เมื่อได้วางแผน​ หารายได้เสริมจากหุ้นเมื่อเกษียณ​ ทำไม่เมื่อขาดทุนหนักไม่เลิกเล่น

ผมเล่นๆ​ กับหุ้นประมาณ 6​ ปี​ ในขณะที่ทำงานประจำอยู่ในทุนไม่เกินแสน​ เคยขาดทุนระดับ​50​ %  ญาติภรรยาและลูกบอกเลิกเถอะ​ แต่ผมไม่เลิ​ก​ แช่แข็งไว้แค่นั้นก่อน​ เมื่อพ้นวิกฤตก็เริ่มเล่นเรียนรู้ต่อ​ เมื่อเฉลี่ยรวม​ 6​ ปี​ ขาดทุนเล็กน้อย​ เวลากับดอกเบี้ย

   แล้วเริ่มจะลงทุนจริงๆ​ ในหุ้น​ 3​ ปี​หลัง เมื่อเริ่มเกษียณ​ ค่อยๆ​ เพิ่มทุน​ 3-5 แสนบาท​ ยังทำปันผลได้ประมาณ​ 5% ต่อปี

     แต่ช่วงขึ้นปีที่​ 2​ วิกฤตโควิดรอบแรก​ หุ้นตก​ Set.1000 จุด ขาดทุนไป​ 4-5​ หมื่นบาท​ ยอมตัดขาดขาดทุน​ที่​ 15​ % เอาเงินไปเก็บพักในธนาคาร​ ดอกเบี้ยพิเศษ​ และกองทุนตราสารหนี้

     แต่ได้ปันผลหุ้นเกิน 10​ ​% ต่อปี​ ด้วยเล่นปันผลฟรี​ เมื่อ.Set​ เริ่มค่อยๆ​ ขึ้น​ ​ด้วยลงทุนค่อยเพิ่มเป็น​ 1​ แสนบาท​ แบบขอเอาปันผลคืน​ ซื้อหุ้นก่อน​ xd.หลัง​ xd.ขาย​ ส่วนมากได้ปันผลฟรี​ ช่วงนั้นคิดได้เพียงแค่นั้นในระยะสั้นๆ​ ไม่กล้าเอาเงิน​ 3-5 แสนไปลงอีก​ เพราะไม่มั่นใจ​ กลัวเงินที่มีไม่ถึงล้าน​ จะหมดสิ้นเพราะเกษียณแล้ว​ 60​ กว่าปีแล้ว

      พอเริ่มมั่นใจค่อยๆ​ เก็บหุ้นพื้นฐานดีปันผลดี​ ด้วยทุนน้อย​เพิ่มเป็น​ 2.5 แสน​ ซื้อขายได้ทุนเพิ่ม​ประมาณ​ 1​ หมื่น​ และมีกำไรในพอร์ต​ 2​ พอร์ต​ เฉลี่ยเป็นระดับ​ 13% ประมาน​ 3.8 หมื่น​ รวมๆ​ 3​ แสน​ ในพอร์ต​ ถ้ารวมปันผลปีปัจจุบันตอนนี้​ ที่ผมขาดทุนไปตอนวิกฤตโควิด​ ก็คือคืนทุนหมดแล้วนั้นเอง

    หมายเหตุ แล้วผมได้กำไรตรงใหนนี้​เล่นกับเงินทุน​ 4-5 แสนสำหรับคนแก่เกษียณแล้วที่มีโอกาศขาดทุนได้ระดับแสน ผมก็ถามตัวเองเหมือนกัน​ แต่ก็ได้คำตอบได้กำไรตรงนี้

   1.ผมมีกิจกรรมทำไม่ต้องไปปลูกต้นไม้เพาะเห็ด​ในที่ดินซื้อไว้​ เพราะลูกชายจะไม่รับช่วงต่อเพียงแค่เริ่มไปขุดดินและเพาะเห็ด​ คอก็เป็นหนองแพ้ต้องเข้า โรงพยาลแล้ว​ จึงปล่อยที่ดินไว้อย่างนั้น​ ก็ดีผมแก่ขึ้นทำต่อไปคงไม่ใหว้ ถ้าจ้างเขาทำทุนก็จะจมไปมากกว่านี้
 
   2.ผมก็ได้กำไรปันผล​ 2​ ปีแรกรวมกันก็ประมาณ​ 3​ หมื่นบาทแล้ว​ ยังไม่ร่วมจากกองทุนตราสารหนี้​ ที่กำไรถึง​ 4​ % ขาย​ แล้วหมุนเวียนหากองใหม่​ไปเรื่อย​ ที่มากกว่าฝาก​ธนาคารดอกเบี้ยแบบพิเศษ​ก็ไม่ได้อย่างนี้​ แต่ต้องมีติดไว้บ้างเผื่อฉุกเฉิน.
 
    สรุป​ การลงทุนในหุ้นกินปัน​ผล​ ก็ยังเป็นรายได้เสริมดีอยู่สำหรับผม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่