เผย 7 นศ.พยาบาล มธ. ฉีดซิโนแวค เจอผลข้างเคียงรุนแรง หายใจลำบาก-ชาตามร่างกาย
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6387492
เผย 7 นศ.พยาบาล มธ. ฉีดซิโนแวค แล้วเจอผลข้างเคียง หายใจลำบาก-ชาตามร่างกาย เรียกร้องจัดสรรวัคซีนปลอดภัย มีประสิทธิภาพให้ปชช.-บุคลากรทางแพทย์
วันที่ 9 พ.ค.64 เพจ
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์แถลงการของ คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้มีการฉีดวัคซีน โควิด-19 ที่มีคุณภาพ หลังมีนักศึกษาได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนซิโนแวค ความว่า
แถลงการณ์ คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง อาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน COVID-19 SINOVAC จากการที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้รับวัคชีน COVID-19 SINOVAC จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 23 เม.ย.- 5 พ.ค.64 รวม 88 ราย แล้วก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ แบ่งเป็น มีอาการรุนแรง 7 ราย และ มีอาการเล็กน้อย 2 ราย ดังนี้
อาการรุนแรง 7 ราย
– อาการรุนแรงรายที่ 1 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 14 ชั่วโมง มีอาการหายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย ใช้หมอนนอนหนุน 2 ใบ อาการจึงดีขึ้น มีอาการอ่อนเพลีย ซึมร่วมด้วย(ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 2 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 30 นาที มีอาการหายใจหอบเหนื่อย วันต่อมาเริ่มมีอาการชาตามร่างกาย ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 3 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคชีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีดวันแรกมีอาการบริเวณแขนข้างที่ฉีด วันที่ 2 – 10 วันต่อมา มีอาการชาปลายมือและเท้าข้างซ้าย ( ไปพบแพทย์เรื่องอาการชาในวันที่ 5 หลังได้รับวัคซีน แพทย์แจ้งว่าอาการปกติ ได้รับวิตามินบีรวมและ Amitriptyline
– อาการรุนแรงรายที่ 4 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการง่วงซีมหนักศีรษะ ปวดตามลำตัว ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 5 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการใจหอบเหนื่อย มีอาการเจ็บหน้าอกขณะหายใจ มีอาการติดต่อกัน 3 วัน ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 6 นักศึกษาเพศชาย รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการหายใจลำบาก ง่วงซึม มีอาการติดต่อกัน 3 วัน ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 7 นักศึกษาเพศหญิง โรคประจำตัวภูมิแพ้ รับวัคซีนวันที่ 5 พ.ค.64 หลังฉีดทันทีมีอาการหนังตาตก อ่อนแรง พักสังเกตอาการบริเวณจุดปฐมพยาบาลกว่า 1 ชั่วโมงอาการดีขึ้นและเดินทางกลับ
หลังฉีด 2 วันต่อมา ช่วงเช้ามีอาการชาบริเวณมือและเท้าเล็กน้อย ระหว่างวันอาการดีขึ้น และช่วงเย็นมีอาการง่วงซีม อ่อนเพลียมากขึ้น ตากระตุก มุมปากกระตุก แขนอ่อนแรงและชาบริเวณขา จึงไปพบแพทย์ แพทย์ให้ความเห็นว่า เป็นอาการข้างเคียง ได้รับวิตามินบีรวมและยานอนหลับ
