'ทักษิณ' ไม่เชื่อสิ้นปีได้ฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดส ถามนำเข้าไฟเซอร์ เซ็นสัญญาหรือยัง?
https://www.matichon.co.th/politics/news_2754083
เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 1 มิถุนายน นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือ
โทนี่ วู้ดซัม ได้ร่วมเสวนา ในหัวข้อ
อยู่มา 7 ปี หนี้ท่วมประเทศ หนี้รัดคอประชาชน มาถามพี่โทนี่ดูว่ามีทางออกไหม ในคลับเฮาส์และเฟซบุ๊กของ CARE คิด เคลื่อน ไทย
นาย
ทักษิณได้กล่าวว่า ปัญหาหนี้ และเศรษฐกิจในตอนนี้ ต้องแก้ปัญหาโรคระบาดให้ได้ก่อน โดยควรรีบสั่งซื้อวัคซีนเข้ามาให้มาก เพื่อฉีดให้ประชาชน จากนั้นจึงจะไปแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ไปเปิดเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ได้
“นายกฯ ถนัดโทษคนอื่น ยังโทษตัวเองไม่เป็น วันนี้ถ้าเราจะบอกว่า จะช่วยกันอย่างไร เป็นเรื่องทีหลัง เรื่องแรก รัฐบาลต้องแก้เรื่องโรคระบาดอย่างด่วน เหมือนที่ออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่การแก้ปัญหาไม่เห็นฉุกเฉินเลย เสาร์อาทิตย์ก็หยุด ถ้าฉุกเฉินต้องระดมทุกคนมา ไม่ใช่ซื้อวัคซีนเหมือนซื้อก๊วยเตี๋ยวปากซอย เอาง่าย ไม่คิดว่ามีร้านดีๆ อร่อยๆ เยอะแยะ มันไกลไปทำไมไม่ไปซื้อ ต้องเตรียมให้พร้อม วัคซีนวันนี้ ดูว่าจะพร้อมแต่ผมไม่เชื่อ เพราะข่าวมาคนละเรื่อง”
“ไปตั้งหน้าตั้งตา เรียงลำดับความสำคัญเถอะ วันนี้ คนจะไปตรวจก็ต้องรอ เพราะรพ.เขาต้องรักษาเลย วันนี้ต้องตรวจอย่างกว้างขวาง อะไรฟรีได้ฟรี รัฐกู้มาขนาดนี้ เอามาใช้ในสิ่งที่เกิดประโยชน์เถอะ วัคซีนที่บอกว่าสิ้นปีถึง 100 ล้านโดส ผมบอกได้เลย ไม่มีทางเลย ผมไม่แน่ใจเลยว่า สั่งวัคซีนให้มากองให้ครบ 100 ล้านโดส สิ้นปี ยังไม่รู้จะได้หรือเปล่า จะฉีดให้ครบ 100 ล้าน ผมไม่มั่นใจเลย คิดรวมศูนย์เป็นไปไม่ได้หรอก คนๆ เดียวจะไปคิดทุกอย่างไม่ได้หรอก”
ทั้งนี้
โทนี่ยังได้กล่าวถึงการจัดหาวัคซีน โดยระบุว่า ตอนแรก แอสตร้าฯ 117,000 เข้ามาก็ใช้หมดเกลี้ยงแล้ว ตอนนี้ ซิโนแวคฉีดไป 3,600,000 กว่า มันนิดเดียว ถามว่า ทำไมวัคซีนมันช้า เพราะเราแทงม้า 2 ตัว จริงๆ ราคาไม่ได้หนีกันมากเท่าไหร่ ทำไมไม่สั่งตัวอื่นสำรองไว้
