❀

❀
Canal of the Pharaohs @ annie brocolie
❀
Suez Canal คลองสุเอซ
อาจเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของวิศวกรรมสมัยใหม่
แต่ก็ยังไม่มีอะไรใหม่เลยเกี่ยวกับการขุดคลองนึ้
ทางน้ำที่ใช้เดินเรือ ถูกขุดมาตั้งแต่สมัยโบราณ
แม้แต่การขุดข้ามทะเลทรายในแอฟริกาเหนือ
เพราะครั้งหนึ่งเคยมีคลองไหลผ่านอียิปต์
ถูกขุดขึ้นมาภายใต้การอุปถัมภ์ของฟาโรห์
ที่ขึ้นครองราชย์หลายยุคหลายสมัย
ภายใต้ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
เพื่อให้คลองเชื่อมต่อระหว่าง
ทะเลแดงกับแม่น้ำไนล์
ตามบันทึกของ
Aristotle
มีความพยายามครั้งแรกในการขุดคลอง
ที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลแดงและแม่น้ำไนล์
เกิดขึ้นโดยฟาโรห์
Sesostris อสูรสงคราม
ในตำนานทึ่เคยบุกทวีปยุโรป
หรืออาจเป็น
Senusret III แห่งราชวงศ์ที่ 12
ประมาณ 1,800 ปีก่อนคริสตกาล
หรือ
Ramesses II ในภายหลัง ราชวงศ์ที่ 19
ประมาณ 1,200 ปีก่อนคริสตกาล)
Aristotole ยังตั้งข้อสังเกตว่า
การก่อสร้างคลองหยุดลง เมื่อฟาโรห์ค้นพบว่า
“
ทะเลแดงอยู่สูงกว่าแผ่นดิน”
เลยกลัวว่า การเปิดแม่น้ำไนล์สู่ทะเลแดง
จะทำให้น้ำเค็มไหลลงสู่แม่น้ำไนล์
และทำลายแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของอียิปต์
(ใชักิน ใช้ทำนา ใช้ทำไร่ ใช้เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ)
ตามที่นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก
Strabo และ
Diodorus Siculus
บันทึกว่าหลังจาก Sesostris ยุติงานแล้ว
แต่ก็ยังคงมีการขุดต่อโดย
Necho II
ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช
แต่พระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนคลองจะแล้วเสร็จ
ต่อมา
Darius the Great
ชนชาติเปอร์เซียได้ทำเรื่องนึ้ต่อ
หลังจากที่ Necho II สิ้นพระชนม์ไปแล้ว
แต่ก็พบปัญหาเช่นเดียวกับ Sesostris
เพราะต้องหยุดอยู่แค่ทะเลแดงเช่นกัน
เมื่อได้รับรายงานว่า
น้ำในทะเลแดงอยู่ในระดับที่สูงกว่า
จะท่วมท้นแผ่นดินถ้าเปิดให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำไนล์
แต่ในที่สุด
Ptolemy II Philadelphus
ชนชาติกรีกก็ขุดคลองได้สำเร็จ
คลองที่เชื่อมต่อแม่น้ำไนล์กับทะเลแดง
ตามบันทึกของ Strabo ระบุว่า
คลองกว้างเกือบ 50 เมตร และมีความลึก
เพียงพอที่จะลอยเรือขนาดใหญ่ได้
เริ่มต้นที่หมู่บ้าน
Phacusa
และลัดเลาะไปตาม
Great Bitter Lakes
ไหลลงสู่อ่าว
