ยอดโควิดวันนี้ พุ่ง 3,667 ราย ดับ 32 ราย ป่วยสะสม 185,586 คน
https://www.matichon.co.th/local/news_2784060
ยอดโควิดวันนี้ พุ่ง 3,667 ราย ดับ 32 ราย ป่วยสะสม 185,586 คน
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2564 ยอดรวม 3,667 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 3,232 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 435 ราย หายป่วยกลับบ้าน 4,948 ราย ผู้ป่วยสะสม 185,586 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 32 ราย
ความจริงเจ็บๆ ของ “วัคซีนซิโนแวค” ในอินโดนีเซีย
https://www.thansettakij.com/content/world/484547
มีกรณีความน่าสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ “วัคซีนซิโนแวค” เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ล่าสุดแพทย์อินโดนีเซียกว่า 350 คนติดโควิด-19 แม้ว่าทุกคนจะฉีดวัคซีนซิโนแวคครบโดสแล้วก็ตาม
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า แพทย์ ซึ่งเป็น บุคลากรด่านหน้าในอินโดนีเซีย กว่า 350 คน ติดเชื้อโควิด-19 แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการ ฉีดวัคซีนของบริษัทซิโนแวค (Sinovac) แล้วก็ตาม ในจำนวนนี้นับสิบรายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในการรับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
นาย
บาได อิสโมโย หัวหน้าสำนักงานสาธารณสุขที่เมืองคูดุส (Kudus) ในจังหวัดชวากลาง เปิดเผยว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการและกักตัวอยู่ลำพังในบ้านของตนเอง แต่ก็มีอยู่นับสิบรายที่มีไข้สูง มีความหนาแน่นของออกซิเจนในเลือดต่ำ ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ข่าวระบุว่า เมืองคูดุสซึ่งตั้งอยู่ในชวากลางกำลังเผชิญกับโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากไวรัสโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ที่สามารถแพร่กระจายได้ไวขึ้น จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลมีอัตราการครองเตียงมากกว่า 90%
อินโดนีเซียเริ่มการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่เดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยกลุ่มบุคลากรการแพทย์เป็นกลุ่มที่ได้สิทธิในการรับวัคซีนก่อนเนื่องจากต้องทำงานคลุกคลีเป็นด่านหน้าที่เสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ป่วย ข้อมูลจากสมาคมการแพทย์แห่งอินโดนีเซีย หรือ ไอดีไอ เผยว่า บุคลากรการแพทย์เกือบทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัท ซิโนแวค ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านชีวเภสัชภัณฑ์ของจีน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลชี้ว่าแม้บุคลากรการแพทย์จะติดเชื้อโควิดเป็นจำนวนมาก แต่พวกเขาก็มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคระบาดดังกล่าวน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยยอดบุคลากรการแพทย์ที่เสียชีวิตเพราะโรคโควิด-19 ได้ลดลงจาก 158 รายในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา เหลือเพียง 13 รายในเดือนพ.ค. ทั้งนี้ สิ่งที่สร้างความกังวลใจคือเรื่องของจำนวนบุคลากรการแพทย์ที่ถูกส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
นายแพทย์
ดิกกี บูดิแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ประเทศออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่า จากข้อมูลของอินโดนีเซียสะท้อนให้เห็นว่า บรรดาบุคลากรการแพทย์ในชวากลางนั้นติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาแม้ว่าพวกเขาจะได้รับวัคซีนป้องกันของบริษัทซิโนแวคแล้วก็ตาม “ตอนนี้เรายังไม่รู้ชัดว่า จริง ๆแล้ววัคซีนมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดในการต้านทานไวรัสโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา” นพ.บูดิแมนกล่าว
ทั้งนี้ ยังไม่มีโฆษกของบริษัทซิโนแวค หรือตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ออกมาให้ความกระจ่างเกี่ยวกับข้อสงสัยที่มีต่อประสิทธิภาพของวัคซีนบริษัทซิโนแวค ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า “โคโรนาแวค” (CoronaVac)
