แพทย์ มธ. เจอผู้บังคับบัญชาติง หลังแนะซื้อวัคซีนมีประสิทธิภาพ หวั่นระบาดคุมไม่อยู่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6472409
อาจารย์แพทย์ มธ. ประกาศงดให้ข้อมูล 7 วัน หลังแนะซื้อวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอมาใช้เป็นวัคซีนหลัก เพราะมีประสิทธิภาพดี แต่เจอผู้บังคับบัญชาติง
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 ผศ.นพ.
บันดาล ซื่อตรง อาจารย์แพทย์หน่วยโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊ก
ปอดและไอซียูง่ายนิดเดียว เรื่อง
ประกาศของดให้ข้อมูลและความคิดเห็นเรื่องสถานการณ์โควิดและการบริหารจัดการเรื่องโควิดวัคซีน
โดยระบุว่า
เนื่องจากที่ผ่านมาสถานการณ์โควิดในประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวลใจเป็นอย่างมาก และการบริหารจัดการเรื่องวัคซีนของประเทศไทยยังดูมีปัญหาอย่างมาก ข้าพเจ้า ผศ.นพ.บันดาล ซื่อตรง อาจารย์แพทย์หน่วยโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พยายามให้ข้อมูลและความคิดเห็นในสื่อออนไลน์ เพื่อต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายวัคซีนให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอมาใช้เป็นวัคซีนหลักของประเทศ
เนื่องจากมีหลักฐานทางการแพทย์ว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าวัคซีนชนิดอื่นที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน และมีหลักฐานการใช้ในประเทศต่างๆ มาแล้วว่าทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิดได้สำเร็จ เช่นในประเทศอิสราเอล เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา และพบว่าวัคซีนดังกล่าวสามารถสั่งซื้อในปริมาณที่มากถึง 40 ถึง 50 ล้านโดสได้ โดยสามารถส่งมอบได้ในเวลาไม่นาน เช่นการสั่งซื้อของประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งสองประเทศจะได้รับการส่งมอบวัคซีนดังกล่าวภายในเดือนสิงหาคม โดยที่ข้าพเจ้ามิได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับบริษัทวัคซีนดังกล่าวที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม การนำเสนอข้อมูลของข้าพเจ้าอาจส่งผลกระทบให้เกิดความไม่สบายใจกับผู้เชี่ยวชาญบางท่าน ที่ได้พยายามทำหน้าที่อย่างสุจริตใจ ในการให้ข้อมูลและคำแนะนำต่อภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าจึงต้องกราบขออภัยต่อท่านผู้เชี่ยวชาญทุกๆ ท่านด้วยความจริงใจ จากการประเมินของข้าพเจ้า มีโอกาสที่การระบาดของโรคโควิดในประเทศไทยจะมีความรุนแรงจนยากที่จะควบคุมได้ ถ้าประเทศของเรายังไม่สามารถจัดหาวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอมาเป็นวัคซีนหลักให้ใช้ได้ทันเวลา
จึงได้พยายามที่จะนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับสังคมในฐานะของนักวิชาการในนามส่วนตัว ซึ่งไม่ได้เป็นการแสดงความคิดเห็นในนามของสถาบันที่สังกัดแต่อย่างใด ข้าพเจ้าได้รับคำแนะนำที่หวังดีจากผู้บังคับบัญชาให้ระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็นที่อาจจะกระทบต่อบุคคลที่สาม ข้าพเจ้าเข้าใจและยอมรับคำแนะนำมาถือปฏิบัติ
โดยข้าพเจ้าจะของดการให้ข้อมูลและความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวเป็นระยะเวลาเจ็ดวัน และหลังจากนั้น ข้าพเจ้าจะใช้ความระมัดระวังให้มากที่สุดที่จะไม่ให้ข้อมูลหรือความคิดเห็นของข้าพเจ้าไปส่งผลกระทบต่อบุคคลที่สามอีกต่อไป
