กำแพงเบอร์ลิน กำแพงที่แบ่งแยกความเป็นคน!!

กำแพงเบอร์ลิน กำแพงที่แบ่งแยกความเป็นคน


ผมจำได้ว่าตอนผมอายุ 12 ปีผมนั่งดูข่าวในทีวีอยู่คนเดียว เพราะเป็นช่วงเวลากลางวัน ไม่มีใครอยู่บ้าน  
และมีข่าวด่วนเข้ามาเป็นข่าวการทุบกำแพงเบอร์ลิน และเกิดการตั้งคำถามขึ้นว่าทำไมเขาต้องสร้างมันขึ้นเพื่อขังคนเหล่านั้นไว้แบบนั้นด้วย...แต่ก็แค่คิดไว้ในใจ


จนโตขึ้นมาได้มีโอกาสไปสัมผัสเหตุการณ์ต่างๆในประวัติศาสตร์จากสถานที่จริงบ้าง อ่านหนังสือมาบ้าง จึงทำให้รู้ซึ้งถึงการอยู่ร่วมในสังคมของมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกันว่า มันช่างซับซ้อนยิ่งนัก...



ในปี1945 หลังจากเยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่2   จึกถูกแบ่งออกเป็น4ส่วน ได้แก่ส่วนของ อังกฤษ ฝรั่งเศษ อเมริกา และ โซเวียต จนถึงในปี 1949 ฝ่ายประชาธิปไตยทั้งสามประเทศก็ได้รวมกันเป็น 1เดียว
และคืนเยอรมันนีให้กลายเป็นประเทศเยอรมนีตะวันตก 
  

จึงทำให้เยอรมนีแบ่งออกเหลือเพียงแค่ 2ส่วน
คือส่วนของ ตะวันตกที่เป็นประชาธิปไตย และส่วนของตะวันออกที่เป็นของโซเวียต   
รวมถึงเมืองหลวงอย่างกรุงเบอรลินก็ถูแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยเช่นกัน..
และทำให้ส่วนที่เป็นเมืองหลวง Berlin ฝ่ายเยอรมันตะวันตก กลายเป็นไข่แดง อยู่ตรงกลางชาติคอมมิวนิสต์ โดยทันที!!


เอาละสิทีนี้... ด้วยความที่ในช่วงแรกก็แค่แบ่งกันปกครอง อยู่กันอย่างปรกติสุข จนเกิดความแตกต่างกันอย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่ายเยอรมันตะวันตก มีการฟื้นฟูตัวเองจากสงครามได้อย่างรวดเร็ว และ เศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประชาชนมีอิสระ


แต่ในขณะที่ฝ่ายตะวันออก แทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ซ้ำยังยากจนลงเรื่อยๆ จากนโยบายบริหารประเทศแบบคอมมิวนิสต์ การซื้อรถยนต์เพลง1คันอาจต้องใช้เวลารอถึง 2 ปี และมียี่ห้อเดียว คือยี่ห้อTrabant
ที่ทำจากพลาสติกนั่นเอง!!! เพราะราคาถูก และเหล็กถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการสร้างอาวุธสงครามแทนนั่นเอง


ความยำแย่ทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดการเดินทางย้ายฝั่งประเทศ กันหลายล้านคน!!
จนปี 1961 ทางโซเวียต จริงตัดสินใจสร้างกำแพงขึ้นเพื่อกันไม่ให้คนย้ายออกนอกประเทศอีก!! โดยที่มีระยะทางทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร (พอๆกับกรุงเทพฯไปกาญจนบุรี)

การสร้างกำแพงเบอร์ลิน ในเยอรมันตะวันออก เป็นการสร้างถึงสองชั้น และในส่วนระหว่างชั้นที่1ถึงชั้นที่2 ห่างกันถึง 4เมตร  และเรียกว่า โซนแห่งความตาย  โดยพวกเขาโรยหินกรวดขนาดเล็กเพื่อให้เห็นรอยเท้าถ้าเกิดใครก็ตามที่จะตัดสินใจข้ามกำแพงนี้มา และจะ มีแสงไฟส่องสว่างในเวลากลางคืน มีสุนัขพันธ์เยอรมันเชพเพิร์ดคอยเฝ้ายามถ้าใครก็ตามที่รุก ล้ำเข้ามา และมีพลทหารซุ่มยิงเฝ้ายิงใครก็ตามที่คิดจะหนีออกจากฝั่งตะวันออก

