เมื่อแม่ทัพตาย เพราะข้าวปุ้น (ขนมจีน)
.
วันนี้ขอเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ล้านช้างที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องแปลกประหลาดเรื่องหนึ่ง นั้นคือ "ข้าวปุ้นช่วยปราบกบฏ" ซึ่งเป็นเรื่องราวเมื่อครั้งอาณาจักรล้านช้างเพิ่งแยกออกเป็น ๓ แคว้น คือ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์
.
ในแคว้นหลวงพระบางนั้น เมื่อพระเจ้ากิ่งกิสราชปฐมกษัตริย์หลวงพระบางสิ้นพระชนม์ลง เจ้าองค์นก ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้ากิ่งกิสราชได้สืบราชสมบัติหลวงพระบางแทน แต่อยู่มาไม่นานเจ้าองค์นกถูกเจ้าอินทโฉม อนุชาพระเจ้ากิ่งกิสราชก่อรัฐประหาร เจ้าองค์นกพร้อมครอบครัวต้องหนีตายไปยังดินแดนล้านนา (ภายหลังเจ้าองค์นก จับพลัดจับผลูได้เป็นกษัตริย์ล้านนา) หากแต่มีพระโอรสของเจ้าองค์นก ๓ พระองค์ ที่เลือกจะไม่หนีตามพระบิดา คือ เจ้าไชยน้อย เจ้าสาน และเจ้าอโนชา โดยทั้ง ๓ องค์ ยังประทับที่หลวงพระบางต่อไปได้อย่างน่าประหลาดใจ โดยที่พระเจ้าอินทโฉมกษัตริย์พระองค์ใหม่ไม่ได้กระทำอันตรายบรรดาโอรสเจ้าองค์นกแต่อย่างใด
.
และคงเพราะเหตุผล ที่จะหลีกเลี่ยงจากการจับตามองของราชสำนัก หรืออย่างใดไม่แน่ชัด โอรสเจ้าองค์นก ๒ องค์ ได้เลือกจะออกบวชเป็นพระภิกษุ คือ เจ้าสานและเจ้าอโนชา โดยเจ้าอโนชาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงทอง ส่วนเจ้าสานจำพรรษาอยู่วัดใหม่สุวรรณภูมารามซึ่งอยู่ติดกับพระราชวังหลวง
.
บรรดาเจ้าชายพระโอรสเจ้าองค์นก เห็นจะรอโอกาสในการชิงราชสมบัติอันเป็นของพระบิดาแต่เดิม มาจากพระเจ้าอินทโฉมโดยตลอด ได้แอบหาสมัครพรรคพวก จนสามารถติดต่อกับขุนนางเก่าของพระบิดา เช่น พระยาเชียงใต้ ท้าวอินนำงา ทิดสุวรรณ เป็นต้น และได้ทำการซ่องสุมผู้คนได้เป็นจำนวนมาก จนเมื่อกำลังพร้อมแล้ว เหล่าผู้ก่อการ ได้นัดแนะวันเวลาในการลงมือก่อการกบฏ มีการคำนวณฤกษ์ผานาที โดยเลือกวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้าอินทโฉมจะเสด็จออกมาทำบุญ เหล่าผู้ก่อการได้วางกำลังไว้ ๒ กอง คือ ที่วัดเชียงทองนำโดยนำโดยเจ้าอโนชามีกำลัง ๓๐๐ คน และที่วัดใหม่สุวรรณภูมาติดกับพระราชวังหลวง ปลายจมูกพระเจ้าอินทโฉม ก็วางกำลังไว้ ๕๐๐ คน นำโดยเจ้าสาน และพระยาเชียงใต้เป็นแม่ทัพ
.
แต่...แล้ว จะด้วยความซวยของเหล่ากบฏ หรือความบ้าบอของผู้นำกบฏ หรือจะเป็นเพราะบุญญาธิการของพระเจ้าอินทโฉม อย่างไรไม่ทราบได้ ก่อนถึงวันก่อการเพียง ๑ วัน ก็เกิดเรื่องขึ้น เพียงเพราะพระยาเชียงใต้อยากกินข้าวปุ้น!!!!
.
