เป็นที่ทราบกันดีในเเวดวงของนักกฎหมายว่า ที่ดินที่มีเอกสารรับรองการทำประโยชน์ประเภท นส.3 นส.3 ก หรือ ส.ค.1 ผู้ที่เป็นเจ้าของมีเพียงสิทธิครองครองที่ดินดังกล่าว เท่านั้น ดังนี้ในการซื้อขายที่ดิน นส.3 นั้นเเม้มิได้ทำให้ถูกต้องตามเเบบที่กฎหมายกำหนด ก็ถือได้ว่าผู้ซื้อได้รับสิทธิครองไปตามกฎหมาย เพราะผู้ขายได้สละซึ่งสิทธิครอบครองเเละส่งมอบการครอบครองให้ผู้ซื้อเเล้ว ผู้ซื้อย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ตาม ปพพ. ม.1377ประกอบ ม.1378
เเต่ทว่ามีปัญหาให้ต้องพิจารณาว่า หาก ผู้ที่ขายดิน นส.ได้ทำขายที่ดินเเบบเสร็จเด็ดขาดเเก่ผู้ซื้อโดยมิได้ทำตามเเบบเเล้วผู้ขายยังอาศัยช่องที่ตนมีชื่อในเอกสารรับรองอยู่นำที่ดินไปขายต่อให้เเก่ผู้อื่นซ้ำอีกต่อหนึ่ง อย่างนี้ระหว่างผู้ซื้อที่ดิน นส.3 รายเเรกที่มิได้ทำให้ถูกต้องตามเเบบ กับผู้ซื้อรายหลังที่ทำตามเเบบใครจะมีสิทธิในที่ดินดีกว่ากัน
บางท่านเห็นว่า กรณีเป็นเรื่องของหลักผู้รับโอนฯเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบที่ดินให้ผู้ซื้อรายเเรกไปเเล้วผู้ขายย่อมไม่มีสิทธิครองครองในที่ดินที่จะโอนให้ใครอีกได้ ผู้ซื้อรายหลังจึงไม่ได้สิทธิครองครองในที่ดินไป ผู้ซื้อรายเเรกมีสิทธิดีกว่า
บางท่านเห็นว่า เป็นกรณีที่ต้องตาม ม.1299 เมื่อมีหลักกฎหมายบัญญัติไว้เเล้วจึงไม่ต้องนำหลักผู้รับโอนมาปรับใช้ ดังนี้ เมื่อผู้ซื้อรายเเรกยังไม่จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในเอกสาร ย่อมจะยกเป็นข้อต่อสู้ผู้ซื้อรายหลังที่เสียค่าตอบเเทน สุจริต เเละจดทะเบียนสุจริตเเล้วมิได้ ผู้ซื้อรายหลังมีสิทธิดีกว่า
ผู้เขียนในฐานะนักศึกษากฎหมายจึงอยากถามผู้รู้ว่าจะต้องฟังความเเนวใดจึงจะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หรือยุติธรรมที่สุด
ที่ดิน นส.3 (หลักผู้รับโอนฯเเละมาตรา 1299)
เเต่ทว่ามีปัญหาให้ต้องพิจารณาว่า หาก ผู้ที่ขายดิน นส.ได้ทำขายที่ดินเเบบเสร็จเด็ดขาดเเก่ผู้ซื้อโดยมิได้ทำตามเเบบเเล้วผู้ขายยังอาศัยช่องที่ตนมีชื่อในเอกสารรับรองอยู่นำที่ดินไปขายต่อให้เเก่ผู้อื่นซ้ำอีกต่อหนึ่ง อย่างนี้ระหว่างผู้ซื้อที่ดิน นส.3 รายเเรกที่มิได้ทำให้ถูกต้องตามเเบบ กับผู้ซื้อรายหลังที่ทำตามเเบบใครจะมีสิทธิในที่ดินดีกว่ากัน
บางท่านเห็นว่า กรณีเป็นเรื่องของหลักผู้รับโอนฯเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบที่ดินให้ผู้ซื้อรายเเรกไปเเล้วผู้ขายย่อมไม่มีสิทธิครองครองในที่ดินที่จะโอนให้ใครอีกได้ ผู้ซื้อรายหลังจึงไม่ได้สิทธิครองครองในที่ดินไป ผู้ซื้อรายเเรกมีสิทธิดีกว่า
บางท่านเห็นว่า เป็นกรณีที่ต้องตาม ม.1299 เมื่อมีหลักกฎหมายบัญญัติไว้เเล้วจึงไม่ต้องนำหลักผู้รับโอนมาปรับใช้ ดังนี้ เมื่อผู้ซื้อรายเเรกยังไม่จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในเอกสาร ย่อมจะยกเป็นข้อต่อสู้ผู้ซื้อรายหลังที่เสียค่าตอบเเทน สุจริต เเละจดทะเบียนสุจริตเเล้วมิได้ ผู้ซื้อรายหลังมีสิทธิดีกว่า
ผู้เขียนในฐานะนักศึกษากฎหมายจึงอยากถามผู้รู้ว่าจะต้องฟังความเเนวใดจึงจะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หรือยุติธรรมที่สุด