JJNY : ตายเพิ่ม 38 ติดเชื้อ 3,440 │ธุรกิจไมซ์ทรุดยาว│กระบี่โอดท่องเที่ยวสูญเดือนละ1หมื่นล.│ขรก.มาเลย์ร่วมหักเบี้ยเลี้ยง

เศร้า โควิดวันนี้ ตายเพิ่มอีก 38 ชีวิต พบผู้ป่วยติดเชื้อใหม่ 3,440 ราย
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6430986
 
 
ศบค. รายงาน โควิดวันนี้ ผู้ป่วยใหม่ 3,440 ราย ยอดป่วยสะสมระลอกใหม่พุ่งกว่า 130,000 ราย ข่าวเศร้า พบติดเชื้อเสียชีวิตเพิ่ม 38 ราย
   
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 2 มิ.ย.2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน เบื้องต้น มีผู้ป่วยรายใหม่ 3,440 ราย จำแนกเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,353 ราย, ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,087 ราย
 
หายป่วยกลับบ้าน 2,843 ราย หายป่วยสะสม 87,152 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมระลอกเดือนเม.ย. จำนวน 136,599 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 38 ราย ทั้งนี้ ศบค.จะแถลงรายละเอียดให้ทราบอีกครั้งในเวลาประมาณ 12.30 น.
 
ศบค. รายงาน โควิดวันนี้ ผู้ป่วยใหม่ 3,440 ราย ยอดป่วยสะสมระลอกใหม่พุ่งกว่า 130,000 ราย
 

 
โควิดทุบ ‘ธุรกิจไมซ์’ ทรุดยาว คาดฟื้นอีกทีปี 65 หลังระบาดรอบ 3 ทำงานประชุม-แสดงสินค้าจอดสนิท
https://www.matichon.co.th/economy/news_2754123

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยว่า หลังจากเกิดการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 ขึ้นในประเทศไทย ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดประชุมองค์กร การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัด ประชุมนานาชาติ และการจัดแสดงสินค้า (ธุรกิจไมซ์) ต้องหยุดชะงักไป โดยเบื้องต้นประเมินว่า ภาพรวมตลาดไมซ์ต่างประเทศยังคงมีความท้าทายสูงมาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาด และความพร้อมในการเปิดประเทศรับต่างชาติของไทย ซึ่งในปีนี้ทั้งปี คาดว่าต่างชาติจะยังเดินทางได้ไม่เต็มที่มากนัก แนวโน้มจะทยอยกลับมาในปี 2565 ท่ี 25% ปี 2566 ท่ี 50% ปี 2567 ท่ี 70% และต้องรอจนถึงปี 2568 ตลาดไมซ์ต่างชาติจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 80% หรือเทียบเท่าปี 2562 ก่อนเกิดโควิดระบาดได้ ส่วนการเดินทางของตลาดไมซ์ในประเทศ เป้าหมายหลักในการกระตุ้นตลาดในช่วงแรก และพัฒนาต่อยอดให้มีความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาตลาดต่างประเทศเพียงอย่างเดียว โดยเน้นการประชุมสัมมนาภาครัฐและเอกชน เป็นกลไกขับเคลื่อนพร้อมกับการจ้างงานและกระจายงานสู่ภูมิ ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูผู้ประกอบการให้ดลับมาเข้มแข็งมากขึ้นได้ โดยตลาดในประเทศจะเริ่มผลักดันแคมเปญกระตุ้นตลาดเพิ่มเติม อาทิ ประชุมเมืองไทยปลอดภัยกว่า จึงคาดว่าในปี 2564 ตลาดไมซ์ในประเทศจะกลับมาท่ี 35% ปี 2565 ท่ี 60% ปี 2566 ท่ี 80% ปี 2567 กลับเข้าสู่ภาวะปกติท่ี 100% และปี 2568 เชื่อว่าธุรกิจจะเติบโตขึ้นเป็น 110%
 
นายจิรุตถ์ กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจไมซ์ตลาดต่างประเทศ ในครึ่งแรกปี 2564 ลดลง 90% สอดคล้องกับปี 2563 ที่ลดลง 90% เช่นกัน เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้าไทยได้ ส่วนธุรกิจไมซ์ตลาดในประเทศ ครึ่งแรกปี 2564 ลดลง 60% เพราะหลังจากคุมการระบาด 2 รอบที่ผ่านมาได้ มีการเดินทางฟื้นตัวกลับมา มีโครงการกระตุ้นออกมา คือ ประชุมเมืองไทยปลอดภัยกว่า ที่รัฐสนับสนุนให้จัดงานประชุมสัมมนา ผ่านการสมทบเงินจัดงานที่ 15,000-30,000 บาท ทำให้ยังเกิดการจัดงานและเดินทางท่องเที่ยวในประเทศได้ จึงเห็นตัวเลขรายได้ที่ยังวิ่งอยู่ โดยจากข้อมูลในวันที่ 24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ขอรับการสนับสนุน 148 โครงการ ที่มีแผนจัดงานประชุมสัมมนา แบ่งเป็นจัดงาน 1 วัน จำนวน 95 โครงการ และจัดงาน 2 วัน 
จำนวน 53 โครงการ แยกเป็นรายภูมิ ได้แก่ ภาคใต้ 80 โครงการ ภาคกลาง 53 โครงการ ภาคเหนือ 7 โครงการ และภาคอีสาน 8 โครงการ ซึ่งเป็นตัวเลขโครงการของผู้ที่แสดงความต้องการจัดงานผ่านเว็บไซต์ไทย ไมซ์ คอนเน็ค ซึ่งเป็นตัวแทนในเชื่อมโลกการค้าระหว่างผู้ประกอบการ และผู้ต้องการจัดงานประชุมและงานอีเวนท์ในประเทศไทย
 