ในพงศาวดารล้านช้างเล่าว่า ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ พระยาเชียงใต้ ซึ่งซ่องสุมกำลังอยู่วัดใหม่ฯ เกิดอยากกินข้าวปุ้นหรือขนมจีนเป็นกำลัง จึงให้บ่าวชายนายหนึ่ง ออกไปหาข้าวปุ้นมาให้พระยาท่านกิน แต่จะเพราะเป็นช่วงงานบุญ หรือพ่อค้าแม่ขายหยุดขายของอย่างไรไม่ทราบได้ บ่าวนายนั้นหาข้าวปุ้นเท่าไหร่ก็หาไม่ได้สักที เจ้าคนนั้นจึงกลับมายังฐานกบฏแบบมือเปล่า ไม่มีข้าวปุ้นติดตัวมาด้วย
.
เมื่อพระยาเชียงใต้ซึ่งกำลังหิวข้าวปุ้นเป็นกำลัง เห็นบ่าวกลับมามือเปล่าเช่นนั้น ก็พิโรธกริ้วเป็นกำลัง ทั้งโกรธทั้งหิวชนิดฆ่าคนได้ พระยาท่านเลยคว้าไม้ค้ำต้นโพธิ์ในวัดวิ่งไล่ตีบ่าวนายนั้นแบบดาลเดือด ฝ่ายบ่าวชายเห็นนายถือไม้ไล่หวดตีตนเองเช่นนั้น ก็ตกใจวิ่งหนีออกจากวัด แต่ด้วยความกลัวและความซวยมาผสมกัน แทนที่วิ่งหนีไปทางอื่น แต่กลับวิ่งไปทางพระราชวังหลวง ฝ่ายามรักษาการณ์เข้าไปถึงเขตพระราชฐาน จนถูกตำรวจวังสกัดจับมาซักถาม ทีนี้...ความเลยแตก
"...อยู่มาฮวดมื้อ ๑๔ พระยาเชียงใต้อยากกินข้าวปุ้นตลาดแลง ให้ข้าชายไปซื้อ บ่ได้ตลาดวายเสีย พระยาคำใต้จับไม้ค้ำโพไล่ตีข้อยชายผู้นั้น มันแล่นเข้าไปในวัง เจ้าขุนเฆี่ยนถามหลายประการ ข้าชายบอกกล่าวรหัสแตกเสียก่อน..." (พงศาวดารล้านช้างฯ)
.
ฝ่ายพระยาเชียงใต้ เมื่อเห็นบ่าวถูกตำรวจวังจับ ก็ทราบเป็นแน่แท้ว่าแผนก่อกบฏคงแตกเสียแล้ว แต่ไหนๆ การก็มาถึงเพียงนี้แล้ว จึงต้องไหลไปตามสถานการณ์ และเพื่อไม่ให้ทางวังหลวงตั้งตัวทัน จึงนำคนที่ซุ่มอยู่ชิงบุกเข้าพระราชวังหลวงทันที แต่จะเพราะฝ่าฤกษ์ยามหรืออย่างใดไม่ทราบ รบกันอยู่ดี ๆ ฝ่ายกบฏกลับเป็นฝ่ายแตกหนีออกจากพระราชวัง พระยาเชียงใต้ตายในที่รบ ส่วนเจ้าอโนชาและเจ้าสาน ก็หลบหนีไป การปราบกบฏก็เลยจบลงอย่างรวดเร็ว
ทั้งหมดทั้งมวล ก็เริ่มจากพระยาเชียงใต้อยากกินข้าวปุ้น เพียงแค่นั้นเอง...
จึงเป็นข้อคิดว่า "ทำการใหญ่ อย่าห่วงกินข้าวปุ้น"
.
ปล.น่าสังเกตว่าข้าวปุ้นมีรับประทานในหลวงพระบาง อย่างน้อยก็รัชกาลพระเจ้าอินทโฉม (ตรงกับรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ของอยุธยา) ซึ่งจะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนข้าวปุ้นหรือขนมจีนในปัจจุบันหรือไม่ ต้องฝากผู้อ่านค้นคว้าต่อไป
.
-------------------------------------------
อ้างอิง : พงศาวดารล้านช้าง ตามถ้อยคำในฉบับเดิม คัดจากฉบับพิมพ์ครั้งแรกในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗
ภาพ : พื้นที่บริเวณเดิ่นวัดใหม่ (ลานวัดใหม่สุวันนะพูมาราม) สถานที่เกิดเหตุ อีกฟากถนนข้างหนึ่งคือเขตพระราชวังหลวงพระบาง ภาพโดย Jean-Yves Claeys (1896 - 1979) ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1938-1947 คลังจดหมายเหตุพิพิธภัณฑ์ เก บรองลีย์ - ฌาคส์ ชีราค (Musée du Quai Branly – Jacques Chirac)
เล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ล้านช้าง : เมื่อแม่ทัพตาย เพราะขนมจีน
.