https://www.facebook.com/EASYPCCM/posts/852963382011257
สาววอนช่วย พ่อป่วยโควิด อาการทรุด จำเป็นต้องย้ายรพ. แต่เตียงเต็มทุกที่
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6472382
สาววอนช่วย ติดโควิดทั้งบ้าน พ่อติดเชื้ออาการหนักสุด ทรุดขั้นโคม่า รพ.ที่รักษาอยู่ตอนนี้อุปกรณ์ไม่เพียงพอ จำเป็นต้องย้ายรพ. แต่เตียงเต็มทุกที่
จากกรณีมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ว่า พ่อป่วยโควิด ชื่อ นายนรินทร์ พุ่มรอด เกิดภาวะโคม่าต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ภาวะตับแข็ง รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลบางบัวทอง1 โดยต้องการส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า แต่ไม่สามารถไปได้เนื่องจากเตียงเต็ม ส่วนโรงพยาบาลชลประทานก็เต็ม ต้องการส่งตัวไปรักษาที่อื่น ที่สามารถรับได้ในตอนนี้ ในนนทบุรีที่สามารถรับได้เต็มหมด อยากให้ช่วยหาโรงพยาบาลเคสด่วนหน่อยค่ะ
ล่าสุด วันที่ 24 มิ.ย. 64 นาง
วิภาพร พุ่มรอด ผู้โพสต์ เปิดเผยว่า ตอนนี้พ่อของตนเข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่ รพ.บางบัวทอง1 ในห้องICU โดยที่บ้านมีคนพักอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 คน มีพ่อ แม่ ตนและลูกสาว ซึ่งทุกคนติดเชื้อโควิดกันทั้งหมดบ้าน โดยแม่ของตนนั้นเข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.64 ที่ รพ.พระนั่งเกล้า ซึ่งตอนนี้ก็ยังรักษาตัวอยู่อาการยังไม่ดีขึ้นทาง รพ.ยังคงให้ยาต้านเชื้ออยู่ ส่วนตนกับลูกชายได้ไปรักษาตัวที่ รพ.สนามวิทยาลัยนนทบุรี พร้อมกับพ่อของตน ในวันที่ 11 มิ.ย.64
แต่พ่อต้องแยกไปรักษาตัวต่อที่ รพ.บางบัวทอง 1 ซึ่งตนและลูกชายอยู่ที่ รพ.สนาม ครบ 14 วันแล้ว ทางคุณหมอจึงให้กลับบ้านได้ และต้องมากักตัวที่บ้านต่ออีก 7 วัน ตามคำสั่งของหมอ ส่วนพ่อยังต้องเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.อยู่ และเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 64 หมอจากรพ แจ้งว่า พ่อของตนตรวจพบมีภาวะตับแข็ง ความดัน และเลือดออกในช่องท้องปริมาณมากถึง 500 cc. และมีอาการเข้าขั้นโคม่า
ทาง รพ. จึงต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หลังจากนั้นพ่อก็ไม่รู้สึกตัวอีกเลย ทำให้ตอนนี้พ่อของตนต้องอยู่ในห้อง ICU เป็นเวลา 2 วันแล้ว ตั้งแต่วันที่ 23-24 มิ.ย. ต่อมา ทาง รพ.ได้แจ้งมาว่าอาการของพ่อตนยังคงทรงตัวอยู่ แต่ต้องรีบส่งตัวพ่อไปรักษาต่อที่ รพ.พระนั่งเกล้า ที่มีอุปกรณ์ในการรักษาอย่างเร่งด่วนจะดีที่สุด แต่ติดตรงที่ทางรพ.พระนั่งเกล้า แจ้งมาว่าเตียงผู้ป่วยโควิด เต็มเช่นกัน
นางวิภาพร กล่าวต่อว่า เบื้องต้นตนได้ประสานงานกับทาง รพ.บางบัวทอง1แล้ว เรื่องการย้ายพ่อไปรักษาต่อที่ รพ.พระนั่งเกล้า แต่ได้คำตอบว่าเตียงเต็มแล้ว แต่ตนก็ยังไม่ละความพยายามประสานไปยัง รพ.ชลประทานอีกทางก็ได้รับคำตอบเดียวกันว่าเตียงเต็ม แม้ทางรพ.บางบัวทอง 1 จะช่วยประสานการส่งตัวพ่อของตนให้ไปรักษาที่ รพ.ต่างๆ ก็ตาม เนื่องจากทางรพ.บางบัวทอง1 มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอที่จะรักษาได้
