เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564 เอเจนซี่ CAAN ซึ่งเป็นเอเจนซี่ของตุรกีประกาศบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการว่าสโมสร PAOK Thessaloniki ของกรีซได้เซ็นสัญญาหนึ่งฤดูกาลกับอีดายอง เซตเตอร์ของเกาหลีใต้ ซึ่งนับว่าเป็น 'Historical Transfer' เนื่องจากอีดายองจะเป็นผู้เล่นเกาหลีคนแรกที่ไปเล่นลีกสูงสุดของกรีซ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะมีปัญหามากมายที่ต้องแก้ไขก่อนทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีกล่าวว่า "ผู้เล่นที่จะย้ายไปต่างประเทศต้องได้รับความยินยอมจากสมาคมวอลเลย์บอลก่อน ในกรณีของอีดายอง ปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งตามกฎแล้วไม่สามารถให้ความยินยอมในการโอนได้"
ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปกระทู้ก่อนหน้า ได้เคยมีการถกเถียงกันในประเด็นนี้ไปแล้ว
อ้างอิง: คห.115 - บทวิเคราะห์เส้นทางหลังจากนี้ของฝาแฝด
https://ppantip.com/topic/40512512/comment115
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา : https://n.news.naver.com/sports/volleyball/article/076/0003741431
หลังจากที่ข่าวนี้แพร่กระจายและได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง วันต่อมา (12 มิ.ย.) ทางสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีและฮึงกุกแซงมยอง สโมสรต้นสังกัดของอีดายองก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวถึงเรื่องดังกล่าวว่าการย้ายไปเล่นลีกต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากกฎของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งเกาหลี
ในกรณีของนักวอลเลย์บอล หากนักกีฬาต้องการย้ายไปลีกต่างประเทศ นักกีฬาจะต้องได้รับ 'ใบข้อตกลงการโอนระหว่างประเทศ (International Transfer Certificate : ITC) จากสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีก่อน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของอีดายองไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากอีแจยองและอีดายองได้รับ 'การแบนไม่มีกำหนด' ทั้งจากสโมสรฮึงกุกต้นสังกัด และ สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี เนื่องจากความรุนแรงในโรงเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่ของสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีกล่าวในโทรศัพท์กับผู้สื่อข่าวว่า "ฉันอายที่จะบอกว่าดายองนั้นเซ็นสัญญาไปแล้ว" และพูดว่า "ได้รับอนุญาตจากสมาคมวอลเลย์บอลแล้วเหรอ ถ้าคุณต้องการย้ายไปต่างประเทศ คุณต้องได้รับความยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB), สมาคมวอลเลย์บอล และทีมของคุณก่อน กฎนี้หมายถึงการรักษาความสงบเรียบร้อย(วอลเลย์บอล)ให้ดี แต่คุณกลับประกาศสัญญาออกมาแบบนี้งั้นหรอ”
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังกล่าวว่า "ตามระเบียบสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี เราไม่สามารถออกข้อตกลงการโอนระหว่างประเทศ (ITC) ให้กับผู้เล่นที่สร้างปัญหาสังคมในเกาหลีได้ และยังไม่มีคำร้องขออย่างเป็นทางการสำหรับเรื่องนี้จากทางอีดายองด้วยซ้ำ ขณะนี้ยังไม่มีความเป็นไปได้ในการย้ายไปเล่นลีกต่างประเทศของอีดายอง“
ด้านสโมสรฮึงกุกต้นสังกัดก็ได้แจ้งผู้สื่อข่าวว่า "ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้"
ซึ่งอ้างอิงจากคำพูดของสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี ดูเหมือนว่าอีดายองจะได้เซ็นสัญญาไปกับสโมสรที่กรีซแล้วโดยที่สมาคมยังไม่ทันได้รู้เรื่องเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา: http://naver.me/FgiKLOZS
