'กรุงเทพโพลล์' เปิดผลสำรวจ ปชช.กังวลเปิดประเทศใน 120 วัน หวั่นเชื้อสายพันธุ์ใหม่มากับนักท่องเที่ยว
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/945560
"กรุงเทพโพลล์" เปิดผลสำรวจ 59 % กังวลเปิดประเทศใน 120 วัน หวั่นเชื้อสายพันธุ์ใหม่มากับนักท่องเที่ยว
วันที่ 26 มิ.ย. กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผิดเผยผล สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “
คนไทยว่าไง..กับเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ ที่ จำนวน 1,202 คน ได้ผลสำรวจดังนี้
ความเห็นต่อภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบโมเดลนำร่อง พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 เห็นด้วย (เพราะจังหวัดอื่นๆ จะประเมินได้ว่าพร้อมเปิดเหมือนภูเก็ตไหม และนักท่องเที่ยวที่มาจะอยู่เฉพาะพื้นที่ จ.ภูเก็ต) ขณะที่ร้อยละ 40.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย (เพราะกลัวถึงวันจริงนักท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่มี และคนภูเก็ตยังฉีดวัคซีนกันไม่ครบ)
สำหรับการที่ไทยมีเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศความเสี่ยงต่ำ และ ฉีดวัคซีนครบแล้ว คนไทยร้อยละ 61.7 เห็นว่าจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รองลงมาร้อยละ 23.5 เห็นว่าเป็นการฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย และร้อยละ 14.8 เห็นว่าจะนำไปสู่การปรับมาตรการการท่องเที่ยวไทยที่เหมาะสมในระยะถัดไป
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความเหมาะสมในการเปิดประเทศมากที่สุดนั้น คนไทยร้อยละ 42.0 ระบุว่า สัดส่วนคนไทยที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ต่อประชากรทั้งหมด รองลงมาร้อยละ 23.8 ระบุว่า จำนวนยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของไทย และร้อยละ 19.1 ระบุว่ามาตรการป้องกัน COVID-19 ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
สุดท้ายเมื่อถามว่า ท่านมีความกังวลหรือไม่อย่างไรกับเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.9 ระบุว่ากังวล (โดยระบุว่า หากมีเชื้อสายพันธุ์ใหม่มากับนักท่องเที่ยวจะคุมไม่อยู่ และไม่แน่ใจว่าคนไทยจะได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมไหมจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ไหม) ขณะที่ร้อยละ 40.1ระบุว่าไม่กังวล (โดยระบุว่า เป็นการเปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศความเสี่ยงต่ำและได้รับวัคซีนครบ และ ถึงวันนั้นคนไทยน่าจะได้รับวัคซีนกันครอบคลุมแล้ว สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้)
"วัคซีนโควิด" ไฟเซอร์ 2 เข็ม สร้างเเอนติบอดีเหนือกว่าซิโนเเวค 11 เท่า
https://www.thansettakij.com/content/covid_19/485421
แพทย์ศิริราช เผยผลงานวิจัยพบว่าวัคซีนโควิดไฟเซอร์ 2 เข็ม สามารถกระตุ้นสร้างเเอนติบอดีได้เหนือกว่าวัคซีนซิโนเเวค 11 เท่า
จากกรณีเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโคเมอร์เนตี (COMIRNATY VACCINE) ซึ่งเป็นวัคซีนของบริษัท ไฟเซอร์ จำกัด นำเข้าโดย บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด
ล่าสุด ศ.นพ.
มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว
มานพ พิทักษ์ภากร โดยระบุว่า
วัคซีนโควิดไฟเซอร์ หรือ Pfizer vaccine สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีได้เหนือกว่าวัคซีนโควิดซิโนแวค หรือ Sinovac vaccine ซึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อนหลายคนได้เห็นข่าวทีมนักวิจัยจาก HKU นำเสนอข้อมูลที่สรุปได้ว่าคนที่ได้รับวัคซีนของ Pfizer x BioNTech มีภูมิคุ้มกันสูงกว่า Sinovac แต่ยังไม่เห็นข้อมูลผลการศึกษาจริง
ศ.นพ.