ตนได้ติดต่อประสานงานกับ รพ.ต่างๆในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และ รพ.มงกุฏวัฒนะ แต่ไม่มีรพ.ไหนสามารถรับพ่อของตนไปรักษาต่อได้ โดยทุก รพ.ให้เหตุผลเดียวกันว่า เตียงเต็มหมด ตนจึงอยากขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชนที่ยังพอมีช่องทางให้มาช่วยรับตัว นายนรินทร์ ผู้เป็นพ่อของตนไป เข้ารับการรักษาที เพราะกลัวว่าหากช้าเกินไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ตอนนี้ตนก็ได้แต่รอด้วยความหวังว่าจะมี รพ.ไหนติดต่อมาหรือหน่วยงานไหนจะติดต่อเข้ามาให้ความช่วยเหลือพ่อของตนได้ทันถ่วงที
ผู้ประกอบการรถขนส่งร้อง "คมนาคม" เยียวยาโควิด 3 ประเด็น
https://www.prachachat.net/property/news-697883
ผู้ประกอบการขนส่งร้อง “คมนาคม” เยียวยาเอฟเฟ็กต์ “โควิด” เว้นภาษีรถประจำปี-ยกหนี้ค้างภาษี-ขอเยียวยาคนละ 5,000 บาท 6 เดือน-ขอค่าซ่อมบำรุง 200,000 บาท ด้านคมนาคม-ขนส่งทางบกรับทุกข้อไปพิจารณา
วันที่ 24 มิถุนายน 2564 นาย
วิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารกรมการขนส่งทางบก ร่วมหารือและรับหนังสือขอให้ช่วยเหลือเยียวยาจาก นายวสุเชษฐ์ โสภณเสถียร นายกสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย และตัวแทนสมาคมฯ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม
นาย
วิรัช พิมพะนิตย์ กล่าวว่า ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย (สปข.) ได้มาขอพบเพื่อยื่นหนังสือขอให้กระทรวงพิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยาสมาชิกผู้ประกอบการ รถโดยสารไม่ประจำทางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ดังนี้
เว้นภาษีรถประจำปี-ยกหนี้ค้าง
1.การลดค่าใช้จ่าย โดยขอยกเว้นภาษีประจำปีของรถโดยสารและสถานประกอบการ และขอยกเว้นค่าปรับกรณีชำระภาษีล่าช้า ทั้งนี้ เนื่องจากการเก็บภาษีเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ไม่มีอำนาจในการดำเนินการโดยตรง โดย ขบ. อาจจะช่วยเหลือโดยดำเนินการในส่วนของการพักใช้รถที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดภาระให้ผู้ประกอบการแทน
ขอช่วย 5,000 บาท 6 เดือน
2. การเสริมสภาพคล่อง โดยขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการคันละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน และขอรับเงินสนับสนุนการฟื้นฟู ซ่อมบำรุงรถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของ ขบ. คันละ 200,000 บาท เป็นเวลา 4 เดือน (กรกฎาคม-ตุลาคม 2564) โดยอาจให้กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน หรือ กปถ. ตั้งกองทุนช่วยเหลือหรือจัดหา ช่องทางการกู้เงินอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการกู้เงินนำไปซ่อมบำรุงรถได้โดยใช้ทะเบียนรถค้ำประกัน เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้
หนุนเงินเช่ารถท่องเที่ยวคนละ 1.4 หมื่นบาท 6 เดือน
3. การส่งเสริมช่องทางเพิ่มรายได้ โดยส่งเสริมให้เกิดการเดินทางเป็นหมู่คณะของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มากขึ้น และสนับสนุนเงินค่าเช่ารถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวให้กับผู้ประกอบการ วันละ 14,000 บาทต่อคัน ไม่เกิน 4 วัน จำนวน 40,000 คัน เป็นเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564)
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหาให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนทุกกลุ่ม พร้อมกันนี้ได้สั่งการให้ ขบ. พิจารณาข้อเสนอของสมาคมฯ หรือหาแนวทางอื่นในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการรถโดยสารไม่ประจำทางโดยเร็วต่อไป