วันนี้ขอเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ล้านช้างที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องแปลกประหลาดเรื่องหนึ่ง นั้นคือ "ข้าวปุ้นช่วยปราบกบฏ" ซึ่งเป็นเรื่องราวเมื่อครั้งอาณาจักรล้านช้างเพิ่งแยกออกเป็น ๓ แคว้น คือ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์
.
ในแคว้นหลวงพระบางนั้น เมื่อพระเจ้ากิ่งกิสราชปฐมกษัตริย์หลวงพระบางสิ้นพระชนม์ลง เจ้าองค์นก ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้ากิ่งกิสราชได้สืบราชสมบัติหลวงพระบางแทน แต่อยู่มาไม่นานเจ้าองค์นกถูกเจ้าอินทโฉม อนุชาพระเจ้ากิ่งกิสราชก่อรัฐประหาร เจ้าองค์นกพร้อมครอบครัวต้องหนีตายไปยังดินแดนล้านนา (ภายหลังเจ้าองค์นก จับพลัดจับผลูได้เป็นกษัตริย์ล้านนา) หากแต่มีพระโอรสของเจ้าองค์นก ๓ พระองค์ ที่เลือกจะไม่หนีตามพระบิดา คือ เจ้าไชยน้อย เจ้าสาน และเจ้าอโนชา โดยทั้ง ๓ องค์ ยังประทับที่หลวงพระบางต่อไปได้อย่างน่าประหลาดใจ โดยที่พระเจ้าอินทโฉมกษัตริย์พระองค์ใหม่ไม่ได้กระทำอันตรายบรรดาโอรสเจ้าองค์นกแต่อย่างใด
.
และคงเพราะเหตุผล ที่จะหลีกเลี่ยงจากการจับตามองของราชสำนัก หรืออย่างใดไม่แน่ชัด โอรสเจ้าองค์นก ๒ องค์ ได้เลือกจะออกบวชเป็นพระภิกษุ คือ เจ้าสานและเจ้าอโนชา โดยเจ้าอโนชาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงทอง ส่วนเจ้าสานจำพรรษาอยู่วัดใหม่สุวรรณภูมารามซึ่งอยู่ติดกับพระราชวังหลวง
.
บรรดาเจ้าชายพระโอรสเจ้าองค์นก เห็นจะรอโอกาสในการชิงราชสมบัติอันเป็นของพระบิดาแต่เดิม มาจากพระเจ้าอินทโฉมโดยตลอด ได้แอบหาสมัครพรรคพวก จนสามารถติดต่อกับขุนนางเก่าของพระบิดา เช่น พระยาเชียงใต้ ท้าวอินนำงา ทิดสุวรรณ เป็นต้น และได้ทำการซ่องสุมผู้คนได้เป็นจำนวนมาก จนเมื่อกำลังพร้อมแล้ว เหล่าผู้ก่อการ ได้นัดแนะวันเวลาในการลงมือก่อการกบฏ มีการคำนวณฤกษ์ผานาที โดยเลือกวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้าอินทโฉมจะเสด็จออกมาทำบุญ เหล่าผู้ก่อการได้วางกำลังไว้ ๒ กอง คือ ที่วัดเชียงทองนำโดยนำโดยเจ้าอโนชามีกำลัง ๓๐๐ คน และที่วัดใหม่สุวรรณภูมาติดกับพระราชวังหลวง ปลายจมูกพระเจ้าอินทโฉม ก็วางกำลังไว้ ๕๐๐ คน นำโดยเจ้าสาน และพระยาเชียงใต้เป็นแม่ทัพ
.
แต่...แล้ว จะด้วยความซวยของเหล่ากบฏ หรือความบ้าบอของผู้นำกบฏ หรือจะเป็นเพราะบุญญาธิการของพระเจ้าอินทโฉม อย่างไรไม่ทราบได้ ก่อนถึงวันก่อการเพียง ๑ วัน ก็เกิดเรื่องขึ้น เพียงเพราะพระยาเชียงใต้อยากกินข้าวปุ้น!!!!
.
