ไบโอเทค เปิดผลวิจัย เชื้อพันธุ์อินเดีย หนีภูมิวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มได้
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6462431
ดร.
อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา เปิดเผยข้อมูลการทดลองการยับยั้งเชื้อ สายพันธุ์เดลต้า หรือ สายพันธุ์อินเดีย ในผู้ฉีดวัคซีนซิโนแวค
โดยระบุว่า
ผลการทดสอบซีรั่มซิโนแวค 2 เข็มกับสไปค์สายพันธุ์เดลต้า… ข้อมูลนี้เป็นผลการทดลองที่ผมศึกษาโดยใช้ตัวอย่างซีรั่มของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac ของ บริษัท Sinovac ครบ 2 เข็มเป็นเวลา 1 เดือน โดยใช้ตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 23 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความสามารถของซีรั่มจำนวนดังกล่าวในการยับยั้งไวรัสตัวแทนที่สร้างให้มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม (Wuhan) และ สายพันธุ์ B.1.617.2 (Delta) ด้วยวิธีมาตรฐานเรียกว่า Pseudovirus Neutralization assay
คือ การตรวจปริมาณแอนติบอดีชนิด NAb ที่สามารถยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสตัวแทนดังกล่าว ค่าที่อ่านได้ (แกนตั้ง) PVNT50 คือ ค่าที่สามารถเจือจางซีรั่มไปจนสามารถยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ 50% เช่น 100 จะหมายถึง ซีรั่มเจือจางไป 1 ใน 100 ยังสามารถยับยั้งได้อยู่ถ้ามากกว่านั้นจะยับยั้งไวรัสเข้าเซลล์ได้ไม่ถึง 50% ขณะที่ 10 จะหมายถึง ซีรั่มเจือจางไปเกิน 1 ใน 10 ก็ไม่สามารถยับยั้งไวรัสได้ 50% แล้ว สรุปแบบง่ายๆก็คือ ค่ายิ่งสูงแสดงว่าแอนติบอดีชนิด Nab ที่ยับยั้งไวรัสได้จะยิ่งเยอะ
เมื่อนำซีรั่มมาทดสอบกับไวรัสตัวแทนที่มีสไปค์ของสายพันธุ์ดั้งเดิม จะเห็นว่า ซีรั่มส่วนใหญ่ยังสามารถยับยั้งไวรัสได้พอสมควร ถึงแม้ไม่สูงมากแต่ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ตีพิมพ์มา แต่เมื่อทดสอบกับไวรัสสายพันธุ์เดลต้า จะเห็นว่าระดับของ NAb ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีหลายตัวอย่างที่ไม่สามารถตรวจวัด NAb ได้ ซึ่งบอกว่าสไปค์ของสายพันธุ์เดลต้าสามารถหนีภูมิของ Sinovac 2 เข็มได้มากพอสมควรเลยทีเดียว
ผมลงค่า Convalescent ซึ่งเป็นซีรั่มของผู้ป่วยหนักที่พบว่าส่วนใหญ่มี Nab ที่สูงพอในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้ทุกชนิดเปรียบเทียบให้ดูด้วย จะเห็นว่าระดับ Nab แตกต่างกันชัดเจน ข้อมูลนี้เป็น Data ที่ได้จากแล็บผมซึ่งใช้ตัวอย่างอาจจะไม่มาก ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนได้ จึงอยากให้ห้องแล็บอื่นๆที่มีตัวอย่างซีรั่มเยอะๆลองทดสอบดูเช่นเดียวกัน เพราะข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าได้…ใจลึกๆผมหวังว่าข้อมูลนี้จะไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ใช่ข่าวดีเท่าไหร่ถ้าผลออกมาแบบนี้จริงๆ
https://www.facebook.com/anan.jongkaewwattana/posts/4505820472791173
‘วิโรจน์’ แนะ รบ.จะซื้อซิโนแวคอีก 28 ล้านโดส ต้องดูผลใน ‘ชิลี-ตุรกี’ ก่อนตัดสินใจ
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2784257
กรณีที่ นพ.