ในวันเดียวกันนั้น ทางเอเจนซี่ CAAN ก็ได้ทำการลบข่าวเซ็นสัญญาของอีดายองออกไปจากหน้าเว็บไซต์ (จริงๆลบตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. แต่ข่าวเกาหลีเพิ่งลงวันที่ 17 มิ.ย.)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา: http://naver.me/5SW1Dfzx
ต่อมา สื่อได้มีการนำเสนอข่าวในอีกแง่มุมว่าหนทางการไปลีกต่างประเทศของอีดายองไม่ได้ถึงกับเป็นศูนย์ซะทีเดียว
แม้ว่าจะมีขั้นตอนมากมายที่ต้องผ่านการออก ITC ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการโอนย้ายไปยังลีกต่างประเทศ แต่หาก PAOK ต้องการเซ็นสัญญากับอีดายองจริงๆ ก็สามารถยื่นเรื่องขอ ITC จากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้โดยตรงในเดือนกันยายน แม้ว่าสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีจะปฏิเสธ แต่ FIVB ซึ่งยึดถือการคุ้มครองสิทธิของผู้เล่นเป็นสิ่งสำคัญ อาจออกใบ ITC ให้กับอีดายองแทนสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีได้
อย่างไรก็ตาม ในการออกใบ ITC แทนของ FIVB นั้น ทาง FIVB จะต้องพูดคุยกับทั้งตัวนักกีฬาและสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีก่อนอยู่แล้ว ซึ่งทางผู้สื่อข่าวได้วิเคราะห์ว่ากรณีนี้ สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีมีเหตุผลที่ชัดเจนที่จะไม่ออกใบ ITC ให้ เนื่องจากตามกฎแล้ว สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีอยู่ในฐานะที่จะไม่อนุญาตให้มีการออก ITC ให้กับผู้เล่นที่ก่ออาชญากรรมหรือก่อเรื่องอื้อฉาวทางสังคม และด้วยคอนเนคชั่นต่างๆของสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีกับทาง FIVB ย่อมมากกว่าอีดายองอยู่แล้ว ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่ทาง FIVB จะฟังสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีมากกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา: https://sports.v.daum.net/v/20210613111700553?x_trkm=t
http://naver.me/5cTvva94
จขกท.ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกฎการโอนย้ายไปลีกต่างประเทศเท่าไหร่ จึงได้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเองค่ะ อ้างอิงจาก INTERNATIONAL TRANSFER
PROCEDURE MANUAL SEASON 2020 – 2021 ของ FIVB หากผิดพลาดประการใดรบกวนช่วยกันแก้ไขนะคะ
ตาม Flow Chart ด้านบนคือขั้นตอนการโอนย้ายนักกีฬาไปเล่นลีกต่างประเทศของ FIVB ค่ะ โดยกระบวนการจะเริ่มจากสโมสรที่กรีซ (ขออนุญาตแทนเป็นกรณีของดายองไปเลยนะคะ) สนใจนักกีฬาต่างชาติ (อีดายอง) ก็จะแจ้งไปยังสมาคมวอลเลย์บอลกรีซ (Receiving National Federation : Receiving NF) เพื่อขออนุญาตในการโอนย้ายนักกีฬาต่างประเทศมาเล่นที่กรีซ
สมาคมวอลเลย์บอลกรีซจะตรวจสอบว่าสโมสรได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดโดย FIVB หรือไม่ หากไม่พบอุปสรรคใดๆ ก็จะยืนยันข้อตกลงในระบบ ITC
หลังจากนั้นสโมสรก็จะติดต่อไปยังสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี (Federal of Origin) เพื่อเจรจาเรื่องเงินและเงื่อนไขการโอนย้ายนักกีฬา และหากนักกีฬาคนดังกล่าวยังติดสัญญาอยู่กับสโมสรดังเดิม (Club of origin) ในที่นี้คือฮึงกุกแซงมยอง ก็จะต้องได้รับความยินยอมจากสโมสรต้นสังกัดด้วย
ซึ่งการโอนย้ายจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อทุกฝ่ายตกลงยินยอมพร้อมกันและยืนยันในระบบ ITC ได้แก่
1. นักกีฬา (อีดายอง)
2. สมาคมวอลเลย์บอลประเทศที่จะไป (สมาคมวอลเลย์บอลกรีซ)
3. สมาคมวอลเลย์บอลประเทศต้นทาง (สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี)
4. สโมสรที่จะไปเล่น (PAOK) และ
