🎽มาลาริน/สหรัฐฯ สอบอาการ“หัวใจอักเสบ”ในคนฉีดวัคซีน mRNAไม่ระบุไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา จับตาผลกระทบต่อหัวใจในหมู่วัยรุ่น

เพี้ยนแคปเจอร์ สหรัฐฯ รุดสอบ! พบอาการ “หัวใจอักเสบ” ในคนฉีดวัคซีนโควิด mRNA ไม่ระบุว่าเป็นไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา
เผยแพร่: 24 พ.ค. 2564 06:37   ปรับปรุง: 24 พ.ค. 2564 06:37   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เยาวชนและคนหนุ่มสาวบางส่วนที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA มีอาการการอักเสบของหัวใจ จากการเปิดเผยของคณะที่ปรึกษาศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) พร้อมแนะนำให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการที่พบน้อยมากดังกล่าว

คณะกรรมการที่ปรึกษาที่กำหนดหลักปฏิบัติภูมิคุ้มกันโรค (Advisory Committee on Immunization Practices) ของซีดีซี ระบุในถ้อยแถลงลงวันที่ 17 พฤษภาคม ว่า ได้ตรวจสอบรายงานที่ระบุว่าผู้เข้ารับวัคซีนคนกลุ่มอายุน้อยจำนวนเล็กน้อย ทั้งเยาวชนและคนหนุ่มสาว ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis)

อย่างไรก็ตาม อาการนี้บ่อยครั้งที่หายไปโดยปราศจากภาวะแทรกซ้อนใดๆ และสามารถมีต้นตอจากไวรัสหลากหลายชนิด จากการเปิดเผยของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ

ระบบเฝ้าระวังของซีดีซีไม่คาดหมายว่า จะพบเคสลักษณะนี้เพิ่มอีกในประชาชน แต่สมาชิกคณะกรรมการด้านวัคซีนรู้สึกว่าบรรดาผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขควรได้รับทราบรายงานเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของ “อาการไม่พึงประสงค์” ดังกล่าว คณะกรรมการที่ปรึกษาที่กำหนดหลักปฏิบัติภูมิคุ้มกันโรคระบุ

รายงานไม่ได้บอกว่ามีคนมากน้อยแค่ไหนที่ได้รับผลกระทบจากอาการดังกล่าว แต่ทางคณะกรรมการที่ปรึกษาที่กำหนดหลักปฏิบัติภูมิคุ้มกันโรคแนะนำให้ดำเนินการสืบสวนเพิ่มเติม

ดอกเตอร์ อาเมช อาดัลจา นักวิชาการอาวุโสของศูนย์ความมั่นคงทางสุขภาพมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ ระบุทราบเรื่องวัคซีนก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแล้ว และบอกว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังเพื่อดูว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ และที่สำคัญต้องดูอัตราส่วนระหว่างความเสี่ยงกับประโยชน์ของมันด้วย

ซีดีซีระบุว่า เคสลักษณะนี้โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นภายใน 4 วัน หลังได้รับวัคซีน mRNA แต่พวกเขาไม่บอกว่าเป็นตัวฉีดตัวไหน โดยปัจจุบันสหรัฐฯอนุมัติใช้ในกรณีฉุกเฉินวัคซีน mRNA อยู่ 2 ตัว ของ โมเดอร์นา อิงค์ และไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ในเดือนเมษายน กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอล เผยว่า กำลังตรวจสอบรายงานการพบเคสจำนวนเล็กน้อยเกี่ยวกับอาการหัวใจอักเสบในคนที่ได้รับวัคซีนของไฟเซอร์ แต่พวกเขายังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งนี้ เคสเกือบทั้งหมดในอิสราเอล เกิดขึ้นกับกลุ่มคนอายุสูงสุดไม่เกิน 30 ปี

ไฟเซอร์กล่าวในตอนนั้น ว่า อัตราการเกิดอาการดังกล่าวไม่ได้สูงกว่าปกติที่พบในเคสประชาชนทั่วไป และความเชื่อมโยงระหว่างอาการนี้กับวัคซีนยังไม่ได้ข้อสรุป ส่วนทางซีดีซีเคยบอกในช่วงปลายเดือนเมษายน หลังปรากฏข่าวการสืบสวนของอิสราเอล ระบุว่าไม่พบเห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างอาการหัวในอักเสบกับวัคซีน

ก่อนหน้านี้ คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบของสหรัฐฯเพิ่งอนุมัติขยายขอบเขตใช้วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทคกับเด็กอายุระหว่าง 12-15 ปี

https://mgronline.com/around/detail/9640000049782

กางเต้นท์รอจับตาผลกระทบต่อหัวใจในหมู่วัยรุ่นที่ฉีดวัคซีน mRNA
วันที่ 24 พ.ค. 2564 เวลา 17:26 น.