มานพ นำงานวิจัยที่ลงใน Hong Kong Medical Journal ที่เปรียบเทียบระดับ anti-spike antibody และ surrogate neutralizing antibody ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Pfizer หรือ Sinovac หลังฉีดเข็มแรก และหลังฉีดครบสองเข็ม กลุ่มละราว 200 คน ผลการวิจัยพบว่า
“ระดับแอนติบอดี ที่วัดโดย 3 เทคนิค (Roche, Genscript และ Abbott) ในพลาสม่าของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer สูงกว่า Sinovac อย่างชัดเจน โดยระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มแรก มีค่าสูงพอ ๆ กัน หรือสูงกว่าผู้ที่ได้ Sinovac ครบสองเข็มนิดหน่อย และผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบสองเข็ม และตรวจด้วยชุดตรวจ Roche และ Genscript น่าจะมีค่าสูงมากจนชนเพดานของการวัด ทำให้เปรียบเทียบระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ได้ยาก แต่ถ้าดูระดับ antibody ที่วัดด้วยชุดตรวจของ Abbott จะพบว่าระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบสองเข็ม สูงกว่า Sinovac ราว 11 เท่า”
นอกจากนี้ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัคซีน Sinovac และ Pfizer หาได้ยาก เพราะมีไม่กี่ประเทศในขณะนี้ที่มีการใช้วัคซีนทั้งสองยี่ห้อพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ฮ่องกงเป็นที่ที่น่าจะทำการศึกษานี้ได้ดี เพราะสัดส่วนคนที่ฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดพอ ๆ กัน ข้อมูลนี้แม้ไม่ใช่การวัด vaccine effectiveness (VE) ตรง ๆ แต่ก็เป็น surrogate ที่ดี การดู VE คงต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผู้ติดเชื้อไปอีกระยะ
อย่างไรก็ตามวัคซีนโคเมอร์เนตี (COMIRNATY VACCINE) ซึ่งเป็นวัคซีนไฟเซอร์ ถือเป็นวัคซีนโควิด รายการที่ 6 ของไทย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจาก อย.ได้อนุมัติวัคซีนโควิดไปแล้ว 5 ราย ได้แก่
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และที่ผลิตในประเทศ โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด
วัคซีนโคโรนาแวค ของบริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ไซเอ็นซ์ จำกัด นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม
วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โดยบริษัท แจนเซ่น ซีแลค จำกัด
วัคซีนโมเดอร์นา นำเข้าโดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด
วัคซีนซิโนฟาร์ม นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด
วัคซีนไฟเซอร์ตัวนี้ เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่คิดค้นและพัฒนาโดย บริษัท ไฟเซอร์ ร่วมกับบริษัท ไบโอเอ็นเท็ค (BioNTech) ประเทศเยอรมนี ซึ่งแผนการฉีดประกอบด้วยการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21 วัน สำหรับผู้ที่อายุ 12 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ วัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก (WHO EUL) แล้ว
ข้อมูลอ้างอิงที่นี่
https://www.facebook.com/manopsi/posts/10161048398908448
เอกชน ชี้เปิดประเทศเสี่ยงโควิดระบาด เหตุวัคซีนไม่พอ เตรียมพร้อมคุมให้อยู่ในวงจำกัด
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6474696
เอกชน ชี้เปิดประเทศเสี่ยงโควิดระบาด เหตุวัคซีนไม่พอ เตรียมพร้อมร่วมมือรัฐบาลปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. นาย
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับเครือข่ายต่างประเทศของหอการค้าไทย ประกอบด้วย หอการค้าต่างประเทศ ทูตพาณิชย์ และองค์กรการค้าระหว่างประเทศจากประเทศต่าง ๆ รวมกว่า 150 คน ว่าที่ประชุหารือถึงการเตรียมพร้อมเปิดประเทศภายใน 120 วัน โดยเฉพาะโอกาสที่จะกลับมาดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นได้หลังเปิดประเทศ
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการตัดสินใจนี้อาจมาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น แต่ที่ประชุมยังมั่นใจในระบบสาธารณสุขของไทย และพร้อมจะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะคุมการแพร่ระบาดควบคู่ไปกับการเปิดประเทศอย่างระมัดระวัง เนื่องจากตอนนี้ยังมีวัคซีนไม่พอต่อการควบคุมการระบาด แต่ภาคเอกชนได้เตรียมความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนรัฐบาล ในด้านการฉีดวัคซีนให้ได้ตามแผน รวมถึงปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมและป้องกันการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด
นาย
สนั่น กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการที่จะช่วยผู้ประกอบการให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง 120 วันนั้น หอการค้าฯ ได้หารือถึงการเยียวยาผู้ประกอบการให้อยู่รอดได้ โดยเชื่อมให้ SMEs กับธนาคารพาณิชย์เข้าหารือกัน เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อประคองและฟื้นฟูธุรกิจในช่วงนี้ เตรียมรับการเปิดประเทศ และสิ่งสำคัญที่จะต้องทำเพิ่มคือการเพิ่มศักยภาพของการทำธุรกิจ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเติม และธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้
นอกจากนั้น ยังเสนอความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ให้มีการทำ Digital Vaccine Passport เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับการเดินทาง ทั้งนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ พร้อมเสนอให้นำการตรวจ Rapid Test มาเสริม เพื่อช่วยคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด รวมทั้ง หลังจากการเปิดประเทศแล้ว จะต้องมีการดึงดูดการลงทุนและทำการค้ากับทั่วโลกโดยผลักดันให้ทำ Thailand Trade Platform เพื่อสนับสนุนและเชื่อมโอกาสให้ SMEs ไทย ต่อยอดไปยังตลาดโลกจึงต้องเพิ่มทั้งการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
“วันที่ 1 ก.ค. นี้ จะเป็นวันที่ครบ 99 วัน ถึงแม้ว่าจะเข้ามารับตำแหน่งท่ามกลางภาวะวิกฤตของโรคระบาด คณะกรรมการชุดนี้ได้เข้ามาช่วยประสานงานและผลักดันภารกิจในการขับเคลื่อนเรื่องต่าง ๆ ตามแนวนโยบายที่ตั้งไว้ทั้ง 3 ข้อ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทยต่อไป”
นาย
สนั่น กล่าวอีกว่า สำหรับภารกิจถัดไปนั้น หอการค้าไทยกำลังเตรียมการหารือกับเครือข่าย พร้อมกับขอความร่วมมือจาก 40 CEOs ในการร่วมทำหน้าที่ขับเคลื่อน สนับสนุนเป้าหมายการเปิดประเทศให้ได้ร่วมกัน เพราะหน้าที่การเปิดประเทศ ไม่ใช่หน้าที่ของท่านนายกฯ คนเดียว แต่เป็นเป้าหมายที่ทุกคนในประเทศไทยต้องร่วมมือกัน จึงต้องวางแผนที่ให้เราอยู่ร่วมกับ COVID ได้ และต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ New Normal หรือ Life after COVID ให้ได้ตัวเลขคนติดเชื้อคงไม่สามารถเป็น “0” ได้ตลอด
JJNY : กท.โพล ปชช.กังวลเปิดปท.│ไฟเซอร์2เข็มสร้างเเอนติบอดีเหนือซิโนเเวค11เท่า│เอกชนชี้เปิดปท.เสี่ยงระบาด│'เทพไท'แนะปชป.
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/945560
"กรุงเทพโพลล์" เปิดผลสำรวจ 59 % กังวลเปิดประเทศใน 120 วัน หวั่นเชื้อสายพันธุ์ใหม่มากับนักท่องเที่ยว
วันที่ 26 มิ.ย. กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผิดเผยผล สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “คนไทยว่าไง..กับเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ ที่ จำนวน 1,202 คน ได้ผลสำรวจดังนี้
ความเห็นต่อภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบโมเดลนำร่อง พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 เห็นด้วย (เพราะจังหวัดอื่นๆ จะประเมินได้ว่าพร้อมเปิดเหมือนภูเก็ตไหม และนักท่องเที่ยวที่มาจะอยู่เฉพาะพื้นที่ จ.ภูเก็ต) ขณะที่ร้อยละ 40.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย (เพราะกลัวถึงวันจริงนักท่องเที่ยวไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่มี และคนภูเก็ตยังฉีดวัคซีนกันไม่ครบ)
สำหรับการที่ไทยมีเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศความเสี่ยงต่ำ และ ฉีดวัคซีนครบแล้ว คนไทยร้อยละ 61.7 เห็นว่าจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รองลงมาร้อยละ 23.5 เห็นว่าเป็นการฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย และร้อยละ 14.8 เห็นว่าจะนำไปสู่การปรับมาตรการการท่องเที่ยวไทยที่เหมาะสมในระยะถัดไป
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความเหมาะสมในการเปิดประเทศมากที่สุดนั้น คนไทยร้อยละ 42.0 ระบุว่า สัดส่วนคนไทยที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ต่อประชากรทั้งหมด รองลงมาร้อยละ 23.8 ระบุว่า จำนวนยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของไทย และร้อยละ 19.1 ระบุว่ามาตรการป้องกัน COVID-19 ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