“การเปิดภูเก็ตโมเดลรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการกระตุ้นและดึงต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยเพิ่ม เนื่องจากสามารถทำตลาดดึงนักเดินทางไมซ์ต่างประเทศเข้ามาเพิ่มได้ ซึ่งคาดว่ากลุ่มที่กลับมาได้ก่อน จะเป็นกลุ่มลูกค้าบริษัท นิติบุคคล ที่เดินทางกันมาเป็นหมู่คณะ (คอร์ปอเรท) โดยแนวโน้มของธุรกิจไมซ์ในระยะถัดไป จะเน้นการจัดงานแบบระบบไฮบริด ที่สามารถรองรับผู้มาร่วมประชุมในห้องจริง และเปิดลงทะเบียนให้ผู้สนใจร่วมประชุมทางออนไลน์ รวมถึงการจำลองภาพจัดงานอีเว้นท์แบบเสมือนจริง ซึ่งจะกลายเป็นรูปแบบการจัดงานที่ปกติมากขึ้น และเน้นความปลอดภัยด้านสาธารณสุขมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้เป็นผลมาจากการระบาดโควิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทดแทนการจัดงานจริงๆ ได้ เพราะคนส่วนใหญ่ยังต้องการสัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง เจอหน้าพันธมิตรธุรกิจ หรือจับต้องสินค้าจริง” นายจิรุตถ์ กล่าว
 

 
กระบี่ โอดท่องเที่ยวสูญเดือนละ 1 หมื่นล้าน ชี้ได้วัคซีนช้ายิ่งเสียมหาศาล จี้เร่งจัดสรร
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6430702

กระบี่ โอดท่องเที่ยวสูญเดือนละ 1 หมื่นล้าน ชี้ได้วัคซีนช้ายิ่งเสียมหาศาล จี้เร่งจัดสรร เตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยว เผยลงทะเบียนรอฉีดแล้วกว่า 3 แสนคน
   
เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 พ.ต.ท.ม.ล.กิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ได้พูดคุยกับรายการ ผู้บริหารเคาะข่าว ทางเพจ พ.ต.ท.ม.ล.กิติบดี ประวิตร official โดยระบุตอนหนึ่งว่า กระบี่มีสถิติในช่วงของการท่องเที่ยวในแต่ละปีมีรายได้เข้าสู่จังหวัดมหาศาล ตกปีละ 1.19 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งตกเดือนละ 10,000 ล้านบาทต่อเดือน ยิ่งเราได้รับวัคซีนช้าเราก็สูญเสียรายได้มหาศาล โดยเฉพาะกระบี่เป็นเมืองท่องเที่ยว
 
“ถ้าเราเปิดเมืองได้ช้าก็สูญเสียโอกาสในการรับนักท่องเที่ยว ปัจจุบันทางจังหวัดมีการเตรียมความพร้อม โดยพี่น้องชาว จ.กระบี่ มีการขึ้นทะเบียนจองวัคซีนจำนวน 3 แสนกว่าคน ซึ่งเป็นยอดจำนวนตามเป้าหมายร้อยละ 90% ซึ่งมีความพร้อมสูง ทางจังหวัดรอวัคซีนจะรัฐบาลซึ่งจะมีการเริ่มฉีดวัคซีนในเดือน มิ.ย. ตามคาดหมายไว้ ยิ่งได้รับเร็วเท่าไหร่เราก็สามารถบริหารการจัดการได้เร็วเท่านั้น”
 
พ.ต.ท.ม.ล.กิติบดี กล่าวอีกว่า กระบี่มีผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 314,000 กว่าคน ซึ่งมีความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนวันละ 14,000 คน ต่อวันทั้งจังหวัด โดยมีการเตรียมซักซ้อมในแต่ละอำเภอก่อนได้รับวัคซีน สุดท้ายต้องขอขอบคุณพี่น้องชาวกระบี่ ในอำเภอกำนันผู้ใหญ่บ้านเอาสบ่อและบุคลากรทางการแพทย์การที่เสียสละ รวมไปถึงองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น ให้ความร่วมมือขอบริจาคสิ่งของจะภาคเอกชนในด้านการป้องกันโรคระบาด โควิด-19 ในพื้นที่ จ.กระบี่
 
ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้เสนอหรือเรียกร้องเรื่องการจัดสรรวัคซีนที่ไม่เพียงพอ เพราะวัคซีนคือคำตอบและภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่การท่องเที่ยวได้ และส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน หลังการประชุมจึงได้มีการแถลงข่าวเป็นการรวมพลังของภาคเอกชน เพื่อเรียกร้องและวิงวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการจัดสรรวัคซีนเพื่อให้เปิดรับนักท่องเที่ยวได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนดในการเปิดพื้นที่เพื่อรองรับฤดูการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวควบคู่ความปลอดภัยสูงสุดเป็นสำคัญ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่