รมว.สธ.ก็พูดแล้วพูดอีก พูดจนหมดเครดิตแล้ว วันนี้ถามว่า เซ็นสัญญาหรือยัง ก็ยังไม่เซ็น ของโมเดอร์นาก็ยัง ส่งไปตรวจอยู่ ใบสั่งซื้อยังไม่มา เพราะยังไม่ได้เซ็น ไฟเซอร์ก็เหมือนกัน เขายังไมได้ยื่น อย. เพราะเขาเป็นบริษัทใหญ่ ไม่งั้นก็เสียหน้า อนุมัติแล้วไม่ซื้อ
และว่า วันนี้ถ้าขืนยังช้า ก็ไม่มีทาง วันนี้ ต้องรีบตัดสินใจ คุณออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ตัดสินใจอย่างฉุกเฉินบ้าง จนราชวิทยาลัย ก็ต้องสั่งซิโนฟาร์มเอง ตอนนี้ท้องถิ่นจะเอาเงินไปซื้อเพราะเป็นห่วงประชาชน ทำไมรัฐบาลซื้อมาเลยได้ไหม เอามาฉีดให้ประชาชนเลย ถ้าสั่งไม่ได้ ก็ให้ราชวิทยาลัยที่สั่งได้สั่งซิ รัฐบาลก็จ่ายเงินไป
“วันนี้ แอสตร้าเซนเนก้า ที่ให้ลิขสิทธิ์มาผลิตในไทย รัฐบาลอาจจะตั้งใจดี ไปขอมาให้สยามไบโอไซน์ แต่ผมไม่มั่นใจว่า 7 มิ.ย.จะทันหรือเปล่า ผมไม่ยืนยันนะ ว่าส่งไปตรวจที่อังกฤษ 5 รอบแล้ว ยังไม่ได้แอพพรูฟมา แต่กรมวิทยาศาสตร์ อาจจะแอพพรูฟเองก็ได้ ต้องให้นักวิทยาศาสตร์แอสตร้าเซนเนก้าเขารับรองด้วย เช็กให้ดีว่า เรียบร้อยหรือยัง ถ้าเรียบร้อยก็ขอบคุณแทนคนไทย
ตอนนี้วัคซีนอะไรเขาก็เอาแล้ว เขาไม่เลือกแล้ว เพราะโรคมันเยอะแล้ว สตางค์ก็มี อย่าไปแจกเพลิน มันแค่แก้ปัญหาความเดือดร้อนนิดหน่อย ต้องไปแก้ต้นเหตุ รีบเปิดเศรษฐกิจซะ”
เมื่อผู้ร่วมเสวนาคลับเฮาส์รายหนึ่ง ถามถึงโอกาสที่จะได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา นั้น
โทนี่ระบุว่า รัฐบาลนี้ เก่งในเรื่องทำเรื่องง่ายให้ยาก จริงๆ ไม่มีอะไรเลย และไม่ชัดเจนกับอะไรทั้งสิ้น เป็นความลับไปหมด เป็นนิสัย [เผล่ะจัง] ไม่บอกว่า ทำไมนำเข้าตัวนี้ และเข้าเท่าไหร่ วันนี้เหมือนบอกโมเดอร์นา ไฟเซอร์ แต่โมเดอร์นา 2 อาทิตย์ยังตรวจสัญญาไม่เสร็จ
ซิโนฟาร์ม ก็เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ผมก็ฉีด 1.ใช้เชื้อตาย พิสูจน์มาหลายสิบปี กระตุ้นภูมิได้ 70 กว่าก็ยังดีกว่า ส่วนเรื่องเงิน ทำไมไม่ซื้อเอง ต้องให้คนตัวเล็กๆ จ่าย ให้ท้องถิ่นจ่าย ทำไมรัฐไม่จ่ายเอง กู้มาแล้วก็จ่ายดิ จะเก็บตังไว้แจกประชนชนเพื่อหาเสียงหรอ ไม่ได้เสียงหรอก
ในส่วนประเด็นเรื่องการอนุญาตให้ อปท. เป็นผู้จัดหาวัคซีนได้นั้น
ทักษิณกล่าวว่า ตอนแรก วิษณุก็บอกทำได้ ตอนหลังมหาดไทยก็บอกไม่ได้ กฎหมายเขียนโดยมนุษย์ก็แก้โดยมนุษย์ วันนี้อยากช่วยมนุษย์ให้ปลอดภัยไหม ให้หายประสาทไหม อยากฉีดวัคซีนแล้ว อะไรก็จะฉีดแล้ว แต่เราจัดให้เขาไม่ได้ อปท.ทั้งหลาย งบนิดเดียว
แจ๊ส (พล.ต.อ.
คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี) จะขอซื้อ 5 แสนโดส ก็ 500 ล้าน อปท.ไม่รู้มีเงินเก็บเท่าไหร่ ก็ใช้เยอะ รัฐต้องจัดให้ คือของประชาชนทั้งนั้น
เอกชนขอนำเข้า "วัคซีนไฟเซอร์" 20 ล้านโดส วงเงิน 6 พันล้าน เจรจาได้แล้วพร้อมจัดสรรให้รัฐ 50%
https://www.thansettakij.com/content/covid_19/482286
เอกชนเจรจาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำเข้าวัคซีน “ไฟเซอร์” 20 ล้านโดส หลังได้โควต้าตรงจากอเมริกา พร้อมจ่ายเงิน 6,000 ล้านก่อนจัดสรรให้ภาครัฐ 50% ในราคาต้นทุน หวังให้คนไทยได้ฉีดวัคซีนเร็วที่สุด ชี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังพุ่ง หวั่นลากยาวข้ามปี “ส.อ.ท.” พร้อมควักเงินฉีดกว่า 1 ล้านโดส
ปัญหา “
วัคซีนโควิด-19” ที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการฉีดในประเทศ แผนการสั่งซื้อ ทั้งนำเข้าและผลิตในประเทศก็ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดสรรเดิมที่กำหนดตามดีมานต์ในแต่ละพื้นที่ ต้องปรับเปลี่ยนเป็นการฉีดตามซัพพลายที่มีแทน นอกจากจะสร้างความไม่พอใจให้กับคนไทย ยังทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ การมองหาวัคซีนตัวเลือกหรือวัคซีนทางเลือก จึงเป็นอีกช่องทางที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเร่งดำเนินการ
นำเข้าไฟเซอร์ 20 ล้านโดส
ล่าสุดพบว่า บริษัทเอกชนรายใหญ่แห่งหนึ่งของไทย ได้สั่งซื้อวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 20 ล้านโดสตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2563 และบรรลุข้อตกลงในการสั่งซื้อ เหลือเพียงการรอให้หน่วยงานภาครัฐของไทย เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อตามเงื่อนไขของผู้ผลิต เพื่อนำมาฉีดให้กับคนไทยโดยเฉพาะเยาวชนอายุระหว่าง 12-18 ปีซึ่งมีจำนวนกว่า 5.5 ล้านคน ที่ต้องฉีดวัคซีนไฟเซอร์เท่านั้น
ผู้บริหารบริษัทเอกชนรายนี้ กล่าวยอมรับว่า มีการเจรจากับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อศึกษาแนวทางว่าจะสามารถนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ได้อย่างไร หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินการสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าเมื่อ 8 เดือนก่อนจนได้รับจัดสรรโควต้า แต่ด้วยเงื่อนไขการส่งมอบวัคซีนผ่านหน่วยงานรัฐบาลเท่านั้นจึงต้องศึกษาหาช่องทางและโอกาส เพื่อให้คนไทยได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์อย่างเร็วที่สุด
“หากไทยบรรลุขั้นตอนการนำเข้าได้ ไฟเซอร์ก็พร้อมจัดสรรโควต้าที่สั่งซื้อไว้ 20 ล้านโดสให้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งบริษัทเองก็พร้อมสำรองจ่ายเงิน 6,000 ล้านบาทให้ก่อน เมื่อได้วัคซีนมาก็จัดสรรให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในสัดส่วน 50% เพื่อใช้เป็นวัคซีนตัวเลือก ในราคาต้นทุนโดยไม่หวังผลกำไร ส่วนที่เหลือก็นำไปฉีดเป็นวัคซีนทางเลือก โดยไม่ได้บวกกำไร แต่จะคิดจากต้นทุนค่าขนส่ง ค่าบริหารจัดการจริงเท่านั้น”
อย่างไรก็ดีในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา (วัคซีนทางเลือกที่อย.ไทยอนุมัติขึ้นทะเบียนแล้ว) ถือเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงต่อการป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะ
