สารานุกรมปืนตอนที่ 600 AR15 ตอนสุดท้าย Colt Canada part 1

"ขอขอบคุณเพจ GUN in The World อย่างสูงครับ"

https://www.facebook.com/catwarriorandroyalthaiarmyman/

ดายมาโก ซี7 ปืนเล็กยาวจู่โจมของกองทัพแคนาดา
ความเป็นมา
....................................................................................
ในช่วงปี ค.ศ.1976 โรงงานผลิตอาวุธเบา ซีเอแอล (CAL/Canadian arsenals limited) ที่ผลิต ปืนเล็กยาว ซี1เอ1 (C1A1) นั้นได้ปิดกิจการลง ซึ่งต่อมาที่ตั้งโรงงานของ ซีเอแอล ก็ถูกซื้อโดย แคนาดา โพสต์ (Canada Post) เพื่อใช้เป็นศูนย์กระจายจดหมายและพัสดุไปทั่วประเทศ ซึ่งหลังจาก ซีเอแอลได้ปิดการลงนั้น รัฐบาลแคนาดาได้ทำสัญญากับ บริษัทเอกชนที่ชื่อ ดายมาโก (Diemaco Inc.) จากเมืองคิตเชเนอร์ รัฐออนแทรีโอ ให้ทำการผลิตอาวุธเบาป้อนให้กองทัพแคนาดาต่อ


ทหารแคนาดากับ ดายมาโก ซี7เอ1 (Diemaco C7A1)
 
 


ปืนเล็กยาว ซี1เอ1 (C1A1)
 


โรงงานผลิตอาวุธเบา ซีเอแอล (CAL/Canadian arsenals limited)

ในช่วง ค.ศ.1978-79 กองทัพแคนาดาได้ทดสอบปืนเล็กยาวจู่โจมและปืนกลเบาจำนวนกว่า 37 แบบทั้งที่ใช้กระสุน 7.62x51มม. และ 5.56x45มม. ซึ่งผลการทดสอบนั้นคณะกรรมการนั้นมีความพึงพอใจในกระสุนขนาด 5.56x45มม. มากกว่า ซึ่งเมื่อเทียบปืนต่าง ๆ ที่ใช้กระสุน 5.56x45มม. ที่นำมาทดสอบไม่ว่าจะเป็น เอฟเอ็น เอฟเอ็นซี (FN FNC) ของเบลเยี่ยม กาลิล (Galil) ของอิสราเอล เอ็มเอ็น1 (MN1) ของเนเธอร์แลนด์ และ สไตเออร์ เอยูจี (Steyr Aug) ของออสเตรีย และ เอ็ม16เอ1 (M16A1) ของสหรัฐอเมริกา ในบรรดาแบบที่กล่าวมานั้น เอ็ม16เอ1 ของสหรัฐอเมริกานั้นสร้างความประทับใจให้กับบรรดาทหารที่ได้เข้าร่วมการทดสอบมากที่สุด ซึ่งหลังจากที่นาโต้ได้นำกระสุน 5.56x45มม. นาโต้มาใช้งานในปี ค.ศ.1980 นั้นในปี ค.ศ.1983 รัฐบาลแคนาดาได้เซ็นสัญญาณกับดายมาโกมูลค่ากว่า 1.7 ล้านดอลลาห์สหรัฐเพื่อผลิต ปืนเล็กยาว และ ปืนเล็กสั้น ภายใต้สิทธิบัตรของ โคลต์ (Colt) (แบบ โคลต์ โมเดล 715 และ โคลต์ โมเดล 725 ตามรหัสเรียกของโคลต์) และให้ดายมาโกทำการผลิต ปืนกลเบา มินิมิ ภายใต้สิทธิบัตรของ เอฟเอ็น ซึ่งทั้งสามแบบได้เข้าประจำการในกองทัพแคนาดาเมื่อปี ค.ศ.1984 โดย โคลต์ โมเดล 715 และ 725 ได้รับชื่อเรียกในกองทัพแคนาดาว่า ซี7 และ ซี8 (C7 and C8) และ เอฟเอ็น มินิมิ ได้รับชื่อเรียกในกองทัพว่า ซี9 (C9) 