ในพงศาวดารล้านช้างเล่าว่า ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ พระยาเชียงใต้ ซึ่งซ่องสุมกำลังอยู่วัดใหม่ฯ เกิดอยากกินข้าวปุ้นหรือขนมจีนเป็นกำลัง จึงให้บ่าวชายนายหนึ่ง ออกไปหาข้าวปุ้นมาให้พระยาท่านกิน แต่จะเพราะเป็นช่วงงานบุญ หรือพ่อค้าแม่ขายหยุดขายของอย่างไรไม่ทราบได้ บ่าวนายนั้นหาข้าวปุ้นเท่าไหร่ก็หาไม่ได้สักที เจ้าคนนั้นจึงกลับมายังฐานกบฏแบบมือเปล่า ไม่มีข้าวปุ้นติดตัวมาด้วย
.
เมื่อพระยาเชียงใต้ซึ่งกำลังหิวข้าวปุ้นเป็นกำลัง เห็นบ่าวกลับมามือเปล่าเช่นนั้น ก็พิโรธกริ้วเป็นกำลัง ทั้งโกรธทั้งหิวชนิดฆ่าคนได้ พระยาท่านเลยคว้าไม้ค้ำต้นโพธิ์ในวัดวิ่งไล่ตีบ่าวนายนั้นแบบดาลเดือด ฝ่ายบ่าวชายเห็นนายถือไม้ไล่หวดตีตนเองเช่นนั้น ก็ตกใจวิ่งหนีออกจากวัด แต่ด้วยความกลัวและความซวยมาผสมกัน แทนที่วิ่งหนีไปทางอื่น แต่กลับวิ่งไปทางพระราชวังหลวง ฝ่ายามรักษาการณ์เข้าไปถึงเขตพระราชฐาน จนถูกตำรวจวังสกัดจับมาซักถาม ทีนี้...ความเลยแตก
"...อยู่มาฮวดมื้อ ๑๔ พระยาเชียงใต้อยากกินข้าวปุ้นตลาดแลง ให้ข้าชายไปซื้อ บ่ได้ตลาดวายเสีย พระยาคำใต้จับไม้ค้ำโพไล่ตีข้อยชายผู้นั้น มันแล่นเข้าไปในวัง เจ้าขุนเฆี่ยนถามหลายประการ ข้าชายบอกกล่าวรหัสแตกเสียก่อน..." (พงศาวดารล้านช้างฯ)
.
ฝ่ายพระยาเชียงใต้ เมื่อเห็นบ่าวถูกตำรวจวังจับ ก็ทราบเป็นแน่แท้ว่าแผนก่อกบฏคงแตกเสียแล้ว แต่ไหนๆ การก็มาถึงเพียงนี้แล้ว จึงต้องไหลไปตามสถานการณ์ และเพื่อไม่ให้ทางวังหลวงตั้งตัวทัน จึงนำคนที่ซุ่มอยู่ชิงบุกเข้าพระราชวังหลวงทันที แต่จะเพราะฝ่าฤกษ์ยามหรืออย่างใดไม่ทราบ รบกันอยู่ดี ๆ ฝ่ายกบฏกลับเป็นฝ่ายแตกหนีออกจากพระราชวัง พระยาเชียงใต้ตายในที่รบ ส่วนเจ้าอโนชาและเจ้าสาน ก็หลบหนีไป การปราบกบฏก็เลยจบลงอย่างรวดเร็ว
ทั้งหมดทั้งมวล ก็เริ่มจากพระยาเชียงใต้อยากกินข้าวปุ้น เพียงแค่นั้นเอง...
จึงเป็นข้อคิดว่า "ทำการใหญ่ อย่าห่วงกินข้าวปุ้น"
.
ปล.น่าสังเกตว่าข้าวปุ้นมีรับประทานในหลวงพระบาง อย่างน้อยก็รัชกาลพระเจ้าอินทโฉม (ตรงกับรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ของอยุธยา) ซึ่งจะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนข้าวปุ้นหรือขนมจีนในปัจจุบันหรือไม่ ต้องฝากผู้อ่านค้นคว้าต่อไป
.
-------------------------------------------
อ้างอิง : พงศาวดารล้านช้าง ตามถ้อยคำในฉบับเดิม คัดจากฉบับพิมพ์ครั้งแรกในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗
ภาพ : พื้นที่บริเวณเดิ่นวัดใหม่ (ลานวัดใหม่สุวันนะพูมาราม) สถานที่เกิดเหตุ อีกฟากถนนข้างหนึ่งคือเขตพระราชวังหลวงพระบาง ภาพโดย Jean-Yves Claeys (1896 - 1979) ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1938-1947 คลังจดหมายเหตุพิพิธภัณฑ์ เก บรองลีย์ - ฌาคส์ ชีราค (Musée du Quai Branly – Jacques Chirac)