คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย เร่งยกระดับการค้าและการลงทุน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19
วันที่ 11 มิถุนายน 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายรัคมัต บูดีมัน (H.E. Mr. Rachmat Budiman) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียที่ได้มาดำรงตำแหน่งในไทย โดยอินโดนีเซียเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมาอย่างต่อเนื่อง มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ หวังว่าความรู้และประสบการณ์ของเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย จะช่วยกระชับความสัมพันธ์และยกระดับความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นในทุกมิติ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังฝากความปรารถนาดีไปยังประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และภริยา พร้อมขอบคุณรัฐบาลอินโดนีเซียที่ให้การสนับสนุนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ในการอำนวยความสะดวกในการนำคนไทยกลับประเทศไทยตลอดช่วงสถานการณ์โควิด-19
เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียกล่าวแสดงความรู้สึกยินดีที่ได้มาดำรงตำแหน่งในไทย พร้อมยืนยันจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อินโดนีเซีย ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งในระดับทวิภาคีและอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากกลไกทวิภาคีและกรอบความร่วมมือในอาเซียนและพหุภาคีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองฝ่าย ทั้งความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความร่วมมือด้านการประมง ความมั่นคง การศึกษา รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมและดนตรี
ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยต่างเห็นพ้องว่า ทั้งสองประเทศมีศักยภาพที่จะต่อยอดจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ และขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนให้เพิ่มขึ้นด้วยกันทั้งสองฝ่าย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ผ่านการส่งเสริมการค้า และหาแนวทางลดอุปสรรคทางการค้าในสาขาที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ สินค้าเกษตร และประมง โดยนายกรัฐมนตรียินดีสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนไทยในอินโดนีเซีย และขอให้อินโดนีเซียช่วยดูแลและอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนไทยในอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยเชิญชวนให้มีการลงทุนในไทย เพิ่มเติม ซึ่งเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียกล่าวว่ายินดีสนับสนุนการลงทุนในไทย และมีภาคเอกชนของอินโดนีเซียหลายแห่งสนใจ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียยังหารือถึงความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยหวังว่าเมื่อสถานการณ์โรคโควิด-19 คลี่คลาย ทั้งสองฝ่ายจะขับเคลื่อนกิจกรรมและความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การศึกษาและการฝึกอบรมด้านความมั่นคงและป้องกันประเทศ รวมทั้งการปราบปรามยาเสพติด ให้มีความคืบหน้าต่อไป
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังยืนยันความร่วมมือกับอินโดนีเซียและอาเซียนในการแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา โดยไทยสนับสนุนฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน และหวังว่าปัญหาในเมียนมาจะสามารถแก้ไขด้วยสันติวิธี
https://www.facebook.com/anucha.b.dp/posts/4021583384587115
นายกรัฐมนตรีย้ำ 10 มาตรการรับมือช่วงฤดูฝน ป้องกันก่อนเกิดภัย รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องจนถึงฤดูแล้งหน้า
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งบูรณาการหน่วยงานทั้งฝ่ายปกครองและทหาร เตรียมความพร้อมรับสถานกาณ์ช่วงฤดูฝน รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องจนถึงฤดูแล้งหน้า รวมทั้งให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภค การเกษตร อุตสาหกรรมและการรักษาสภาพแวดล้อมด้วย สำหรับการวางแผนรับมือสถานการณ์ฤดูฝน ในเชิงป้องกันก่อนเกิดภัย ประกอบด้วย 10 มาตรการ ดังนี้
1. คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนทิ้งช่วง โดยจะมีการประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อเตรียมแผนในเชิงป้องกันล่วงหน้า
2. การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก รวมทั้งการจัดทำแผนการชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการผันน้ำเข้าทุ่ง
3. ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลางและเขื่อนระบายน้ำ โดยติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ – กลาง เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำรวมทั้ง จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่ – กลาง ในช่วงภาวะวิกฤติ
4. ซ่อมแซมปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำสถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน โดยตรวจสอบสภาพความมั่นคง และซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง
5. ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ สำรวจ และดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการปรับปรุงคูคลอง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำ และระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
6. ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา กำจัดวัชพืชในแม่น้ำ และคูคลอง ทั่วประเทศด้วยการบูรณาการเครื่องจักรเครื่องมือในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชของทุกหน่วยงาน
7. เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักรเครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ เตรียมพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง
8. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
9. การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย
การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในช่วงปี 2561 ถึงปัจจุบัน รัฐบาลขับเคลื่อนแผนงานโครงการด้านน้ำตามแผนแม่บทน้ำ 20 ปีไปแล้ว 125,162 โครงการ วงเงิน 314,182 ล้านบาท มีผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ เช่น การเพิ่มน้ำต้นทุน ระบบส่งน้ำ การพัฒนาและขยายเขตประปาหมู่บ้าน 3,214 แห่ง พัฒนาน้ำบาดาลเกษตรและธนาคารน้ำใต้ดิน ได้น้ำ 100 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 135,170 ไร่ ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์แล้ว 2,274,737 ครัวเรือน รวมทั้งยังจะมีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และโครงการสำคัญรวม 526โครงการภายในปี 2564- 2566 นี้ด้วย
https://www.facebook.com/anucha.b.dp/posts/4020997844645669
“สุชาติ” ยัน วัคซีนไม่ขาด ผู้ประกันตนได้ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า เริ่ม 14 มิ.ย.นี้
จากกรณีที่สำนักงานประกันสังคมประกาศเลื่อนให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 45 ศูนย์ออกไปนั้น
นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงผู้ประกันตนและเข้าใจดีว่าผู้ประกันตนประสงค์อยากจะฉีดวัคซีนโดยเร็ว จึงได้สั่งการให้ รมว.แรงงานปรับปรุงจุดบกพร่อง 2 ประการเร่งด่วน
1. กรณีสถานที่บางแห่งที่ไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากไม่มีแอร์ อากาศร้อน จะยกเลิกสถานที่ดังกล่าว โดยจะยุบรวมมาอยู่ในสถานที่ที่มีความพร้อมและมีแอร์
2. กรณีข้อมูลของผู้ประกันตนที่ฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการส่งมาให้เกิดความสับสนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงจากเหตุผลหลายประการ อาทิ ลงทะเบียนซ้ำซ้อนหลายแห่ง การไปฉีดวัคซีนจากที่อื่นมาก่อนแล้ว ผู้ประกันตนไม่พร้อมมาฉีดตามวัน เวลา ที่กำหนด แต่ฝ่ายบุคคลไม่ได้แจ้งกลับมา หรือกรณีที่ผู้ประกันตนมีสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมจะฉีด เป็นต้น
สำนักงานประกันสังคมได้ประสานไปยังสถานประกอบการต่างๆ เพื่อเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้ประกันตนที่ประสงค์จะฉีดวัคซีนอย่างแท้จริง
หากสถานประกอบการใดยังไม่พร้อม ขอให้รอไปก่อน เราจะดำเนินการฉีดให้สถานประกอบการที่มีความพร้อมไปก่อน โดยจะเริ่มดำเนินการฉีดอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 มิ.ย.นี้
ย้ำ...วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับผู้ประกันตนไม่ขาด โดยกระทรวงแรงงานจะเร่งดำเนินการเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้เร็วที่สุด
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6340609615964505
รองนายกฯ ยืนยันวัคซีนโควิด-19 ทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพ WHO ให้การรับรอง ฉีดแล้วกว่า 2 แสนราย ขณะที่ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ปรับระบบรองรับการฉีดทั้ง เข็ม 1 และเข็ม 2 เริ่ม 14 มิ.ย. นี้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวหลังคณะตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ระบุว่า ศูนย์ฯ นี้ สามารถให้บริการฉีดวัคซีนได้ 11,000 ราย/วัน ตั้งแต่ 24 พ.ค. 2564 จนถึงขณะนี้ ฉีดไปแล้ว 209,234 ราย ทั้งของซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งมีประสิทธิภาพ องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง
