เวลาเรามองดูคนเก่งในเรื่องๆนึง มันไม่ได้มีแค่คนเก่ง กับคนไม่เก่ง ถูกไหมครับ?
มันจะมีทั้งเก่งมาก เก่งน้อย เก่งนิดหน่อย เก่งสุดๆ แบ่งออกเป็นหลายระดับเลย
ทีนี้ ถ้าเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ผมมักจะสังเกตว่า
คนที่เก่งระดับ 1 มักจะมีส่วนคล้ายระดับ3 (แทนที่จะเป็น 2 ที่อยู่ติดกัน)
และคนเก่งระดับ 2 มักจะไปคล้ายคนระดับ 4 (แทนที่จะเป็น 3 ที่อยู่ติดกัน)
สมมติ เล่นกีตาร์
ตอนเริ่มหัดเล่น เรามักจะเล่นได้แบบช้าๆเพราะยังไม่ถนัด สมมติเป็นเลเวล 1
ต่อมาพอเก่งขึ้น เราก็โซโล่ได้ ก็เล่นเร็วไว้ก่อน มันเท่ดี เป็นเลเวล 2
แต่ต่อมาอีก เรามักจะพบว่า โซโล่ช้าเล่นยากกว่า เพราะรายละเอียดต้องเก็บเยอะ เป็นเลเวล 3 (ซึ่งกลับไปช้า คล้ายเลเวล 1)
และต่อมา จังหวะเราแม่นยำ(เป๊ะตามเมโทรนอม) ก็จะกลับไปเล่นเร็วแบบแม่นยำได้ เป็นเลเวล 4 (ซึ่งกลับไปเร็ว คล้ายเลเวล 2)
..ต่อขึ้นไปเรื่อยๆ
เรื่องอื่นๆก็คล้ายกันน่ะครับ เช่น การฝึกภาษา, การฝึกกีฬา, หรือการทำงาน
เวลาเก่งๆขึ้นไป เลเวลจะดูไขว้กัน ยังไงชอบกล
ทีนี้ก็เลยทำให้ผู้ดูสับสนได้ เพราะผู้ดูไม่ได้มีความรู้ด้านนั้นๆมากนัก
ก็มักตัดสินไม่ตรงกลุ่ม มองคนเก่งมากๆเป็นธรรมดา มองคนเก่งนิดหน่อย(แต่อาจจะโชว์เก่ง)เป็นเก่งมาก อะไรทำนองนี้
และที่ยุ่งสุด คือการตัดสินประเภทตัวท็อปครับ
คนอัจฉริยะมักจะดูคล้ายคนไม่เต็ม
ผมสังเกตในนิยายหรือหนัง ปรมาจารย์สูงสุดมักจะแก่ๆ เนิบๆ คือดูยังไงก็ไม่น่าเก่ง หรือบางทีก็ดูติงต๊องไปเลยด้วยซ้ำ
ผู้เฒ่าเต่าของซุนโงกุนงี้, จิวแป๊ะทงอาจารย์ก๊วยเจ๋งงี้, อาจารย์คาราเต้คิดงี้, หรือกระทั่งโยดาแห่งสตาร์วอร์
มักจะตัวเล็กๆ ทำตัวธรรมชาติๆ ไม่ค่อยโชว์ของ
แต่มีฝีมือซ่อนอยู่ล้ำลึก ยามจำเป็นเค้าจะแสดงฝีมือและผู้ร้ายจะหนาว
ผมเคยได้ยินว่าไอน์สไตน์ หรือเอดิสัน ตอนเด็กก็มีปัญหาการเรียน อาจเพราะอัจฉริยะเกินไป
ก็เป็นแง่คิดที่น่าสนใจนะครับ ว่าคนที่เค้าเก่งมากๆ อาจดูไม่เหมือนไม่เก่งเลย
ชวนให้สับสนได้
..คงต้องใช้วิจารณญาณ และความรอบคอบ ก่อนการตัดสินใจนะครับ
https://neopositive.wordpress.com
เลเวลของความเก่ง บางครั้งทำให้สับสน
เวลาเรามองดูคนเก่งในเรื่องๆนึง มันไม่ได้มีแค่คนเก่ง กับคนไม่เก่ง ถูกไหมครับ?