ปืนในตระกูล เอ็ม16เอ2 ของโคลต์


ดายมาโก ซี7 (Diemaco C7)



ดายมาโก ซี8 (Diemaco C8)

ซึ่งหลังจากนั้น โคลต์ กับ ดายมาโกได้กลายเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกันและมีการพัฒนาปรับปรุง ปืนกลเบา โคลต์ แอลเอ็มจี (Colt LMG) ด้วยกัน ซึ่งดายมาโก้ก็ได้วางตลาดปืนรุ่นนี้ในชื่อ ซี7 ไลท์ ซับพอร์ต เวพเพิน (C7 Light Support Weapon) และภายหลังในปี ค.ศ.2005 ดายมาโกก็ถูกซื้อโดย โคลต์ และ ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น โคลต์ แคนาดา (Colt Canada) และยังคงเป็นผู้ผลิต ปลย.ซี7 ให้กองทัพแคนาดาแต่เพียงผู้เดียว
ปืนตระกูลซี 7 และ ซี8 นั้นมีลุกค้าต่างประเทศมากมายเช่น อังกฤษ,นอร์เวย์,เดนมาร์ค สวีเดน,เนเธอร์แลนด์อัฟกานิสถาน และ อิรัก ซึ่งบางประเทศก็มีการกำหนดคุณลักษณะตามความต้องการของตนเองทำให้รูปทรงนั้นอาจแตกต่างจากรุ่นที่ใช้ในกองทัพแคนาดา และ ก็ยังมีการพัฒนารุ่นต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

....................................................................................
คุณลักษณะของ ซี7
....................................................................................
ดายมาโก ซี7 เป็นปืนเล็กยาวจู่โจมที่ผลิตตามแบบ โคลต์ โมเดล 715 ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดล เอ็ม16เอ2 แต่ใช้ระบบศูนย์ของ เอ็ม16เอ1 ของโคลต์ทำงานด้วยระบบเเก๊สดันตรงห้องลูกเลื่อน (Direct impingement) มีตัวบังปลอกกระสุนเพื่อกันปลอกกระสุนดีดเข้าหน้า และ มีคันส่งลูกเลื่อน ระบายความร้อนด้วยอากาศบรรจุกระสุนด้วยซองกระสุนที่ผลิตจากวัสดุไนลอนบรรจุจำนวน 30 นัดลำกล้องใช้ลำกล้องหนาปลายมีความยาว 20 นิ้วใช้เกลียวลำกล้องที่มีอัตราเวียนครบรอบที่ 1:7 นิ้วปรับจังหวัดการยิงได้ 3 จังหวะคือ ห้ามไก,กึ่งอัตโนมัติ,อัตโนมัติ (S-R-AUTO ซึ่งตัว S ย่อมาจาก Safe ตัว R ย่อมาจาก Repetition A ย่อมาจาก Auto) ตัวพานท้าย,ด้ามปืน,ปลอกลดแสง,โครงปืนส่วนล่าง ผลิตตามแบบ เอ็ม16เอ2 ตัวปืนสามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม203 รุ่นที่ออกแบบมาสำหรับ ซี7 ได้ ตัวปืนมีแท่นรับหน้าดาบ
....................................................................................
คุณลักษณะของ ซี8
....................................................................................
ดายมาโก ซี8 เป็นปืนเล็กสั้นจู่โจมที่ผลิตตามแบบ โคลต์ โมเดล 725 ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดล เอ็ม16เอ2 รุ่นปืนเล็กสั้น แต่ใช้ระบบศูนย์ของ เอ็ม16เอ1 ของโคลต์ทำงานด้วยระบบเเก๊สดันตรงห้องลูกเลื่อน (Direct impingement) ตัวบังปลอกกระสุนเพื่อกันปลอกกระสุนดีดเข้าหน้า และ มีคันสั่งลูกเลื่อน ระบายความร้อนด้วยอากาศบรรจุกระสุนด้วยซองกระสุนที่ผลิตจากวัสดุไนลอนจำนวน 30 นัดลำกล้องใช้ลำกล้องบางมีความยาว 14.5 นิ้วใช้เกลียวลำกล้องที่มีอัตราเวียนครบรอบที่ 1:7 นิ้วปรับจังหวัดการยิงได้ 3 จังหวะคือ ห้ามไก,กึ่งอัตโนมัติ,อัตโนมัติ (S-R-AUTO ซึ่งตัว S ย่อมาจาก Safe ตัว R ย่อมาจาก Repetition A ย่อมาจาก Auto) พานท้ายเป็นพานท้ายแบบปรับระดับได้ตามสรีระผู้ใช้งาน ตัวด้ามปืน,ปลอกลดแสง,โครงปืนส่วนล่าง ผลิตตามแบบ เอ็ม16เอ2 ตัวปืนสามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม 203 ได้และตัวปืนมีแท่นรับหน้าดาบ
....................................................................................



