11 มิถุนายน ของทุกปี ศรัทธาชาวล้านนารวมถึงคนลำพูนถือเป็นวันครบรอบวันเกิดครูบาเจ้าศรีวิชัย มหาสมณะเจ้า หรือที่คนล้านนาเรียกท่านว่า “ตนบุญ”
พระศรีวิชัย ได้ชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาโดยแท้ ท่านเป็นผู้นำพัฒนาวัดบ้านปางเป็นแห่งแรก ก่อสร้างปฏิสังขรณ์กุฏิ วิหาร โบสถ์ และให้ชื่ออารามใหม่นี้ว่า
“วัดจอมศะหรีทรายมูลบุญเรือง” แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงเรียกว่า “วัดบ้านปาง” นอกจากนั้นท่านยังได้ปลูกสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและ
ถาวรวัตถุทางศาสนาอีกหลายสิบวัดในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัยลำพูน, วัดเชียงยืน, วัดพระพุทธบาทตากผ้า, วัดจามเทวี
วัดพระสิงห์, วัดสวนดอก, วัดศรีโสดา,วัดพระแก้วดอนเต้าลำปาง เป็นต้น
ผลงานที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยนั่นคือการสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ที่ได้รับการร่วมแรงร่วมใจของชาวล้านนา ในสมัยก่อนการจะเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพต้องเดินเท้าขึ้นไปด้วยความลำบาก ใช้เวลาไม่ต่ำ 4 – 5 ชั่วโมง และการที่จะสร้างถนนขึ้นไปเป็นเรื่องที่ยากเกินความคาดหมาย เพราะต้องใช้ทั้งแรงงาน และแรงเงินอย่างมหาศาล เมื่อรํฐบาลทราบเรื่องจึงส่งช่างขึ้นมาทำการสำรวจเส้นทาง และเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 และเสร็จสิ้นในวันที่ 30 เมษายน 2478 รวมแล้วใช้เวลา 5 เดือน กับ 22 วัน
ด้วยความประสบความสำเร็จ และความมีชื่อเสียงในด้านการเป็นนักพัฒนา นั่นก็ทำให้คณะสงฆ์ผู้ใหญ่ในล้านนาไม่พอใจ จึงถูกกล่าวหาเอาผิด
ครูบาศรีวิชัยถึง 3 ครั้ง รวมถึงเคยถูกจับกุมอีกด้วย ทั้งนี้ล้วนมาจากความกระด้างกระเดื่อง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าคณะแขวง
ไม่สนใจพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ เนื่องด้วยครูบาเจ้าศรีวิชัยมุ่งเน้นการปฏิบัติธรรม และจารีตแบบแผนแบบดั้งเดิม
มากกว่าระเบียบแบบแผนใหม่ และความสัมพันธ์แบบหัวหมวดวัด ได้สร้างความผูกพันระหว่างพระในชุมชนด้วยกันที่ให้ความเชื่อถือในอาจารย์
หรือพระอุปัชฌาย์ที่ถูกแต่งตั้งจากส่วนกลาง จึงเป็นการเริ่มต้นของการสืบสานจารีตแห่งความเป็นล้านนาขึ้น
11 มิถุนายน 2564 รำลึก 144 ปี “ครูบาศรีวิชัย” ตนบุญแห่งล้านนา
พระศรีวิชัย ได้ชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาโดยแท้ ท่านเป็นผู้นำพัฒนาวัดบ้านปางเป็นแห่งแรก ก่อสร้างปฏิสังขรณ์กุฏิ วิหาร โบสถ์ และให้ชื่ออารามใหม่นี้ว่า
“วัดจอมศะหรีทรายมูลบุญเรือง” แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงเรียกว่า “วัดบ้านปาง” นอกจากนั้นท่านยังได้ปลูกสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและ
ถาวรวัตถุทางศาสนาอีกหลายสิบวัดในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัยลำพูน, วัดเชียงยืน, วัดพระพุทธบาทตากผ้า, วัดจามเทวี
วัดพระสิงห์, วัดสวนดอก, วัดศรีโสดา,วัดพระแก้วดอนเต้าลำปาง เป็นต้น
ผลงานที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยนั่นคือการสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ที่ได้รับการร่วมแรงร่วมใจของชาวล้านนา ในสมัยก่อนการจะเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพต้องเดินเท้าขึ้นไปด้วยความลำบาก ใช้เวลาไม่ต่ำ 4 – 5 ชั่วโมง และการที่จะสร้างถนนขึ้นไปเป็นเรื่องที่ยากเกินความคาดหมาย เพราะต้องใช้ทั้งแรงงาน และแรงเงินอย่างมหาศาล เมื่อรํฐบาลทราบเรื่องจึงส่งช่างขึ้นมาทำการสำรวจเส้นทาง และเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 และเสร็จสิ้นในวันที่ 30 เมษายน 2478 รวมแล้วใช้เวลา 5 เดือน กับ 22 วัน
ด้วยความประสบความสำเร็จ และความมีชื่อเสียงในด้านการเป็นนักพัฒนา นั่นก็ทำให้คณะสงฆ์ผู้ใหญ่ในล้านนาไม่พอใจ จึงถูกกล่าวหาเอาผิด
ครูบาศรีวิชัยถึง 3 ครั้ง รวมถึงเคยถูกจับกุมอีกด้วย ทั้งนี้ล้วนมาจากความกระด้างกระเดื่อง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าคณะแขวง
ไม่สนใจพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ เนื่องด้วยครูบาเจ้าศรีวิชัยมุ่งเน้นการปฏิบัติธรรม และจารีตแบบแผนแบบดั้งเดิม
มากกว่าระเบียบแบบแผนใหม่ และความสัมพันธ์แบบหัวหมวดวัด ได้สร้างความผูกพันระหว่างพระในชุมชนด้วยกันที่ให้ความเชื่อถือในอาจารย์
หรือพระอุปัชฌาย์ที่ถูกแต่งตั้งจากส่วนกลาง จึงเป็นการเริ่มต้นของการสืบสานจารีตแห่งความเป็นล้านนาขึ้น