อมยิ้ม31เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบผลค้างเคียงที่เกิดขึ้นน้อยมากๆ กับผู้รับวัคซีน mRNA ของ Moderna กับ Pfizer-BioNTech

1. ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐกำลังตรวจสอบรายงานว่าวัยรุ่นและคนหนุ่มสาวจำนวนน้อยที่ได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาประเภท mRNA อาจประสบปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ โดยข้อมูลนี้ได้มาจากกลุ่มความปลอดภัยของวัคซีนของ CDC

2. อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงของกลุ่มมีรายละเอียดไม่ชัดเจนโดยกล่าวเพียงว่ามีผู้ป่วย "ค่อนข้างน้อย" และอาจไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนเลย ซึ่งอาการที่พบเรียกว่า myocarditis เป็นอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อบางอย่าง
 
3. อีกทั้งการตรวจสอบรายงานของ CDC ก็ยีงอยู่ในช่วงเริ่มต้นและหน่วยงานยังไม่ได้ระบุว่ามีหลักฐานใดๆ ที่แสดงว่าวัคซีนทำให้เกิดภาวะเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่ ทางหน่วยงานได้โพสต์คำแนะนำบนเว็บไซต์เพื่อเรียกร้องให้แพทย์และบุคลากรการแพทย์ระวังอาการหัวใจผิดปกติในกลุ่มคนหนุ่มสาวที่เพิ่งได้รับการฉีดวัคซีน

4. เบื้องต้น กรณีนี้มักเกิดขึ้นในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวประมาณ 4 วันหลังจากได้รับวัคซีน mRNA ครั้งที่สองซึ่งผลิตโดย Moderna และ Pfizer-BioNTech และกรณีนี้พบได้บ่อยในผู้ชาย

5. กลุ่มความปลอดภัยของวัคซีนระบุว่า “กรณีส่วนใหญ่ดูเหมือนจะไม่รุนแรงและการติดตามผู้ป่วยยังคงดำเนินต่อไป” และ CDC แนะนำอย่างยิ่งให้ฉีดวัคซีนกับชาวอเมริกันอายุ 12 ปีขึ้นไป หลังจากที่เพิ่งอนุมัติให้ฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 12 - 15 ปีได้

6. ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่าผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ยากของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมีน้อยเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโควิด-19 รวมถึงกลุ่มอาการต่อเนื่องที่เรียกว่า "โควิดระยะยาว" (long COVID) และการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการเฉียบพลันอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ด้วย

7. ตามข้อมูลของ CDC ในขณะนี้จำนวนผู้มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่ได้รับรายงานหลังการฉีดวัคซีนดูเหมือนจะไม่มากกว่าปกติที่ควรจะพบในคนหนุ่มสาว แต่สมาชิกของกลุ่มความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนของหน่วยงาน CDC “รู้สึกว่าควรมีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับรายงานของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบไปยังผู้ให้บริการ” รายงานกล่าว

8. หน่วยงานไม่ได้ระบุอายุของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวัคซีน Pfizer-BioNTech ได้รับอนุญาตให้ฉีดกับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไปตั้งแต่เดือนธันวาคม เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐได้อนุมัติให้ฉีดกับเด็กอายุ 12 ถึง 15 ปีได้

9. สำหรับการเริ่มต้นพบสาเหตุเริ่มเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม เมื่อCDC แจ้งเตือนแพทย์ถึงความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบกับการฉีดวัคซีน และเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมคณะทำงานได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากกระทรวงกลาโหมรายงานที่ยื่นต่อระบบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากวัคซีน (Vaccine Adverse Event Reporting System) และอื่นๆ

10. หลังจากนั้นหน่วยงานด้านสาธารณสุขของรัฐในวอชิงตัน, โอเรกอน และแคลิฟอร์เนียได้แจ้งเตือนผู้ให้บริการฉุกเฉินและแพทย์โรคหัวใจถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและมีการส่งรายงานผู้ป่วย 7 รายไปยังวารสารกุมารเวชศาสตร์ (The Journal of Pediatrics) เพื่อตรวจสอบ

เรียบเรียงจาก CDC Is Investigating a Heart Problem in a Few Young Vaccine Recipients โดย The New York Times
Photo by Indranil MUKHERJEE / AFP

https://www.posttoday.com/world/653766

Facepalm  ไฟเซอร์ มาเดอร์น่า  คิดว่าดีที่สุดของคนต้านวัคซีนรัฐบาลไทยที่สั่งมา

แต่ก็ยังมีปัญหาให้ตัองตรวจสอบเช่นกัน

ไม่มีวัคซีนใดเลยที่ไม่มีความเสี่ยง เพราะเป็นวัคซีนฉุกเฉินทั้งนั้น

หมอท่านจึงบอกว่า....เพี้ยนลาเวนเดอร์



เชื่อหมอ...ไม่เชื่อสามกีบค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5


เถียงกับคนที่ถูกลบคือคุณฟรีนั่นแหละ  ที่ไม่เอาวัคซีนจีน

อย่ามาทำลืมจ้ะ !!!
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่