อินโดนีเซียเป็นประเทศในเอเชียที่เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงที่สุดประเทศหนึ่ง โดยจนถึงขณะนี้ มียอดผู้ติดเชื้อโควิดแล้วมากกว่า 1.9 ล้านราย มียอดผู้เสียชีวิตจากโควิด 53,000 ราย ในจำนวนนี้ เป็นบุคลากรการแพทย์และพยาบาลที่เสียชีวิตจากโควิด 946 ราย
เลนนี เอคาวาตี จาก laporCOVID-19 ซึ่งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในอินโดนีเซีย ให้ความเห็นว่า ผู้คนที่รับมือกับโควิดมาจนเหนื่อยล้า มีทัศนคติว่าเมื่อฉีดวัคซีนแล้วพวกเขาก็ปลอดภัยจากโรคดังกล่าว และอาจเริ่มปล่อยปละละเลยมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข แต่เนื่องจากในอินโดนีเซียมีการแพร่ระบาดของโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตาที่ติดต่อกันได้ไวขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจึงเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่พวกเขาคิด เพราะแม้แพทย์พยาบาลจะได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิดแล้ว แต่ทั่วทั้งอินโดนีเซียในขณะนี้ ก็มีแพทย์อย่างน้อย 5 คน และพยาบาล 1 คนที่เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้ว
ข้อมูลอ้างอิง
•
Hundreds of Sinovac-injected Indonesian doctors contract COVID
สคบ.อ้าแขนรับการ์ดจอแพง-พาณิชย์นี้ชี้ไม่ใช่สินค้าควบคุม
https://www.dailynews.co.th/economic/850872
หน่วยงานรัฐพร้อมรับเรื่องร้องเรียน กรณีการ์ดจอแพง หากผู้บริโภคหากมองว่าเข้าข่ายเอารัดเอาเปรียบ ด้านพาณิชย์ชี้ไม่ใช่สินค้าควบคุม ขอศึกษาถึงสาเหตุ ส่วน ตำรวจปอศ.เผยกรณีนี้ยังเอาผิดไม่ได้
นาย
สุวิทย์ วิจิตรโสภา รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยถึงกรณีสินค้าและอุปกรณ์ไอที โดยเฉพาะการ์ดจอคอมพิวเตอร์ ที่มีการตั้งข้อสังเกต ว่า มีการจำหน่ายในราคาสูงในท้องตลาด โดย สคบ.พร้อมรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคหากมองว่า เข้าข่ายเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งสคบ.เองแม้ไม่ได้มีกฎหมายที่ดูแลเรื่องของราคา แต่จะส่งต่อไปให้กับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการตรวจสอบข้อร้องเรียนต่อ เพราะถือเป็นหน่วยงานที่ดูแล และมีกฎหมายเฉพาะที่คอยกำกับดูแลสินค้าโดยตรง
ส่วนกรณีของสินค้าชนิดนี้นั้น จะเข้าข่ายการตรวจสอบของสคบ. หรือไม่นั้น คงต้องดูเป็นรายกรณี เช่น การโฆษณา ถูกต้องหรือไม่ หากโฆษณาไม่ถูกต้องก็เข้าข่ายกฎหมายของสคบ. ที่มีการควบคุมการโฆษณาเอาไว้ หรือเรื่องของการทำการซื้อขาย หรือเช่าซื้อสัญญาต่าง ๆ สคบ.ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ไว้คอยดูแลผู้บริโภค แต่ในรายละเอียดคงต้องมาพิจารณากันอีกครั้งว่า สินค้าชนิดนั้น มีที่มาอย่างไร และการซื้อขายกระทบต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสคบ.พร้อมช่วยเหลือผู้บริโภคทุกกรณี
นาย
วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เรื่องการ์ดจอแพงและขาดตลาด ต้องขอนำไปศึกษาก่อนว่ามีสาเหตุปัญหาและส่งผลกระทบเกี่ยวข้องอย่างไร โดยตามหลักการการที่กรมฯจะเข้าไปกำกับดูแลราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งนั้นต้องพิจารณาดูถึงความสมเหตุสมผล เช่น เป็นสินค้าที่มีความจำเป็น หรือกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้างหรือไม่ รวมถึงดูสาเหตุว่าทำไมถึงขาดแคลน และมีความเป็นธรรมในการกำหนดราคาหรือเปล่า ซึ่งเรื่องนี้จะต้องขอเวลาศึกษาก่อน
รายงานข่าวจากกรมการค้าภายใน แจ้งว่า ส่วนข้อร้องเรียนกรณีร้านค้าบังคับขายพ่วงสินค้าการ์ดจอ ร่วมกับแรม และซีพียูนั้น หากกระทำจริงอาจเข้าข่ายการขายพ่วงได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในการรับเรื่องร้องเรียนและเข้าไปตรวจสอบ เพราะในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จะเข้าตรวจสอบได้เฉพาะกรณีการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่าง ภาคธุรกิจต่อธุรกิจ แต่ถ้าเป็นธุรกิจกับผู้บริโภคอาจต้องให้อำนาจ สคบ.เข้าไปดูแล
ด้าน พ.ต.อ.