JJNY : 4in1 แพทย์มธ.เจอติง│วอนช่วยพ่อ ต้องย้ายรพ. แต่เตียงเต็มทุกที่│รถขนส่งร้องเยียวยา│พท.-ปชป.เทเสียงโหวตรับทั้ง13ร่าง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6472409
อาจารย์แพทย์ มธ. ประกาศงดให้ข้อมูล 7 วัน หลังแนะซื้อวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอมาใช้เป็นวัคซีนหลัก เพราะมีประสิทธิภาพดี แต่เจอผู้บังคับบัญชาติง
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 ผศ.นพ.บันดาล ซื่อตรง อาจารย์แพทย์หน่วยโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊ก ปอดและไอซียูง่ายนิดเดียว เรื่อง
ประกาศของดให้ข้อมูลและความคิดเห็นเรื่องสถานการณ์โควิดและการบริหารจัดการเรื่องโควิดวัคซีน
โดยระบุว่า
เนื่องจากที่ผ่านมาสถานการณ์โควิดในประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวลใจเป็นอย่างมาก และการบริหารจัดการเรื่องวัคซีนของประเทศไทยยังดูมีปัญหาอย่างมาก ข้าพเจ้า ผศ.นพ.บันดาล ซื่อตรง อาจารย์แพทย์หน่วยโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พยายามให้ข้อมูลและความคิดเห็นในสื่อออนไลน์ เพื่อต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายวัคซีนให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอมาใช้เป็นวัคซีนหลักของประเทศ
เนื่องจากมีหลักฐานทางการแพทย์ว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าวัคซีนชนิดอื่นที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน และมีหลักฐานการใช้ในประเทศต่างๆ มาแล้วว่าทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิดได้สำเร็จ เช่นในประเทศอิสราเอล เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา และพบว่าวัคซีนดังกล่าวสามารถสั่งซื้อในปริมาณที่มากถึง 40 ถึง 50 ล้านโดสได้ โดยสามารถส่งมอบได้ในเวลาไม่นาน เช่นการสั่งซื้อของประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งสองประเทศจะได้รับการส่งมอบวัคซีนดังกล่าวภายในเดือนสิงหาคม โดยที่ข้าพเจ้ามิได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับบริษัทวัคซีนดังกล่าวที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม การนำเสนอข้อมูลของข้าพเจ้าอาจส่งผลกระทบให้เกิดความไม่สบายใจกับผู้เชี่ยวชาญบางท่าน ที่ได้พยายามทำหน้าที่อย่างสุจริตใจ ในการให้ข้อมูลและคำแนะนำต่อภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าจึงต้องกราบขออภัยต่อท่านผู้เชี่ยวชาญทุกๆ ท่านด้วยความจริงใจ จากการประเมินของข้าพเจ้า มีโอกาสที่การระบาดของโรคโควิดในประเทศไทยจะมีความรุนแรงจนยากที่จะควบคุมได้ ถ้าประเทศของเรายังไม่สามารถจัดหาวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอมาเป็นวัคซีนหลักให้ใช้ได้ทันเวลา
จึงได้พยายามที่จะนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับสังคมในฐานะของนักวิชาการในนามส่วนตัว ซึ่งไม่ได้เป็นการแสดงความคิดเห็นในนามของสถาบันที่สังกัดแต่อย่างใด ข้าพเจ้าได้รับคำแนะนำที่หวังดีจากผู้บังคับบัญชาให้ระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็นที่อาจจะกระทบต่อบุคคลที่สาม ข้าพเจ้าเข้าใจและยอมรับคำแนะนำมาถือปฏิบัติ
โดยข้าพเจ้าจะของดการให้ข้อมูลและความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวเป็นระยะเวลาเจ็ดวัน และหลังจากนั้น ข้าพเจ้าจะใช้ความระมัดระวังให้มากที่สุดที่จะไม่ให้ข้อมูลหรือความคิดเห็นของข้าพเจ้าไปส่งผลกระทบต่อบุคคลที่สามอีกต่อไป