5. สโมสรต้นสังกัดที่ติดสัญญาอยู่ (ฮึงกุกแซงมยอง) (ถ้ามี)
อย่างไรก็ตาม ตาม Article 6.3.3.1 ระบุไว้ว่าหากมีการร้องขอจากนักกีฬา ทาง FIVB อาจอนุมัติ ITC ให้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสมาคมวอลเลย์บอลต้นทางได้ (ในที่นี้คือสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี) ในกรณีที่สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีไม่ยอมเจรจากับสโมสร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา: https://www.fivb.com/-/media/2021/corporate/volleyball/forms%20and%20regulations/fivb%20electronic%20international%20transfer%20procedure%20manual%202020-2021.pdf?la=en&hash=8E95EF8675D6BB7CD8E40EDB9D2AF17F
สรุปตามความเข้าใจของจขกท.ก็คือ แม้ว่าสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีจะไม่ออกใบ ITC ให้อีดายอง แต่อีดายองสามารถไปยื่นเรื่องต่อ FIVB เพื่อให้ FIVB ออกใบ ITC ให้แทนสมาคมได้ค่ะ ก็จะสามารถไปเล่นลีกต่างประเทศได้เหมือนกัน
หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีอะไรเคลื่อนไหวอีก จนกระทั่งวันที่ 20 มิ.ย. สื่อกรีซได้มีการลงข่าวเกี่ยวกับการเซ็นสัญญาของอีดายองอีกครั้ง โดยผู้จัดการเอเจนซี่ CAAN ชาวตุรกีได้รับทราบถึงจุดยืนของสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีที่ว่าจะไม่มีการออกใบ ITC ให้กับผู้เล่นที่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องอื้อฉาวในสังคม อย่างไรก็ตามผู้จัดการชาวตุรกีได้ให้ความมั่นใจในกับสื่อกรีซว่า "ไม่มีปัญหาใดๆ ผู้เล่นเซ็นสัญญากับ PAOK เรียบร้อยแล้ว สโมสรของเธอไม่ได้มีปัญหาอะไร และการโอนจะเสร็จสิ้นในไม่ช้า"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา: https://amp.fosonline.gr/volleyball/a-gynaikon/article/144249/salos-stin-korea-me-ti-metagrafi-tis-li-giangk-ston-paok-logo-mpoylingk-me-maxairi?__twitter_impression=true
สื่อเกาหลีได้นำเสนอข่าวนี้ในวันต่อมา ซึ่งได้มีการเปิดเผยเพิ่มเติมว่าเอเจนซี่ CAAN มีความมั่นใจว่าอีดายองจะสามารถไปเล่นในกรีซได้เพียงแค่คำอนุญาติจากฮึงกุกสโมสรต้นสังกัด ถึงแม้ว่าสมาคมวอลเลย์เกาหลีไม่อนุญาตก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะจะเอากฎของ FIVB มาใช้แทน
ซึ่งก็เป็นไปตามคาด ว่าสโมสรจะให้ FIVB เป็นคนออกใบ ITC แทนสมาคมวอลเลย์ฯ ง่ายๆก็คือสมาคมจะไม่อนุญาตก็เรื่องของสมาคม ฉันไปขอ FIVB ก็ได้ (อันหลังเติมเอง😅)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา: http://naver.me/xcKTMPfI
แต่เรื่องที่ทำให้เนติเซนเกาหลีลุกเป็นไฟอยู่ขณะนี้ ก็เป็นผลมาจากข่าวเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมาที่ว่าสโมสรฮึงกุกได้เข้าร่วมประชุมบอร์ดกับ KOVO เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. และได้ประกาศถึงแพลนที่จะลงทะเบียนชื่อของอีแจยองและอีดายองสำหรับฤดูกาลหน้าวันที่ 30 มิ.ย. นี้ รวมถึงจะผลักดันอีดายองไปลีกต่างประเทศด้วย
(ปล. KOVO กับ สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี คือคนละหน่วยงานกันนะคะ เท่าที่เข้าใจคือ KOVO จะดูแลลีก ส่วนสมาคมวอลเลย์บอลจะดูแลทีมชาติ เป็นสาเหตุว่าทำไมตอนที่ฝาแฝดถูกแบนในระดับสโมสรเป็นการประกาศจากฮึงกุก แต่ตอนถูกแบนจากทีมชาติเป็นการประกาศโดยสมาคมวอลเลย์บอล)
กำหนดการส่งรายชื่อสำหรับวีลีกฤดูกาล 2021-22 สโมสรจะต้องส่งรายชื่อผู้เล่นให้กับทาง KOVO ก่อนวันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่ฮึงกุกจะใส่ชื่อฝาแฝดลงไปอยู่แล้ว แต่ฮึงกุกก็ยืนยันมาตลอดว่าจะไม่พูดอะไรจนกว่าจะเช้าวันที่ 30 มิ.ย.
