แมวจรจัดเพศเมียช่วยชีวิต Sir Henry Wyatt




Sir Henry Wyatt


ราวปี 1460
ในยุคกลางของอังกฤษ
มีอัศวินหนุ่มคนหนึ่งซึ่งถือกำเนิด
ด้วยความมั่งคั่งและสิทธิพิเศษ
ชื่อ Sir Henry Wyatt  เกิดใน Yorkshire
เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของ
Richard Wiat of Southange
Sir Henry Wyatt เข้าเรียนใน
โรงเรียนชนชั้นสูง Eton
พร้อมกับ Henry Tudor
รัชทายาทแห่งบัลลังก์อังกฤษ
ทั้งคู่เป็นเพื่อนสนิทกัน
จนเป็นภัยคุกคาม  King Richard III
เพราะเริ่มรู้สึกว่าถูกคุกคามจากคนทั้งสองนี้
จากการสนับสนุนของ Sir Henry Wyatt 
ที่สนับสนุนให้รัชทายาทตามกฎหมาย
ครองบัลลังค์ที่ King Richard III แย่งชิงมา
โดย Sir Henry Wyatt มักจะเป็นคนกลาง
คอยไกล่เกลี่ยลดข้อขัดแย้งทั้งสองพระองค์




Henry Tudor ต่อมาคือ Henry VII


King Richard III จึงหาเหตุสั่งขัง
Sir Henry Wyatt หลายต่อหลายครั้ง
ด้วยข้อหาขัดพระทัย/ต่าง ๆ นานา
แบบรู้ทันเจ้านายมากกว่ารู้ใจเจ้านาย

ครั้งหนึ่งสั่วขัง Sir Henry Wyatt
ไว้ใน Tower of London
หอคอยแห่งนี้ค่อนข้างเย็นและแคบมาก
ไม่มีคุกใต้ดินภายใน
แต่นักโทษจะถูกขังอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ
รวมทั้งหอคอย บ้านพักต่าง ๆ คอกม้า
และห้องเก็บของใต้ดิน คลังแสงอาวุธ

ภายในกำแพงที่มีป้อมปราการ
ทั้งยังใช้เป็นที่ประทับในอดีตของ
กษัตริย์และราชินีของสหราชอาณาจักร
ทั้งยังใช้กักขังผู้ทรยศต่อราชบัลลังค์
และใช้เป็นที่ประหารชีวิตพวกกบฏ
พระราชานีพระนางหนึ่ง
เพื่อช่มขวัญศัตรูของราชอาณาจักร
ทั้งมีการสะสมอาวุธต่าง ๆ และอัญมณีล้ำค่า




King Richard III


ในยุคนั้นจะมีการทรมานนักโทษหลายอย่าง
เช่น การใช้เครื่องมือ Horse-barnacles
เพรียงทะเลคล้ายคราดเกาหลังจนอักเสบ
น้ำส้มสายชู หรือ มัสตาร์ด จับกรอกปาก

Sir Henry Wyatt ต้องนอนบนเสื่อฟางบาง ๆ
ในห้องที่เย็นชื้น ไม่มีเครื่องทำความอบอุ่น
เสื้อผ้าก็ขาดรุ่งริ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้อบอุ่น
ทั้งยังได้รับอาหารแต่ละวันเพียงเล็กน้อย

อยู่มาวันหนึ่ง
มีแมวเพศเมียตัวหนึ่งเข้ามาในคุกใต้ดิน
และมอบกายมอบใจให้กับ Sir Henry Wyatt
โดยอยู่ร่วมกับนักโทษและให้อ้อมกอดที่อบอุ่น
ด้วยความรักที่มอบให้ต่อกันและกัน

หลังจากนั้น
แมวก็จะมาหาทุกวันในช่วงเวลาต่าง ๆ
และเมื่อแมวมาถึงก็จะคาบนกพิราบ
มามอบให้ Sir Henry Wyatt

แมวเพศเมียตัวนี้ได้รับฉายาและชื่อว่า
Accter caterer ผู้จัดหาอาหาร
โดยผู้คุมที่เป็นมิตรได้ปรุงนกพิราบ
ให้เป็นอาหาร Sir Henry Wyatt




Alington



Boxley


อนุสรณ์ในโบสถ์ St. Mary the Virgin & All Saints
(โบสถ์ Boxley) เมือง Maidstone มณฑล Kent
ที่ผนังด้านเหนือของพลับพลา
เหนือคณะนักร้องประสานเสียง
ใกล้กับแท่นบูชามีอนุสรณ์หินขนาดใหญ่
เขียนขึ้นโดย Edwin Wiat
และมึส่วนหนึ่งระบุว่า