โควิดกลายพันธุ์ทั้งสายพันธุ์อังกฤษ, อินเดีย รวมถึงแอฟริกาใต้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ในภาวะวิกฤติที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดสูง เห็นได้จากคลัสเตอร์ใหม่ที่ยังเกิดขึ้นจำนวนมาก
หวั่นระบาดข้ามปี
ด้านนายแพทย์
บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แม้วันนี้ประเทศไทยจะมีทั้งวัคซีนหลัก (ซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า) และวัคซีนตัวเลือก (ซิโนฟาร์ม) แล้วแต่เชื่อว่าวัคซีนทางเลือก (โมเดอร์นา) จะยังเป็นที่ต้องการจากดีมานต์ที่สูงต่อเนื่อง ทำให้บริษัทยังคงสั่งซื้อจำนวน 5 ล้านโดสผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เช่นเดิมซึ่งขณะนี้รอความคืบหน้าจากอภ.และคาดว่าจะนำเข้าวัคซีนได้ปลายเดือนกันยายนนี้
“หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดในคลัสเตอร์ใหม่ๆ ได้ การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับคนไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เชื่อว่าการแพร่ระบาดจะลากยาวจนอาจจะลุกลาม ไปข้ามปีหน้าก็เป็นได้”
อย่างไรก็ดีบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาในประเทศไทย จะเข้าพบรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เดินทางมาเยือนไทยในอีก 1-2 วันนี้ เพื่อเจรจาขอแบ่งวัคซีนโมเดอร์นาในสหรัฐฯ ที่มีเหลือค่อนข้างมากมาจำหน่ายให้ไทย
พร้อมสั่งซื้อล้านโดส
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ความต้องการวัคซีนทางเลือกของสมาชิก ส.อ.ท. ที่แสดงเจตจำนงเข้ามามีจำนวนประมาณ 1 ล้านโดส เพื่อนำไปฉีดให้กับพนักงาน ขณะที่การนำเข้าวัคซีนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ล็อตแรกในเดือนมิถุนายนมีจำนวน 1 ล้านโดสเท่านั้น และจัดสรรให้กับส.อ.ท. ได้ทั้งหมดตามความต้องการดังกล่าว แต่ขณะนี้มีความต้องการจากรายอื่นด้วย ดังนั้น ส.อ.ท. จึงขอซื้อในเบื้องต้นก่อน 3 แสนโดส ส่วนเรื่องของฉีดวัคซีนนั้น เมื่อได้วัคซีนเข้ามา ส.อ.ท. กับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะต้องมีการหารือ และทำงานร่วมกัน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการฉีด ทั้งเรื่องของสถานที่ และวันเวลา
“ส.อ.ท.ได้เรียกร้องเรื่องวัคซีนทางเลือกมาโดยตลอด ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเข้าไปร่วมมือกับราชวิทยาลัยฯล่วงหน้า โดย ส.อ.ท. มีความพร้อมที่จะขอซื้อวัคซีนที่เข้ามาทั้งหมด แต่ก็มองว่าอาจจะไม่เหมาะสมเท่าใดนักกับสถานการณ์เวลานี้ เพราะปัจจุบันยังมีอีกหลายภาคส่วนที่ต้องการวัคซีนทางเลือกเช่นเดียวกัน จึงขอซื้อในเบื้องต้น 3 แสนโดส เพื่อให้วัคซีนกระจายไปหลายส่วน”
7 มิ.ย. มีวัคซีนฉีดแน่
อย่างไรก็ดีหลังจากที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกาศนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มจำนวน 1 ล้านโดสในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเป็นวัคซีนตัวเลือกให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่สนใจจะจัดซื้อเพื่อไปฉีดให้กับบุคลากร ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีองค์กรเอกชน ตลอดจนสมาคมต่างๆ ให้ความสนใจจำนวนมาก จึงมีแผนนำเข้าเพิ่มเป็น 20 ล้านโดส