พัฒนพงศ์ ศรีพิณเพราะ ผกก.1 บก.ปอศ. กล่าวว่า สำหรับอุปกรณ์ไอทีนั้นไม่จัดอยู่ในประเภทสินค้าควบคุม เพราะถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ที่ไม่จำเป็น หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจึงยังไม่อาจเข้าจับกุมดำเนินคดีได้ หากผู้บริโภคเห็นว่าราคาแพงไปก็สามารถเลือกที่จะไม่ซื้อได้ หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้บริโภคสามารร้องเรียนกรมการค้าภายใน ให้มาตรวจสอบและพิจารณาประกาศให้อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นสินค้าควบคุมราคา ซึ่งยากมาก และหากจะดำเนินคดีเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ดังกล่าว อาจเลี่ยงเรื่องราคาแพง มาดำเนินคดีในเรื่องภาษีศุลกากร ได้ถ้าการนำเข้ามาจากต่างประเทศไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆส่วนมากที่พบจะเป็นลักษณะสินค้าที่นำเข้ามา หากพบว่ามีการหลบเลี่ยงภาษีการนำเข้าโดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร ก็เข้าข่ายความผิดตามพรบ.ศุลกากร แต่ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่าการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาอย่างถูกต้อง.
JJNY : โควิดวันนี้พุ่ง 3,667 ดับ 32│ความจริงเจ็บๆ ซิโนแวคในอินโด│สคบ.อ้าแขนรับการ์ดจอแพง│โคราชเสาไฟโซลาร์ต้นละครึ่งแสน
https://www.matichon.co.th/local/news_2784060
ยอดโควิดวันนี้ พุ่ง 3,667 ราย ดับ 32 ราย ป่วยสะสม 185,586 คน
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2564 ยอดรวม 3,667 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 3,232 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 435 ราย หายป่วยกลับบ้าน 4,948 ราย ผู้ป่วยสะสม 185,586 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 32 ราย
ความจริงเจ็บๆ ของ “วัคซีนซิโนแวค” ในอินโดนีเซีย
https://www.thansettakij.com/content/world/484547
มีกรณีความน่าสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ “วัคซีนซิโนแวค” เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ล่าสุดแพทย์อินโดนีเซียกว่า 350 คนติดโควิด-19 แม้ว่าทุกคนจะฉีดวัคซีนซิโนแวคครบโดสแล้วก็ตาม
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า แพทย์ ซึ่งเป็น บุคลากรด่านหน้าในอินโดนีเซีย กว่า 350 คน ติดเชื้อโควิด-19 แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการ ฉีดวัคซีนของบริษัทซิโนแวค (Sinovac) แล้วก็ตาม ในจำนวนนี้นับสิบรายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในการรับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
นายบาได อิสโมโย หัวหน้าสำนักงานสาธารณสุขที่เมืองคูดุส (Kudus) ในจังหวัดชวากลาง เปิดเผยว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการและกักตัวอยู่ลำพังในบ้านของตนเอง แต่ก็มีอยู่นับสิบรายที่มีไข้สูง มีความหนาแน่นของออกซิเจนในเลือดต่ำ ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ข่าวระบุว่า เมืองคูดุสซึ่งตั้งอยู่ในชวากลางกำลังเผชิญกับโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากไวรัสโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ที่สามารถแพร่กระจายได้ไวขึ้น จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลมีอัตราการครองเตียงมากกว่า 90%
