โลกจะมีอายุได้กี่ปี

ถ้านับจากตอนนี้โลกเราจะมีอายุได้กี่ปี เเล้วถ้าโลกหมดอายุขัยสภาพมันจะเป็นยังใง เเล้ววงโคจรจะเป็นยังใง หรือ มีความเป็นไปได้ใหมที่ดาวอื่นๆที่อยู่ตามวงโคจร อาจะเคยเป็นดาวโลกเเละสิ้นอายุขัย
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ข่าวตามคห. 3 นั่น เป็นแค่ทำแบบจำลองเฉยๆ ครับ
ถ้ามีแนวโน้มว่าจะชนจริง คนเลิกสนใจโควิดจริง ๆ แล้ว
ประเทศรวย ๆ อย่างออสเตรีย เยอรมัน และอื่น ๆ อย่างประเทศที่ระบุอยู่บนแผนที่ อย่างเช็คนี่สีแดงเต็ม ๆ จะเตรียมการตื่นตัวยิ่งกว่านี้ คนรวย ๆ หนีไปต่างประเทศไปหลบไกล ๆ ก่อน  
ถ้าชนจริง แถวยุโรปประเทศอื่นด้วยโดนผลกระทบเลี่ยงไม่ได้  สหภาพยุโรปนิ่งแบบตอนนี้ไม่ได้แน่


https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2709693
สมาคมดาราศาสตร์ไทย แจง 2021 PDC ชนโลก 100% เป็นแค่เหตุการณ์สมมุติ ฟันธง ไม่มีจริง
วันที่ 6 พฤษภาคม 2564 - 15:52 น.


สมาคมดาราศาสตร์ไทย แจง 2021 PDC ชนโลก 100% เป็นแค่เหตุการณ์สมมุติ ฟันธง ไม่มีจริง
กรณีที่สื่อจากสำนักข่าวแห่งหนึ่ง ได้นำเสนอข่าว นักวิทยาศาสตร์องค์การ “นาซา” เผยผลสรุปจาก “แบบจำลอง” ชื่อ “2021 PDC” ดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์พุ่งชนโลก และระบุว่า ชาวโลกมีเวลา 6 เดือนเจอปรากฏการณ์นี้ พร้อมระบุ ระเบิดนิวเคลียร์ยังไม่สามารถหยุดยั้งสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ นั้น

วันที่ 6 พฤษภาคม นายวิมุติ วสะหลาย ฝ่ายวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า เข้าไปดูในเนื้อหาข่าวแล้ว เข้าใจว่า นำต้นฉบับมาจาก เว็บไซต์ https://cneos.jpl.nasa.gov/pd/cs/pdc21/ ที่นำเสนอ การทำเวิร์คชอป แบบจำลอง การเกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์น้อยชนโลก ของ ศูนย์ศึกษาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก โดยเนื้อหานำเสนอวิธีการสื่อสารหากเกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์น้อยชนโลกจริงๆ เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกจนเกินไป เช่น การจำกัดพื้นที่จุดที่ดาวเคราะห์จะตกมายังโลก โดย 2021 PDC ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยที่มีจริง เป็นเพียงการสมมุติขึ้นมาเท่านั้น ซึ่ง ในหัวเว็บไซต์ ได้ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า นี่เป็นเพียงเหตุการ จำลอง ที่สมมุติขึ้นมาเท่านั้น ไม่มีเหตุการเช่นนี้จริงๆ


“ความจริงแล้ว ผมก็เห็นด้วยกับการจำลองเหตุการแบบนี้ แต่การนำเสนอเรื่องนี้ก็ควรมีความชัดเจน อย่าเขียนให้คลุมเครือให้คนอ่านเข้าใจผิดว่า มีเหตุการนี้ขึ้นจริงๆ ตอนนี้คนก็เครียดกับสถานการณ์อื่นๆมากพอแล้ว อย่าให้ต้องเอาเรื่องนี้มาเป็นกังวลอีก”นายวิมุติ กล่าว




https://www.tnnthailand.com/news/sci/79045/

นาซาจำลอง"ดาวเคราะห์น้อย"พุ่งชนโลก หาวิธีรับมือภัยจากอวกาศ
6 พฤษภาคม 2564, 19:03 น.

นาซาจำลองเหตุการณ์ ดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์พุ่งชนโลกในอีก 6 เดือนข้างหน้า หาวิธีการรับมือร้ายจากอวกาศ


วันนี้ ( 6 พ.ค. 64 )นักวิทยาศาสตร์องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ นาซา ได้ศึกษาและจำลองเหตุการณ์เพื่อหาวิธีปกป้องโลก จากการถูกดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์ชื่อ "2021 PDC" พุ่งชนโลก


จากการศึกษาเพื่อหาทางสกัดดาวเคราะห์น้อย โดยใช้เวลา 4 วัน ระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน ได้ข้อสรุปว่า ระยะเวลา 6 เดือน ไม่เพียงพอที่จะเตรียมตัวสำหรับการส่งยานอวกาศขึ้นไปพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย รวมถึงการใช้ระเบิดนิวเคลียร์


การจำลองเหตุการณ์วันที่1 คือวันที่ 19 เม.ย. พบว่ามีโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลกแค่ 5% ในวันที่ 20 ต.ค.ส่วนการจำลองวันที่ 2 คือวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีความเป็นไปได้ที่ดาวเคราะห์น้อยจะชนโลก 100% ในบริเวณยุโรป หรือตอนเหนือของทวีปแอฟริกา



การจำลองเหตุการณ์วันที่ 3 คือวันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เฝ้าติดตามทุกคืน พร้อมทั้งปรับแต่งวงโคจรให้แคบลง พบว่ามีความเป็นไปได้ที่ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลก พิกัดประเทศเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรีย สโลเวเนีย และโครเอเชีย



ส่วนการจำลองเหตุการณ์วันที่ 4 คือวันที่ 14 ต.ค. ซึ่งเหลือแค่ 6 วัน ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลก โดยดาวเคราะห์น้อยอยู่ห่างจากโลกประมาณ 3.9 ล้านไมล์ พบว่าดาวเคราะห์น้อยมีขนาดเล็กกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงลดขนาดพื้นที่ที่มีโอกาสจะถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนให้แคบลง เหลือเพียงบริเวณพรมแดนประเทศเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก และออสเตรีย พร้อมทั้งกำหนดให้มีความเป็นไปได้ที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะพุ่งชนโลกในภูมิภาคนี้ 99%


อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ในทีมงาน เสนอให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์สกัดการพุ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย แต่ผลจากการจำลองสถานการณ์ครั้งนี้พบว่า มีอุปสรรคหลายด้าน และยังไม่แน่ชัดว่าระเบิดนิวเคลียร์ขนาดไหนจึงสามารถจะสกัดดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้



ด้าน นายวิมุติ วสะหลาย ฝ่ายวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ชี้แจงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงการจำลองเหตุการณ์ ซึ่งดาวเคราะห์น้อย PDC 2021ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยที่มีจริง และเป็นเพียงการสมมติขึ้นมาเท่านั้น ดังนั้น ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่