หลังฉีด 3 วันต่อมา ช่วงเข้ามีอาการชาบริเวณปลายมือปลายเท้า ระหว่างวันอาการดีขึ้น ช่วงเย็นมีอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาทั้งสองข้างลืมตาไม่ขึ้น จึงไปพบแพทย์ ระหว่างการเดินทาง มีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น ปากกระตุก เวียนศีรษะ เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์ส่ง MR แจ้งว่าไม่พบความผิดปกติและวินิจฉัยเป็น MG และแจ้งว่าไม่เกี่ยวเนื่องกับวัคซีน แพทย์นัดตรวจเลือดวันที่ 13 พ.ค.64 เคยได้รับยา Clonazepam และวิตามินบีรวมเมื่อพบแพทย์ครั้งแรก หลังจากนั้นแพทย์สั่งหยุดยา Clonazepam และ จ่าย Pyridostigmine
อาการไม่พึงประสงค์เล็กน้อย
– รายที่ 1 นักศึกษาเพศหญิง หลังฉีดวันแรกจนถึงปัจจุบัน มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดแขนซ้ายเล็กน้อย เป็นๆหายๆ นอนตะแคงทับแขนซ้ายไม่ได้ (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– รายที่ 2 นักศึกษาเพศหญิง หลังฉีดวันแรกจนถึงปัจจุบัน มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย เป็นๆหายๆ (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใคร่ขอให้
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิจารณาเรื่องของความปลอดภัยต่อการได้รับวัคซีนของ นักศึกษาและขอความกรุณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยจัดสรรวัคซีนชนิดที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการแจกจ่ายให้กับประชาชนและบุคลากรทางแพทย์ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน
พิษโควิด! ตลาดแตงโมกาฬสินธุ์แทบร้าง ซบเซาหนักสุดในรอบสิบปี
https://www.matichon.co.th/region/news_2714365
ผลกระทบจากโควิด-19 ตลาดซื้อขายแตงโมโคกดอนหัน แหล่งซื้อขายใหญ่ที่สุดในภาคอีสานที่เคยคึกคักตลอดปี ผลผลิตเหลือมาก ขายไม่ออก ถึงแม้จะลดราคากระหน่ำ กก.ละ 5 บาท แตงโมยังล้นตลาด และเน่าเสียหายซบเซาหนักสุดในรอบสิบปี
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพของประชาชนทุกสาขาอาชีพมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้า
ล่าสุดบรรยากาศการซื้อขายที่ตลาดแตงโมโคกดอนหัน ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตลาดแตงโมที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ที่ผ่านมาแต่ละวันจะมีเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมสายพันธุ์ต่างๆ นำผลผลิตมาจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางกันอย่างคึกคักวันละหลายสิบตัน มีเงินสะพัดจากการซื้อขายวันละหลายล้านบาท หลังจากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 กลับเงียบเหงาซบเซาลงเป็นอย่างมากในรอบสิบปี
นาง
วรรณภา สรสันต์ อายุ 49 ปี แม่ค้าแตงโมบ้านดอนยานาง ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ผลผลิตแตงโมปีนี้ดีกว่าฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย พื้นที่ทำการปลูกมีน้ำเพียงพอและมีฝนตก ประกอบกับหลังจากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2563 จึงทำให้มีแรงงานคืนถิ่นกลับบ้าน และหันมาปลูกแตงโมกันมากขึ้น พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวจึงมีแตงโมเข้าตลาดเป็นจำนวนมาก
“
แต่บรรยากาศการซื้อขายตอนนี้กลับซบเซา เนื่องจากช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในรอบที่ 3 นี้ ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะลดราคาให้กับพ่อค้าคนกลาง หรือลูกค้าทั่วไป การซื้อขายก็ยังไม่คึกคัก รายได้ลดลงไปมากถือว่าเงียบเหงาสุดในรอบสิบปี”
ด้านนาย
