โรคยอดฮิตในหมู่สาวๆ: นิ้วหัวแม่เท้าเอียง
มีใครเคยสังเกตเท้าและนิ้วหัวแม่เท้าของตัวเองบ้างมั้ยครับ? 🦶 ถ้าไม่เคย พี่หมออนุญาตให้ก้มลงไปดูก่อนได้ เพราะเรื่องที่พี่หมอจะเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้อยู่ไม่ไกลตัวเราเลย นั่นก็คือ ‘ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง’ นั่นเอง
ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Bunion) คือ ภาวะที่นิ้วหัวแม่เท้าเอนเข้าไปชิดกับนิ้วชี้ ร่วมกับการที่กระดูกบริเวณข้อต่อของโคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านในปูดออกมา โดยบริเวณที่มีอาการอาจมีลักษณะบวมแดง และทำให้รู้สึกเจ็บปวด 😡 ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็อาจส่งผลให้เท้าของเราผิดรูปถาวรได้ ซึ่งภาวะนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบมากเมื่ออายุมากขึ้น โดยส่วนมากจะพบที่เท้าทั้งสองข้างมากกว่าพบเพียงแค่ข้างใดข้างหนึ่ง
แล้วภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าเป็นแล้วจะมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราหรือไม่ มีวิธีการรักษาหรือป้องกันอย่างไร พี่หมอไปรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาให้แล้วครับ
สาเหตุของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
📌 ภาวะเท้าแบน
📌 ข้อต่อบริเวณนิ้วหัวแม่เท้ายืดหยุ่นมากกว่าปกติ
📌 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น มีนิ้วหัวแม่เท้าชี้ออกด้านนอกตั้งแต่เกิด
📌 ความผิดปกติของรูปเท้าตั้งแต่กำเนิด
📌 การบาดเจ็บบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าจนทำให้เอ็นด้านในขาด พบบ่อยในนักกีฬา หรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ
📌 การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ เช่น รองเท้าส้นสูง รองเท้าหัวแหลม รวมถึงรองเท้าที่คับแน่นและบีบหน้าเท้าจนเกินไป
อาการของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
📌 โคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านใน บวม แดง ปวด หรือปูดนูนออกมา
📌 หนังบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านในมีลักษณะหนาขึ้น
📌 นิ้วหัวแม่เท้าเอนไปทางนิ้วอื่น
📌 มีอาการปวดเท้าเป็นพักๆ หรือปวดเมื่อใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม
📌 ขยับนิ้วหัวแม่เท้าหรือเดินได้ลำบาก
📌 ชาบริเวณปลายนิ้วเท้า
👨⚕️ สัญญาณเตือนว่าควรไปพบแพทย์
· มีอาการปวดเป็นเวลานานติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
· มีอาการปวดจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
· นิ้วหัวแม่เท้าเอียงมากขึ้น หรือนิ้วหัวแม่เท้าขึ้นไปเกยบนนิ้วชี้
· สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน อาจเสี่ยงทำให้อาการของปัญหาที่เท้าแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
🩺 การวินิจฉัยภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
· การตรวจร่างกาย : แพทย์จะทำการตรวจบริเวณเท้าว่ามีรอยแดงบริเวณที่มีปุ่มกระดูกปูดนูนออกมา สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบว่านิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้มีการเบียดขึ้นไปเกยกัน
· การเอกซเรย์ : เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของโรค โดยการวัดมุมบริเวณที่นิ้วหัวแม่เท้าเบนออกไป
☹️ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
· ถุงน้ำอักเสบ ซึ่งเกิดจากการที่ถุงน้ำที่เป็นตัวรองรับการเสียดสีบริเวณกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อใกล้ข้อต่อเกิดการอักเสบ ทำให้มีอาการปวดบริเวณเท้า
· นิ้วเท้าหงิกงอผิดปกติ โดยมีสาเหตุมาจากข้อต่อตรงกลางนิ้วโค้งงอผิดปกติ ทำให้รู้สึกปวด
· กลุ่มอาการปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการปวดและการอักเสบที่ฝ่าเท้าและจมูกเท้า
· มีตาปลาขึ้นบริเวณฝ่าเท้า และใต้กระดูกนิ้วเท้า
✔️ การรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง แบ่งตามระดับความเจ็บปวดและความรุนแรงของโรคได้ดังนี้
1. การรักษาแบบประคับประคองอาการ
· ควรเลือกใส่รองเท้าให้เหมาะสมกับการทำกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
· ใส่แผ่นซิลิโคนที่ช่วยถ่างนิ้วโป้ง เพื่อช่วยปรับให้นิ้วเท้ากลับไปอยู่ในตำแหน่งปกติ หรือ bunion pads ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นนุ่มๆ แปะบริเวณปุ่มกระดูกเพื่อป้องกันการเสียดสี
· ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อบรรเทาอาการปวด บวม แดงหรืออักเสบ
· รับประทานยาแก้ปวด ถ้าเริ่มรู้สึกปวดจนทนไม่ได้
· สวมอุปกรณ์พยุงเท้าเพื่อช่วยประคองบริเวณที่มีอาการ
· หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด เช่น การยืนเป็นเวลานาน
· ไม่แนะนำให้ฉีดสารสเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยหรือขาดได้
2. การรักษาโดยการผ่าตัด
· เมื่อรักษาแบบประคับประคองแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 6 เดือน แพทย์อาจจะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเอากระดูกที่ยื่นออกและปรับแนวกระดูก รวมถึงการผ่าตัดปรับเส้นเอ็นรอบข้อนิ้วเท้า เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
🛡️ การป้องกันภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
· เลือกใส่รองเท้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน ที่สำคัญ เวลาเลือกซื้อรองเท้า พี่หมอแนะนำว่าควรเลือกรองเท้าที่มีหน้ากว้าง ไม่บีบเท้า และควรเผื่อช่องว่างระหว่างปลายเท้าและปลายรองเท้าประมาณครึ่งนิ้ว
· สำหรับคุณผู้หญิง ควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง รองเท้าปลายแหลม และรองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป
· บริหารนิ้วเท้าเป็นประจำ ด้วยการยืดเหยียดและงอนิ้วเท้าสลับไปมา
· ดูแลรักษารูปเท้าอยู่เสมอ เนื่องจากภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะถ้ามีกรรมพันธุ์ หรือบุคคลในครอบครัวเคยมีภาวะนี้
· รักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สำหรับใครที่กำลังมีภาวะนี้อยู่ก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะครับ ลองทำตามคำแนะนำที่พี่หมอบอกดูก่อน อาการก็น่าจะดีขึ้น แต่ถ้าทำแล้วอาการไม่ดีขึ้น และเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ได้ หรืออาการปวดเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันก็สามารถไปปรึกษาแพทย์ได้
ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับทุกคน 😷😷😷
โรคยอดฮิตในหมู่สาวๆ: นิ้วหัวแม่เท้าเอียง
มีใครเคยสังเกตเท้าและนิ้วหัวแม่เท้าของตัวเองบ้างมั้ยครับ? 🦶 ถ้าไม่เคย พี่หมออนุญาตให้ก้มลงไปดูก่อนได้ เพราะเรื่องที่พี่หมอจะเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้อยู่ไม่ไกลตัวเราเลย นั่นก็คือ ‘ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง’ นั่นเอง
ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Bunion) คือ ภาวะที่นิ้วหัวแม่เท้าเอนเข้าไปชิดกับนิ้วชี้ ร่วมกับการที่กระดูกบริเวณข้อต่อของโคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านในปูดออกมา โดยบริเวณที่มีอาการอาจมีลักษณะบวมแดง และทำให้รู้สึกเจ็บปวด 😡 ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็อาจส่งผลให้เท้าของเราผิดรูปถาวรได้ ซึ่งภาวะนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบมากเมื่ออายุมากขึ้น โดยส่วนมากจะพบที่เท้าทั้งสองข้างมากกว่าพบเพียงแค่ข้างใดข้างหนึ่ง
แล้วภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าเป็นแล้วจะมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราหรือไม่ มีวิธีการรักษาหรือป้องกันอย่างไร พี่หมอไปรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาให้แล้วครับ
สาเหตุของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
📌 ภาวะเท้าแบน
📌 ข้อต่อบริเวณนิ้วหัวแม่เท้ายืดหยุ่นมากกว่าปกติ
📌 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น มีนิ้วหัวแม่เท้าชี้ออกด้านนอกตั้งแต่เกิด
📌 ความผิดปกติของรูปเท้าตั้งแต่กำเนิด
📌 การบาดเจ็บบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าจนทำให้เอ็นด้านในขาด พบบ่อยในนักกีฬา หรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ
📌 การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ เช่น รองเท้าส้นสูง รองเท้าหัวแหลม รวมถึงรองเท้าที่คับแน่นและบีบหน้าเท้าจนเกินไป
อาการของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
📌 โคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านใน บวม แดง ปวด หรือปูดนูนออกมา
📌 หนังบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านในมีลักษณะหนาขึ้น
