Stainless Steel Standard Hinge แก้ปัญหา ประตูเปิดยาก ติดขัด ด้วยการเลือกบานพับให้เหมาะสม

เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยน ทั้งอากาศแห้ง อากาศชื้น ก็มักเป็นผลให้บานประตูและวงกบไม้มีปัญหาเปิดปิดยาก หรืออาจมีเสียงดังรบกวน ซึ่งต้นเหตุของปัญหาก็คือ การเลือกใช้บานพับที่อาจจะไม่เหมาะ ดังนั้นการเลือกใช้บานพับ จึงต้องสอดคล้องกับลักษณะของประตู มีความสัมพันธ์ในเรื่องการรับน้ำหนัก เพื่อไม่ให้มีผลต่อการใช้งานเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ 
 
ประเภทของบานพับ
 
บานพับทั่วไป มี 2 แบบ คือ 
บานพับแบบแหวน : เหมาะกับประตูไม้ ที่มีน้ำหนักน้อย อายุการใช้งานค่อนข้างสั้น เมื่อใช้ไปนานๆ อาจทำให้เกิดเสียงดัง ด้วยสาเหตุของน้ำหนักประตูกดทบแหวนที่ตัวบานพับ และ 

บานพับแบบลูกปืน : เหมาะกับประตูขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ลูกปืนในตัวบานพับจะทนแรงเสียดสีได้ดี ทำให้การใช้งานได้ยาวนาน
 
บานพับผีเสื้อ เหมาะกับประตูที่มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายไม่ต้องเซาะร่องทำรอยบากที่ประตู ติดเข้ากับวงกบได้เลย ใช้ได้กับทั้งประตู PVC , UPVC และประตูไม้อัดที่มีน้ำหนักไม่เกิน 35 กก. 

ในกรณีที่ประตูมีน้ำหนักมาก ควรติดโช๊คประตูช่วยในเรื่องการรับน้ำหนักประกอบด้วย 
 
จำนวนบานพับที่เหมาะกับการติดตั้งประตู 
เพื่อรองรับน้ำหนักของประตูให้เหมาะสม จำนวนบานพับที่ติดตั้งควรอยู่ที่ 2-5 ตัว ตามขนาดความสูงและชนิดของประตู โดยพิจารณาจากน้ำหนักของประตูเป็นองค์ประกอบ คือ ประตูน้ำหนัก 15-20 กก. ควรติดบานพับ 3 ตัว , ประตูน้ำหนัก 25-40 กก.ควรติดบานพับ 4 ตัว และประตูน้ำหนัก 40-60 กก. ควรติดบานพับที่  5 ตัว 
 
การกำหนดระยะติดตั้งบานพับ 
ระยะของการติดตั้งบานพับ ต้องสัมพันธ์กับขนาดความสูงของประตู โดยเริ่มที่จำนวนบานพับ 3 ตัว บานพับตัวแรกควรติดตั้งห่างจากขอบบนของประตู ประมาณ 15-20 ซม. และตัวที่สองติดตั้งห่างจากตัวแรก ประมาณ 15-20 ซม. ส่วนตัวบานพับตัวที่สาม ให้ติดตั้งห่างจากขอบล่างของประตู ประมาณ 15-20 ซม.​ หากมีการเพิ่มจำนวนบานพับ ให้วัดระยะห่างจากตัวที่สองเรียงลงมา 
 
การติดตั้งบานพับในตำแหน่งที่เหมาะสม จะช่วยให้การรับน้ำหนักของประตูได้ดี ลดปัญหาประตูตก เปิด ปิดยาก และยังส่งผลถึงระบบล็อคประตูอีกด้วย 
 
นอกจากบานพับสแตนเลสรูปแบบต่างๆ บานพับสีดำด้านก็ออกแบบมาให้าคนรักบ้านได้เลือกให้เข้าชุดกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สีดำด้านอื่นๆ ได้อย่างเข้าชุด เช่น โช๊คประตูสีดำด้าน , อุปกรณ์หยุดบานประตูสีดำด้าน ได้ครบชุดสำหรับการติดตั้งประตู
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่