ส่วนกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ออกมาแสดงความจำนงที่จะซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม เพื่อฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เองนั้น สามารถจัดซื้อวัคซีนได้ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย แต่ต้องขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เป็นผู้ให้การสนับสนุน
ขณะที่แผนการฉีดวัคซีนที่จะดีเดย์ทั่วประเทศ ในวันที่ 7 มิ.ย. เป็นต้นไปและหลายฝ่ายหวั่นวิตกว่าจะมีวัคซีนฉีดให้กับประชาชนหรือไม่นั้น พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงกลาโหม กล่าวยืนยันว่า ขอให้มั่นใจรัฐบาลเตรียมงบประมาณในส่วนสาธารณสุขเพียงพอต่อการจัดหาวัคซีน ไม่ใช่ไม่มีเงินซื้อ แต่ปัญหาอยู่ที่เขาจะขายวัคซีนให้เท่าไร และจะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าฉีดในวันที่ 7 มิถุนายนนี้อย่างแน่นอน รวมถึงวัคซีนซิโนฟาร์มที่จะเข้ามาในเดือนมิถุนายนด้วย
JJNY : 'ทักษิณ'ไม่เชื่อสิ้นปีฉีดวัคซีน100ล.โดส│เอกชนขอนำเข้าไฟเซอร์20ล.โดส│สปา-นวดไทยเจ๊งถาวร70%│หอค้าชี้วัคซีนทางเลือก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2754083
เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 1 มิถุนายน นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือ โทนี่ วู้ดซัม ได้ร่วมเสวนา ในหัวข้อ อยู่มา 7 ปี หนี้ท่วมประเทศ หนี้รัดคอประชาชน มาถามพี่โทนี่ดูว่ามีทางออกไหม ในคลับเฮาส์และเฟซบุ๊กของ CARE คิด เคลื่อน ไทย
นายทักษิณได้กล่าวว่า ปัญหาหนี้ และเศรษฐกิจในตอนนี้ ต้องแก้ปัญหาโรคระบาดให้ได้ก่อน โดยควรรีบสั่งซื้อวัคซีนเข้ามาให้มาก เพื่อฉีดให้ประชาชน จากนั้นจึงจะไปแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ไปเปิดเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ได้
“นายกฯ ถนัดโทษคนอื่น ยังโทษตัวเองไม่เป็น วันนี้ถ้าเราจะบอกว่า จะช่วยกันอย่างไร เป็นเรื่องทีหลัง เรื่องแรก รัฐบาลต้องแก้เรื่องโรคระบาดอย่างด่วน เหมือนที่ออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่การแก้ปัญหาไม่เห็นฉุกเฉินเลย เสาร์อาทิตย์ก็หยุด ถ้าฉุกเฉินต้องระดมทุกคนมา ไม่ใช่ซื้อวัคซีนเหมือนซื้อก๊วยเตี๋ยวปากซอย เอาง่าย ไม่คิดว่ามีร้านดีๆ อร่อยๆ เยอะแยะ มันไกลไปทำไมไม่ไปซื้อ ต้องเตรียมให้พร้อม วัคซีนวันนี้ ดูว่าจะพร้อมแต่ผมไม่เชื่อ เพราะข่าวมาคนละเรื่อง”
“ไปตั้งหน้าตั้งตา เรียงลำดับความสำคัญเถอะ วันนี้ คนจะไปตรวจก็ต้องรอ เพราะรพ.เขาต้องรักษาเลย วันนี้ต้องตรวจอย่างกว้างขวาง อะไรฟรีได้ฟรี รัฐกู้มาขนาดนี้ เอามาใช้ในสิ่งที่เกิดประโยชน์เถอะ วัคซีนที่บอกว่าสิ้นปีถึง 100 ล้านโดส ผมบอกได้เลย ไม่มีทางเลย ผมไม่แน่ใจเลยว่า สั่งวัคซีนให้มากองให้ครบ 100 ล้านโดส สิ้นปี ยังไม่รู้จะได้หรือเปล่า จะฉีดให้ครบ 100 ล้าน ผมไม่มั่นใจเลย คิดรวมศูนย์เป็นไปไม่ได้หรอก คนๆ เดียวจะไปคิดทุกอย่างไม่ได้หรอก”
ทั้งนี้ โทนี่ยังได้กล่าวถึงการจัดหาวัคซีน โดยระบุว่า ตอนแรก แอสตร้าฯ 117,000 เข้ามาก็ใช้หมดเกลี้ยงแล้ว ตอนนี้ ซิโนแวคฉีดไป 3,600,000 กว่า มันนิดเดียว ถามว่า ทำไมวัคซีนมันช้า เพราะเราแทงม้า 2 ตัว จริงๆ ราคาไม่ได้หนีกันมากเท่าไหร่ ทำไมไม่สั่งตัวอื่นสำรองไว้
