ร้องDSIฟันจริยธรรมร้ายแรง'2ส.ส.ก้าวไกล' ปั่นเฟกนิวส์วัคซีน
31 พ.ค. 64 - เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อศูนย์สืบสวนและต่อต้านข่าวสารอันเป็นเท็จในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เนื่องจากพบว่ามี ส.ส. ของพรรคก้าวไกลจำนวน 2 คน มีพฤติการณ์ทวีตข้อความลงในสื่อโซเชียลอันมีลักษณะเป็นเท็จ อาจเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง
สำหรับ 2 ส.ส.พรรคก้าวไกลดังกล่าว ประกอบด้วย นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ซึ่งได้ทวิตเตอร์ส่วนตัว ที่ระบุว่า ส.ส.พลังประชารัฐ และส.ส.รัฐบาล ได้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา โดยเจ้าหน้าที่จะถามก่อนว่าเป็นส.ส.พรรคไหน ถ้าเป็นพรรคฝ่ายค้านเจอซิโนแวก ต่อมามี ส.ส.รัฐบาลหลายคนออกมาปฏิเสธข้อมูลดังกล่าว และเรียกร้องให้ ส.ส.รายดังกล่าว แสดงความรับผิดชอบกับการให้ข้อมูลเท็จ และขอให้หยุดสร้างความสับสนกับสังคม
รายที่ 2 คือนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เลขาธิการพรรคก้าวไกล และ ส.ส.พรรคก้าวไกล ซึ่งได้ทวิตเตอร์ปั่นข่าวการเสนอขายวัคซีนซิโนฟาร์มของบริษัท แอคแคปฯ ที่อ้างว่าพยายามติดต่อนายกฯ กว่า 1 เดือนแล้วแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ พร้อมจี้นายกฯ ปฏิเสธความรับผิดชอบดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่ถูกจับโป๊ะไปแล้วนั้น
ทั้งนี้ บุคคลทั้งสองมีสถานะเป็นถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นบุคคลสาธารณะ แต่กลับไม่ใช้วิจารณญาณอันเหมาะสมกับสถานะของตน แต่กลับใช้สื่อในสังคมออนไลน์ปั่นกระแสสร้างความสับสนขัดแย้งในสังคม โดยมีเจตนาที่จะนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความเข้าใจที่ถูกต้องและความน่าเชื่อถือของประชาชน อันอาจกระทบต่อความมั่นคงของชาติในภาวะวิกฤต ซึ่งอาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 อย่างชัดแจ้ง และอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้าย หลายข้อ อาทิ ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 11 ข้อ 15 และข้อ 17 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญบัญญัติขึ้น ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 219
ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงต้องนำความมาร้องเรียนต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) ซึ่งได้ตั้งศูนย์สืบสวนและต่อต้านข่าวสารอันเป็นเท็จในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อสนับสนุนภารกิจในการสืบสวนสอบสวนตามพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 ในการพิจารณาดำเนินคดีพิเศษหรือคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ได้ และรวบรวมพยานหลักฐานส่งคำร้องต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงต่อไปได้
https://www.thaipost.net/main/detail/104768
เห็นๆกันว่า...ส.ส.พูดโกหก ความผิดยิ่งกว่าเด็กเลี้ยงแกะเพราะเป็นถึงส.ส.ผู้แทนปวงชนต้องมีวิจารณญาณในการคิดและพูดอย่างมีข้อเท็จจริง
การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมการพูดโกหก จะทำให้จริยธรรมในสภาตกต่ำ ขาดความน่าเชื่อถือ เป็นตัวอย่างที่สังคมรับไม่ได้ ต้องให้คนพูดรับผิดชอบ
ขอบคุณที่ไม่นิ่งเฉยและเอาจริงจังไม่ปล่อยคนทำผิดลอยนวลค่ะ