Arabia ใกล้กับเมือง
Cleopatris
❀

❀
Trireme
❀
แต่ข้อมูลของ
Herodotus ได้ระบุว่า
คลองแห่งนี้ได้สร้างขึ้นโดย Darius The Great
และมีความกว้างพอที่เรือ
Trireme 2 ลำ
แล่นสวนกันพร้อมใบพายยื่นออกมา
เมื่อถึงรัชสมัยของ Darius The Great
อาจมีทางเดินน้ำตามธรรมชาติ
อยู่ระหว่าง Great Bitter Lakes
ที่เชื่อมต่อกับ Red Sea ทะเลแดง
แต่มันถูกปิดกั้นไว้ด้วยตะกอนดินจำนวนมหึมา
พระองค์จึงบัญชาพวกทาสจำนวนมหาศาล
ทำการกวาดล้างตะกอนดินออกไปทั้งหมด
เพื่อให้สามารถเดินเรือได้อีกครั้ง
และพอใจกับผลลัพธ์โครงการนี้อย่างแรง
จึงสร้างศิลาจารึกหินแกรนิตสีชมพูไว้หลายชิ้น
เพื่อป่าวประกาศถึงความสำเร็จครั้งนี้
หนึ่งในศิลาจารึก ที่ค้นพบกลางศตวรรษที่ 19
” ข้าเป็นคนเปอร์เซีย
ข้ายกทัพมาจากเปอร์เซีย
ข้าพิชิตอียิปต์ ข้าจึงสั่งให้ขุดคลองนี้
จากแม่น้ำที่เรียกว่าไนล์ และไหลลงที่อียิปต์
ให้ไหลไปยังทะเลที่เริ่มต้นในเปอร์เซีย
ดังนั้นเมื่อขุดคลองนี้เสร็จตามที่ข้าสั่งแล้ว
เรือจึงเดินทางจากอียิปต์ผ่านคลองนี้
ไปยังเปอร์เซียตามที่ข้าตั้งใจไว้ ”
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
แผ่นศิลาจารึกที่เรียกว่า
Stone of Pithom
เป็นหลักฐานยืนยันว่า Ptolemy
ได้สร้างสิ่งกีดขวางสำหรับเดินเรือ
โดยมีประตูน้ำที่อ่าว
Heroopolite ของทะเลแดง
ซึ่งเปิดปิดให้เรือแล่นผ่านได้
เพื่อป้องกันน้ำเค็มจากทะเลแดง
จะเข้ามาคลุกคลีกับน้ำจืดในคลอง
(อาศัยช่วงน้ำขึ้นน้ำลงในการเปิดปิดประตูน้ำ)
มีหลักฐานว่าในสมัยโบราณ
ทะเลแดงและอ่าวสุเอซทอดตัวไปทางเหนือ
ไกลถึง Great Bitter Lakes
แล้วทะเลแดงค่อย ๆ ถอยร่นออกไป
ในช่วงหลายศตวรรษต่อมา
โดยแนวชายฝั่งค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางใต้
ห่างจาก
Lake Timsah และ Great Bitter Lake
ดังนั้น 200 ปีต่อมา
ทางปลายด้านตะวันออกของคลองที่ขุด
ไว้ติดต่อกับทะเลแดงก็ถูกปกคลุม
ด้วยตะกอนดินทรายจนหมดสภาพ
จนถึงศตวรรษที่ 8 ในปี 767
Abbasid Caliph al-Mansur
ชนชาติอาหรับก็ทำการปิดกั้นคลองแห่งนี้
เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูและกลุ่มกบฏ
ใช้คลองเพื่อส่งทหารและเสบียง
จากอียิปต์ไปยังผู้ว่าราชการมณฑล Arabia
ที่จะก่อการกบฎล้มล้างอำนาจตน
การขาดการบำรุงรักษา ขุดลอกคลอง
เลยทำให้เส้นทางคลองชำรุด
จนจมหายไปในทะเลทรายและเลือนหาย
จากความทรงจำของผู้คนเหลือไว้แต่ตำนาน
อียิปต์เคยถูกราชันย์หลายชาติยึดครอง
เช่น ยิวผิวดำ เปอร์เซีย กรีก โรมัน อาหรับ