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยแผนการเตรียมงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดซื้อวัคซีนเพิ่มให้ครบ 150 ล้าน ตามเป้าหมายให้คลอบคลุมถึงปี 2565 แบ่งเป็นการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค 28 ล้านโดส และอื่นๆ อีกประมาณ 22 ล้านโดส เพื่อวางทิศทางตามสถานการณ์ และรองรับเชื้อกลายพันธุ์ รวมไปถึงเข็มที่ 3 และนักวิจัยก็กำลังหาวิธีฉีดวัคซีนสลับเข็มกัน เพื่อสู้กับสายพันธุ์ใหม่ๆ
ล่าสุด (19 มิ.ย.) นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ทวิตเตอร์พร้อมเอกสารแผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 จำนวน 150 ล้านโดส พร้อมระบุข้อความว่า
“ก่อนจะตัดสินใจซื้อ Sinovac เพิ่มอีกตั้ง 28 ล้านโดส ควรทวนซ้ำประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของมันก่อน อยากให้เทียบเคียงกับสถานการณ์ของประเทศชิลีและตุรกี ก่อนที่จะตัดสินใจนะครับ”
ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยได้นำวัคซีคซิโนแวค มาแล้ว 10 ล็อต ล็อตแรก จำนวน 2 แสนโดส เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564, ล็อตสอง จำนวน 8 แสนโดส วันที่ 22 มีนาคม 2564, ล็อตสาม จำนวน 1 ล้านโดส วันที่ 10 เมษายน 2564, ล็อตสี่ จำนวน 5 แสนโดส วันที่ 24 เมษายน 2564, ล็อตห้า จำนวน 1 ล้านโดส วันที่ 6 พฤษภาคม 2564, ล็อตที่หก เป็นวัคซีนที่ทางประเทศจีนบริจาค จำนวน 5 แสนโดส วันที่ 14 พฤษภาคม 2564,
ล็อตที่ 7 จำนวน 5 แสนโดส วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ล็อตที่ 8 จำนวน 1.5 ล้านโดส วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ล็อตที่ 9 เป็นวัคซีนที่ทางประเทศจีนบริจาค จำนวน 5 แสนโดส วันที่ 5 มิถุนายน และล็อตที่ 10 จำนวน 1 ล้านโดส วันที่ 10 มิถุนายน รวมวัคซีนซิโนแวคที่นำเข้ามาแล้ว ทั้งหมด 7.5 ล้านโดส ล่าสุด นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการสาธารณะสุข ได้เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 มิถุนายน จะมีวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่มเติ่มอีกจำนวน 2 ล้านโดส
https://twitter.com/wirojlak/status/1406064167862239232
พิษโควิด ช้างตกงานหนีปาง จ.ภูเก็ต ขายอาหารข้างทาง ตายดาบหน้าที่บ้านเกิด วอนผู้สัญจรผ่าน แวะอุดหนุน
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2784346
พิษโควิด ช้างตกงานหนีปาง จ.ภูเก็ต ขายอาหารข้างทาง ตายดาบหน้าที่บ้านเกิด วอนผู้สัญจรผ่าน แวะอุดหนุน
วันที่ 19 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวพบควาญช้าง ทราบชื่อ คือนาย
ธงชัย ยามดี อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 73 บ.โคกไทร หมู่ 8 ต.บ้านจารย์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ได้นำช้างพังทองคำ อายุ 30 ปี มาล่ามโซ่ผูกไว้ข้างทางใต้ต้นไม้ ถนนสาย อ.สังขะ-บ.โคกไทร ก่อนถึงหมู่บ้านโคกไทร ประมาณ 2 กม. เพื่อขายอาหารช้าง ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ข้าวโพดและแตงกวา ในราคาตะกร้าละ 20 บาท เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาได้ช่วยอุดหนุนค่าอาหารช้างและซื้ออาหารให้ช้าง พร้อมติดป้ายที่โต๊ะวางอาหารช้างว่า ”สนใจให้อาหารช้าง ตะกร้า 20 บาท” หลังจากได้รับผลกระทบจากพิษโควิด-19 ทำให้ปางช้างที่ จ.ภูเก็ต ต้องปิดบริการชั่วคราว และไม่มีรายได้ จึงตัดสินใจนำช้างคู่ใจกลับมาตายเอาดาบหน้าที่บ้านเกิด ซึ่งพบว่านานๆ ครั้ง จะมีประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาจอดรถแวะซื้ออาหารช่วยช้าง ด้วยความสงสาร