วิชัย ศรีเชียงสา อายุ 43 ปี ชาว อ.กระนวน จ.ขอนแก่น พ่อค้าที่มารับแตงโมไปขาย กล่าวว่า ตนยึดอาชีพขายแตงโมเป็นอาชีพหลัก โดยจะมารับซื้อแตงโมที่ตลาดแห่งนี้ ไปวางขายตามตลาดนัดทั่วไป เดิมได้กำไรครึ่งต่อครึ่ง ลงทุนครั้งละ 10,000 บาท ไปขายวัน 2 วันหมด ก็กลับมาซื้อไปขายใหม่ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 3 เที่ยว แต่พอเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในรอบที่ 3 ซึ่งถือว่าค่อนข้างรุนแรง มีผู้ได้รับเชื้อกระจายหลายจังหวัด ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่ออาชีพขายแตงโมเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีลูกค้าออกออกมาเดินตลาด เพราะกลัวจะติดเชื้อโควิด-19
นาย
วิชัย กล่าวอีกว่า พอประสบเหตุการณ์โควิด-19 ระบาดดังกล่าว ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการขายใหม่ ทั้งเร่ขายตามหมู่บ้าน แต่ก็สิ้นเปลืองค่าน้ำมัน จากที่เคยขายส่งตามตลาดนัด ก็ขายปลีกตามร่มไม้ริมถนน ทำให้แตงโมขายออกช้า ประกอบกับอากาศร้อน ก็เกิดการเน่าเสียหาย แต่เนื่องจากเป็นอาชีพหลักและมีหนี้สินเยอะ ไม่มีมีทางเลือกอื่น ก็จึงต้องมารับซื้อแตงโมไปขายตามต่างจังหวัด แม้จะเสี่ยงกับการขาดทุนก็ต้องยอม เพราะหากไม่ขายแตงโมก็ไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร ยังดีที่ช่วงแม่ค้าที่ตลาดแตงโมโคกดอนหันมีการปรับลดราคาจากเดิม กก.ละ 8-10 บาท ลงมาที่ กก.ละ 5 บาท จึงเป็นการประหยัดต้นทุนในการซื้อลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม นาย
วิชัย ระบุว่า ในภาพรวมยังถือว่าบรรยากาศซื้อขายเงียบเหงาที่สุดในรอบ 10 ปี เพราะไม่มีพ่อค้ามารับซื้อ เนื่องจากตลาดนัดหลายแห่งปิด ส่วนที่ยังเปิดก็ยังไม่มีคนออกมาซื้อ เพราะกลัวติดเชื้อโควิด-19 ดังกล่าว ทำให้แตงโมล้นตลาดเป็นจำนวนมาก
JJNY : 7นศ.พยาบาลมธ.พบผลข้างเคียง│ตลาดแตงโมกาฬสินธุ์แทบร้าง│สุทินแย้มจับตางบของรบ.│โรมเผยมีหลักฐานเอาธรรมนัสหลุดเก้าอี้
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6387492
เผย 7 นศ.พยาบาล มธ. ฉีดซิโนแวค แล้วเจอผลข้างเคียง หายใจลำบาก-ชาตามร่างกาย เรียกร้องจัดสรรวัคซีนปลอดภัย มีประสิทธิภาพให้ปชช.-บุคลากรทางแพทย์
วันที่ 9 พ.ค.64 เพจ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์แถลงการของ คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้มีการฉีดวัคซีน โควิด-19 ที่มีคุณภาพ หลังมีนักศึกษาได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนซิโนแวค ความว่า
แถลงการณ์ คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง อาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน COVID-19 SINOVAC จากการที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้รับวัคชีน COVID-19 SINOVAC จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 23 เม.ย.- 5 พ.ค.64 รวม 88 ราย แล้วก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ แบ่งเป็น มีอาการรุนแรง 7 ราย และ มีอาการเล็กน้อย 2 ราย ดังนี้
อาการรุนแรง 7 ราย
– อาการรุนแรงรายที่ 1 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 14 ชั่วโมง มีอาการหายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย ใช้หมอนนอนหนุน 2 ใบ อาการจึงดีขึ้น มีอาการอ่อนเพลีย ซึมร่วมด้วย(ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 2 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 30 นาที มีอาการหายใจหอบเหนื่อย วันต่อมาเริ่มมีอาการชาตามร่างกาย ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 3 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคชีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีดวันแรกมีอาการบริเวณแขนข้างที่ฉีด วันที่ 2 – 10 วันต่อมา มีอาการชาปลายมือและเท้าข้างซ้าย ( ไปพบแพทย์เรื่องอาการชาในวันที่ 5 หลังได้รับวัคซีน แพทย์แจ้งว่าอาการปกติ ได้รับวิตามินบีรวมและ Amitriptyline
