อินทริยปโรปริยัตตญาณ

กระทู้สนทนา
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค 
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]
๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
--------------------
๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
แสดงอินทริยปโรปริยัตตญาณ
             [๑๑๑] ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ของ
พระตถาคต เป็นอย่างไร
             คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
             คำว่า ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ
อธิบายว่า 
-บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มี
ศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ 
-บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากใน
ปัญญาจักษุ 
-บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มี
สติหลงลืม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ 
-บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญา
จักษุ 
-บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ
             คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า 
-บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน 
-บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน 
-บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน 
-บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน 
-บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
             คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า 
-บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการทราม 
-บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอาการทราม 
-บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอาการทราม 
-บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการทราม 
-บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอาการทราม
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๗๒}
              คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า 
-บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
-บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก 
-บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก 
-บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก 
-บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
             คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า 
-บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย 
-บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย 
-บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย 
-บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย 
-บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
             [๑๑๒] คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก (โลกคือขันธ์) ธาตุโลก (โลกคือธาตุ)
อายตนโลก(โลกคืออายตนะ) วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก
สัมปัตติสัมภวโลก๑-
             โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
             โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
             โลก ๓ คือ เวทนา ๓
             โลก ๔ คือ อาหาร ๔
             โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
---------------
@เชิงอรรถ :
@๑ วิปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพวิบัติได้แก่อบายโลก วิปัตติสัมภวโลก หมายถึงโลกคือสมภพวิบัติได้แก่
@กรรมที่ให้เกิดในอบายโลก สัมปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพสมบัติได้แก่สุคติโลก สัมปัตติสัมภวโลก
@หมายถึงโลกคือสมภพสมบัติได้แก่กรรมที่ให้เกิดในสุคติโลก (ขุ.ป.อ. ๒/๑๑๒/๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๗๓}

             โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
             โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗
             โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
             โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
             โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
             โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
             โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ๑-
             คำว่า โทษ อธิบายว่า 
-กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ
-ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ
-อภิสังขารทั้งปวงเป็นโทษ 
-กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ
-สัญญาในโลกนี้และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาใน
ศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว 

ฉะนั้น พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้
             นี้เป็นญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคต
อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสที่ ๖๘ จบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่