ในการประชุมคณะกรรมการสหพันธ์วอลเลย์บอลเกาหลี (KOVO) คิมยออิล ผู้จัดการทีมฮึงกุกได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทะเบียนชื่อของฝาแฝดเป็นสมาชิกของทีมในฤดูกาลหน้า และประกาศแผนการที่จะผลักดันอีดายองไปลีกต่างประเทศ พร้อมทั้งขอความเข้าใจจากแต่ละสโมสรด้วย
โดยให้เหตุผลว่าเป็นทางเลือกในการปกป้องสิทธิของสโมสร หากไม่ได้ลงทะเบียนชื่อของฝาแฝด ฝาแฝดก็จะกลายเป็น FA (Free Agent) ซึ่งสามารถไปเล่นที่ไหนก็ได้ และสิทธิ์ของสโมสรจะหมดไปทันที อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคอีกมากมายที่ต้องเผชิญหน้า ผลสรุปของคดีความของฝาแฝดยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของตำรวจ ข้อเท็จจริงต้องใช้เวลามากในการเปิดเผยในระดับที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ ซึ่งการตัดสินใจว่าจะลงทะเบียนชื่อของฝาแฝดนี้ สโมสรก็ทำไปเพื่อที่จะปกป้องสิทธิของผู้เล่นด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ฮึงกุกยังได้แสดงท่าทีไม่พอใจในที่ประชุมต่อสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีอีกด้วย คิมยออิลกล่าวว่า “เหตุใดสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีถึงต้องขัดขวางไม่ยอมออกใบ ITC ให้กับอีดายองด้วยในเมื่อสโมสรมีความต้องการส่งนักกีฬาไปลีกต่างประเทศ”
นอกจากนี้ คิมยออิล ยังได้นำเสนอถึงความจำเป็นในการเสริมระบบเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้เล่นต่อ KOVO ด้วย โดยเสนอว่าสโมสรและ KOVO ควรจะร่วมกันดำเนินการทางกฎหมายกับเนติเซนเพื่อปกป้องผู้เล่นที่ได้รับความคิดเห็นที่เป็นอันตรายและปกป้องผู้เล่นจากการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ โดยการจัดตั้ง "ศูนย์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เล่น" หลังจากได้ยินข้อเสนอของฮึงกุก ทาง KOVO ก็ได้บอกว่าจะพิจารณาตัดสินใจอภิปรายในภายหลัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา : http://naver.me/5qRXottL
https://www.donga.com/news/Sports/article/all/20210623/107601991/1
(มีต่อ)
การกลับมาของฝาแฝดอีแจยอง-อีดายอง
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะมีปัญหามากมายที่ต้องแก้ไขก่อนทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีกล่าวว่า "ผู้เล่นที่จะย้ายไปต่างประเทศต้องได้รับความยินยอมจากสมาคมวอลเลย์บอลก่อน ในกรณีของอีดายอง ปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งตามกฎแล้วไม่สามารถให้ความยินยอมในการโอนได้"
ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปกระทู้ก่อนหน้า ได้เคยมีการถกเถียงกันในประเด็นนี้ไปแล้ว
อ้างอิง: คห.115 - บทวิเคราะห์เส้นทางหลังจากนี้ของฝาแฝด https://ppantip.com/topic/40512512/comment115
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลังจากที่ข่าวนี้แพร่กระจายและได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง วันต่อมา (12 มิ.ย.) ทางสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีและฮึงกุกแซงมยอง สโมสรต้นสังกัดของอีดายองก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวถึงเรื่องดังกล่าวว่าการย้ายไปเล่นลีกต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากกฎของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งเกาหลี
