถึง 30 เมตร จึงต้องการการควบคุมน้ำใต้ดินตลอดเวลา เเละต้องมีโครงสร้างกันดินทั้งชั่วคราวเเละถาวรที่เเข็งเเรง รวมถึงต้องทำการตรวจวัดการเคลื่อนตัว ฯลฯ เพื่อปรับมาตราการความปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง
ความอันตรายที่สุดคือช่วงที่ขุดถึงระดับลึกสุด ที่เเรงดันดินเเละเเรงดันน้ำมหาศาลสามารถจะทะลุก้นบ่อขุดขึ้นมาเเล้วทำลายทุกสิ่งอย่างจนค้ำยังต่างๆพังลงเเล้วทำให้บ่อขุดยุบพัง ส่งผลให้บ้านข้างเคียงได้รับผลกระทบ
ในสภาวะการก่อสร้างปกติ ความอันตรายดังกล่าวได้ถูกควบคุมด้วยวิศวกร ทำให้ปลอดภัย โดยการสูบน้ำใต้ดิน หรือการรีบเทคอนกรีตพื้นล่างสุดเมื่อขุดถึงระดับลึกสุด (Base slab) เเละเราก็ไม่เคยได้ยินข่าวที่รุนเเรงดังกล่าวใน กทม. มากนัก
เเต่ในสถานการณ์ที่งานขุดกำลังลงไปในระดับลึกเเละอันตราย เเต่ไซต์ต้องถูกปิดอย่างกระทันหัน ทำให้ไม่มีใครที่จะทำการป้องกันอันตรายดังกล่าว โดยเฉพาอย่างยิ่งไซต์ที่กำลังขุดในระดับลึกสุดเเละยังไม่ได้เท Base slab (หรือคอนกรีตแผ่นฐาน ) ประเด็นนี้อันตรายยิ่งนัก"
รศ.ดร.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ขอเสนอแนะศบค. โดยว่า อยากขอเสนอให้ ศบค ออกประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหยุดไซต์ งาน ให้มีข้อยกเว้นด้านเวลาสำหรับไซต์ที่ต้องการเวลาในการจัดการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ
"จริงๆไม่ใช่เเค่งานขุดที่ผมว่า เเต่เรื่องอื่นเช่นอัคคีภัย สารเคมี ฯลฯ โดยน่าจะมีช่วงเวลาหรือให้ทางไซต์ทำเเผนด้านความปลอดภัยสาธารณะเผื่อให้เวลาเพิ่มเติมเพื่อจัดการเรื่องความปลอดภัยดังกล่าว ก่อนจะปิดไซต์ ยาวๆ เพราะถ้าปล่อยให้เกิดเหตุขึ้น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าไม่ใช่ผู้ประกอบการเอง
นอกจากนี้ รศ.ดร
.สุทธิศักดิ์ นำภาพประกอบ โดยระบุว่า รูปที่นำมาประกอบมาจากเว็บไซต์ เพื่อเป็นตัวอย่างประกอบ ไม่ได้เจาะจงไซต์ที่ใดที่หนึ่ง
ขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Suttisak Soralump
https://www.facebook.com/suttisak.soralump/posts/4666315193396792
JJNY : ติดเชื้อ5,406 ดับ22 │2ขวบติดโควิด รอเตียง5วันยังไม่ได้│"วิศวกร"สะกิดศบค.อาจเกิดโศกนาฏกรรม│ยอดส่งเงิน กอช.ลดฮวบ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2798861
ยอดพุ่ง! โควิดไทยวันนี้ ติดเชื้อ 5,406 คน ดับ 22 ราย
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 รวม 5,406 ราย จำแนกเป็น
ติดเชื้อใหม่ 5,397 ราย
ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 9 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 3,343 ราย
ผู้ป่วยสะสม 220,990 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
เสียชีวิต 22 ราย
เด็ก 2 ขวบติดโควิด-19 รอเตียง 5 วันยังไม่ได้
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/150348
เจอต่อเนื่องสำหรับ ผู้ติดเชื้อโควิด ที่ยังรอเตียงรักษา ล่าสุด ทีมข่าวพบ เด็กหญิงวัย 2 ขวบ ติดเชื้อโควิด นอนรอเตียงรักานาน 5 วัน ตอนนี้เริ่มอาการแย่ลง แม่เด็กกังวลมาก เพราะ ลูกยังพูดไม่รู้เรื่อง เจ็บปวดหรือมีอาการอะไรก็บอกไม่ได้ ที่รู้ตอนนี้ คือ ลูกมีอาการไม่ยอมกินนม และ ท้องเสีย