https://www.facebook.com/EASYPCCM/posts/852963382011257
สาววอนช่วย พ่อป่วยโควิด อาการทรุด จำเป็นต้องย้ายรพ. แต่เตียงเต็มทุกที่
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6472382
สาววอนช่วย ติดโควิดทั้งบ้าน พ่อติดเชื้ออาการหนักสุด ทรุดขั้นโคม่า รพ.ที่รักษาอยู่ตอนนี้อุปกรณ์ไม่เพียงพอ จำเป็นต้องย้ายรพ. แต่เตียงเต็มทุกที่
จากกรณีมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ว่า พ่อป่วยโควิด ชื่อ นายนรินทร์ พุ่มรอด เกิดภาวะโคม่าต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ภาวะตับแข็ง รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลบางบัวทอง1 โดยต้องการส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า แต่ไม่สามารถไปได้เนื่องจากเตียงเต็ม ส่วนโรงพยาบาลชลประทานก็เต็ม ต้องการส่งตัวไปรักษาที่อื่น ที่สามารถรับได้ในตอนนี้ ในนนทบุรีที่สามารถรับได้เต็มหมด อยากให้ช่วยหาโรงพยาบาลเคสด่วนหน่อยค่ะ
ล่าสุด วันที่ 24 มิ.ย. 64 นางวิภาพร พุ่มรอด ผู้โพสต์ เปิดเผยว่า ตอนนี้พ่อของตนเข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่ รพ.บางบัวทอง1 ในห้องICU โดยที่บ้านมีคนพักอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 คน มีพ่อ แม่ ตนและลูกสาว ซึ่งทุกคนติดเชื้อโควิดกันทั้งหมดบ้าน โดยแม่ของตนนั้นเข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.64 ที่ รพ.พระนั่งเกล้า ซึ่งตอนนี้ก็ยังรักษาตัวอยู่อาการยังไม่ดีขึ้นทาง รพ.ยังคงให้ยาต้านเชื้ออยู่ ส่วนตนกับลูกชายได้ไปรักษาตัวที่ รพ.สนามวิทยาลัยนนทบุรี พร้อมกับพ่อของตน ในวันที่ 11 มิ.ย.64
แต่พ่อต้องแยกไปรักษาตัวต่อที่ รพ.บางบัวทอง 1 ซึ่งตนและลูกชายอยู่ที่ รพ.สนาม ครบ 14 วันแล้ว ทางคุณหมอจึงให้กลับบ้านได้ และต้องมากักตัวที่บ้านต่ออีก 7 วัน ตามคำสั่งของหมอ ส่วนพ่อยังต้องเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.อยู่ และเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 64 หมอจากรพ แจ้งว่า พ่อของตนตรวจพบมีภาวะตับแข็ง ความดัน และเลือดออกในช่องท้องปริมาณมากถึง 500 cc. และมีอาการเข้าขั้นโคม่า
ทาง รพ. จึงต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หลังจากนั้นพ่อก็ไม่รู้สึกตัวอีกเลย ทำให้ตอนนี้พ่อของตนต้องอยู่ในห้อง ICU เป็นเวลา 2 วันแล้ว ตั้งแต่วันที่ 23-24 มิ.ย. ต่อมา ทาง รพ.ได้แจ้งมาว่าอาการของพ่อตนยังคงทรงตัวอยู่ แต่ต้องรีบส่งตัวพ่อไปรักษาต่อที่ รพ.พระนั่งเกล้า ที่มีอุปกรณ์ในการรักษาอย่างเร่งด่วนจะดีที่สุด แต่ติดตรงที่ทางรพ.พระนั่งเกล้า แจ้งมาว่าเตียงผู้ป่วยโควิด เต็มเช่นกัน
นางวิภาพร กล่าวต่อว่า เบื้องต้นตนได้ประสานงานกับทาง รพ.บางบัวทอง1แล้ว เรื่องการย้ายพ่อไปรักษาต่อที่ รพ.พระนั่งเกล้า แต่ได้คำตอบว่าเตียงเต็มแล้ว แต่ตนก็ยังไม่ละความพยายามประสานไปยัง รพ.ชลประทานอีกทางก็ได้รับคำตอบเดียวกันว่าเตียงเต็ม แม้ทางรพ.บางบัวทอง 1 จะช่วยประสานการส่งตัวพ่อของตนให้ไปรักษาที่ รพ.ต่างๆ ก็ตาม เนื่องจากทางรพ.บางบัวทอง1 มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอที่จะรักษาได้