ซี7 ไลท์ ซับพอร์ต เวพเพิน (C7 Light Support Weapon)



โครงปืนส่วนล่าง ซี7 (M/95) ของเดนมาร์ก



โครงปืนส่วนล่าง ซี7 ของแคนาดา



โครงปืนส่วนล่างของ แอล119เอ1อังกฤษ (L119A1)
 
 
คุณลักษณะของ ดายมาโก แอลเอสดับเบิ้ลยู
....................................................................................
ดายมาโก แอลเอสดับเบิ้ลยู (Diemaco LSW) เป็นรุ่นปืนกลเบาที่พัฒนาร่วมกับ โคลต์ ทำงานด้วยระบบเเก๊สดันตรงห้องลูกเลื่อน (Direct impingement)จุดเด่นคือ ตัวปืนมีตำเเหน่งพร้อมยิงเเบบ หน้าลูกเลื่อนเปิด (Fire from Open Bolt) ซึ่งปกติ ปลย.ตระกูลเอ็ม16 ทั่วไป จะพร้อมยิงในตำเเหน่งหน้าลูกเลื่อนปิด (Closed Bolt) นั่นเอง ทำให้ต้องดัดเเปลงชุดเครื่องลั่นไกใหม่ โดยจะเเตกต่างจากเครื่องลั่นไกปกติตรงที่ มีการตัดกระเดื่องไก (Disconnector) ออกไป เพิ่มสะพานไกไปเชื่อมต่อกับกระเดื่องไกอัตโนมัติ (Auto Seer) ที่ทำงานสัมพันธ์กับนกปืนในการขัด/ปล่อยโครงนำลูกเลื่อนเเทน การลั่นไกจะเลียนเเบบจังหวะการยิงอัตโนมัติเช่นเดียวกับปืนที่พร้อมยิงจากตำเเหน่งหน้าลูกเลื่อนปิด
....................................................................................
รุ่นต่าง ๆ ของ ซี7
....................................................................................
ซี7เอ1 (C7A1) เป็นที่ปรับปรุงมาจาก ซี7 รุ่นแรกโดยมีการปรับเปลี่ยนคือปรับเปลี่ยนระบบศูนย์เป็นแบบที่สามารถถอดได้เพื่อติดตั้งเครื่องช่วยเล็งได้คล้ายกับแบบปืนเล็กสั้น เอ็ม4 (M4 Carbine) แต่ว่าของ ซี7เอ1 นั้นจะเป็นระบบศูนย์แบบ เอ็ม16เอ1 แบบ ซี7 แทนไม่เหมือนของ เอ็ม4 ที่เป็นศูนย์ที่ถอดได้แต่อิงระบบศูนย์ของเอ็ม 16 เอ2 โดยตัว ซี7เอ1 นั้นกองทัพแคนาดาใช้คู่กับ กล้องเล็ง ซี79 กำลังขยาย 3.4 (ELCAN C79 Optical sight 3.4x) และ ซี7เอ1 มีทั้งแบบที่ผลิตประกับลำกล้อง,ด้ามปืน,พานท้าย เป็นสีเขียวมะกอกและสีดำ และ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มศูนย์หลังสำรอง (Backup Rear Sight) หรือศูนย์หลังสำหรับกรณีฉุกเฉินนั่นเองโดยจะทำการติดตั้งเวลาที่ใช้งานกับ กล้องเล็ง ซี79