สภาพบ้านของนางสาว พัชชา สะพะพันธ์ วัย24 ปี แม่ของน้องเป็ปซี่ ลูกสาววัย2ขวบ เธออยู่กันเพียงลำพังภายในชุมชนเคหะหลังคาแดง เขตลาดกระบัง หลังจากที่ทราบผลว่าลูกสาวติดเชื้อโควิด
เธอเล่าให้ทีมข่าวฟังว่า ก่อนหน้านี้ลูกสาวอยู่กับลุง และ น้าสาว ซึ่งเป็นพี่น้องของเธอ ที่บ้านอีกหลังหนึ่งในกรุงเทพฯ เนื่องจาก เธอซึ่งเป็นแม่ต้องทำงาน จากนั้นพบว่า น้าสาวของเป๊ปซี่ ไม่สบาย จึงไปตรวจ พบว่าติดเชื้อโควิดเมื่อวันที่21 มิถุนายน โดยมีรถโรงพยาบาลมารับตัวไปทันทีช่วงเย็น
นางสาว พัชชา บอกว่าทันทีที่ทราบเรื่อง ตัดสินใจเดินทางไปรับน้องเป๊ปซี่กลับมาดูแลเอง จากนั้นวันรุ่งขึ้น (22 มิถุนายน) พี่ชายของเธอมารับน้องเป๊ปซี่ ไปตรวจหาเชื้อที่แล็ปแห่งหนึ่งย่านศรีนครินทร์ ผลปรากฎว่า น้องติดเชื้อโควิด เธอจึงประสานขอเตียงไปที่เบอร์สายด่วน1669 แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าให้รอเตียง เนื่องจากตอนนี้เตียงไม่เพียงพอต่อจำนวนคนไข้ ให้เธอเตรียมตัวไว้ หากมีเตียงว่างจะรีบมารับทันที
จนกระทั่งวันที่26 มิถุนายน (เมื่อวาน) ลูกสาวเริ่มมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ มีไข้สูง ไม่กินนม หายใจหอบเหนื่อย ไอตลอดเวลา และเริ่มมีอาการท้องเสียร่วมด้วย เธอจึงตัดสินใจโทรกลับไปหาเจ้าหน้าที่อีกครั้ง แต่ปลายสายให้เธอถือสายรอ นานกว่า10นาที บอกว่าจะตรวจสอบข้อมูลให้ จนเธอรอไม่ไหว จึงตัดสายไป
หลังจากนั้น เธอโทรกลับไปอีกซึ่งเจ้าหน้าที่รับสายและบอกกับเธอว่า ผลตรวจของน้องเป๊ปซี่ไม่ชัดเจน ให้กลับไปตรวจใหม่อีกครั้ง และอ้างว่าเธอไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อขอเตียงไว้ ให้รอคิวใหม่ นางสาว พัชชา ยอมรับว่า เธอรู้สึกสงสัยการทำงานของเจ้าหน้าที่ ว่า หากผลตรวจของน้องเป๊ปซี่ไม่ชัดเจนจริง ทำไมถึงไม่แจ้งตั้งแต่แรก ปล่อยให้น้องอาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ ทำไม
นอกจากนี้ นางสาวพัชชายังบอก ส่วนตัวคิดว่าตนเองน่าจะติดเชื้อโควิดไปด้วยแล้ว เพราะเริ่มมีอาการคั่นเนื้อคั่นตัว เหมือนจะเป็นไข้ ตอนนี้เป็นห่วงลูกน้อยวัย2ขวบมากกว่า เกรงว่าอาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้ป่วยรอเตียงอยู่จำนวนมาก เจ้าหน้าที่ทำงานหนัก แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่าทำไมเจ้าหน้าที่ถึงเพิ่งมาบอกให้เธอพาลูกไปตรวจใหม่
สำหรับผลตรวจโควิดของน้องเป๊ปซี่ ตอนแรกเป็นผลตรวจแบบ Rapid test แต่เจ้าหน้าที่อยากได้ผลตรวจแบบ RT-PCR ซึ่งเป็นการตรวจโดยเก็บตัวอย่างไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
"วิศวกร" สะกิด ศบค.สั่งหยุดก่อสร้างกะทันหัน อาจเกิดโศกนาฏกรรมโดยไม่ตั้งใจ
https://www.pptvhd36.com/news/
"สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์" วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านปฐพี โพสต์เตือนศบค.เบรกก่อสร้างในกทม.กะทันหัน อันตราย ต้องให้เวลาทำมาตรการความปลอดภัย
จากกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19(ศบค.) ออกข้อกำหนดตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อหนึ่งคือสั่งปิดไซต์ - ปิดแคมป์ก่อสร้าง สั่งหยุดการก่อสร้างในพื้นที่ และห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน เฉพาะใน กทม.และ 5 จังหวัดปริมณฑล ซึ่งต่อมากรุงเทพมหานครออกประกาศคำสั่งปิดแคมป์ก่อสร้างและสั่งหยุดการก่อสร้างของไซต์งานทุกแห่งในพื้นที่แล้ว แต่ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอให้ทบทวน
ข้อ 2 ตามกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34) มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ประเด็นสั่งปิดแคไซต์งานก่อสร้าง ในเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
ความอันตรายของการประกาศปิดไซต์งานก่อสร้าง ในโครงการที่มีงานขุดระดับลึกในกรุงเทพฯ
"การประกาศปิด ไซต์งานของ ศคบ. อย่างกระทันหัน อาจจะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ
งานขุดระดับลึกในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นงานที่ยากเเละอันตรายระดับต้นๆในงานด้านโยธาในโลกนี้ เพราะพื้นดินกรุงเทพฯเป็นดินอ่อน เเถมปัจจุบันตั้งเเต่เราหยุดใช้น้ำบาดาล น้ำใต้ดินใน กทม. ก็ยกระดับสูงขึ้นมาก การขุดระดับลึก คือลึกลงไปตั้งเเต่ 5 เมตร จนบางที่ถึง 30 เมตร จึงต้องการการควบคุมน้ำใต้ดินตลอดเวลา เเละต้องมีโครงสร้างกันดินทั้งชั่วคราวเเละถาวรที่เเข็งเเรง รวมถึงต้องทำการตรวจวัดการเคลื่อนตัว ฯลฯ เพื่อปรับมาตราการความปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง
ความอันตรายที่สุดคือช่วงที่ขุดถึงระดับลึกสุด ที่เเรงดันดินเเละเเรงดันน้ำมหาศาลสามารถจะทะลุก้นบ่อขุดขึ้นมาเเล้วทำลายทุกสิ่งอย่างจนค้ำยังต่างๆพังลงเเล้วทำให้บ่อขุดยุบพัง ส่งผลให้บ้านข้างเคียงได้รับผลกระทบ
ในสภาวะการก่อสร้างปกติ ความอันตรายดังกล่าวได้ถูกควบคุมด้วยวิศวกร ทำให้ปลอดภัย โดยการสูบน้ำใต้ดิน หรือการรีบเทคอนกรีตพื้นล่างสุดเมื่อขุดถึงระดับลึกสุด (Base slab) เเละเราก็ไม่เคยได้ยินข่าวที่รุนเเรงดังกล่าวใน กทม. มากนัก
เเต่ในสถานการณ์ที่งานขุดกำลังลงไปในระดับลึกเเละอันตราย เเต่ไซต์ต้องถูกปิดอย่างกระทันหัน ทำให้ไม่มีใครที่จะทำการป้องกันอันตรายดังกล่าว โดยเฉพาอย่างยิ่งไซต์ที่กำลังขุดในระดับลึกสุดเเละยังไม่ได้เท Base slab (หรือคอนกรีตแผ่นฐาน ) ประเด็นนี้อันตรายยิ่งนัก"
รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ขอเสนอแนะศบค. โดยว่า อยากขอเสนอให้ ศบค ออกประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหยุดไซต์ งาน ให้มีข้อยกเว้นด้านเวลาสำหรับไซต์ที่ต้องการเวลาในการจัดการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ
"จริงๆไม่ใช่เเค่งานขุดที่ผมว่า เเต่เรื่องอื่นเช่นอัคคีภัย สารเคมี ฯลฯ โดยน่าจะมีช่วงเวลาหรือให้ทางไซต์ทำเเผนด้านความปลอดภัยสาธารณะเผื่อให้เวลาเพิ่มเติมเพื่อจัดการเรื่องความปลอดภัยดังกล่าว ก่อนจะปิดไซต์ ยาวๆ เพราะถ้าปล่อยให้เกิดเหตุขึ้น ใครจะรับผิดชอบ ถ้าไม่ใช่ผู้ประกอบการเอง
นอกจากนี้ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ นำภาพประกอบ โดยระบุว่า รูปที่นำมาประกอบมาจากเว็บไซต์ เพื่อเป็นตัวอย่างประกอบ ไม่ได้เจาะจงไซต์ที่ใดที่หนึ่ง
ขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Suttisak Soralump
https://www.facebook.com/suttisak.soralump/posts/4666315193396792