มันจะมีทั้งเก่งมาก เก่งน้อย เก่งนิดหน่อย เก่งสุดๆ แบ่งออกเป็นหลายระดับเลย
ทีนี้ ถ้าเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ผมมักจะสังเกตว่า
คนที่เก่งระดับ 1 มักจะมีส่วนคล้ายระดับ3 (แทนที่จะเป็น 2 ที่อยู่ติดกัน)
และคนเก่งระดับ 2 มักจะไปคล้ายคนระดับ 4 (แทนที่จะเป็น 3 ที่อยู่ติดกัน)
สมมติ เล่นกีตาร์
ตอนเริ่มหัดเล่น เรามักจะเล่นได้แบบช้าๆเพราะยังไม่ถนัด สมมติเป็นเลเวล 1
ต่อมาพอเก่งขึ้น เราก็โซโล่ได้ ก็เล่นเร็วไว้ก่อน มันเท่ดี เป็นเลเวล 2
แต่ต่อมาอีก เรามักจะพบว่า โซโล่ช้าเล่นยากกว่า เพราะรายละเอียดต้องเก็บเยอะ เป็นเลเวล 3 (ซึ่งกลับไปช้า คล้ายเลเวล 1)
และต่อมา จังหวะเราแม่นยำ(เป๊ะตามเมโทรนอม) ก็จะกลับไปเล่นเร็วแบบแม่นยำได้ เป็นเลเวล 4 (ซึ่งกลับไปเร็ว คล้ายเลเวล 2)
..ต่อขึ้นไปเรื่อยๆ
เรื่องอื่นๆก็คล้ายกันน่ะครับ เช่น การฝึกภาษา, การฝึกกีฬา, หรือการทำงาน
เวลาเก่งๆขึ้นไป เลเวลจะดูไขว้กัน ยังไงชอบกล
ทีนี้ก็เลยทำให้ผู้ดูสับสนได้ เพราะผู้ดูไม่ได้มีความรู้ด้านนั้นๆมากนัก
ก็มักตัดสินไม่ตรงกลุ่ม มองคนเก่งมากๆเป็นธรรมดา มองคนเก่งนิดหน่อย(แต่อาจจะโชว์เก่ง)เป็นเก่งมาก อะไรทำนองนี้
และที่ยุ่งสุด คือการตัดสินประเภทตัวท็อปครับ
คนอัจฉริยะมักจะดูคล้ายคนไม่เต็ม
ผมสังเกตในนิยายหรือหนัง ปรมาจารย์สูงสุดมักจะแก่ๆ เนิบๆ คือดูยังไงก็ไม่น่าเก่ง หรือบางทีก็ดูติงต๊องไปเลยด้วยซ้ำ
ผู้เฒ่าเต่าของซุนโงกุนงี้, จิวแป๊ะทงอาจารย์ก๊วยเจ๋งงี้, อาจารย์คาราเต้คิดงี้, หรือกระทั่งโยดาแห่งสตาร์วอร์
มักจะตัวเล็กๆ ทำตัวธรรมชาติๆ ไม่ค่อยโชว์ของ
แต่มีฝีมือซ่อนอยู่ล้ำลึก ยามจำเป็นเค้าจะแสดงฝีมือและผู้ร้ายจะหนาว
ผมเคยได้ยินว่าไอน์สไตน์ หรือเอดิสัน ตอนเด็กก็มีปัญหาการเรียน อาจเพราะอัจฉริยะเกินไป
ก็เป็นแง่คิดที่น่าสนใจนะครับ ว่าคนที่เค้าเก่งมากๆ อาจดูไม่เหมือนไม่เก่งเลย
ชวนให้สับสนได้
..คงต้องใช้วิจารณญาณ และความรอบคอบ ก่อนการตัดสินใจนะครับ
https://neopositive.wordpress.com