สุดท้ายเมื่อถามว่า ท่านมีความกังวลหรือไม่อย่างไรกับเป้าหมายเปิดประเทศใน 120 วัน พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.9 ระบุว่ากังวล (โดยระบุว่า หากมีเชื้อสายพันธุ์ใหม่มากับนักท่องเที่ยวจะคุมไม่อยู่ และไม่แน่ใจว่าคนไทยจะได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมไหมจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ไหม) ขณะที่ร้อยละ 40.1ระบุว่าไม่กังวล (โดยระบุว่า เป็นการเปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศความเสี่ยงต่ำและได้รับวัคซีนครบ และ ถึงวันนั้นคนไทยน่าจะได้รับวัคซีนกันครอบคลุมแล้ว สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้)
"วัคซีนโควิด" ไฟเซอร์ 2 เข็ม สร้างเเอนติบอดีเหนือกว่าซิโนเเวค 11 เท่า
https://www.thansettakij.com/content/covid_19/485421
แพทย์ศิริราช เผยผลงานวิจัยพบว่าวัคซีนโควิดไฟเซอร์ 2 เข็ม สามารถกระตุ้นสร้างเเอนติบอดีได้เหนือกว่าวัคซีนซิโนเเวค 11 เท่า
จากกรณีเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโคเมอร์เนตี (COMIRNATY VACCINE) ซึ่งเป็นวัคซีนของบริษัท ไฟเซอร์ จำกัด นำเข้าโดย บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด
ล่าสุด ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว มานพ พิทักษ์ภากร โดยระบุว่า
วัคซีนโควิดไฟเซอร์ หรือ Pfizer vaccine สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีได้เหนือกว่าวัคซีนโควิดซิโนแวค หรือ Sinovac vaccine ซึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อนหลายคนได้เห็นข่าวทีมนักวิจัยจาก HKU นำเสนอข้อมูลที่สรุปได้ว่าคนที่ได้รับวัคซีนของ Pfizer x BioNTech มีภูมิคุ้มกันสูงกว่า Sinovac แต่ยังไม่เห็นข้อมูลผลการศึกษาจริง
ศ.นพ.มานพ นำงานวิจัยที่ลงใน Hong Kong Medical Journal ที่เปรียบเทียบระดับ anti-spike antibody และ surrogate neutralizing antibody ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Pfizer หรือ Sinovac หลังฉีดเข็มแรก และหลังฉีดครบสองเข็ม กลุ่มละราว 200 คน ผลการวิจัยพบว่า
“ระดับแอนติบอดี ที่วัดโดย 3 เทคนิค (Roche, Genscript และ Abbott) ในพลาสม่าของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer สูงกว่า Sinovac อย่างชัดเจน โดยระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มแรก มีค่าสูงพอ ๆ กัน หรือสูงกว่าผู้ที่ได้ Sinovac ครบสองเข็มนิดหน่อย และผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบสองเข็ม และตรวจด้วยชุดตรวจ Roche และ Genscript น่าจะมีค่าสูงมากจนชนเพดานของการวัด ทำให้เปรียบเทียบระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ได้ยาก แต่ถ้าดูระดับ antibody ที่วัดด้วยชุดตรวจของ Abbott จะพบว่าระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบสองเข็ม สูงกว่า Sinovac ราว 11 เท่า”
นอกจากนี้ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัคซีน Sinovac และ Pfizer หาได้ยาก เพราะมีไม่กี่ประเทศในขณะนี้ที่มีการใช้วัคซีนทั้งสองยี่ห้อพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ฮ่องกงเป็นที่ที่น่าจะทำการศึกษานี้ได้ดี เพราะสัดส่วนคนที่ฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดพอ ๆ กัน ข้อมูลนี้แม้ไม่ใช่การวัด vaccine effectiveness (VE) ตรง ๆ แต่ก็เป็น surrogate ที่ดี การดู VE คงต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผู้ติดเชื้อไปอีกระยะ
อย่างไรก็ตามวัคซีนโคเมอร์เนตี (COMIRNATY VACCINE) ซึ่งเป็นวัคซีนไฟเซอร์ ถือเป็นวัคซีนโควิด รายการที่ 6 ของไทย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจาก อย.ได้อนุมัติวัคซีนโควิดไปแล้ว 5 ราย ได้แก่
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และที่ผลิตในประเทศ โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด
วัคซีนโคโรนาแวค ของบริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ไซเอ็นซ์ จำกัด นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม
วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โดยบริษัท แจนเซ่น ซีแลค จำกัด