🌻มาลาริน/ถึงเวลาต้องเอาผิดนักการเมืองเฟคนิวส์เสียทีค่ะ....ร้องDSIฟันจริยธรรมร้ายแรง'2ส.ส.ก้าวไกล' ปั่นเฟกนิวส์วัคซีน
31 พ.ค. 64 - เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อศูนย์สืบสวนและต่อต้านข่าวสารอันเป็นเท็จในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เนื่องจากพบว่ามี ส.ส. ของพรรคก้าวไกลจำนวน 2 คน มีพฤติการณ์ทวีตข้อความลงในสื่อโซเชียลอันมีลักษณะเป็นเท็จ อาจเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง
สำหรับ 2 ส.ส.พรรคก้าวไกลดังกล่าว ประกอบด้วย นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ซึ่งได้ทวิตเตอร์ส่วนตัว ที่ระบุว่า ส.ส.พลังประชารัฐ และส.ส.รัฐบาล ได้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา โดยเจ้าหน้าที่จะถามก่อนว่าเป็นส.ส.พรรคไหน ถ้าเป็นพรรคฝ่ายค้านเจอซิโนแวก ต่อมามี ส.ส.รัฐบาลหลายคนออกมาปฏิเสธข้อมูลดังกล่าว และเรียกร้องให้ ส.ส.รายดังกล่าว แสดงความรับผิดชอบกับการให้ข้อมูลเท็จ และขอให้หยุดสร้างความสับสนกับสังคม
รายที่ 2 คือนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เลขาธิการพรรคก้าวไกล และ ส.ส.พรรคก้าวไกล ซึ่งได้ทวิตเตอร์ปั่นข่าวการเสนอขายวัคซีนซิโนฟาร์มของบริษัท แอคแคปฯ ที่อ้างว่าพยายามติดต่อนายกฯ กว่า 1 เดือนแล้วแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ พร้อมจี้นายกฯ ปฏิเสธความรับผิดชอบดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่ถูกจับโป๊ะไปแล้วนั้น
ทั้งนี้ บุคคลทั้งสองมีสถานะเป็นถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นบุคคลสาธารณะ แต่กลับไม่ใช้วิจารณญาณอันเหมาะสมกับสถานะของตน แต่กลับใช้สื่อในสังคมออนไลน์ปั่นกระแสสร้างความสับสนขัดแย้งในสังคม โดยมีเจตนาที่จะนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความเข้าใจที่ถูกต้องและความน่าเชื่อถือของประชาชน อันอาจกระทบต่อความมั่นคงของชาติในภาวะวิกฤต ซึ่งอาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 อย่างชัดแจ้ง และอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้าย หลายข้อ อาทิ ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 11 ข้อ 15 และข้อ 17 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญบัญญัติขึ้น ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 219
ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงต้องนำความมาร้องเรียนต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) ซึ่งได้ตั้งศูนย์สืบสวนและต่อต้านข่าวสารอันเป็นเท็จในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อสนับสนุนภารกิจในการสืบสวนสอบสวนตามพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 ในการพิจารณาดำเนินคดีพิเศษหรือคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ได้ และรวบรวมพยานหลักฐานส่งคำร้องต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงต่อไปได้
https://www.thaipost.net/main/detail/104768
เห็นๆกันว่า...ส.ส.พูดโกหก ความผิดยิ่งกว่าเด็กเลี้ยงแกะเพราะเป็นถึงส.ส.ผู้แทนปวงชนต้องมีวิจารณญาณในการคิดและพูดอย่างมีข้อเท็จจริง
การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมการพูดโกหก จะทำให้จริยธรรมในสภาตกต่ำ ขาดความน่าเชื่อถือ เป็นตัวอย่างที่สังคมรับไม่ได้ ต้องให้คนพูดรับผิดชอบ
ขอบคุณที่ไม่นิ่งเฉยและเอาจริงจังไม่ปล่อยคนทำผิดลอยนวลค่ะ