ในกรณีของนักวอลเลย์บอล หากนักกีฬาต้องการย้ายไปลีกต่างประเทศ นักกีฬาจะต้องได้รับ 'ใบข้อตกลงการโอนระหว่างประเทศ (International Transfer Certificate : ITC) จากสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีก่อน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของอีดายองไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากอีแจยองและอีดายองได้รับ 'การแบนไม่มีกำหนด' ทั้งจากสโมสรฮึงกุกต้นสังกัด และ สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี เนื่องจากความรุนแรงในโรงเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่ของสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีกล่าวในโทรศัพท์กับผู้สื่อข่าวว่า "ฉันอายที่จะบอกว่าดายองนั้นเซ็นสัญญาไปแล้ว" และพูดว่า "ได้รับอนุญาตจากสมาคมวอลเลย์บอลแล้วเหรอ ถ้าคุณต้องการย้ายไปต่างประเทศ คุณต้องได้รับความยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB), สมาคมวอลเลย์บอล และทีมของคุณก่อน กฎนี้หมายถึงการรักษาความสงบเรียบร้อย(วอลเลย์บอล)ให้ดี แต่คุณกลับประกาศสัญญาออกมาแบบนี้งั้นหรอ”
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังกล่าวว่า "ตามระเบียบสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี เราไม่สามารถออกข้อตกลงการโอนระหว่างประเทศ (ITC) ให้กับผู้เล่นที่สร้างปัญหาสังคมในเกาหลีได้ และยังไม่มีคำร้องขออย่างเป็นทางการสำหรับเรื่องนี้จากทางอีดายองด้วยซ้ำ ขณะนี้ยังไม่มีความเป็นไปได้ในการย้ายไปเล่นลีกต่างประเทศของอีดายอง“
ด้านสโมสรฮึงกุกต้นสังกัดก็ได้แจ้งผู้สื่อข่าวว่า "ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้"
ซึ่งอ้างอิงจากคำพูดของสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี ดูเหมือนว่าอีดายองจะได้เซ็นสัญญาไปกับสโมสรที่กรีซแล้วโดยที่สมาคมยังไม่ทันได้รู้เรื่องเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในวันเดียวกันนั้น ทางเอเจนซี่ CAAN ก็ได้ทำการลบข่าวเซ็นสัญญาของอีดายองออกไปจากหน้าเว็บไซต์ (จริงๆลบตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. แต่ข่าวเกาหลีเพิ่งลงวันที่ 17 มิ.ย.)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ต่อมา สื่อได้มีการนำเสนอข่าวในอีกแง่มุมว่าหนทางการไปลีกต่างประเทศของอีดายองไม่ได้ถึงกับเป็นศูนย์ซะทีเดียว
แม้ว่าจะมีขั้นตอนมากมายที่ต้องผ่านการออก ITC ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการโอนย้ายไปยังลีกต่างประเทศ แต่หาก PAOK ต้องการเซ็นสัญญากับอีดายองจริงๆ ก็สามารถยื่นเรื่องขอ ITC จากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้โดยตรงในเดือนกันยายน แม้ว่าสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีจะปฏิเสธ แต่ FIVB ซึ่งยึดถือการคุ้มครองสิทธิของผู้เล่นเป็นสิ่งสำคัญ อาจออกใบ ITC ให้กับอีดายองแทนสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีได้
อย่างไรก็ตาม ในการออกใบ ITC แทนของ FIVB นั้น ทาง FIVB จะต้องพูดคุยกับทั้งตัวนักกีฬาและสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีก่อนอยู่แล้ว ซึ่งทางผู้สื่อข่าวได้วิเคราะห์ว่ากรณีนี้ สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีมีเหตุผลที่ชัดเจนที่จะไม่ออกใบ ITC ให้ เนื่องจากตามกฎแล้ว สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีอยู่ในฐานะที่จะไม่อนุญาตให้มีการออก ITC ให้กับผู้เล่นที่ก่ออาชญากรรมหรือก่อเรื่องอื้อฉาวทางสังคม และด้วยคอนเนคชั่นต่างๆของสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีกับทาง FIVB ย่อมมากกว่าอีดายองอยู่แล้ว ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่ทาง FIVB จะฟังสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีมากกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จขกท.ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกฎการโอนย้ายไปลีกต่างประเทศเท่าไหร่ จึงได้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเองค่ะ อ้างอิงจาก INTERNATIONAL TRANSFER