อินโดนีเซียเริ่มการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่เดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยกลุ่มบุคลากรการแพทย์เป็นกลุ่มที่ได้สิทธิในการรับวัคซีนก่อนเนื่องจากต้องทำงานคลุกคลีเป็นด่านหน้าที่เสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ป่วย ข้อมูลจากสมาคมการแพทย์แห่งอินโดนีเซีย หรือ ไอดีไอ เผยว่า บุคลากรการแพทย์เกือบทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัท ซิโนแวค ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านชีวเภสัชภัณฑ์ของจีน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลชี้ว่าแม้บุคลากรการแพทย์จะติดเชื้อโควิดเป็นจำนวนมาก แต่พวกเขาก็มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคระบาดดังกล่าวน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยยอดบุคลากรการแพทย์ที่เสียชีวิตเพราะโรคโควิด-19 ได้ลดลงจาก 158 รายในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา เหลือเพียง 13 รายในเดือนพ.ค. ทั้งนี้ สิ่งที่สร้างความกังวลใจคือเรื่องของจำนวนบุคลากรการแพทย์ที่ถูกส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
นายแพทย์ ดิกกี บูดิแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ประเทศออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่า จากข้อมูลของอินโดนีเซียสะท้อนให้เห็นว่า บรรดาบุคลากรการแพทย์ในชวากลางนั้นติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาแม้ว่าพวกเขาจะได้รับวัคซีนป้องกันของบริษัทซิโนแวคแล้วก็ตาม “ตอนนี้เรายังไม่รู้ชัดว่า จริง ๆแล้ววัคซีนมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดในการต้านทานไวรัสโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา” นพ.บูดิแมนกล่าว
ทั้งนี้ ยังไม่มีโฆษกของบริษัทซิโนแวค หรือตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ออกมาให้ความกระจ่างเกี่ยวกับข้อสงสัยที่มีต่อประสิทธิภาพของวัคซีนบริษัทซิโนแวค ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า “โคโรนาแวค” (CoronaVac)
อินโดนีเซียเป็นประเทศในเอเชียที่เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงที่สุดประเทศหนึ่ง โดยจนถึงขณะนี้ มียอดผู้ติดเชื้อโควิดแล้วมากกว่า 1.9 ล้านราย มียอดผู้เสียชีวิตจากโควิด 53,000 ราย ในจำนวนนี้ เป็นบุคลากรการแพทย์และพยาบาลที่เสียชีวิตจากโควิด 946 ราย
เลนนี เอคาวาตี จาก laporCOVID-19 ซึ่งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในอินโดนีเซีย ให้ความเห็นว่า ผู้คนที่รับมือกับโควิดมาจนเหนื่อยล้า มีทัศนคติว่าเมื่อฉีดวัคซีนแล้วพวกเขาก็ปลอดภัยจากโรคดังกล่าว และอาจเริ่มปล่อยปละละเลยมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข แต่เนื่องจากในอินโดนีเซียมีการแพร่ระบาดของโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตาที่ติดต่อกันได้ไวขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจึงเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่พวกเขาคิด เพราะแม้แพทย์พยาบาลจะได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิดแล้ว แต่ทั่วทั้งอินโดนีเซียในขณะนี้ ก็มีแพทย์อย่างน้อย 5 คน และพยาบาล 1 คนที่เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้ว
ข้อมูลอ้างอิง
• Hundreds of Sinovac-injected Indonesian doctors contract COVID
สคบ.อ้าแขนรับการ์ดจอแพง-พาณิชย์นี้ชี้ไม่ใช่สินค้าควบคุม
https://www.dailynews.co.th/economic/850872
หน่วยงานรัฐพร้อมรับเรื่องร้องเรียน กรณีการ์ดจอแพง หากผู้บริโภคหากมองว่าเข้าข่ายเอารัดเอาเปรียบ ด้านพาณิชย์ชี้ไม่ใช่สินค้าควบคุม ขอศึกษาถึงสาเหตุ ส่วน ตำรวจปอศ.เผยกรณีนี้ยังเอาผิดไม่ได้
นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยถึงกรณีสินค้าและอุปกรณ์ไอที โดยเฉพาะการ์ดจอคอมพิวเตอร์ ที่มีการตั้งข้อสังเกต ว่า มีการจำหน่ายในราคาสูงในท้องตลาด โดย สคบ.พร้อมรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคหากมองว่า เข้าข่ายเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งสคบ.เองแม้ไม่ได้มีกฎหมายที่ดูแลเรื่องของราคา แต่จะส่งต่อไปให้กับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการตรวจสอบข้อร้องเรียนต่อ เพราะถือเป็นหน่วยงานที่ดูแล และมีกฎหมายเฉพาะที่คอยกำกับดูแลสินค้าโดยตรง
ส่วนกรณีของสินค้าชนิดนี้นั้น จะเข้าข่ายการตรวจสอบของสคบ. หรือไม่นั้น คงต้องดูเป็นรายกรณี เช่น การโฆษณา ถูกต้องหรือไม่ หากโฆษณาไม่ถูกต้องก็เข้าข่ายกฎหมายของสคบ. ที่มีการควบคุมการโฆษณาเอาไว้ หรือเรื่องของการทำการซื้อขาย หรือเช่าซื้อสัญญาต่าง ๆ สคบ.ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ไว้คอยดูแลผู้บริโภค แต่ในรายละเอียดคงต้องมาพิจารณากันอีกครั้งว่า สินค้าชนิดนั้น มีที่มาอย่างไร และการซื้อขายกระทบต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสคบ.พร้อมช่วยเหลือผู้บริโภคทุกกรณี
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เรื่องการ์ดจอแพงและขาดตลาด ต้องขอนำไปศึกษาก่อนว่ามีสาเหตุปัญหาและส่งผลกระทบเกี่ยวข้องอย่างไร โดยตามหลักการการที่กรมฯจะเข้าไปกำกับดูแลราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งนั้นต้องพิจารณาดูถึงความสมเหตุสมผล เช่น เป็นสินค้าที่มีความจำเป็น หรือกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้างหรือไม่ รวมถึงดูสาเหตุว่าทำไมถึงขาดแคลน และมีความเป็นธรรมในการกำหนดราคาหรือเปล่า ซึ่งเรื่องนี้จะต้องขอเวลาศึกษาก่อน
รายงานข่าวจากกรมการค้าภายใน แจ้งว่า ส่วนข้อร้องเรียนกรณีร้านค้าบังคับขายพ่วงสินค้าการ์ดจอ ร่วมกับแรม และซีพียูนั้น หากกระทำจริงอาจเข้าข่ายการขายพ่วงได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในการรับเรื่องร้องเรียนและเข้าไปตรวจสอบ เพราะในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จะเข้าตรวจสอบได้เฉพาะกรณีการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่าง ภาคธุรกิจต่อธุรกิจ แต่ถ้าเป็นธุรกิจกับผู้บริโภคอาจต้องให้อำนาจ สคบ.เข้าไปดูแล
ด้าน พ.ต.อ.พัฒนพงศ์ ศรีพิณเพราะ ผกก.1 บก.ปอศ. กล่าวว่า สำหรับอุปกรณ์ไอทีนั้นไม่จัดอยู่ในประเภทสินค้าควบคุม เพราะถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ที่ไม่จำเป็น หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจึงยังไม่อาจเข้าจับกุมดำเนินคดีได้ หากผู้บริโภคเห็นว่าราคาแพงไปก็สามารถเลือกที่จะไม่ซื้อได้ หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้บริโภคสามารร้องเรียนกรมการค้าภายใน ให้มาตรวจสอบและพิจารณาประกาศให้อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นสินค้าควบคุมราคา ซึ่งยากมาก และหากจะดำเนินคดีเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ดังกล่าว อาจเลี่ยงเรื่องราคาแพง มาดำเนินคดีในเรื่องภาษีศุลกากร ได้ถ้าการนำเข้ามาจากต่างประเทศไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆส่วนมากที่พบจะเป็นลักษณะสินค้าที่นำเข้ามา หากพบว่ามีการหลบเลี่ยงภาษีการนำเข้าโดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร ก็เข้าข่ายความผิดตามพรบ.ศุลกากร แต่ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่าการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาอย่างถูกต้อง.