📌 นิ้วหัวแม่เท้าเอนไปทางนิ้วอื่น
📌 มีอาการปวดเท้าเป็นพักๆ หรือปวดเมื่อใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม
📌 ขยับนิ้วหัวแม่เท้าหรือเดินได้ลำบาก
📌 ชาบริเวณปลายนิ้วเท้า
👨⚕️ สัญญาณเตือนว่าควรไปพบแพทย์
· มีอาการปวดเป็นเวลานานติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
· มีอาการปวดจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
· นิ้วหัวแม่เท้าเอียงมากขึ้น หรือนิ้วหัวแม่เท้าขึ้นไปเกยบนนิ้วชี้
· สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน อาจเสี่ยงทำให้อาการของปัญหาที่เท้าแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
🩺 การวินิจฉัยภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
· การตรวจร่างกาย : แพทย์จะทำการตรวจบริเวณเท้าว่ามีรอยแดงบริเวณที่มีปุ่มกระดูกปูดนูนออกมา สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบว่านิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้มีการเบียดขึ้นไปเกยกัน
· การเอกซเรย์ : เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของโรค โดยการวัดมุมบริเวณที่นิ้วหัวแม่เท้าเบนออกไป
☹️ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
· ถุงน้ำอักเสบ ซึ่งเกิดจากการที่ถุงน้ำที่เป็นตัวรองรับการเสียดสีบริเวณกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อใกล้ข้อต่อเกิดการอักเสบ ทำให้มีอาการปวดบริเวณเท้า
· นิ้วเท้าหงิกงอผิดปกติ โดยมีสาเหตุมาจากข้อต่อตรงกลางนิ้วโค้งงอผิดปกติ ทำให้รู้สึกปวด
· กลุ่มอาการปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการปวดและการอักเสบที่ฝ่าเท้าและจมูกเท้า
· มีตาปลาขึ้นบริเวณฝ่าเท้า และใต้กระดูกนิ้วเท้า
✔️ การรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง แบ่งตามระดับความเจ็บปวดและความรุนแรงของโรคได้ดังนี้
1. การรักษาแบบประคับประคองอาการ
· ควรเลือกใส่รองเท้าให้เหมาะสมกับการทำกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
· ใส่แผ่นซิลิโคนที่ช่วยถ่างนิ้วโป้ง เพื่อช่วยปรับให้นิ้วเท้ากลับไปอยู่ในตำแหน่งปกติ หรือ bunion pads ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นนุ่มๆ แปะบริเวณปุ่มกระดูกเพื่อป้องกันการเสียดสี
· ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อบรรเทาอาการปวด บวม แดงหรืออักเสบ
· รับประทานยาแก้ปวด ถ้าเริ่มรู้สึกปวดจนทนไม่ได้
· สวมอุปกรณ์พยุงเท้าเพื่อช่วยประคองบริเวณที่มีอาการ
· หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด เช่น การยืนเป็นเวลานาน
· ไม่แนะนำให้ฉีดสารสเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยหรือขาดได้
2. การรักษาโดยการผ่าตัด
· เมื่อรักษาแบบประคับประคองแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 6 เดือน แพทย์อาจจะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเอากระดูกที่ยื่นออกและปรับแนวกระดูก รวมถึงการผ่าตัดปรับเส้นเอ็นรอบข้อนิ้วเท้า เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
🛡️ การป้องกันภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
· เลือกใส่รองเท้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน ที่สำคัญ เวลาเลือกซื้อรองเท้า พี่หมอแนะนำว่าควรเลือกรองเท้าที่มีหน้ากว้าง ไม่บีบเท้า และควรเผื่อช่องว่างระหว่างปลายเท้าและปลายรองเท้าประมาณครึ่งนิ้ว
· สำหรับคุณผู้หญิง ควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง รองเท้าปลายแหลม และรองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป
· บริหารนิ้วเท้าเป็นประจำ ด้วยการยืดเหยียดและงอนิ้วเท้าสลับไปมา
· ดูแลรักษารูปเท้าอยู่เสมอ เนื่องจากภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะถ้ามีกรรมพันธุ์ หรือบุคคลในครอบครัวเคยมีภาวะนี้
· รักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สำหรับใครที่กำลังมีภาวะนี้อยู่ก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะครับ ลองทำตามคำแนะนำที่พี่หมอบอกดูก่อน อาการก็น่าจะดีขึ้น แต่ถ้าทำแล้วอาการไม่ดีขึ้น และเริ่มรู้สึกปวดมากจนทนไม่ได้ หรืออาการปวดเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันก็สามารถไปปรึกษาแพทย์ได้
ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับทุกคน 😷😷😷