" เพื่อความทรงจำของ Sir Henry Wiat
แห่งปราสาท Alington
Knight banneret สืบเชื้อสาย
มาจากตระกูลโบราณ
ซึ่งถูกคุมขังและทรมาน
ในหอคอยลอนดอน
ในรัชสมัยของ King Richard III

โดยคุมขังไว้ในห้องเก็บของใต้ดิน
และท่านได้รับการเลี้ยงดูและดูแลโดยแมว "

ในตอนท้ายสุด
ไม่มีใครทราบเกี่ยวกับ
ชะตากรรมของแมวตัวนี้
แต่ Sir Henry Wiat ได้รับนิรโทษกรรม
และปล่อยตัวออกจากคุก
ไม่นานหลังจากที่ Henry Tudor
ขึ้นครองบัลลังก์ในปี 1485

นักประวัติศาสตร์ของโบสถ์ Boxley
เขียนนามสกุลโดยสะกดต่างกัน
เช่น  Wiat หรือ Wyatt
และยังมี  Knight banneret
หรือ Knight baronet
ครอบครัวส่วนหนึ่งของ Sir Henry Wiat 
ได้อพยพไปอยู่ที่รัฐ Virginia ในทศวรรษ 1600
และลูกหลานของ Sir Henry Wiat จำนวนมาก
ต่างกลับมาที่ Boxley Church
เพื่อเยี่ยมชมรากเง่าของตระกูลตนเอง
และอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับแมว

ชาวบ้านแถวนั้นมักจะบอกว่า
เห็นแมวผีเร่ร่อน
เดินว่อนไปหมดทั่วบ้านในไร่เก่า
แต่ตอนนี้สถานที่แห่งนี้
ตอนนี้กลายเป็นร้านอาหารแล้ว ”

 
เอกสารของตระกูล Wiat
ที่เขึยนขึ้นในปี ค.ศ. 1727 เล่าว่า
“ Sir Henry Wiat  มีความเจริญก้าวหน้า
และรุ่งเรืองมาก  ท่านได้เลี้ยงแมวไว้
เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว
และบางทีคุณอาจจะไม่พบรูปของท่านในทุกที่
แต่ทุกรูปที่มีท่าน จะมีแมวอยู่ข้าง ๆ ท่าน ”

เพื่อแสดงความกตัญญู
ต่อแมวและนกพิราบ
Sir Henry Wiat ได้แนะนำ
นกพิราบสีน้ำตาล
สายพันธุ์หนึ่งจาก Venis
ให้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า 
นกพิราบแห่งปราสาท Allington
 ❀


 ❀

Earl of Romney ผู้สืบเชื้อสายตรงของ Wyatts
และเป็นตัวแทนของตระกูล Wyatts ในปัจจุบัน
ยังมีรูปเหมือนของ Sir Henry Wiat ในห้องขัง
โดยมีแมวกำลังคาบนกพิราบผ่านหน้าต่างคุก

Earl of Romney  ยังมีภาพที่ 2 ของ
แมวที่เลี้ยงดู Sir Henry Wiat ด้วย
ภาพวาดทั้งสองเป็นตัวแทนของ Sir Henry Wiat
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา/ถูกวาดขึ้นหลังจากนั้น
อีกหลายปีต่อมาจากข้อเท็จจริงโดยศิลปินนิรนาม
 
วันหนึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
King Henry VII ได้พระราชทานเสื้อคลุม
ยศชั้นสูงให้กับ Sir Henry Wiat
และแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน Knight Banneret
รวมทั้ง Sir Henry Wiat เป็นที่โปรดปราน
ของราชวงศ์ และได้รับเกียรติสูงสุดตลอดชีวิต

ท่านได้รับพระราชทานปราสาทและที่ดิน
ชื่อ Allington ใกล้ Maidstone ใน Kent
และแมวทุกตัวจะได้รับการต้อนรับ
ท่ายมตะอายุเกือบ 80 ปี (11 ต.ค. 1537)
ท่านได้แต่งงาน 2  ครั้ง
ลูกชายของท่าน
Thomas (The Elder) Wyatt
เป็นกวีที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ




Thomas (The Elder) Wyatt



ข้อมูลส่วนใหญ่ข้างต้นมาจาก
บทความที่เขียนขึ้นสำหรับนิตยสาร 
Boxley Church โดย Richard Cooke 
ในหัวข้อ  The Hero of the Cat
และข้อมูลที่ได้รับจาก Robin Ambrose
นักประวัติศาสตร์ของ Boxley Church
เอกสารเพิ่มเติมมีอยู่ในจดหมาย 
Meet Your Wyat Cousins
​​​ฉบับที่ 9 จาก  Wiat Manuscript 
ที่อยู่ในความครอบครองของ Lord Romney
และให้เครดิตหนังสือ
The Wiatt Family of Virginia 1980
ซึ่งมึข้อความฉบับเต็มอยู่ด้านล่าง :

“ ท่านถูกคุมขังอยู่บ่อยครั้ง 
ครั้งหนึ่งในหอคอยที่แคบเย็นยะเยือก
สถานที่ซึ่งท่านไม่มีที่นอน 
ไม่มีเครื่องนุ่งห่มที่พอจะให้ความอบอุ่น
ไม่มีเนื้อสำหรับปากที่หิวโหยของท่าน 
ท่านอดอยากในที่นั้น
ไม่มีพระเจ้า ผู้ทรงส่งอีกามาเลี้ยงดูท่าน
ผู้เผยพระวจนะส่งเจ้าบ้านตัวนี้คือ  แมว
ทั้งไปเลี้ยงดูท่านและให้ความอบอุ่นแก่ท่าน
มันเป็นความสัมพันธ์ลึกซึ้งของท่านที่ข้าได้ยินมา

มีแมวตัวหนึ่งลงมาที่คุกใต้ดินมาหาท่าน
และวันหนึ่งมอบกายมอบใจให้กับท่าน
ท่านก็ยินดีรับเลี้ยงและดูแลแมวเป็นอย่างดี
ท่านอุ้มแมวไว้ในอ้อมอกเพื่อให้ท่านอบอุ่น
การดูแลของท่านให้กับแมวเป็นอย่างมาก
จึงได้ชนะใจและได้ความรักจากแมว

หลังจากนั้น
แมวก็จะมาหาท่านทุกวัน
แบบไม่เป็นเวล่ำเวลา
แต่เมื่อเธอมาหาท่านแต่ละครั้ง
ก็จะคาบนกพิราบมาให้ท่านหนึ่งตัว

ท่านเคยบ่นกับผู้คุมว่า
อาหารหนาวเย็นและอาหารไม่พอ
แต่คำตอบของผู้คุมก็คือ  ก็พอแล้วนี่
จริง ๆ กูปอดแหก  (ไม่กล้าช่วยเหลือ)

ท่านเลยตอบว่า
ถ้าข้าสัญญาว่าจะให้แกบางอย่าง
แกสัญญาว่าจะช่วยเหลือข้า 

คำตอบของผู้คุม คือ
แน่นอนถ้ามันเหมาะสม 
และปลอดภัยได้กับเรื่องเหล่านั้น
(ไม่ผิดสังเกตจนเกินไป)
เลยช่วยเหลือในการปรุงนกพิราบ
ที่แมวนักหาอาหารนำมาให้ท่าน

หลังจาก Sir Henry Wiat เป็นอิสระแล้ว
ท่านก็ทำทุกอย่างเพื่อตอบแทนบุญคุณแมว
และภาพทุกภาพมักจะมีแมวเคียงข้างท่าน






เรียบเรียบ/ที่มา

https://bit.ly/3wa7WCw
https://bit.ly/2SYNciC






หมายเหตุ


การค้นพบโครงกระดูกพระเจ้าริชาร์ดที่ 3
ใต้ลานจอดรถ หลังสาบสูญกว่า 500 ปี


พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 (Richard III)
คือ กษัตริย์อังกฤษผู้ครองราชย์ช่วงสั้น ๆ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็น
ห้วงเวลาแห่ง สงครามดอกกุหลาบ
หรือสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์
ระหว่างราชวงศ์ยอร์กฝ่ายกุหลาบขาว
กับราชวงศ์แลงคัสเตอร์ฝ่ายกุหลาบแดง
ซึ่งรบพุ่งทำสงครามกัน 17 ครั้ง
ในช่วงเวลา 32 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1455-87
 
พระองค์ทรงได้รับฉายาว่า 
กษัตริย์ทรราช จากข่าวลือที่ว่า
พระองค์ทรงทรยศความไว้วางพระราชหฤทัย
ของกษัตริย์องค์ก่อนหน้าผู้เป็นพระเชษฐา
ซึ่งสวรรคตพร้อมคำสั่งเสียให้พระองค์
ช่วยดูแลพระนัดดาสองพี่น้อง
ซึ่งเป็นยุวกษัตริย์และพระอุปราช
แต่พระองค์กลับปลงพระชนม์พระนัดดา
ให้เป็นผีเฝ้าหอคอยแห่งลอนดอน
แล้วตั้งตัวเป็นกษัตริย์เสียเอง

