มีรุ่นน้องเป็นเบาหวานเมื่อวันจันทร์นี้ไปฉีดที่รพ.บางนากรุงเทพมหานคร เล่าว่ามีคนวัดแล้วความดันสูงยังไม่ได้ฉีดหลายคน
เมื่อวานมีเพื่อนไปรับการฉีดที่รพ.เอกชนก็ไม่ผ่านเกณฑ์ความดัน หมอไม่ฉีดให้ต้องกลับมาคุมเรื่องความดันก่อน
เลยขอนำคำแนะนำจากอ.เกียรติมาเป็นแนวทางครับ
การเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีดังคำแนะนำนี้...
"การเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต้องควบคุมความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัว เช่น กลุ่มผู้สูงอายุต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติต้องปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาหรือแผนการรักษา
ภายใน 2-4 ชั่วโมง หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยหรืออ่อนเพลีย
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถรับประทานยาประจำตัวได้ตามปกติ ยกเว้น หากรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดต้องแจ้งแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน เช่น มีเลือดออกในกล้ามเนื้อบริเวณจุดที่ฉีดยา เกิดการบวม หรือมีรอยช้ำซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยกดบริเวณที่ฉีดวัคซีนให้นานขึ้นเป็นเวลา 5 นาที และสังเกตว่ามีอาการบวมหรือมีรอยซ้ำเกิดขึ้นหรือไม่
คำแนะนำจากแพทย์
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรหยุดรับประทานยาประจำตัวเพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แต่ต้องควบคุมความดันโลหิตไม่ให้เกิน 140 /90 มิลลิเมตรปรอท และควรรีบเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้าง"
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564
ที่มา : ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อยากทราบว่าในแง่ปฏิบัติ เกณฑ์ความดันขนาดไหนที่จะฉีดให้ครับ
เพราะมีคนไปรับการฉีดบ่นกันมากว่าวัดอยู่ที่บ้านก็ไม่สูง แต่ทำไมพอมาหน่วยฉีดความดันทำไมจึงสูงปรี๊ด
น่าจะจากเหนื่อยจากการเดินทาง กลัว กังวล ความเครียดด้วยมั้งครับ
ฝากเตือนผู้จะไปฉีดโควิดต้องระวังเรื่องความดันสูงด้วย / เกณฑ์ความดันขั้นต่ำที่จะได้ฉีดเท่าไรครับ
เมื่อวานมีเพื่อนไปรับการฉีดที่รพ.เอกชนก็ไม่ผ่านเกณฑ์ความดัน หมอไม่ฉีดให้ต้องกลับมาคุมเรื่องความดันก่อน
เลยขอนำคำแนะนำจากอ.เกียรติมาเป็นแนวทางครับ
การเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีดังคำแนะนำนี้...
"การเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต้องควบคุมความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัว เช่น กลุ่มผู้สูงอายุต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติต้องปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาหรือแผนการรักษา
ภายใน 2-4 ชั่วโมง หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยหรืออ่อนเพลีย
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถรับประทานยาประจำตัวได้ตามปกติ ยกเว้น หากรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดต้องแจ้งแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน เช่น มีเลือดออกในกล้ามเนื้อบริเวณจุดที่ฉีดยา เกิดการบวม หรือมีรอยช้ำซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยกดบริเวณที่ฉีดวัคซีนให้นานขึ้นเป็นเวลา 5 นาที และสังเกตว่ามีอาการบวมหรือมีรอยซ้ำเกิดขึ้นหรือไม่
คำแนะนำจากแพทย์
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรหยุดรับประทานยาประจำตัวเพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แต่ต้องควบคุมความดันโลหิตไม่ให้เกิน 140 /90 มิลลิเมตรปรอท และควรรีบเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้าง"
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564
ที่มา : ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อยากทราบว่าในแง่ปฏิบัติ เกณฑ์ความดันขนาดไหนที่จะฉีดให้ครับ
เพราะมีคนไปรับการฉีดบ่นกันมากว่าวัดอยู่ที่บ้านก็ไม่สูง แต่ทำไมพอมาหน่วยฉีดความดันทำไมจึงสูงปรี๊ด
น่าจะจากเหนื่อยจากการเดินทาง กลัว กังวล ความเครียดด้วยมั้งครับ