นาย
ธงชัยกล่าวว่า ตนได้ตัดสินใจพาช้างพังทองคำ กลับบ้านเกิด จากปางช้าง จ.ภูเก็ต เมื่อประมาณ 2-3 เดือนก่อน หลังปางช้างปิดบริการ จากพิษโควิด-19 ซึ่งตนเอง และบรรดาควาญช้างได้รับผลกระทบตั้งแต่โควิดระบาดระลอกแรก แต่เกาะภูเก็ตถูกปิดก่อน จึงกลับไม่ได้ หลังจากนั้นสถานการณ์ทำท่าจะดีขึ้น แต่ก็มีระบาดระลอก 2 และ 3 จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดมาตายเอาดาบหน้า ปกติอยู่ที่ปางช้างมีรายได้เดือนละประมาณ 3-4 หมื่นบาท พอกลับมาบ้านเกิดก็ไม่มีรายได้อะไร และไม่มีเงินซื้ออาหารให้ช้าง หญ้าที่ปลูกให้ช้างก็ยังไม่โต จึงพาช้างมาขายอาหารให้ช้างข้างทาง หวังจะมีรายได้บ้าง และจะนำเงินไปซื้อหญ้าให้ช้างกินต่อไป เพราะอาหารที่ขายช้างคงไม่อิ่ม สำหรับช้างที่หมู่บ้านโคกไทรมีประมาณ 10 กว่าเชือก กระจายอยู่ตามปางช้างต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ขอเชิญชวนประชาชนให้ช่วยแวะซื้ออาหารช่วยช้างด้วย
หากผู้ใจบุญมีอาหารช้าง ต้องการช่วยช้าง ก็สามารถติดต่อตนได้ที่เบอร์ 09-8049-6175 หรือที่เฟซบุ๊ก “
ธงชัย ยามดี” สำหรับช้างเชือกนี้ใจดี ตนได้ล่ามขาไว้ และดูแลประชาชนที่แวะมาให้อาหารช้างอย่างใกล้ชิด มีความปลอดภัย
JJNY : พันธุ์อินเดียหนีภูมิซิโนแวค2เข็มได้│วิโรจน์แนะดูผลชิลี-ตุรกีก่อน│ช้างตกงานหนีปาง│'ซิโนฟาร์ม'ล็อตแรกถึงไทยพรุ่งนี้
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6462431
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา เปิดเผยข้อมูลการทดลองการยับยั้งเชื้อ สายพันธุ์เดลต้า หรือ สายพันธุ์อินเดีย ในผู้ฉีดวัคซีนซิโนแวค
โดยระบุว่า
ผลการทดสอบซีรั่มซิโนแวค 2 เข็มกับสไปค์สายพันธุ์เดลต้า… ข้อมูลนี้เป็นผลการทดลองที่ผมศึกษาโดยใช้ตัวอย่างซีรั่มของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac ของ บริษัท Sinovac ครบ 2 เข็มเป็นเวลา 1 เดือน โดยใช้ตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 23 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความสามารถของซีรั่มจำนวนดังกล่าวในการยับยั้งไวรัสตัวแทนที่สร้างให้มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม (Wuhan) และ สายพันธุ์ B.1.617.2 (Delta) ด้วยวิธีมาตรฐานเรียกว่า Pseudovirus Neutralization assay
คือ การตรวจปริมาณแอนติบอดีชนิด NAb ที่สามารถยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสตัวแทนดังกล่าว ค่าที่อ่านได้ (แกนตั้ง) PVNT50 คือ ค่าที่สามารถเจือจางซีรั่มไปจนสามารถยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ 50% เช่น 100 จะหมายถึง ซีรั่มเจือจางไป 1 ใน 100 ยังสามารถยับยั้งได้อยู่ถ้ามากกว่านั้นจะยับยั้งไวรัสเข้าเซลล์ได้ไม่ถึง 50% ขณะที่ 10 จะหมายถึง ซีรั่มเจือจางไปเกิน 1 ใน 10 ก็ไม่สามารถยับยั้งไวรัสได้ 50% แล้ว สรุปแบบง่ายๆก็คือ ค่ายิ่งสูงแสดงว่าแอนติบอดีชนิด Nab ที่ยับยั้งไวรัสได้จะยิ่งเยอะ