– อาการรุนแรงรายที่ 4 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการง่วงซีมหนักศีรษะ ปวดตามลำตัว ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 5 นักศึกษาเพศหญิง รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการใจหอบเหนื่อย มีอาการเจ็บหน้าอกขณะหายใจ มีอาการติดต่อกัน 3 วัน ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 6 นักศึกษาเพศชาย รับวัคซีนวันที่ 23 เมษายน 2564 หลังฉีด 1 วัน มีอาการหายใจลำบาก ง่วงซึม มีอาการติดต่อกัน 3 วัน ( ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– อาการรุนแรงรายที่ 7 นักศึกษาเพศหญิง โรคประจำตัวภูมิแพ้ รับวัคซีนวันที่ 5 พ.ค.64 หลังฉีดทันทีมีอาการหนังตาตก อ่อนแรง พักสังเกตอาการบริเวณจุดปฐมพยาบาลกว่า 1 ชั่วโมงอาการดีขึ้นและเดินทางกลับ
หลังฉีด 2 วันต่อมา ช่วงเช้ามีอาการชาบริเวณมือและเท้าเล็กน้อย ระหว่างวันอาการดีขึ้น และช่วงเย็นมีอาการง่วงซีม อ่อนเพลียมากขึ้น ตากระตุก มุมปากกระตุก แขนอ่อนแรงและชาบริเวณขา จึงไปพบแพทย์ แพทย์ให้ความเห็นว่า เป็นอาการข้างเคียง ได้รับวิตามินบีรวมและยานอนหลับ
หลังฉีด 3 วันต่อมา ช่วงเข้ามีอาการชาบริเวณปลายมือปลายเท้า ระหว่างวันอาการดีขึ้น ช่วงเย็นมีอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาทั้งสองข้างลืมตาไม่ขึ้น จึงไปพบแพทย์ ระหว่างการเดินทาง มีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น ปากกระตุก เวียนศีรษะ เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์ส่ง MR แจ้งว่าไม่พบความผิดปกติและวินิจฉัยเป็น MG และแจ้งว่าไม่เกี่ยวเนื่องกับวัคซีน แพทย์นัดตรวจเลือดวันที่ 13 พ.ค.64 เคยได้รับยา Clonazepam และวิตามินบีรวมเมื่อพบแพทย์ครั้งแรก หลังจากนั้นแพทย์สั่งหยุดยา Clonazepam และ จ่าย Pyridostigmine
อาการไม่พึงประสงค์เล็กน้อย
– รายที่ 1 นักศึกษาเพศหญิง หลังฉีดวันแรกจนถึงปัจจุบัน มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดแขนซ้ายเล็กน้อย เป็นๆหายๆ นอนตะแคงทับแขนซ้ายไม่ได้ (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
– รายที่ 2 นักศึกษาเพศหญิง หลังฉีดวันแรกจนถึงปัจจุบัน มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย เป็นๆหายๆ (ไม่ได้ไปพบแพทย์ )
คณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 2คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงใคร่ขอให้
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิจารณาเรื่องของความปลอดภัยต่อการได้รับวัคซีนของ นักศึกษาและขอความกรุณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยจัดสรรวัคซีนชนิดที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการแจกจ่ายให้กับประชาชนและบุคลากรทางแพทย์ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน
พิษโควิด! ตลาดแตงโมกาฬสินธุ์แทบร้าง ซบเซาหนักสุดในรอบสิบปี
https://www.matichon.co.th/region/news_2714365
ผลกระทบจากโควิด-19 ตลาดซื้อขายแตงโมโคกดอนหัน แหล่งซื้อขายใหญ่ที่สุดในภาคอีสานที่เคยคึกคักตลอดปี ผลผลิตเหลือมาก ขายไม่ออก ถึงแม้จะลดราคากระหน่ำ กก.ละ 5 บาท แตงโมยังล้นตลาด และเน่าเสียหายซบเซาหนักสุดในรอบสิบปี
