เครดิต ข่าวช่องวัน+ มติชน
จุฬาฯ-เชฟรอน ปลื้ม วิจัย ‘สุนัขดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อโควิดไม่แสดงอาการ’ สำเร็จงดงาม ผลแม่นยำกว่า 94.8%
ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม สำหรับโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” ที่ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 นำโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย นักวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ได้ดำเนินการค้นคว้าวิจัย ออกแบบการทดลอง และทดสอบความแม่นยำของสุนัข
ได้รับทุนสนับสนุนจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,085,600 บาท โดยมี บริษัท พี คิว เอ แอสโซซิเอท จำกัด (PQA Associates Ltd.) เป็นผู้ดำเนินการภาคสนามด้านการเตรียมตัว และฝึกสุนัข ด้วยการสนับสนุนด้านการฝึกสุนัขจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์และผลการวิจัยครั้งนี้ว่า เราต้องการฝึกสุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการ เนื่องจากในการตรวจคัดกรองผู้เดินทางในพื้นที่สาธารณะและในสนามบินด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิมีข้อจำกัดคือไม่สามารถแยกผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะอาการไข้ได้ จึงมีแนวคิดที่จะใช้ศักยภาพของจมูกสุนัข ซึ่งมีเซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นมากกว่า 300 ล้านเซลล์ มากกว่ามนุษย์ถึง 50 เท่า สามารถระบุสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากเหงื่อของผู้ป่วยที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากคนทั่วไปที่ไม่ได้ติดเชื้อ
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.เกวลี เปิดเผยว่า การใช้สุนัขดมกลิ่นจึงช่วยลดโอกาสในการเล็ดรอดของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ จากการคัดกรองด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ โดยสามารถนำมาใช้ร่วมกับการตรวจวัดอุณหภูมิ ให้มีความแม่นยำในการคัดกรองสูงขึ้น
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.เกวลี กล่าวว่า ระยะแรกของการฝึกสุนัขนั้น จะให้สุนัขจดจำกลิ่นเหงื่อใต้รักแร้ที่ดูดซับโดยแท่งสำลี และกลิ่นเหงื่อจากถุงเท้าของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 และคนปกติที่ได้รับการยืนยันผลตรวจด้วยวิธี RT-PCR แล้ว ซึ่งเรามีทีมแพทย์และสัตวแพทย์ดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ แม้ว่าในเหงื่อจะไม่มีเชื้อไวรัส ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการฆ่าเชื้อที่อาจปนเปื้อนมาในเหงื่อด้วยวิธีตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
“จากผลการทดสอบสุนัขทั้ง 6 ตัว ก่อนออกไปปฏิบัติงานจริง พบว่ามีความไวในการตรวจหาตัวอย่างบวก (Sensitivity) หรือ การดมกลิ่นตัวอย่างที่มีผลบวกได้ถูกต้อง เฉลี่ย 97.6% และความจำเพาะในการดมกลิ่น (Specificity) หรือการดมกลิ่นตัวอย่างที่มีผลลบได้ถูกต้องเฉลี่ย 82.2% ทำให้ได้ค่าความแม่นยำ (Accuracy) สูงถึง 94.8% ซึ่งใกล้เคียงกับผลการวิจัยในประเทศเยอรมัน ที่พบว่าสุนัขมีความแม่นยำ (Accuracy) ในการจำแนกผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สูงถึง 94%
ผลวิจัยจากจุฬา“หมาดมกลิ่น" ตรวจหาผู้ติดโควิดไม่แสดงอาการ แม่นยำถึง95%
เครดิต ข่าวช่องวัน+ มติชน
จุฬาฯ-เชฟรอน ปลื้ม วิจัย ‘สุนัขดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อโควิดไม่แสดงอาการ’ สำเร็จงดงาม ผลแม่นยำกว่า 94.8%
ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม สำหรับโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” ที่ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 นำโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย นักวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ได้ดำเนินการค้นคว้าวิจัย ออกแบบการทดลอง และทดสอบความแม่นยำของสุนัข
ได้รับทุนสนับสนุนจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,085,600 บาท โดยมี บริษัท พี คิว เอ แอสโซซิเอท จำกัด (PQA Associates Ltd.) เป็นผู้ดำเนินการภาคสนามด้านการเตรียมตัว และฝึกสุนัข ด้วยการสนับสนุนด้านการฝึกสุนัขจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์และผลการวิจัยครั้งนี้ว่า เราต้องการฝึกสุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการ เนื่องจากในการตรวจคัดกรองผู้เดินทางในพื้นที่สาธารณะและในสนามบินด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิมีข้อจำกัดคือไม่สามารถแยกผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะอาการไข้ได้ จึงมีแนวคิดที่จะใช้ศักยภาพของจมูกสุนัข ซึ่งมีเซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นมากกว่า 300 ล้านเซลล์ มากกว่ามนุษย์ถึง 50 เท่า สามารถระบุสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากเหงื่อของผู้ป่วยที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากคนทั่วไปที่ไม่ได้ติดเชื้อ
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.เกวลี เปิดเผยว่า การใช้สุนัขดมกลิ่นจึงช่วยลดโอกาสในการเล็ดรอดของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ จากการคัดกรองด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ โดยสามารถนำมาใช้ร่วมกับการตรวจวัดอุณหภูมิ ให้มีความแม่นยำในการคัดกรองสูงขึ้น
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.เกวลี กล่าวว่า ระยะแรกของการฝึกสุนัขนั้น จะให้สุนัขจดจำกลิ่นเหงื่อใต้รักแร้ที่ดูดซับโดยแท่งสำลี และกลิ่นเหงื่อจากถุงเท้าของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 และคนปกติที่ได้รับการยืนยันผลตรวจด้วยวิธี RT-PCR แล้ว ซึ่งเรามีทีมแพทย์และสัตวแพทย์ดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ แม้ว่าในเหงื่อจะไม่มีเชื้อไวรัส ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการฆ่าเชื้อที่อาจปนเปื้อนมาในเหงื่อด้วยวิธีตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
“จากผลการทดสอบสุนัขทั้ง 6 ตัว ก่อนออกไปปฏิบัติงานจริง พบว่ามีความไวในการตรวจหาตัวอย่างบวก (Sensitivity) หรือ การดมกลิ่นตัวอย่างที่มีผลบวกได้ถูกต้อง เฉลี่ย 97.6% และความจำเพาะในการดมกลิ่น (Specificity) หรือการดมกลิ่นตัวอย่างที่มีผลลบได้ถูกต้องเฉลี่ย 82.2% ทำให้ได้ค่าความแม่นยำ (Accuracy) สูงถึง 94.8% ซึ่งใกล้เคียงกับผลการวิจัยในประเทศเยอรมัน ที่พบว่าสุนัขมีความแม่นยำ (Accuracy) ในการจำแนกผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สูงถึง 94%