รมว.สธ.ก็พูดแล้วพูดอีก พูดจนหมดเครดิตแล้ว วันนี้ถามว่า เซ็นสัญญาหรือยัง ก็ยังไม่เซ็น ของโมเดอร์นาก็ยัง ส่งไปตรวจอยู่ ใบสั่งซื้อยังไม่มา เพราะยังไม่ได้เซ็น ไฟเซอร์ก็เหมือนกัน เขายังไมได้ยื่น อย. เพราะเขาเป็นบริษัทใหญ่ ไม่งั้นก็เสียหน้า อนุมัติแล้วไม่ซื้อ
และว่า วันนี้ถ้าขืนยังช้า ก็ไม่มีทาง วันนี้ ต้องรีบตัดสินใจ คุณออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ตัดสินใจอย่างฉุกเฉินบ้าง จนราชวิทยาลัย ก็ต้องสั่งซิโนฟาร์มเอง ตอนนี้ท้องถิ่นจะเอาเงินไปซื้อเพราะเป็นห่วงประชาชน ทำไมรัฐบาลซื้อมาเลยได้ไหม เอามาฉีดให้ประชาชนเลย ถ้าสั่งไม่ได้ ก็ให้ราชวิทยาลัยที่สั่งได้สั่งซิ รัฐบาลก็จ่ายเงินไป
“วันนี้ แอสตร้าเซนเนก้า ที่ให้ลิขสิทธิ์มาผลิตในไทย รัฐบาลอาจจะตั้งใจดี ไปขอมาให้สยามไบโอไซน์ แต่ผมไม่มั่นใจว่า 7 มิ.ย.จะทันหรือเปล่า ผมไม่ยืนยันนะ ว่าส่งไปตรวจที่อังกฤษ 5 รอบแล้ว ยังไม่ได้แอพพรูฟมา แต่กรมวิทยาศาสตร์ อาจจะแอพพรูฟเองก็ได้ ต้องให้นักวิทยาศาสตร์แอสตร้าเซนเนก้าเขารับรองด้วย เช็กให้ดีว่า เรียบร้อยหรือยัง ถ้าเรียบร้อยก็ขอบคุณแทนคนไทย
ตอนนี้วัคซีนอะไรเขาก็เอาแล้ว เขาไม่เลือกแล้ว เพราะโรคมันเยอะแล้ว สตางค์ก็มี อย่าไปแจกเพลิน มันแค่แก้ปัญหาความเดือดร้อนนิดหน่อย ต้องไปแก้ต้นเหตุ รีบเปิดเศรษฐกิจซะ”
เมื่อผู้ร่วมเสวนาคลับเฮาส์รายหนึ่ง ถามถึงโอกาสที่จะได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา นั้น โทนี่ระบุว่า รัฐบาลนี้ เก่งในเรื่องทำเรื่องง่ายให้ยาก จริงๆ ไม่มีอะไรเลย และไม่ชัดเจนกับอะไรทั้งสิ้น เป็นความลับไปหมด เป็นนิสัย [เผล่ะจัง] ไม่บอกว่า ทำไมนำเข้าตัวนี้ และเข้าเท่าไหร่ วันนี้เหมือนบอกโมเดอร์นา ไฟเซอร์ แต่โมเดอร์นา 2 อาทิตย์ยังตรวจสัญญาไม่เสร็จ
ซิโนฟาร์ม ก็เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ผมก็ฉีด 1.ใช้เชื้อตาย พิสูจน์มาหลายสิบปี กระตุ้นภูมิได้ 70 กว่าก็ยังดีกว่า ส่วนเรื่องเงิน ทำไมไม่ซื้อเอง ต้องให้คนตัวเล็กๆ จ่าย ให้ท้องถิ่นจ่าย ทำไมรัฐไม่จ่ายเอง กู้มาแล้วก็จ่ายดิ จะเก็บตังไว้แจกประชนชนเพื่อหาเสียงหรอ ไม่ได้เสียงหรอก
ในส่วนประเด็นเรื่องการอนุญาตให้ อปท. เป็นผู้จัดหาวัคซีนได้นั้น ทักษิณกล่าวว่า ตอนแรก วิษณุก็บอกทำได้ ตอนหลังมหาดไทยก็บอกไม่ได้ กฎหมายเขียนโดยมนุษย์ก็แก้โดยมนุษย์ วันนี้อยากช่วยมนุษย์ให้ปลอดภัยไหม ให้หายประสาทไหม อยากฉีดวัคซีนแล้ว อะไรก็จะฉีดแล้ว แต่เราจัดให้เขาไม่ได้ อปท.ทั้งหลาย งบนิดเดียว แจ๊ส (พล.ต.อ.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี) จะขอซื้อ 5 แสนโดส ก็ 500 ล้าน อปท.ไม่รู้มีเงินเก็บเท่าไหร่ ก็ใช้เยอะ รัฐต้องจัดให้ คือของประชาชนทั้งนั้น
เอกชนขอนำเข้า "วัคซีนไฟเซอร์" 20 ล้านโดส วงเงิน 6 พันล้าน เจรจาได้แล้วพร้อมจัดสรรให้รัฐ 50%
https://www.thansettakij.com/content/covid_19/482286
เอกชนเจรจาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำเข้าวัคซีน “ไฟเซอร์” 20 ล้านโดส หลังได้โควต้าตรงจากอเมริกา พร้อมจ่ายเงิน 6,000 ล้านก่อนจัดสรรให้ภาครัฐ 50% ในราคาต้นทุน หวังให้คนไทยได้ฉีดวัคซีนเร็วที่สุด ชี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังพุ่ง หวั่นลากยาวข้ามปี “ส.อ.ท.” พร้อมควักเงินฉีดกว่า 1 ล้านโดส