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพของประชาชนทุกสาขาอาชีพมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้า
ล่าสุดบรรยากาศการซื้อขายที่ตลาดแตงโมโคกดอนหัน ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตลาดแตงโมที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ที่ผ่านมาแต่ละวันจะมีเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมสายพันธุ์ต่างๆ นำผลผลิตมาจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางกันอย่างคึกคักวันละหลายสิบตัน มีเงินสะพัดจากการซื้อขายวันละหลายล้านบาท หลังจากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 กลับเงียบเหงาซบเซาลงเป็นอย่างมากในรอบสิบปี
นางวรรณภา สรสันต์ อายุ 49 ปี แม่ค้าแตงโมบ้านดอนยานาง ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ผลผลิตแตงโมปีนี้ดีกว่าฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย พื้นที่ทำการปลูกมีน้ำเพียงพอและมีฝนตก ประกอบกับหลังจากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2563 จึงทำให้มีแรงงานคืนถิ่นกลับบ้าน และหันมาปลูกแตงโมกันมากขึ้น พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวจึงมีแตงโมเข้าตลาดเป็นจำนวนมาก
“แต่บรรยากาศการซื้อขายตอนนี้กลับซบเซา เนื่องจากช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในรอบที่ 3 นี้ ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะลดราคาให้กับพ่อค้าคนกลาง หรือลูกค้าทั่วไป การซื้อขายก็ยังไม่คึกคัก รายได้ลดลงไปมากถือว่าเงียบเหงาสุดในรอบสิบปี”
ด้านนายวิชัย ศรีเชียงสา อายุ 43 ปี ชาว อ.กระนวน จ.ขอนแก่น พ่อค้าที่มารับแตงโมไปขาย กล่าวว่า ตนยึดอาชีพขายแตงโมเป็นอาชีพหลัก โดยจะมารับซื้อแตงโมที่ตลาดแห่งนี้ ไปวางขายตามตลาดนัดทั่วไป เดิมได้กำไรครึ่งต่อครึ่ง ลงทุนครั้งละ 10,000 บาท ไปขายวัน 2 วันหมด ก็กลับมาซื้อไปขายใหม่ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 3 เที่ยว แต่พอเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในรอบที่ 3 ซึ่งถือว่าค่อนข้างรุนแรง มีผู้ได้รับเชื้อกระจายหลายจังหวัด ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่ออาชีพขายแตงโมเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีลูกค้าออกออกมาเดินตลาด เพราะกลัวจะติดเชื้อโควิด-19
นายวิชัย กล่าวอีกว่า พอประสบเหตุการณ์โควิด-19 ระบาดดังกล่าว ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการขายใหม่ ทั้งเร่ขายตามหมู่บ้าน แต่ก็สิ้นเปลืองค่าน้ำมัน จากที่เคยขายส่งตามตลาดนัด ก็ขายปลีกตามร่มไม้ริมถนน ทำให้แตงโมขายออกช้า ประกอบกับอากาศร้อน ก็เกิดการเน่าเสียหาย แต่เนื่องจากเป็นอาชีพหลักและมีหนี้สินเยอะ ไม่มีมีทางเลือกอื่น ก็จึงต้องมารับซื้อแตงโมไปขายตามต่างจังหวัด แม้จะเสี่ยงกับการขาดทุนก็ต้องยอม เพราะหากไม่ขายแตงโมก็ไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร ยังดีที่ช่วงแม่ค้าที่ตลาดแตงโมโคกดอนหันมีการปรับลดราคาจากเดิม กก.ละ 8-10 บาท ลงมาที่ กก.ละ 5 บาท จึงเป็นการประหยัดต้นทุนในการซื้อลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม นายวิชัย ระบุว่า ในภาพรวมยังถือว่าบรรยากาศซื้อขายเงียบเหงาที่สุดในรอบ 10 ปี เพราะไม่มีพ่อค้ามารับซื้อ เนื่องจากตลาดนัดหลายแห่งปิด ส่วนที่ยังเปิดก็ยังไม่มีคนออกมาซื้อ เพราะกลัวติดเชื้อโควิด-19 ดังกล่าว ทำให้แตงโมล้นตลาดเป็นจำนวนมาก