ซี7เอ2 (C7A2) เป็นรุ่นที่ปรับปรุงมาจาก ซี7เอ1 ในช่วงที่แคนาดาส่งทหารไปเข้าร่วมรบที่อัฟกานิสถาน ดายมาโก และกองทัพแคนาดาได้ทำการพัฒนาตัวปืน ซี7เอ1เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานปืนได้ดียิ่งขึ้นในสมรภูมิอัฟกานิสถานผลที่ได้คือรุ่นที่พัฒนาต่อมีชื่อว่า ซี7เอ2 โดยสิ่งที่ปรับเปลี่ยนคือรางแบบ ทีอาร์ไอ-เอดี (TRI-AD) ที่ติดตรงบริเวณที่ใกล้ๆกับศูนย์หน้าของตัวปืน เปลี่ยนพานท้ายเป็นพานท้ายที่สามารถปรับระดับตามสรีระของผู้ใช้งานได้ตามความต้องการของทหารเพราะพานท้ายแบบเต็มของ ซี7เอ1 นั้นมีความเทอะทะมากเวลานำกำลังเข้าตรวจค้นในเขตหมู่บ้านโดยตัวพานท้ายแบบใหม่นี้สามารถปรับระดับได้ 4 ตำแหน่ง และ มีการเพิ่มคันบังคับการยิงทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (Ambidextrous) และตัวคันรั้งของตัวปืนนั้นมีการเพิ่มความยาวด้ามจับเพื่อความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น
ปี ค.ศ.2016 กองทัพแคนาดาการปรับปรุง ซี7เอ2 ให้ตัวปืนนั้นมีความทันสมัยมากขึ้นโดยกองทัพแคนาดาได้ทำการปรับปรุงปืน ซี7เอ2 โดยสิ่งที่ปรับปรุงขึ้นมาคือ เพิ่มในส่วนของรางที่ยึดไว้กับรูประกับลำกล้องเพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถติดตั้งด้ามจับได้
ซี10 (C10) เป็นรุ่นที่เอาไว้ฝึกใช้กระสุนขนาด .22 แอลอาร์ (.22LR) ผลิตตามแบบ ซี7 ทุกอย่าง
ซี7ซีที (C7CT) ตัว CT นั้นย่อมาจาก Custom Tactical อย่างไรก็รุ่นนี้ใช้ระบบศูนย์เป็นแบบที่สามารถถอดหูหิ้วเพื่อติดตั้งเครื่องช่วยเล็งได้ ตัวลำกล้องหนาแบบปล่อยลำกล้องให้ลอยตัวอิสระ (free floated barrel) ประกับลำกล้องทำจากวัสดุคาร์บอนคล้ายกับ ปืนเล็กยาวซุ่มยิง เอสอาร์-25 (SR-25) รุ่นแรก ๆ ด้ามปืนและพานท้ายออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ และ ตัวปืนสามารถติดตั้งปลอกสดเลียงและขาทรายได้ มี คันบังคับการยิงทั้งด้านซ้ายและด้านขวา



ซองกระสุนที่ผลิตจากวัสดุไนลอนจำนวน 30 นัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่