ปัญหา “วัคซีนโควิด-19” ที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการฉีดในประเทศ แผนการสั่งซื้อ ทั้งนำเข้าและผลิตในประเทศก็ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดสรรเดิมที่กำหนดตามดีมานต์ในแต่ละพื้นที่ ต้องปรับเปลี่ยนเป็นการฉีดตามซัพพลายที่มีแทน นอกจากจะสร้างความไม่พอใจให้กับคนไทย ยังทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ การมองหาวัคซีนตัวเลือกหรือวัคซีนทางเลือก จึงเป็นอีกช่องทางที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเร่งดำเนินการ
นำเข้าไฟเซอร์ 20 ล้านโดส
ล่าสุดพบว่า บริษัทเอกชนรายใหญ่แห่งหนึ่งของไทย ได้สั่งซื้อวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 20 ล้านโดสตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2563 และบรรลุข้อตกลงในการสั่งซื้อ เหลือเพียงการรอให้หน่วยงานภาครัฐของไทย เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อตามเงื่อนไขของผู้ผลิต เพื่อนำมาฉีดให้กับคนไทยโดยเฉพาะเยาวชนอายุระหว่าง 12-18 ปีซึ่งมีจำนวนกว่า 5.5 ล้านคน ที่ต้องฉีดวัคซีนไฟเซอร์เท่านั้น
ผู้บริหารบริษัทเอกชนรายนี้ กล่าวยอมรับว่า มีการเจรจากับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อศึกษาแนวทางว่าจะสามารถนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ได้อย่างไร หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินการสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าเมื่อ 8 เดือนก่อนจนได้รับจัดสรรโควต้า แต่ด้วยเงื่อนไขการส่งมอบวัคซีนผ่านหน่วยงานรัฐบาลเท่านั้นจึงต้องศึกษาหาช่องทางและโอกาส เพื่อให้คนไทยได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์อย่างเร็วที่สุด
“หากไทยบรรลุขั้นตอนการนำเข้าได้ ไฟเซอร์ก็พร้อมจัดสรรโควต้าที่สั่งซื้อไว้ 20 ล้านโดสให้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งบริษัทเองก็พร้อมสำรองจ่ายเงิน 6,000 ล้านบาทให้ก่อน เมื่อได้วัคซีนมาก็จัดสรรให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในสัดส่วน 50% เพื่อใช้เป็นวัคซีนตัวเลือก ในราคาต้นทุนโดยไม่หวังผลกำไร ส่วนที่เหลือก็นำไปฉีดเป็นวัคซีนทางเลือก โดยไม่ได้บวกกำไร แต่จะคิดจากต้นทุนค่าขนส่ง ค่าบริหารจัดการจริงเท่านั้น”
อย่างไรก็ดีในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา (วัคซีนทางเลือกที่อย.ไทยอนุมัติขึ้นทะเบียนแล้ว) ถือเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงต่อการป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะ
โควิดกลายพันธุ์ทั้งสายพันธุ์อังกฤษ, อินเดีย รวมถึงแอฟริกาใต้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ในภาวะวิกฤติที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดสูง เห็นได้จากคลัสเตอร์ใหม่ที่ยังเกิดขึ้นจำนวนมาก
หวั่นระบาดข้ามปี
ด้านนายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แม้วันนี้ประเทศไทยจะมีทั้งวัคซีนหลัก (ซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า) และวัคซีนตัวเลือก (ซิโนฟาร์ม) แล้วแต่เชื่อว่าวัคซีนทางเลือก (โมเดอร์นา) จะยังเป็นที่ต้องการจากดีมานต์ที่สูงต่อเนื่อง ทำให้บริษัทยังคงสั่งซื้อจำนวน 5 ล้านโดสผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เช่นเดิมซึ่งขณะนี้รอความคืบหน้าจากอภ.และคาดว่าจะนำเข้าวัคซีนได้ปลายเดือนกันยายนนี้
“หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดในคลัสเตอร์ใหม่ๆ ได้ การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับคนไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เชื่อว่าการแพร่ระบาดจะลากยาวจนอาจจะลุกลาม ไปข้ามปีหน้าก็เป็นได้”
อย่างไรก็ดีบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาในประเทศไทย จะเข้าพบรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เดินทางมาเยือนไทยในอีก 1-2 วันนี้ เพื่อเจรจาขอแบ่งวัคซีนโมเดอร์นาในสหรัฐฯ ที่มีเหลือค่อนข้างมากมาจำหน่ายให้ไทย
พร้อมสั่งซื้อล้านโดส
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ความต้องการวัคซีนทางเลือกของสมาชิก ส.อ.ท. ที่แสดงเจตจำนงเข้ามามีจำนวนประมาณ 1 ล้านโดส เพื่อนำไปฉีดให้กับพนักงาน ขณะที่การนำเข้าวัคซีนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ล็อตแรกในเดือนมิถุนายนมีจำนวน 1 ล้านโดสเท่านั้น และจัดสรรให้กับส.อ.ท. ได้ทั้งหมดตามความต้องการดังกล่าว แต่ขณะนี้มีความต้องการจากรายอื่นด้วย ดังนั้น ส.อ.ท. จึงขอซื้อในเบื้องต้นก่อน 3 แสนโดส ส่วนเรื่องของฉีดวัคซีนนั้น เมื่อได้วัคซีนเข้ามา ส.อ.ท. กับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะต้องมีการหารือ และทำงานร่วมกัน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการฉีด ทั้งเรื่องของสถานที่ และวันเวลา
“ส.อ.ท.ได้เรียกร้องเรื่องวัคซีนทางเลือกมาโดยตลอด ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเข้าไปร่วมมือกับราชวิทยาลัยฯล่วงหน้า โดย ส.อ.ท. มีความพร้อมที่จะขอซื้อวัคซีนที่เข้ามาทั้งหมด แต่ก็มองว่าอาจจะไม่เหมาะสมเท่าใดนักกับสถานการณ์เวลานี้ เพราะปัจจุบันยังมีอีกหลายภาคส่วนที่ต้องการวัคซีนทางเลือกเช่นเดียวกัน จึงขอซื้อในเบื้องต้น 3 แสนโดส เพื่อให้วัคซีนกระจายไปหลายส่วน”
7 มิ.ย. มีวัคซีนฉีดแน่
อย่างไรก็ดีหลังจากที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกาศนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มจำนวน 1 ล้านโดสในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเป็นวัคซีนตัวเลือกให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่สนใจจะจัดซื้อเพื่อไปฉีดให้กับบุคลากร ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีองค์กรเอกชน ตลอดจนสมาคมต่างๆ ให้ความสนใจจำนวนมาก จึงมีแผนนำเข้าเพิ่มเป็น 20 ล้านโดส
ส่วนกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ออกมาแสดงความจำนงที่จะซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม เพื่อฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เองนั้น สามารถจัดซื้อวัคซีนได้ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย แต่ต้องขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เป็นผู้ให้การสนับสนุน
ขณะที่แผนการฉีดวัคซีนที่จะดีเดย์ทั่วประเทศ ในวันที่ 7 มิ.ย. เป็นต้นไปและหลายฝ่ายหวั่นวิตกว่าจะมีวัคซีนฉีดให้กับประชาชนหรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงกลาโหม กล่าวยืนยันว่า ขอให้มั่นใจรัฐบาลเตรียมงบประมาณในส่วนสาธารณสุขเพียงพอต่อการจัดหาวัคซีน ไม่ใช่ไม่มีเงินซื้อ แต่ปัญหาอยู่ที่เขาจะขายวัคซีนให้เท่าไร และจะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าฉีดในวันที่ 7 มิถุนายนนี้อย่างแน่นอน รวมถึงวัคซีนซิโนฟาร์มที่จะเข้ามาในเดือนมิถุนายนด้วย