ทั้งนี้ การปูพรมฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรครูเพื่อรับเปิดเทอม (14 มิ.ย.) ทั้ง กทม.และปริมลฑล จำนวน 45,000 คน จะเร่งฉีดให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ ส่วนต่างจังหวัดสามารถไปรับการฉีดได้ตามระบบของการขึ้นทะเบียน
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า จะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ในวันที่ 14 มิ.ย. 2564 เป็นต้นไป ซึ่งมีการจัดเตรียมระบบต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ระหว่างผู้ที่เดินทางมาฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 รวมถึงมาตรการลดความแออัดด้วย พร้อมย้ำไม่มีการรับ walk in ของประชาชน ซึ่งต้องจองผ่านการลงทะเบียนเท่านั้น
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6341527805872686
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย เร่งยกระดับการค้าและการลงทุน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19
วันที่ 11 มิถุนายน 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายรัคมัต บูดีมัน (H.E. Mr. Rachmat Budiman) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียที่ได้มาดำรงตำแหน่งในไทย โดยอินโดนีเซียเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมาอย่างต่อเนื่อง มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ หวังว่าความรู้และประสบการณ์ของเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย จะช่วยกระชับความสัมพันธ์และยกระดับความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นในทุกมิติ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังฝากความปรารถนาดีไปยังประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และภริยา พร้อมขอบคุณรัฐบาลอินโดนีเซียที่ให้การสนับสนุนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ในการอำนวยความสะดวกในการนำคนไทยกลับประเทศไทยตลอดช่วงสถานการณ์โควิด-19
เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียกล่าวแสดงความรู้สึกยินดีที่ได้มาดำรงตำแหน่งในไทย พร้อมยืนยันจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อินโดนีเซีย ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งในระดับทวิภาคีและอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากกลไกทวิภาคีและกรอบความร่วมมือในอาเซียนและพหุภาคีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองฝ่าย ทั้งความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความร่วมมือด้านการประมง ความมั่นคง การศึกษา รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมและดนตรี
ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยต่างเห็นพ้องว่า ทั้งสองประเทศมีศักยภาพที่จะต่อยอดจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ และขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนให้เพิ่มขึ้นด้วยกันทั้งสองฝ่าย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ผ่านการส่งเสริมการค้า และหาแนวทางลดอุปสรรคทางการค้าในสาขาที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ สินค้าเกษตร และประมง โดยนายกรัฐมนตรียินดีสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนไทยในอินโดนีเซีย และขอให้อินโดนีเซียช่วยดูแลและอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนไทยในอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยเชิญชวนให้มีการลงทุนในไทย เพิ่มเติม ซึ่งเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียกล่าวว่ายินดีสนับสนุนการลงทุนในไทย และมีภาคเอกชนของอินโดนีเซียหลายแห่งสนใจ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียยังหารือถึงความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยหวังว่าเมื่อสถานการณ์โรคโควิด-19 คลี่คลาย ทั้งสองฝ่ายจะขับเคลื่อนกิจกรรมและความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การศึกษาและการฝึกอบรมด้านความมั่นคงและป้องกันประเทศ รวมทั้งการปราบปรามยาเสพติด ให้มีความคืบหน้าต่อไป
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังยืนยันความร่วมมือกับอินโดนีเซียและอาเซียนในการแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา โดยไทยสนับสนุนฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน และหวังว่าปัญหาในเมียนมาจะสามารถแก้ไขด้วยสันติวิธี
https://www.facebook.com/anucha.b.dp/posts/4021583384587115