PROCEDURE MANUAL SEASON 2020 – 2021 ของ FIVB หากผิดพลาดประการใดรบกวนช่วยกันแก้ไขนะคะ
ตาม Flow Chart ด้านบนคือขั้นตอนการโอนย้ายนักกีฬาไปเล่นลีกต่างประเทศของ FIVB ค่ะ โดยกระบวนการจะเริ่มจากสโมสรที่กรีซ (ขออนุญาตแทนเป็นกรณีของดายองไปเลยนะคะ) สนใจนักกีฬาต่างชาติ (อีดายอง) ก็จะแจ้งไปยังสมาคมวอลเลย์บอลกรีซ (Receiving National Federation : Receiving NF) เพื่อขออนุญาตในการโอนย้ายนักกีฬาต่างประเทศมาเล่นที่กรีซ
สมาคมวอลเลย์บอลกรีซจะตรวจสอบว่าสโมสรได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดโดย FIVB หรือไม่ หากไม่พบอุปสรรคใดๆ ก็จะยืนยันข้อตกลงในระบบ ITC
หลังจากนั้นสโมสรก็จะติดต่อไปยังสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี (Federal of Origin) เพื่อเจรจาเรื่องเงินและเงื่อนไขการโอนย้ายนักกีฬา และหากนักกีฬาคนดังกล่าวยังติดสัญญาอยู่กับสโมสรดังเดิม (Club of origin) ในที่นี้คือฮึงกุกแซงมยอง ก็จะต้องได้รับความยินยอมจากสโมสรต้นสังกัดด้วย
ซึ่งการโอนย้ายจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อทุกฝ่ายตกลงยินยอมพร้อมกันและยืนยันในระบบ ITC ได้แก่
1. นักกีฬา (อีดายอง)
2. สมาคมวอลเลย์บอลประเทศที่จะไป (สมาคมวอลเลย์บอลกรีซ)
3. สมาคมวอลเลย์บอลประเทศต้นทาง (สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี)
4. สโมสรที่จะไปเล่น (PAOK) และ
5. สโมสรต้นสังกัดที่ติดสัญญาอยู่ (ฮึงกุกแซงมยอง) (ถ้ามี)
อย่างไรก็ตาม ตาม Article 6.3.3.1 ระบุไว้ว่าหากมีการร้องขอจากนักกีฬา ทาง FIVB อาจอนุมัติ ITC ให้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสมาคมวอลเลย์บอลต้นทางได้ (ในที่นี้คือสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี) ในกรณีที่สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีไม่ยอมเจรจากับสโมสร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สรุปตามความเข้าใจของจขกท.ก็คือ แม้ว่าสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีจะไม่ออกใบ ITC ให้อีดายอง แต่อีดายองสามารถไปยื่นเรื่องต่อ FIVB เพื่อให้ FIVB ออกใบ ITC ให้แทนสมาคมได้ค่ะ ก็จะสามารถไปเล่นลีกต่างประเทศได้เหมือนกัน
หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีอะไรเคลื่อนไหวอีก จนกระทั่งวันที่ 20 มิ.ย. สื่อกรีซได้มีการลงข่าวเกี่ยวกับการเซ็นสัญญาของอีดายองอีกครั้ง โดยผู้จัดการเอเจนซี่ CAAN ชาวตุรกีได้รับทราบถึงจุดยืนของสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีที่ว่าจะไม่มีการออกใบ ITC ให้กับผู้เล่นที่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องอื้อฉาวในสังคม อย่างไรก็ตามผู้จัดการชาวตุรกีได้ให้ความมั่นใจในกับสื่อกรีซว่า "ไม่มีปัญหาใดๆ ผู้เล่นเซ็นสัญญากับ PAOK เรียบร้อยแล้ว สโมสรของเธอไม่ได้มีปัญหาอะไร และการโอนจะเสร็จสิ้นในไม่ช้า"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สื่อเกาหลีได้นำเสนอข่าวนี้ในวันต่อมา ซึ่งได้มีการเปิดเผยเพิ่มเติมว่าเอเจนซี่ CAAN มีความมั่นใจว่าอีดายองจะสามารถไปเล่นในกรีซได้เพียงแค่คำอนุญาติจากฮึงกุกสโมสรต้นสังกัด ถึงแม้ว่าสมาคมวอลเลย์เกาหลีไม่อนุญาตก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะจะเอากฎของ FIVB มาใช้แทน