ทำให้คนที่นี่มีหน้าตาผสมผสานหลายชาติ
เช่น คลีโอพัตรา ก็มาจากพวกทหารกรีก
ที่ Alexandre ตั้งไว้ปกครองตอนไปบุกอินเดีย
นักประวัติศาสตร์ยุคก่อนไม่ค่อยลงพื้นที่
ขัอมูลมักจะฟังจากนักเดินทาง/ทหารผ่านศึก
จึงมักคลาดเคลื่อนไม่ค่อยถูกต้องนัก
❀
❀
ในปี 1798
เรื่องคลองถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
โดย
Napoleon ราชันย์ขาวคอซิการ์
เดิมเป็นแค่ทหารรับจ้างของฝรั่งเศส
ระหว่างการรบของฝรั่งเศสในอียิปต์และซีเรีย
เพื่อยึดเป็นอาณานิคมแข่งกับอังกฤษ
และอีกหลายชาติในยุโรปในช่วงนั้น
ทำให้ทุกวันนี้ต้องแบกรับคนในอาณานิคม
หรือไม่ก็ตามใจ ตามใจจะไปตายไหน ไม่สนใจ
Napoleon มีแรงจูงใจพิเศษในการสร้างคลอง
เพราะหากขุดคลองขึ้นมาใหม่ได้
จะทำให้ผูกขาดการค้ากับอินเดีย/ชาติในเอเชีย
เพราะย่นเวลา/ระยะทางไม่ต้องอ้อมสุดทวีป
ที่ปลายแหลมกู้ดโฮป ถึง 6,400 กืโลเมตร
ในการนี้ Napoleon จึงสั่งให้
Jacques-Marie Le Pére
หัวหน้าวิศวกรโยธาทำการสำรวจภูมิประเทศ
ทึ่เป็นคอคอดกระของอียิปต์
ในขณะเดียวกันก็มองหาร่องรอย
ของคลองโบราณทึ่เป็นตำนานในอดีต
Jacques-Marie Le Pére กับทีมงานวิศวกร
ได้ทำการติดตามหาข้อมูล/ตำนานเดิม
และในที่สุดก็ค้นพบ คลองฟาโรห์
ที่เชื่อมต่อทะเลแดงกับแม่น้ำไนล์ในยุคอดีต
Napoleon จึงได้ออกคำสั่งให้
Jacques-Marie Le Pére
ทำการเปิดเส้นทางคลองเก่าที่ค้นพบนี้อีกครั้ง
แต่ Jacques-Marie Le Pére ก็เหมือนกับ
ช่างน้ำ/วิศวกรในยุค 2,000 ปีก่อน
ที่รายงานข้อมูลผิดพลาดให้กับ Napoleon ว่า
ทะเลแดงสูงกว่าทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
และจำเป็นต้องมีประตูน้ำปิดเปิดไว้
เพื่อป้องกันการปะปน/ปนเปื้อนของน้ำทะเล
ซึ่งงานก่อสร้างจะเป็นงานช้าง/สิ้นเปลืองมาก
ทำให้การก่อสร้างคลองสุเอซ
ล่าช้าไปถึง 50 ปี จนถึงปี 1859
Ferdinand de Lesseps
จึงเริ่มต้นขุดคลองสุเอซอีกครั้ง
โดยการใช้เกณฑ์แรงงานภาคบังคับ
ทำแบบเดียวกับฟาโรห์ในยุคอดีต
(ยุคนั้นอียิปต์เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส)
แหล่งข้อมูลบางแห่งคาดว่า
มีคนงานหลายหมื่นคนเสียชีวิต
จากโรคอหิวาตกโรคและโรคระบาดอื่น ๆ
แม้ว่าการประเมินแบบอนุรักษ์นิยม
ก็ยังมีคนงานตายไม่น้อยกว่า 3,000 คน
คลองไม่มีการสร้างประตูน้ำปิดเปิด
เพราะขุดให้มีระดับน้ำทะเลเท่ากัน
เส้นทางใหม่ก็ไม่เหมือนกับคลองของฟาโรห์
เพราะไหลผ่านคอคอด ผ่าน Great Bitter Lakes
ไปทางตอนเหนือจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ใกล้กับเมืองท่าสุเอซ ในทุกวันนี้
ใน 150 ปีก่อนยังไม่มีการศึกษาผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในการเชื่อมทะเลที่ต่างกันเข้าด้วยกัน
เพิ่งจะมีการศึกษาผลดีผลร้ายในช่วงหลัง
เช่น สัตว์น้ำแปลกถิ่นมากกว่า 444 ชนิด
ความแตกต่างของอุณภูมิน้ำทั้งสองแห่ง
ปริมาณน้ำจากทะเลแดงมากกว่า 5%
ที่ไหลเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
มลภาวะทางน้ำจากเรือที่สัญจรไปมา
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2QQQsvF
https://bit.ly/3oRuwgt
https://bit.ly/3fpgEXJ
https://bit.ly/3oYgDNB
❀
❀
❀
เส้นทางเดินเรือ
❀
❀
ปี 1869
❀
❀
เชื่อมต่อทะเลแดง
❀
❀
ภาพถ่ายทางอากาศ
❀
❀
ปี 1856
❀
❀
ปี 1869
❀
❀
ปึ 1900
❀
❀
แผนที่สำรวจ
❀
❀
ปี 1914
❀
❀
ปี 1955
❀
❀
ปี 1956 อียิปต์รบกับฝรั่งเศส
❀
❀
ปี 1973 กองทัพอียิปต์ยกทัพข้ามคลองไปบุกยิว
❀
❀
ปี 1973 ยิวยกทัพข้ามคลองไปบุกอียิปต์
❀
❀
ปี 2021 เรือ Ever Given
❀
❀
ปี 1934
❀
❀
USS CV-66
❀

❀
Hanjin Kaohsiung
❀
❀
ทึ่ El Ballah
❀
❀
สะพานมิตรภาพ
❀
❀
ปี 2014 ที่ Great Bitter Lake
❀
❀
เรือใน Great Bitter Lake
❀

❀
เส้นทางเดินเรือ
❀
คลองฟาโรห์ปฐมบทคลองสุเอซ
Canal of the Pharaohs @ annie brocolie
❀
Suez Canal คลองสุเอซ
อาจเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของวิศวกรรมสมัยใหม่
แต่ก็ยังไม่มีอะไรใหม่เลยเกี่ยวกับการขุดคลองนึ้
ทางน้ำที่ใช้เดินเรือ ถูกขุดมาตั้งแต่สมัยโบราณ
แม้แต่การขุดข้ามทะเลทรายในแอฟริกาเหนือ
เพราะครั้งหนึ่งเคยมีคลองไหลผ่านอียิปต์
ถูกขุดขึ้นมาภายใต้การอุปถัมภ์ของฟาโรห์
ที่ขึ้นครองราชย์หลายยุคหลายสมัย
ภายใต้ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
เพื่อให้คลองเชื่อมต่อระหว่าง
ทะเลแดงกับแม่น้ำไนล์
ตามบันทึกของ Aristotle
มีความพยายามครั้งแรกในการขุดคลอง
ที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลแดงและแม่น้ำไนล์
เกิดขึ้นโดยฟาโรห์ Sesostris อสูรสงคราม
ในตำนานทึ่เคยบุกทวีปยุโรป
หรืออาจเป็น Senusret III แห่งราชวงศ์ที่ 12
ประมาณ 1,800 ปีก่อนคริสตกาล
หรือ Ramesses II ในภายหลัง ราชวงศ์ที่ 19
ประมาณ 1,200 ปีก่อนคริสตกาล)
Aristotole ยังตั้งข้อสังเกตว่า
การก่อสร้างคลองหยุดลง เมื่อฟาโรห์ค้นพบว่า
“ ทะเลแดงอยู่สูงกว่าแผ่นดิน”
เลยกลัวว่า การเปิดแม่น้ำไนล์สู่ทะเลแดง
จะทำให้น้ำเค็มไหลลงสู่แม่น้ำไนล์
และทำลายแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของอียิปต์
(ใชักิน ใช้ทำนา ใช้ทำไร่ ใช้เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ)
ตามที่นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก
Strabo และ Diodorus Siculus
บันทึกว่าหลังจาก Sesostris ยุติงานแล้ว
แต่ก็ยังคงมีการขุดต่อโดย Necho II
ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช
แต่พระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนคลองจะแล้วเสร็จ
ต่อมา Darius the Great
ชนชาติเปอร์เซียได้ทำเรื่องนึ้ต่อ
หลังจากที่ Necho II สิ้นพระชนม์ไปแล้ว
แต่ก็พบปัญหาเช่นเดียวกับ Sesostris
เพราะต้องหยุดอยู่แค่ทะเลแดงเช่นกัน
เมื่อได้รับรายงานว่า
น้ำในทะเลแดงอยู่ในระดับที่สูงกว่า
จะท่วมท้นแผ่นดินถ้าเปิดให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำไนล์
แต่ในที่สุด Ptolemy II Philadelphus
ชนชาติกรีกก็ขุดคลองได้สำเร็จ
คลองที่เชื่อมต่อแม่น้ำไนล์กับทะเลแดง
ตามบันทึกของ Strabo ระบุว่า
คลองกว้างเกือบ 50 เมตร และมีความลึก
เพียงพอที่จะลอยเรือขนาดใหญ่ได้
เริ่มต้นที่หมู่บ้าน Phacusa
และลัดเลาะไปตาม Great Bitter Lakes
ไหลลงสู่อ่าว Arabia ใกล้กับเมือง Cleopatris
Trireme
❀
แต่ข้อมูลของ Herodotus ได้ระบุว่า
คลองแห่งนี้ได้สร้างขึ้นโดย Darius The Great
และมีความกว้างพอที่เรือ Trireme 2 ลำ
แล่นสวนกันพร้อมใบพายยื่นออกมา
เมื่อถึงรัชสมัยของ Darius The Great
อาจมีทางเดินน้ำตามธรรมชาติ
อยู่ระหว่าง Great Bitter Lakes
ที่เชื่อมต่อกับ Red Sea ทะเลแดง
แต่มันถูกปิดกั้นไว้ด้วยตะกอนดินจำนวนมหึมา
พระองค์จึงบัญชาพวกทาสจำนวนมหาศาล
ทำการกวาดล้างตะกอนดินออกไปทั้งหมด
เพื่อให้สามารถเดินเรือได้อีกครั้ง
และพอใจกับผลลัพธ์โครงการนี้อย่างแรง
จึงสร้างศิลาจารึกหินแกรนิตสีชมพูไว้หลายชิ้น
เพื่อป่าวประกาศถึงความสำเร็จครั้งนี้
หนึ่งในศิลาจารึก ที่ค้นพบกลางศตวรรษที่ 19
” ข้าเป็นคนเปอร์เซีย
ข้ายกทัพมาจากเปอร์เซีย
ข้าพิชิตอียิปต์ ข้าจึงสั่งให้ขุดคลองนี้
จากแม่น้ำที่เรียกว่าไนล์ และไหลลงที่อียิปต์
ให้ไหลไปยังทะเลที่เริ่มต้นในเปอร์เซีย
ดังนั้นเมื่อขุดคลองนี้เสร็จตามที่ข้าสั่งแล้ว
เรือจึงเดินทางจากอียิปต์ผ่านคลองนี้
ไปยังเปอร์เซียตามที่ข้าตั้งใจไว้ ”
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
แผ่นศิลาจารึกที่เรียกว่า Stone of Pithom
เป็นหลักฐานยืนยันว่า Ptolemy
