ฮัลโหลลล.. โควิดมาอีกรอบแล้ว WFH เหงา ๆ ช่วงเบรคเลยแอบเข้า FB เห็นเพื่อนแชร์เว็บไซต์เช็กข่าว ลองกดเข้าไปดูเล่นๆ ประมาณเบื่อๆ หลอนๆ โควิด เฮ้ยยย.! มันก็ดีเหมือนกันนะ ที่มีเว็บไซต์แบบนี้มากรองข่าวให้ ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิดแบบนี้ ตื่นมาเจอข่าวมากมาย แชร์ไปร้อยแปด ไม่รู้ว่าอันไหนข่าวจริง อันไหนข่าวปลอม กว่าจะรู้ตัวก็เผลอแชร์ไปแล้ว วันนี้ว่างๆ เลยเข้ามาตั้งกระทู้ แชร์ความง่ายของมัน เผื่อใครเจออยากจะแชร์ต่อไม่แน่ใจว่าใช่ไม่ใช่ ปลอมไม่ปลอม เสียเวลานิดดดดดดดเดียว แปะเนื้อข่าว หรือแปะลิงก์ก็รู้ผลละว่าจะแชร์ต่อหรือพอแค่นี้ ไอ้เว็บที่ว่านี้ จริงๆ มันชื่อ “เช็กให้รู้” จะลองกดเข้าไปอ่านรายละเอียดที่ Facebook Fanpage #เช็กให้รู้ หรือลองกดเข้าไปเช็กข่าวได้ที่นี่ เลย
http://checkhairoo.nida.ac.th/
อ้อลืมบอกไป เว็บไซต์เช็กให้รู้เนี่ย ตอนนี้มันรองรับการกรอง Fake News ด้านสุขภาพแค่นั้นนะคะ เป็นระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมจากนิด้า เพื่อช่วยแก้ปัญหาการส่งต่อข้อมูลสุขภาพแบบผิดๆ แชร์ผิดๆ แถมวันดีคืนดีมีการกลับมาแชร์ซ้ำอีกให้ได้เห็นเหมือนเดจาวู
ร่ายมาซะยาวขนาดนี้ ไปค่ะไปดูกันว่าง่ายแค่ไหน เริ่มจากการเข้าเพจเช็กให้รู้ กด link ตามรูป หรือใครสะดวกจะเข้าตาม link ก็ด้านบนได้เลย
กดเข้ามาหน้าแรกก็จะเจอคำอธิบายว่าเป็นระบบอัจฉริยะที่เช็กข่าวปลอมด้านสุขภาพ ประมวลจากโครงสร้างของข่าว และรูปแบบของภาษา มีความแม่นยำในการทำนายร้อยละ 80 โดยผลการวิเคราะห์จะแม่นยำถ้าใช้ร่วมกับแหล่งตรวจข่าวปลอมอื่นที่น่าเชื่อถือ หรือตรวจสอบอีกทีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอย้ำอีกครั้ง.. ว่ามันไม่ 100% มันยังไม่แม่นขนาดนั้น แต่เอาง่ายๆ สนุกๆ ได้ลองเช็ก ลองกรองในเบื้องต้นว่าข่าวที่เราเจอเนี่ย ถูกหรือผิด ใช่ไม่ใช่ ไปค่ะ.. ไปต่อ กดยอมรับ
กดยอมรับแล้วก็จะเข้าหน้าหลัก ยังไม่ต้องดูส่วนอื่นๆ แปะข่าวได้เลยจ้า เพราะใจอยากจะรู้ อยากจะแชร์ละว่าไอ้ข่าวที่เจอเนี่ย จริงหรือปลอม จะวางเนื้อหาข่าว หรือจะวางเป็น link ก็ได้เหมือนกันนะคะ ระบบสามารถอ่านค่าได้ เอาที่สะดวกและถนัดได้เลย ลองวางเป็น link ดู เฮ้ย! มันประมวลผลทันที ไหนลองวางเป็นเนื้อหาข่าวสั้นๆ อ่า... ระบบขึ้นช่องว่างด้านล่างมาเพิ่ม ให้ใส่เนื้อหาข่าวเพิ่มเติม ประมาณแค่หัวข้อที่แกใส่มันไม่พอ ฉันขอเนื้อหาละเอียดๆ เพิ่มหน่อยนะ ฉันจะได้อ่านค่าและประมวลผลได้..