เมื่อนำซีรั่มมาทดสอบกับไวรัสตัวแทนที่มีสไปค์ของสายพันธุ์ดั้งเดิม จะเห็นว่า ซีรั่มส่วนใหญ่ยังสามารถยับยั้งไวรัสได้พอสมควร ถึงแม้ไม่สูงมากแต่ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ตีพิมพ์มา แต่เมื่อทดสอบกับไวรัสสายพันธุ์เดลต้า จะเห็นว่าระดับของ NAb ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีหลายตัวอย่างที่ไม่สามารถตรวจวัด NAb ได้ ซึ่งบอกว่าสไปค์ของสายพันธุ์เดลต้าสามารถหนีภูมิของ Sinovac 2 เข็มได้มากพอสมควรเลยทีเดียว
ผมลงค่า Convalescent ซึ่งเป็นซีรั่มของผู้ป่วยหนักที่พบว่าส่วนใหญ่มี Nab ที่สูงพอในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้ทุกชนิดเปรียบเทียบให้ดูด้วย จะเห็นว่าระดับ Nab แตกต่างกันชัดเจน ข้อมูลนี้เป็น Data ที่ได้จากแล็บผมซึ่งใช้ตัวอย่างอาจจะไม่มาก ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนได้ จึงอยากให้ห้องแล็บอื่นๆที่มีตัวอย่างซีรั่มเยอะๆลองทดสอบดูเช่นเดียวกัน เพราะข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าได้…ใจลึกๆผมหวังว่าข้อมูลนี้จะไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ใช่ข่าวดีเท่าไหร่ถ้าผลออกมาแบบนี้จริงๆ
https://www.facebook.com/anan.jongkaewwattana/posts/4505820472791173
‘วิโรจน์’ แนะ รบ.จะซื้อซิโนแวคอีก 28 ล้านโดส ต้องดูผลใน ‘ชิลี-ตุรกี’ ก่อนตัดสินใจ
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2784257
กรณีที่ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยแผนการเตรียมงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดซื้อวัคซีนเพิ่มให้ครบ 150 ล้าน ตามเป้าหมายให้คลอบคลุมถึงปี 2565 แบ่งเป็นการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค 28 ล้านโดส และอื่นๆ อีกประมาณ 22 ล้านโดส เพื่อวางทิศทางตามสถานการณ์ และรองรับเชื้อกลายพันธุ์ รวมไปถึงเข็มที่ 3 และนักวิจัยก็กำลังหาวิธีฉีดวัคซีนสลับเข็มกัน เพื่อสู้กับสายพันธุ์ใหม่ๆ
ล่าสุด (19 มิ.ย.) นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ทวิตเตอร์พร้อมเอกสารแผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 จำนวน 150 ล้านโดส พร้อมระบุข้อความว่า
“ก่อนจะตัดสินใจซื้อ Sinovac เพิ่มอีกตั้ง 28 ล้านโดส ควรทวนซ้ำประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของมันก่อน อยากให้เทียบเคียงกับสถานการณ์ของประเทศชิลีและตุรกี ก่อนที่จะตัดสินใจนะครับ”
ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยได้นำวัคซีคซิโนแวค มาแล้ว 10 ล็อต ล็อตแรก จำนวน 2 แสนโดส เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564, ล็อตสอง จำนวน 8 แสนโดส วันที่ 22 มีนาคม 2564, ล็อตสาม จำนวน 1 ล้านโดส วันที่ 10 เมษายน 2564, ล็อตสี่ จำนวน 5 แสนโดส วันที่ 24 เมษายน 2564, ล็อตห้า จำนวน 1 ล้านโดส วันที่ 6 พฤษภาคม 2564, ล็อตที่หก เป็นวัคซีนที่ทางประเทศจีนบริจาค จำนวน 5 แสนโดส วันที่ 14 พฤษภาคม 2564,
