คนในประเทศที่เจริญแล้ว มีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือมีเงินออมอย่างเหมาะสม สำหรับกลุ่มคนรายได้น้อยไหม

ผมยกตัวอย่างคนไทย มนุษย์เงินเดือนทั่วๆไปส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะทำงานออฟฟิศ ทำงานโรงงาน พนักงานห้าง พนักงานร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายของอะไรก็แล้วแต่ ที่มีเงินเดือนทั่วๆไปอย่างน้อย 10-20k ซึ่งผมเชื่อว่านี่คือคนส่วนใหญ่ของประเทศจริงๆ

เมื่อมองจากสังคมและคนรอบๆตัว มองดูญาติพี่น้อง ก็เจอแต่คนที่หามาได้ก็แค่ใช้ไปเดือนชนเดือน ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบมีคุณภาพที่ดี บางเดือนเหลือนิดหน่อย บางเดือนติดลบก็ทนๆกันไป เพราะเจอค่าครองชีพ ค่าน้ำมัน ค่าที่อยู่ ค่ากิน ค่าของใช้จิปาถะ เงินที่หามาได้ก็แทบไม่เหลือ ทั้งๆที่ก็ไม่ได้ฟุ่มเฟือยกินเหล้าเมายาอะไร นี่พูดถึงแต่ตัวคนเดียวก็จะไม่พอใช้แล้ว อย่าพูดถึงการมีครอบครัวเลย เพราะจะเอาเงินที่ไปดูแลเลี้ยงครอบครัวได้ ถ้าคนไหนมีครอบครัวก็อาจจะต้องเริ่มสร้างหนี้การเป็นหนี้พอกพูนวนไปวนมาไม่จบสิ้น 

ที่เล่าๆมานี่เป็นเรื่องจริงของคนรอบตัวทั้งนั้นครับ พอเห็นแบบนี้ก็นึกสงสัยว่า เออ คนชาติอื่นๆอย่างประเทศที่เค้าพัฒนาปล้วเค้ามีกลุ่มคนรายได้น้อยๆที่อัตคัต ต้องมัธยัสก์กันเพื่อจะประคองตัวให้รอดกับเงินเดือนขั้นต่ำแบบนี้มั้ย หรือว่าคนกลุ่มเงินเดือนน้อยของเค้าที่เป็นคนส่วนใหญ่ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมาะสมแบบที่ไม่ได้เหลื่อมล้ำมากเท่าไรครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เห็นแต่มนุษย์เงินเดือนรายได้ต่ำ แต่รสนิยมสูง และใช้จ่ายฟุ่มเฟือยครับ ไม่มีใครเงินเดือนสูงแต่แรก เพราะเริ่มต้นจากเงินเดือนหมื่นนิดๆเหมือนกันหมดทั้งนั้นแหล่ะครับ แต่เก็บออมกันมายาวนานแสนนานหลายสิบปี แต่คนรุ่นหลังๆ เด็กยุคใหม่ ความอดทนต่ำ แต่กิเลสสูง ใช้แต่ของดีๆ แพงๆ ลองมาใช้เงินวันละ 120 บาท แบบผมไหม ถึงจะมีเงินเก็บ ถ้าใช้เงินตามใจ เงินเดือนจะกี่หมื่นก็คงหมด ไม่พอใช้อยู่ดีนั่นแหล่ะ มันคือคนมีคุณภาพ กับคนไร้คุณภาพ แต่ประเทศเรามีคนไร้คุณภาพเยอะมากกว่า ไม่รู้จักวางแผนการเงิน เอาเงิน 1000 บาท อยู่กับคนมีคุณภาพ ยังไงก็เหลือใช้ เหลือเฟือ เอาเงิน 1000 บาท ไปอยู่กับคนไร้คุณภาพ ยังไงก็หมดอยู่ดี
ความคิดเห็นที่ 4
หลายประเทศ คนเค้าประหยัดมากครับ อย่างในออสเตรเลีย คนเค้าไม่ฟุ่มเฟือย ร้านแบรนด์เนมมีแต่คนเอเชียเข้าส่วนใหญ่
สังเกตว่า เค้าไม่มีกระแสว่าชั้นต้องซื้อนี่ ชั้นต้องกินนั่น ไม่งั๊นตกเทรนด์