วัคซีนโมเดอร์นา นำเข้าโดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด
วัคซีนซิโนฟาร์ม นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด
วัคซีนไฟเซอร์ตัวนี้ เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่คิดค้นและพัฒนาโดย บริษัท ไฟเซอร์ ร่วมกับบริษัท ไบโอเอ็นเท็ค (BioNTech) ประเทศเยอรมนี ซึ่งแผนการฉีดประกอบด้วยการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21 วัน สำหรับผู้ที่อายุ 12 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ วัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก (WHO EUL) แล้ว
ข้อมูลอ้างอิงที่นี่
https://www.facebook.com/manopsi/posts/10161048398908448
เอกชน ชี้เปิดประเทศเสี่ยงโควิดระบาด เหตุวัคซีนไม่พอ เตรียมพร้อมคุมให้อยู่ในวงจำกัด
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6474696
เอกชน ชี้เปิดประเทศเสี่ยงโควิดระบาด เหตุวัคซีนไม่พอ เตรียมพร้อมร่วมมือรัฐบาลปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับเครือข่ายต่างประเทศของหอการค้าไทย ประกอบด้วย หอการค้าต่างประเทศ ทูตพาณิชย์ และองค์กรการค้าระหว่างประเทศจากประเทศต่าง ๆ รวมกว่า 150 คน ว่าที่ประชุหารือถึงการเตรียมพร้อมเปิดประเทศภายใน 120 วัน โดยเฉพาะโอกาสที่จะกลับมาดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นได้หลังเปิดประเทศ
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการตัดสินใจนี้อาจมาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น แต่ที่ประชุมยังมั่นใจในระบบสาธารณสุขของไทย และพร้อมจะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะคุมการแพร่ระบาดควบคู่ไปกับการเปิดประเทศอย่างระมัดระวัง เนื่องจากตอนนี้ยังมีวัคซีนไม่พอต่อการควบคุมการระบาด แต่ภาคเอกชนได้เตรียมความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนรัฐบาล ในด้านการฉีดวัคซีนให้ได้ตามแผน รวมถึงปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมและป้องกันการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด
นายสนั่น กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการที่จะช่วยผู้ประกอบการให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง 120 วันนั้น หอการค้าฯ ได้หารือถึงการเยียวยาผู้ประกอบการให้อยู่รอดได้ โดยเชื่อมให้ SMEs กับธนาคารพาณิชย์เข้าหารือกัน เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อประคองและฟื้นฟูธุรกิจในช่วงนี้ เตรียมรับการเปิดประเทศ และสิ่งสำคัญที่จะต้องทำเพิ่มคือการเพิ่มศักยภาพของการทำธุรกิจ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเติม และธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้
นอกจากนั้น ยังเสนอความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ให้มีการทำ Digital Vaccine Passport เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับการเดินทาง ทั้งนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ พร้อมเสนอให้นำการตรวจ Rapid Test มาเสริม เพื่อช่วยคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด รวมทั้ง หลังจากการเปิดประเทศแล้ว จะต้องมีการดึงดูดการลงทุนและทำการค้ากับทั่วโลกโดยผลักดันให้ทำ Thailand Trade Platform เพื่อสนับสนุนและเชื่อมโอกาสให้ SMEs ไทย ต่อยอดไปยังตลาดโลกจึงต้องเพิ่มทั้งการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
“วันที่ 1 ก.ค. นี้ จะเป็นวันที่ครบ 99 วัน ถึงแม้ว่าจะเข้ามารับตำแหน่งท่ามกลางภาวะวิกฤตของโรคระบาด คณะกรรมการชุดนี้ได้เข้ามาช่วยประสานงานและผลักดันภารกิจในการขับเคลื่อนเรื่องต่าง ๆ ตามแนวนโยบายที่ตั้งไว้ทั้ง 3 ข้อ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทยต่อไป”
นายสนั่น กล่าวอีกว่า สำหรับภารกิจถัดไปนั้น หอการค้าไทยกำลังเตรียมการหารือกับเครือข่าย พร้อมกับขอความร่วมมือจาก 40 CEOs ในการร่วมทำหน้าที่ขับเคลื่อน สนับสนุนเป้าหมายการเปิดประเทศให้ได้ร่วมกัน เพราะหน้าที่การเปิดประเทศ ไม่ใช่หน้าที่ของท่านนายกฯ คนเดียว แต่เป็นเป้าหมายที่ทุกคนในประเทศไทยต้องร่วมมือกัน จึงต้องวางแผนที่ให้เราอยู่ร่วมกับ COVID ได้ และต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ New Normal หรือ Life after COVID ให้ได้ตัวเลขคนติดเชื้อคงไม่สามารถเป็น “0” ได้ตลอด