นายกรัฐมนตรีย้ำ 10 มาตรการรับมือช่วงฤดูฝน ป้องกันก่อนเกิดภัย รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องจนถึงฤดูแล้งหน้า
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งบูรณาการหน่วยงานทั้งฝ่ายปกครองและทหาร เตรียมความพร้อมรับสถานกาณ์ช่วงฤดูฝน รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องจนถึงฤดูแล้งหน้า รวมทั้งให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภค การเกษตร อุตสาหกรรมและการรักษาสภาพแวดล้อมด้วย สำหรับการวางแผนรับมือสถานการณ์ฤดูฝน ในเชิงป้องกันก่อนเกิดภัย ประกอบด้วย 10 มาตรการ ดังนี้
1. คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนทิ้งช่วง โดยจะมีการประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อเตรียมแผนในเชิงป้องกันล่วงหน้า
2. การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก รวมทั้งการจัดทำแผนการชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการผันน้ำเข้าทุ่ง
3. ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลางและเขื่อนระบายน้ำ โดยติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ – กลาง เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำรวมทั้ง จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่ – กลาง ในช่วงภาวะวิกฤติ
4. ซ่อมแซมปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำสถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน โดยตรวจสอบสภาพความมั่นคง และซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง
5. ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ สำรวจ และดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการปรับปรุงคูคลอง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำ และระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
6. ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา กำจัดวัชพืชในแม่น้ำ และคูคลอง ทั่วประเทศด้วยการบูรณาการเครื่องจักรเครื่องมือในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชของทุกหน่วยงาน
7. เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักรเครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ เตรียมพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง
8. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
9. การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย
การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในช่วงปี 2561 ถึงปัจจุบัน รัฐบาลขับเคลื่อนแผนงานโครงการด้านน้ำตามแผนแม่บทน้ำ 20 ปีไปแล้ว 125,162 โครงการ วงเงิน 314,182 ล้านบาท มีผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ เช่น การเพิ่มน้ำต้นทุน ระบบส่งน้ำ การพัฒนาและขยายเขตประปาหมู่บ้าน 3,214 แห่ง พัฒนาน้ำบาดาลเกษตรและธนาคารน้ำใต้ดิน ได้น้ำ 100 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 135,170 ไร่ ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์แล้ว 2,274,737 ครัวเรือน รวมทั้งยังจะมีการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และโครงการสำคัญรวม 526โครงการภายในปี 2564- 2566 นี้ด้วย
https://www.facebook.com/anucha.b.dp/posts/4020997844645669
“สุชาติ” ยัน วัคซีนไม่ขาด ผู้ประกันตนได้ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า เริ่ม 14 มิ.ย.นี้
จากกรณีที่สำนักงานประกันสังคมประกาศเลื่อนให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 45 ศูนย์ออกไปนั้น
นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงผู้ประกันตนและเข้าใจดีว่าผู้ประกันตนประสงค์อยากจะฉีดวัคซีนโดยเร็ว จึงได้สั่งการให้ รมว.แรงงานปรับปรุงจุดบกพร่อง 2 ประการเร่งด่วน
1. กรณีสถานที่บางแห่งที่ไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากไม่มีแอร์ อากาศร้อน จะยกเลิกสถานที่ดังกล่าว โดยจะยุบรวมมาอยู่ในสถานที่ที่มีความพร้อมและมีแอร์
2. กรณีข้อมูลของผู้ประกันตนที่ฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการส่งมาให้เกิดความสับสนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงจากเหตุผลหลายประการ อาทิ ลงทะเบียนซ้ำซ้อนหลายแห่ง การไปฉีดวัคซีนจากที่อื่นมาก่อนแล้ว ผู้ประกันตนไม่พร้อมมาฉีดตามวัน เวลา ที่กำหนด แต่ฝ่ายบุคคลไม่ได้แจ้งกลับมา หรือกรณีที่ผู้ประกันตนมีสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมจะฉีด เป็นต้น
สำนักงานประกันสังคมได้ประสานไปยังสถานประกอบการต่างๆ เพื่อเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้ประกันตนที่ประสงค์จะฉีดวัคซีนอย่างแท้จริง