แต่ก็ยังมีการลักลอบข้ามกำแพงกว่า 5,000 ครั้ง จากหลากหลายวิธี รวมถึงการขุดอุโมงด้วย และมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 246 คน 

เหตุการณ์ที่โด่งดังต่อชาวโลกก็คือ การที่นาย Peter Fechter เด็กหนุ่มที่ลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินถูกยิง และปล่อยให้เลือดไหลจนตายต่อหน้าสื่อมวลชนฝั่งตะวันตกหลังจากที่กำแพงถูกสร้างขึ้นเพียงแค่1ปีเท่านั่นเอง


คนเยอรมันตะวันออกถูกขังอยู่ในนั้นจนถึงปี 1989 รวมเวลาถึง 28ปี !! 
กำแพงเบอร์ลินถูกทุบทิ้งในยุคล่มสลายของโซเวียต ซึ่งจริงๆแล้วการทำลายกำแพงเป็นการเข้าใจผิด!!!
จากการประชาสัมพันธ์ข่าวของรัฐบาลเยอรมันตะวันออกว่า จะให้คนได้เดินทางเข้าออกกันได้อย่างเสรี


พอคนได้ยินข่าวก็ต่างไปยังด่านต่างๆของกำแพงโดยทันที จึงเกิดการโกลาหลเกิดขึ้น เกินกว่าที่รัฐบาลจะคุมอยู่จึงปล่อยเลยตามเลย จนกลายเป็นวันสิ้นสุดของกำแพงเบอร์ลินนั่นเอง
ตัวกำแพงถูกทำลาย และ ประมูลไปทำเป็นของที่ละลึก หรือถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์ บางส่วนก็ยังคงเหลือไว้เพื่อเป็นจุดท่องเที่ยว 


โดยให้ศิลปิน Street Art มาสร้างสรรค์ผลงาน และ 1 ในผลงานที่โด่งดังก็คือรูปผู้นำโซเวียต brezhnev จูบปากกับผู้นำเยอรมันตะวันออก honecker หรือชื่อว่า Socialist fraternal kiss ของ Dmitri Vrubel 


โดยที่ภาพนี้เป็นการวาดมาจากเหตุการณ์จริง นั่นเอง เป็นการจูบเชิงสัญลักษณ์ว่าทั้งสองประเทศสนิทชิดเชื้อกันมากขนาดไหน 


ซึ่งผมเองก็ได้ซื้อชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลิน กลับมาจากร้านขายของ Survinior  เช่นกัน


ปัจจุบันแม้กำแพงเบอร์ลินจะถูกทำลายลง คนได้เดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างเป็นปรกติ แต่เราก็ยังเห็นกำแพงที่ก่อตัวขึ้นในใจของคนเบอร์ลินอยู่บ้าง จากการเห็นคนที่มีสีผิวที่ต่างกัน ซึ่งจะว่าไปก็ถือว่าเป็นส่วนน้อย ที่ผมเคยเจอ ดังที่เคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ 
จนบางทีเกิดคำถามขึ้นกับตัวเราว่า หลังจาก Covid-19 หายไป คนได้เดินทางข้ามประเทศกันมากขึ้น กำแพงที่ก่อตัวขึ้นในใจเหล่านี้ จะสูงขึ้นหรือต่ำลง
กำแพงที่มองไม่เห็น หรืออะไรที่เราไม่เห็นมันมักจะน่ากลัวและอันตรายกว่าที่เรามองเห็นยิ่งนัก กำแพงเบอร์ลินที่เราเห็นทะลายลงมากับตา ยังสร้างความลำบากให้กับผู้คนมากว่า 28ปี มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน และผู้พิการนับไม่ถ้วน  และขอให้กำแพงที่มองไม่เห็นอย่าได้ก่อตัวขึ้นในจิตใจใครอีกเลย...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่