ได้สร้างสิ่งกีดขวางสำหรับเดินเรือ
โดยมีประตูน้ำที่อ่าว Heroopolite ของทะเลแดง
ซึ่งเปิดปิดให้เรือแล่นผ่านได้
เพื่อป้องกันน้ำเค็มจากทะเลแดง
จะเข้ามาคลุกคลีกับน้ำจืดในคลอง
(อาศัยช่วงน้ำขึ้นน้ำลงในการเปิดปิดประตูน้ำ)
มีหลักฐานว่าในสมัยโบราณ
ทะเลแดงและอ่าวสุเอซทอดตัวไปทางเหนือ
ไกลถึง Great Bitter Lakes
แล้วทะเลแดงค่อย ๆ ถอยร่นออกไป
ในช่วงหลายศตวรรษต่อมา
โดยแนวชายฝั่งค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางใต้
ห่างจาก Lake Timsah และ Great Bitter Lake
ดังนั้น 200 ปีต่อมา
ทางปลายด้านตะวันออกของคลองที่ขุด
ไว้ติดต่อกับทะเลแดงก็ถูกปกคลุม
ด้วยตะกอนดินทรายจนหมดสภาพ
จนถึงศตวรรษที่ 8 ในปี 767
Abbasid Caliph al-Mansur
ชนชาติอาหรับก็ทำการปิดกั้นคลองแห่งนี้
เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูและกลุ่มกบฏ
ใช้คลองเพื่อส่งทหารและเสบียง
จากอียิปต์ไปยังผู้ว่าราชการมณฑล Arabia
ที่จะก่อการกบฎล้มล้างอำนาจตน
การขาดการบำรุงรักษา ขุดลอกคลอง
เลยทำให้เส้นทางคลองชำรุด
จนจมหายไปในทะเลทรายและเลือนหาย
จากความทรงจำของผู้คนเหลือไว้แต่ตำนาน
อียิปต์เคยถูกราชันย์หลายชาติยึดครอง
เช่น ยิวผิวดำ เปอร์เซีย กรีก โรมัน อาหรับ
ทำให้คนที่นี่มีหน้าตาผสมผสานหลายชาติ
เช่น คลีโอพัตรา ก็มาจากพวกทหารกรีก
ที่ Alexandre ตั้งไว้ปกครองตอนไปบุกอินเดีย
นักประวัติศาสตร์ยุคก่อนไม่ค่อยลงพื้นที่
ขัอมูลมักจะฟังจากนักเดินทาง/ทหารผ่านศึก
จึงมักคลาดเคลื่อนไม่ค่อยถูกต้องนัก
❀
ในปี 1798
เรื่องคลองถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
โดย Napoleon ราชันย์ขาวคอซิการ์
เดิมเป็นแค่ทหารรับจ้างของฝรั่งเศส
ระหว่างการรบของฝรั่งเศสในอียิปต์และซีเรีย
เพื่อยึดเป็นอาณานิคมแข่งกับอังกฤษ
และอีกหลายชาติในยุโรปในช่วงนั้น
ทำให้ทุกวันนี้ต้องแบกรับคนในอาณานิคม
หรือไม่ก็ตามใจ ตามใจจะไปตายไหน ไม่สนใจ
Napoleon มีแรงจูงใจพิเศษในการสร้างคลอง
เพราะหากขุดคลองขึ้นมาใหม่ได้
จะทำให้ผูกขาดการค้ากับอินเดีย/ชาติในเอเชีย
เพราะย่นเวลา/ระยะทางไม่ต้องอ้อมสุดทวีป
ที่ปลายแหลมกู้ดโฮป ถึง 6,400 กืโลเมตร
ในการนี้ Napoleon จึงสั่งให้
Jacques-Marie Le Pére
หัวหน้าวิศวกรโยธาทำการสำรวจภูมิประเทศ
ทึ่เป็นคอคอดกระของอียิปต์
ในขณะเดียวกันก็มองหาร่องรอย
ของคลองโบราณทึ่เป็นตำนานในอดีต
Jacques-Marie Le Pére กับทีมงานวิศวกร
ได้ทำการติดตามหาข้อมูล/ตำนานเดิม