ตนได้ติดต่อประสานงานกับ รพ.ต่างๆในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และ รพ.มงกุฏวัฒนะ แต่ไม่มีรพ.ไหนสามารถรับพ่อของตนไปรักษาต่อได้ โดยทุก รพ.ให้เหตุผลเดียวกันว่า เตียงเต็มหมด ตนจึงอยากขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชนที่ยังพอมีช่องทางให้มาช่วยรับตัว นายนรินทร์ ผู้เป็นพ่อของตนไป เข้ารับการรักษาที เพราะกลัวว่าหากช้าเกินไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ตอนนี้ตนก็ได้แต่รอด้วยความหวังว่าจะมี รพ.ไหนติดต่อมาหรือหน่วยงานไหนจะติดต่อเข้ามาให้ความช่วยเหลือพ่อของตนได้ทันถ่วงที
ผู้ประกอบการรถขนส่งร้อง "คมนาคม" เยียวยาโควิด 3 ประเด็น
https://www.prachachat.net/property/news-697883
ผู้ประกอบการขนส่งร้อง “คมนาคม” เยียวยาเอฟเฟ็กต์ “โควิด” เว้นภาษีรถประจำปี-ยกหนี้ค้างภาษี-ขอเยียวยาคนละ 5,000 บาท 6 เดือน-ขอค่าซ่อมบำรุง 200,000 บาท ด้านคมนาคม-ขนส่งทางบกรับทุกข้อไปพิจารณา
วันที่ 24 มิถุนายน 2564 นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารกรมการขนส่งทางบก ร่วมหารือและรับหนังสือขอให้ช่วยเหลือเยียวยาจาก นายวสุเชษฐ์ โสภณเสถียร นายกสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย และตัวแทนสมาคมฯ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม
นายวิรัช พิมพะนิตย์ กล่าวว่า ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย (สปข.) ได้มาขอพบเพื่อยื่นหนังสือขอให้กระทรวงพิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยาสมาชิกผู้ประกอบการ รถโดยสารไม่ประจำทางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ดังนี้
เว้นภาษีรถประจำปี-ยกหนี้ค้าง
1.การลดค่าใช้จ่าย โดยขอยกเว้นภาษีประจำปีของรถโดยสารและสถานประกอบการ และขอยกเว้นค่าปรับกรณีชำระภาษีล่าช้า ทั้งนี้ เนื่องจากการเก็บภาษีเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ไม่มีอำนาจในการดำเนินการโดยตรง โดย ขบ. อาจจะช่วยเหลือโดยดำเนินการในส่วนของการพักใช้รถที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดภาระให้ผู้ประกอบการแทน
ขอช่วย 5,000 บาท 6 เดือน
2. การเสริมสภาพคล่อง โดยขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการคันละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน และขอรับเงินสนับสนุนการฟื้นฟู ซ่อมบำรุงรถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของ ขบ. คันละ 200,000 บาท เป็นเวลา 4 เดือน (กรกฎาคม-ตุลาคม 2564) โดยอาจให้กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน หรือ กปถ. ตั้งกองทุนช่วยเหลือหรือจัดหา ช่องทางการกู้เงินอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการกู้เงินนำไปซ่อมบำรุงรถได้โดยใช้ทะเบียนรถค้ำประกัน เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้
หนุนเงินเช่ารถท่องเที่ยวคนละ 1.4 หมื่นบาท 6 เดือน
3. การส่งเสริมช่องทางเพิ่มรายได้ โดยส่งเสริมให้เกิดการเดินทางเป็นหมู่คณะของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มากขึ้น และสนับสนุนเงินค่าเช่ารถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวให้กับผู้ประกอบการ วันละ 14,000 บาทต่อคัน ไม่เกิน 4 วัน จำนวน 40,000 คัน เป็นเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564)
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหาให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนทุกกลุ่ม พร้อมกันนี้ได้สั่งการให้ ขบ. พิจารณาข้อเสนอของสมาคมฯ หรือหาแนวทางอื่นในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการรถโดยสารไม่ประจำทางโดยเร็วต่อไป