เมื่อพระองค์สวรรคตอย่างอนาถ
ในสนามรบทุ่งบอสเวิร์ธ 
จึงไม่มีใครเหลียวแลพระศพ
ซึ่งถูกถอดเกราะและเสื้อผ้าจนเปลือยเปล่า 
ลากประจานไปทั่วเมือง 
ยากจะหาหลักฐานว่า
ถูกฝังหรือถูกโยนทิ้งลงแม่น้ำ
แต่มีบางคนไม่เชื่อข่าวลือนี้
และเชื่อว่าเมื่อประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะ 
พระองค์ซึ่งถูกสังหารในสนามรบทุ่งบอสเวิร์ธโดยขุนนางเฮนรี่ ทิวดอร์ 
ผู้ต่อมาจะเป็นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ราชวงศ์ทิวดอร์ 






เรื่องเล่าไร้สาระ


The first one takes all. คนโตเอาหมด
ระบบสืบทอดมรดกของอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น
จะให้กับบุตรชายคนโตเป็นลำดับแรก
ถ้าบุตรชายคนโตตายก่อน แต่มีลูกชายคนโต
ก็จะตกทอดกับลูกชายคนโตตามลำดับ
จนกว่าจะหมดสายจึงมาไล่ลำดับที่น้องชาย
รายละเอียดเชิงนิยายในเรื่อง ลอร์ดน้อยฟอนเติลรอย

ทำให้บุตรชายคนรอง พี่สาวน้องสาว
ต้องแยกย้ายออกไปทำมาหากิน
หรือย้ายไปต่างประเทศ เพราะอยู่ไปก็ไม่รุ่ง
ถ้าพี่ชายคนโตใจดีหน่อยก็ให้ไปอยุ่ที่ Borough
เมืองกึ่งชนบทใกล้กับวังของตนเอง
เพื่อป้องกันการถูกลอบฆาตกรรมส่วนหนึ่ง
ในการแย่งชิงมรดกของพี่ชายคนโต

การอพยพของคนจีน ญี่ปุ่น
นอกจากความอดอยาก
ก็มาจากกองมรดก/ที่ดินทำกิน
ของครอบครัวทึ่ไม่พอกิน
เพราะกรรมสิทธิ์เป็นของพี่ชายคนโต
ทำไปเท่าไรก็ไม่รุ่ง ไม่เป็นของตนเอง
สู้ไปตายเอาดาบหน้า หากินเองจะดีกว่า

หม่าฮวน อักษรเลข(เลขา) เจิ้งเหอ
ที่เดินทางด้วยเรือ 7 ครั้ง
เพื่อแสดงแสนยานุภาพ
หาเส้นทางการคัา
กับปราบเจ้านครรัฐที่แข็งข้อ
มีการช่วยเจ้านครอินทร์ยึดกรุงศรีอยุธยา
ยึดเมืองเพื่อจับเจ้าเมืองที่บังอาจยิงเรือรบจีน
นำตัวไปประจานที่นั่น ก่อนส่งตัวกลับ

มีบันทึกว่า
มีคนจีนมาอยู่ที่มะละกา จำนวนมาก
บางส่วนก็แปลงเป็นมุสลิม
บางส่วนยังนับถือเจ้า
ในช่วงก่อน 600 ปี
ที่เรือของเจิ้งเหอจะมาถึง

แถวอินโดนีเซีย มาเลย์ ภูเก็ต
คนจีนทึ่แต่งงานกับคนพื้นเมือง
ช่วงหลังรวมถึงลูกหลานคนจีนในพื้นทึ่ด้วย
ถ้าได้ลูกชายจะเรียกว่า บ่าบ๋า
ถ้าได้ลูกหญิงจะเรียกว่า ญ่าหญา

แถวบ้านก็มีบางครอบครัวตัดญาติขาดมิตร
ไม่สนใจครอบครัวเดิมที่เมืองจีนอีกเลย
น่าจะความสัมพันธ์ในครอบครัว
ที่ขัดแย้งกันอย่างร้าวลึก
ในเรื่องความไม่เป็นธรรม
จากกองมรดกที่พี่ชายคนโตรวบไปหมด
ตามธรรมเนียมการสืบทอดมรดกคนจีน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่