และในที่สุดก็ค้นพบ คลองฟาโรห์
ที่เชื่อมต่อทะเลแดงกับแม่น้ำไนล์ในยุคอดีต
Napoleon จึงได้ออกคำสั่งให้
Jacques-Marie Le Pére
ทำการเปิดเส้นทางคลองเก่าที่ค้นพบนี้อีกครั้ง
แต่ Jacques-Marie Le Pére ก็เหมือนกับ
ช่างน้ำ/วิศวกรในยุค 2,000 ปีก่อน
ที่รายงานข้อมูลผิดพลาดให้กับ Napoleon ว่า
ทะเลแดงสูงกว่าทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
และจำเป็นต้องมีประตูน้ำปิดเปิดไว้
เพื่อป้องกันการปะปน/ปนเปื้อนของน้ำทะเล
ซึ่งงานก่อสร้างจะเป็นงานช้าง/สิ้นเปลืองมาก
ทำให้การก่อสร้างคลองสุเอซ
ล่าช้าไปถึง 50 ปี จนถึงปี 1859
Ferdinand de Lesseps
จึงเริ่มต้นขุดคลองสุเอซอีกครั้ง
โดยการใช้เกณฑ์แรงงานภาคบังคับ
ทำแบบเดียวกับฟาโรห์ในยุคอดีต
(ยุคนั้นอียิปต์เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส)
แหล่งข้อมูลบางแห่งคาดว่า
มีคนงานหลายหมื่นคนเสียชีวิต
จากโรคอหิวาตกโรคและโรคระบาดอื่น ๆ
แม้ว่าการประเมินแบบอนุรักษ์นิยม
ก็ยังมีคนงานตายไม่น้อยกว่า 3,000 คน
คลองไม่มีการสร้างประตูน้ำปิดเปิด
เพราะขุดให้มีระดับน้ำทะเลเท่ากัน
เส้นทางใหม่ก็ไม่เหมือนกับคลองของฟาโรห์
เพราะไหลผ่านคอคอด ผ่าน Great Bitter Lakes
ไปทางตอนเหนือจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ใกล้กับเมืองท่าสุเอซ ในทุกวันนี้
ใน 150 ปีก่อนยังไม่มีการศึกษาผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในการเชื่อมทะเลที่ต่างกันเข้าด้วยกัน
เพิ่งจะมีการศึกษาผลดีผลร้ายในช่วงหลัง
เช่น สัตว์น้ำแปลกถิ่นมากกว่า 444 ชนิด
ความแตกต่างของอุณภูมิน้ำทั้งสองแห่ง
ปริมาณน้ำจากทะเลแดงมากกว่า 5%
ที่ไหลเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
มลภาวะทางน้ำจากเรือที่สัญจรไปมา
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2QQQsvF
https://bit.ly/3oRuwgt
https://bit.ly/3fpgEXJ
https://bit.ly/3oYgDNB
❀
❀
เส้นทางเดินเรือ
❀
❀
ปี 1869
❀
❀
เชื่อมต่อทะเลแดง
❀
❀
ภาพถ่ายทางอากาศ
❀
❀
ปี 1856
❀
❀
ปี 1869
❀
❀
ปึ 1900
❀
❀
แผนที่สำรวจ
❀
❀
ปี 1914
❀
❀
ปี 1955
❀
❀
ปี 1956 อียิปต์รบกับฝรั่งเศส
❀
❀
ปี 1973 กองทัพอียิปต์ยกทัพข้ามคลองไปบุกยิว
❀
❀
ปี 1973 ยิวยกทัพข้ามคลองไปบุกอียิปต์
❀
❀
ปี 2021 เรือ Ever Given
❀
❀
ปี 1934
❀
❀
USS CV-66
❀
Hanjin Kaohsiung
❀
❀
ทึ่ El Ballah
❀
❀
สะพานมิตรภาพ
❀
❀
ปี 2014 ที่ Great Bitter Lake
❀
❀
เรือใน Great Bitter Lake
❀
เส้นทางเดินเรือ
❀