ซึ่งก็เป็นไปตามคาด ว่าสโมสรจะให้ FIVB เป็นคนออกใบ ITC แทนสมาคมวอลเลย์ฯ ง่ายๆก็คือสมาคมจะไม่อนุญาตก็เรื่องของสมาคม ฉันไปขอ FIVB ก็ได้ (อันหลังเติมเอง😅)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่เรื่องที่ทำให้เนติเซนเกาหลีลุกเป็นไฟอยู่ขณะนี้ ก็เป็นผลมาจากข่าวเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมาที่ว่าสโมสรฮึงกุกได้เข้าร่วมประชุมบอร์ดกับ KOVO เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. และได้ประกาศถึงแพลนที่จะลงทะเบียนชื่อของอีแจยองและอีดายองสำหรับฤดูกาลหน้าวันที่ 30 มิ.ย. นี้ รวมถึงจะผลักดันอีดายองไปลีกต่างประเทศด้วย
(ปล. KOVO กับ สมาคมวอลเลย์บอลเกาหลี คือคนละหน่วยงานกันนะคะ เท่าที่เข้าใจคือ KOVO จะดูแลลีก ส่วนสมาคมวอลเลย์บอลจะดูแลทีมชาติ เป็นสาเหตุว่าทำไมตอนที่ฝาแฝดถูกแบนในระดับสโมสรเป็นการประกาศจากฮึงกุก แต่ตอนถูกแบนจากทีมชาติเป็นการประกาศโดยสมาคมวอลเลย์บอล)
กำหนดการส่งรายชื่อสำหรับวีลีกฤดูกาล 2021-22 สโมสรจะต้องส่งรายชื่อผู้เล่นให้กับทาง KOVO ก่อนวันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่ฮึงกุกจะใส่ชื่อฝาแฝดลงไปอยู่แล้ว แต่ฮึงกุกก็ยืนยันมาตลอดว่าจะไม่พูดอะไรจนกว่าจะเช้าวันที่ 30 มิ.ย.
ในการประชุมคณะกรรมการสหพันธ์วอลเลย์บอลเกาหลี (KOVO) คิมยออิล ผู้จัดการทีมฮึงกุกได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทะเบียนชื่อของฝาแฝดเป็นสมาชิกของทีมในฤดูกาลหน้า และประกาศแผนการที่จะผลักดันอีดายองไปลีกต่างประเทศ พร้อมทั้งขอความเข้าใจจากแต่ละสโมสรด้วย
โดยให้เหตุผลว่าเป็นทางเลือกในการปกป้องสิทธิของสโมสร หากไม่ได้ลงทะเบียนชื่อของฝาแฝด ฝาแฝดก็จะกลายเป็น FA (Free Agent) ซึ่งสามารถไปเล่นที่ไหนก็ได้ และสิทธิ์ของสโมสรจะหมดไปทันที อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคอีกมากมายที่ต้องเผชิญหน้า ผลสรุปของคดีความของฝาแฝดยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของตำรวจ ข้อเท็จจริงต้องใช้เวลามากในการเปิดเผยในระดับที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ ซึ่งการตัดสินใจว่าจะลงทะเบียนชื่อของฝาแฝดนี้ สโมสรก็ทำไปเพื่อที่จะปกป้องสิทธิของผู้เล่นด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ฮึงกุกยังได้แสดงท่าทีไม่พอใจในที่ประชุมต่อสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีอีกด้วย คิมยออิลกล่าวว่า “เหตุใดสมาคมวอลเลย์บอลเกาหลีถึงต้องขัดขวางไม่ยอมออกใบ ITC ให้กับอีดายองด้วยในเมื่อสโมสรมีความต้องการส่งนักกีฬาไปลีกต่างประเทศ”
นอกจากนี้ คิมยออิล ยังได้นำเสนอถึงความจำเป็นในการเสริมระบบเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้เล่นต่อ KOVO ด้วย โดยเสนอว่าสโมสรและ KOVO ควรจะร่วมกันดำเนินการทางกฎหมายกับเนติเซนเพื่อปกป้องผู้เล่นที่ได้รับความคิดเห็นที่เป็นอันตรายและปกป้องผู้เล่นจากการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ โดยการจัดตั้ง "ศูนย์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เล่น" หลังจากได้ยินข้อเสนอของฮึงกุก ทาง KOVO ก็ได้บอกว่าจะพิจารณาตัดสินใจอภิปรายในภายหลัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(มีต่อ)