ล็อตที่ 7 จำนวน 5 แสนโดส วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ล็อตที่ 8 จำนวน 1.5 ล้านโดส วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ล็อตที่ 9 เป็นวัคซีนที่ทางประเทศจีนบริจาค จำนวน 5 แสนโดส วันที่ 5 มิถุนายน และล็อตที่ 10 จำนวน 1 ล้านโดส วันที่ 10 มิถุนายน รวมวัคซีนซิโนแวคที่นำเข้ามาแล้ว ทั้งหมด 7.5 ล้านโดส ล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการสาธารณะสุข ได้เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 มิถุนายน จะมีวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่มเติ่มอีกจำนวน 2 ล้านโดส
https://twitter.com/wirojlak/status/1406064167862239232
พิษโควิด ช้างตกงานหนีปาง จ.ภูเก็ต ขายอาหารข้างทาง ตายดาบหน้าที่บ้านเกิด วอนผู้สัญจรผ่าน แวะอุดหนุน
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2784346
พิษโควิด ช้างตกงานหนีปาง จ.ภูเก็ต ขายอาหารข้างทาง ตายดาบหน้าที่บ้านเกิด วอนผู้สัญจรผ่าน แวะอุดหนุน
วันที่ 19 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวพบควาญช้าง ทราบชื่อ คือนายธงชัย ยามดี อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 73 บ.โคกไทร หมู่ 8 ต.บ้านจารย์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ได้นำช้างพังทองคำ อายุ 30 ปี มาล่ามโซ่ผูกไว้ข้างทางใต้ต้นไม้ ถนนสาย อ.สังขะ-บ.โคกไทร ก่อนถึงหมู่บ้านโคกไทร ประมาณ 2 กม. เพื่อขายอาหารช้าง ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ข้าวโพดและแตงกวา ในราคาตะกร้าละ 20 บาท เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาได้ช่วยอุดหนุนค่าอาหารช้างและซื้ออาหารให้ช้าง พร้อมติดป้ายที่โต๊ะวางอาหารช้างว่า ”สนใจให้อาหารช้าง ตะกร้า 20 บาท” หลังจากได้รับผลกระทบจากพิษโควิด-19 ทำให้ปางช้างที่ จ.ภูเก็ต ต้องปิดบริการชั่วคราว และไม่มีรายได้ จึงตัดสินใจนำช้างคู่ใจกลับมาตายเอาดาบหน้าที่บ้านเกิด ซึ่งพบว่านานๆ ครั้ง จะมีประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาจอดรถแวะซื้ออาหารช่วยช้าง ด้วยความสงสาร
นายธงชัยกล่าวว่า ตนได้ตัดสินใจพาช้างพังทองคำ กลับบ้านเกิด จากปางช้าง จ.ภูเก็ต เมื่อประมาณ 2-3 เดือนก่อน หลังปางช้างปิดบริการ จากพิษโควิด-19 ซึ่งตนเอง และบรรดาควาญช้างได้รับผลกระทบตั้งแต่โควิดระบาดระลอกแรก แต่เกาะภูเก็ตถูกปิดก่อน จึงกลับไม่ได้ หลังจากนั้นสถานการณ์ทำท่าจะดีขึ้น แต่ก็มีระบาดระลอก 2 และ 3 จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดมาตายเอาดาบหน้า ปกติอยู่ที่ปางช้างมีรายได้เดือนละประมาณ 3-4 หมื่นบาท พอกลับมาบ้านเกิดก็ไม่มีรายได้อะไร และไม่มีเงินซื้ออาหารให้ช้าง หญ้าที่ปลูกให้ช้างก็ยังไม่โต จึงพาช้างมาขายอาหารให้ช้างข้างทาง หวังจะมีรายได้บ้าง และจะนำเงินไปซื้อหญ้าให้ช้างกินต่อไป เพราะอาหารที่ขายช้างคงไม่อิ่ม สำหรับช้างที่หมู่บ้านโคกไทรมีประมาณ 10 กว่าเชือก กระจายอยู่ตามปางช้างต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ขอเชิญชวนประชาชนให้ช่วยแวะซื้ออาหารช่วยช้างด้วย
หากผู้ใจบุญมีอาหารช้าง ต้องการช่วยช้าง ก็สามารถติดต่อตนได้ที่เบอร์ 09-8049-6175 หรือที่เฟซบุ๊ก “ธงชัย ยามดี” สำหรับช้างเชือกนี้ใจดี ตนได้ล่ามขาไว้ และดูแลประชาชนที่แวะมาให้อาหารช้างอย่างใกล้ชิด มีความปลอดภัย