แปะไปแล้ว..ใช้เวลาประมวลผลไม่นานผลที่ได้ก็มาละค่า.. เนื้อหาข่าวที่แปะไป ระดับที่ต้องระวัง 82.6% Fake สีแดง ดังนั้นพอจะเชื่อได้ว่าข่าวนี้ปลอมไม่ควรส่ง หรือแชร์ต่อ แต่ถ้าต่ำกว่า 50% เป็นสีเขียวก็แชร์ได้เลยรัวๆ แต่ถ้า 50% สีเหลืองไม่แน่ใจอยู่กลางๆ แต่ใจอยากแชร์ จะลองส่งเรื่องให้ผู้เชี่ยวชาญก็มีปุ่มให้กดส่งเรื่องตรวจสอบได้ค่ะ แต่จะนานแค่ไหนอันนี้ยังไม่ได้ลองนะคะ ใครลองส่งแล้วมาบอกด้วยเด้อว่าเป็นไงบ้าง
สิ่งที่ชอบ
- ระบบการใช้งานของเว็บไซต์ “เช็กให้รู้” ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ง่ายชนิดที่ว่าแค่ Copy/Paste วางแปะแค่นั้นก็จะรู้แล้วว่าแนวโน้มไปทางข่าวจริงหรือปลอม
- เหมาะกับทุกเพศทุกวัย อากง อาม่า คุณลุง คุณป้า พ่อแม่ ที่ชอบแอบซื้ออาหารเสริม ของออนไลน์ ดูจากเคเบิ้ลทีวี หรือส่งข่าวต่อๆ กันมาในกรุ๊ปไลน์ บอกท่านให้ลองใช้ แนะนำได้เลย บางบ้านพูดแทบตายยังไงก็ไม่เชื่อ นี่เลยระบบนี้ กรองให้เบื้องต้น กรองกันก่อน เผื่อจะช่วยลดความเชื่อ ลดอันตราย ลดการซื้อ ลดการบอกต่อหรือการแชร์ลงได้บ้าง
- สะดวกในการใช้งานไม่ว่าจะใช้ผ่าน PC, Tablet, มือถือ Android /ios ก็ใช้ได้หมด
สิ่งที่อยากให้เพิ่ม
- ควรทำเป็นแอปพลิเคชั่น เพื่อให้โหลดติดเครื่อง โดยที่ไม่ต้องมานั่งจำ บันทึก หา Link หรือเข้า Facebook เพื่อเข้าถึงหน้าเว็บไซต์
สรุปเลยละกัน
“เช็กให้รู้” เป็นระบบเช็กข่าวกรองที่ใช่งานง่ายมาก แต่ตอนนี้ใช้ได้เฉพาะการกรองข่าวด้านสุขภาพเท่านั้น เป็นการใช้วิธีอ่านค่าประมวลผลจากองค์ประกอบของข่าว การนำเสนอ เนื้อหา และการสะกดคำ เป็นการกรองข่าวแค่เบื้องต้น ถ้าอยากให้ได้ผลจริงๆ ก็ต้องพิจารณาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นๆ หรือตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในบ้านเราก็มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) เป็นหน่วยค้นหาข่าวปลอม แจ้งเบาะแสข่าว และประชาสัมพันธ์ ก็เป็นอีกทางที่สามารถเช็กข่าวได้ แต่ถ้าให้ดี ไม่แน่ใจ ไม่ชัวร์ ก็อย่าพึ่งเชื่อ หรือแชร์ จะดีที่สุด
–
วันนี้พอแค่นี้ก่อน ถ้าเจออะไรดีๆ จะมาบอกต่อน้า
อย่าปล่อยให้อากง อาม่า หลงเชื่อกับข่าวปลอม.. ลองเช็กด้วยวิธีง่ายๆ แปะปุ๊บ รู้ปั๊บ
อ้อลืมบอกไป เว็บไซต์เช็กให้รู้เนี่ย ตอนนี้มันรองรับการกรอง Fake News ด้านสุขภาพแค่นั้นนะคะ เป็นระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมจากนิด้า เพื่อช่วยแก้ปัญหาการส่งต่อข้อมูลสุขภาพแบบผิดๆ แชร์ผิดๆ แถมวันดีคืนดีมีการกลับมาแชร์ซ้ำอีกให้ได้เห็นเหมือนเดจาวู
- ระบบการใช้งานของเว็บไซต์ “เช็กให้รู้” ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ง่ายชนิดที่ว่าแค่ Copy/Paste วางแปะแค่นั้นก็จะรู้แล้วว่าแนวโน้มไปทางข่าวจริงหรือปลอม
- เหมาะกับทุกเพศทุกวัย อากง อาม่า คุณลุง คุณป้า พ่อแม่ ที่ชอบแอบซื้ออาหารเสริม ของออนไลน์ ดูจากเคเบิ้ลทีวี หรือส่งข่าวต่อๆ กันมาในกรุ๊ปไลน์ บอกท่านให้ลองใช้ แนะนำได้เลย บางบ้านพูดแทบตายยังไงก็ไม่เชื่อ นี่เลยระบบนี้ กรองให้เบื้องต้น กรองกันก่อน เผื่อจะช่วยลดความเชื่อ ลดอันตราย ลดการซื้อ ลดการบอกต่อหรือการแชร์ลงได้บ้าง
- สะดวกในการใช้งานไม่ว่าจะใช้ผ่าน PC, Tablet, มือถือ Android /ios ก็ใช้ได้หมด
สิ่งที่อยากให้เพิ่ม
- ควรทำเป็นแอปพลิเคชั่น เพื่อให้โหลดติดเครื่อง โดยที่ไม่ต้องมานั่งจำ บันทึก หา Link หรือเข้า Facebook เพื่อเข้าถึงหน้าเว็บไซต์
สรุปเลยละกัน
“เช็กให้รู้” เป็นระบบเช็กข่าวกรองที่ใช่งานง่ายมาก แต่ตอนนี้ใช้ได้เฉพาะการกรองข่าวด้านสุขภาพเท่านั้น เป็นการใช้วิธีอ่านค่าประมวลผลจากองค์ประกอบของข่าว การนำเสนอ เนื้อหา และการสะกดคำ เป็นการกรองข่าวแค่เบื้องต้น ถ้าอยากให้ได้ผลจริงๆ ก็ต้องพิจารณาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นๆ หรือตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในบ้านเราก็มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) เป็นหน่วยค้นหาข่าวปลอม แจ้งเบาะแสข่าว และประชาสัมพันธ์ ก็เป็นอีกทางที่สามารถเช็กข่าวได้ แต่ถ้าให้ดี ไม่แน่ใจ ไม่ชัวร์ ก็อย่าพึ่งเชื่อ หรือแชร์ จะดีที่สุด
– วันนี้พอแค่นี้ก่อน ถ้าเจออะไรดีๆ จะมาบอกต่อน้า