หากสถานประกอบการใดยังไม่พร้อม ขอให้รอไปก่อน เราจะดำเนินการฉีดให้สถานประกอบการที่มีความพร้อมไปก่อน โดยจะเริ่มดำเนินการฉีดอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 มิ.ย.นี้
ย้ำ...วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับผู้ประกันตนไม่ขาด โดยกระทรวงแรงงานจะเร่งดำเนินการเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้เร็วที่สุด
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6340609615964505
รองนายกฯ ยืนยันวัคซีนโควิด-19 ทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพ WHO ให้การรับรอง ฉีดแล้วกว่า 2 แสนราย ขณะที่ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ปรับระบบรองรับการฉีดทั้ง เข็ม 1 และเข็ม 2 เริ่ม 14 มิ.ย. นี้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวหลังคณะตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ระบุว่า ศูนย์ฯ นี้ สามารถให้บริการฉีดวัคซีนได้ 11,000 ราย/วัน ตั้งแต่ 24 พ.ค. 2564 จนถึงขณะนี้ ฉีดไปแล้ว 209,234 ราย ทั้งของซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งมีประสิทธิภาพ องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง
ทั้งนี้ การปูพรมฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรครูเพื่อรับเปิดเทอม (14 มิ.ย.) ทั้ง กทม.และปริมลฑล จำนวน 45,000 คน จะเร่งฉีดให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ ส่วนต่างจังหวัดสามารถไปรับการฉีดได้ตามระบบของการขึ้นทะเบียน
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า จะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ในวันที่ 14 มิ.ย. 2564 เป็นต้นไป ซึ่งมีการจัดเตรียมระบบต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ระหว่างผู้ที่เดินทางมาฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 รวมถึงมาตรการลดความแออัดด้วย พร้อมย้ำไม่มีการรับ walk in ของประชาชน ซึ่งต้องจองผ่านการลงทะเบียนเท่านั้น
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6341527805872686
แสดงความคิดเห็น
☯️มาลาริน/รมว.แรงงาน ย้ำวัคซีนไม่ขาด ผู้ประกันตนได้ฉีดแอสตราเซเนกาเหมือนเดิม จะเริ่มเปิดใหม่วันจันทร์ที่ 14 มิ.ย.นี้
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานประกันสังคมได้ประกาศเลื่อนการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 45 ศูนย์ออกไป ซึ่งในเรื่องนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงผู้ประกันตนและเข้าใจดีว่าผู้ประกันตนประสงค์อยากจะฉีดวัคซีนโดยเร็ว จึงได้สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานปรับปรุงจุดบกพร่องทั้ง 2 ประการอย่างเร่งด่วน ทั้งกรณีสถานที่บางแห่งที่ไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากไม่มีแอร์ อากาศร้อน จะยกเลิกสถานที่ดังกล่าวโดยจะยุบรวมมาอยู่ในสถานที่ที่มีความพร้อมและมีแอร์คอนดิชั่น ส่วนกรณีเรื่องข้อมูลของผู้ประกันตนที่ฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการส่งมาให้เกิดความสับสนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงจากเหตุผลหลายประการ อาทิ ลงทะเบียนซ้ำซ้อนหลายแห่ง การไปฉีดวัคซีนจากที่อื่นมาก่อนแล้ว ผู้ประกันตนไม่พร้อมมาฉีดตามวัน เวลา ที่กำหนด แต่ฝ่ายบุคคลไม่ได้แจ้งกลับมา หรือกรณีที่ผู้ประกันตนมีสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมจะฉีด เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้ประสานไปยังสถานประกอบการต่างๆ เพื่อเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้ประกันตนที่ประสงค์จะฉีดวัคซีนอย่างแท้จริง หากว่าสถานประกอบการใดยังไม่พร้อมก็จะให้รอไปก่อน เราจะดำเนินการฉีดให้สถานประกอบการที่มีความพร้อมไปก่อน โดยจะเริ่มดำเนินการฉีดอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 มิถุนายนนี้
“ผมขอย้ำว่าวัคซีนแอสตราเซเนกา สำหรับผู้ประกันตนไม่ขาด ผมกับท่านรองนายกฯ อนุทิน ทำงานกันอย่างใกล้ชิดและปรึกษาหารือกันมาโดยตลอด เพื่อให้การฉีดวัคซีนซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ สามารถควบคุมการแพร่ระบาด เกิดประโยชน์สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า โดยกระทรวงแรงงานจะเร่งดำเนินการเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้เร็วที่สุด ซึ่งคาดว่าจะสามารถกลับมาเปิดบริการฉีดได้ใหม่ในวันจันทร์ที่ 14 มิถุนายนที่จะถึงนี้” นายสุชาติ กล่าวในท้ายสุด.-สำนักข่าวไทย
https://tna.mcot.net/social/line-today-social-715467
คนที่ฉีดวัคซีนของประกันสังคม คงทราบดีถึงปัญหาที่หยุดฉีดเพื่อปรับปรุงส่วนบกพร่องต่างๆ
เมื่อเร่งแก้ไขแล้วก็กลับมาฉีดเหมือนเดิมค่ะ เริ่ม 14 มิถุนายนนี้
ยินดีด้วยนะคะ