ตอนที่รองเท้า อดิเดส มีรุ่นพิมพ์ชื่อเมือง มีซิดนีย์ คนเค้าก็ไม่ได้แห่ไปซื้อ แต่รุ่นทีพิมพ์ว่า BKK เกลี้ยง เพราะคนไทยแห่ซื้อ หมด และหมดทั่วโลกด้วย ขาย up ราคากัน 2 เท่า คนไทยยังซื้อ จะว่าเหลื่อมล้ำ เพราะคนรวยซื้อ คงยาก เพราะซื้อสินค้าหมดโลกเลย

ผมไปฟิตเนสที่สยามพนักงานรีเซฟชั่นใข้โทรศัพท์รุ่นแพงสุด ดีสุด ณ ตอนนั้น น่าจะราวสามหมื่น ผมซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทใช้แค่แบบกลางๆ ตกรุ่น เห็นพนักงานเด็กๆ บ่นว่า โทรศัพท์ที่ใช้ยังไม่พังเลย รุ่นใหม่ออกแล้ว ทำไง เพื่อนบอก ซื้อใหม่เล๊ย รอไร

จากนั้นเราก็บอกว่า เราเงินไม่พอ

ส่วนสวัสดิการก็อย่างที่บอกครับว่า เค้าเสียภาษีเยอะมาดครับ เรื่องเลี่ยงภาษีก็ยาก
ความคิดเห็นที่ 8
ประเทศที่พัฒนาแล้ว สวัสดิการดี แลกมาด้วย การทำงานอย่างหนักของประชาชนและเสียภาษีเก็บไว้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเงินเดือน เวลาเกษียณหรือตกงานจึงมีเงินสวัสดิการมาเลี้ยง

แต่คนไทย ส่วนหนี่งของประเทศเป็นคนไม่ทำงาน และอีกครี่งหนึ่งของประเทศ เป็นคนทำงานแบบไม่เสียภาษี ... แต่อยากได้สวัสดิการดีๆ
ความคิดเห็นที่ 23
ในหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เริ่มตัดการใช้กระแสเงินสดออกแล้ว เพราะอะไร เพราะว่าเงินสดทำให้เก็บภาษีได้น้อยลง
ลองมาดูตัวอย่างของประเทศบ้านแฟน ประเทศเบลเยี่ยม รายได้ชนชั้นกลาง ได้เงินเดือน 3,600 ยูโร( ×36บาท เป็นค่าเงินไทย) จะได้รับใบแจกแจงมาว่าหักอะไรไปบ้าง
ได้รับเงินเข้าบัญชีจริง ๆ 1,800 ยูโร แต่ถ้าคุณมีบุตร จะหักน้อยลงนิดนึง ถ้าคุณเป็นโสด คุณถูกหักเพิ่มอีก
ถ้ามีลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ จะได้รับคนละ166.46ยูโร
ตั้งแต่ 6 ขวบ ถึง 12 ขวบ จะได้รับคนละ 210ยูโร
ตั้งแต่12 ปี ถึง 18 ปี จะได้รับคนละ 265ยูโร
คอนนี้เปลี่ยนมาเป็น 166.46 ยูโร ทุกช่วงอายุ
เพราะเมื่อก่อนเค้าคิดเรทตามที่พ่อแม่มีรายได้ มีรายได้มากรัฐช่วยน้อย มีรายได้น้อย รัฐช่วยมาก
ทางการแจ้งว่าโรงเรียนคือฟรี จนถึง18 ปี แต่จริง ๆ ยังมีส่วนที่ต้องจ่ายรัฐให้อำนาจโรงเรียนเรียกเก็บได้ มีทั้งโรงเรียนรัฐ และเอกชนค่ะ
ตั้งแต่เข้าเรียนจนถึง 12 ปี ฟรีทุกอย่าง
ตั้งแต่ 12 ปี-18ปี เข้าเรียนไม่เสียเงิน แต่มีค่าเรียนภาษา มีค่าทัศนศึกษา กิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน อุปกรณ์กีฬา ค่าอาหาร และบางโรงเรียนต้องใส่ชุดยูนิฟอร์ม ค่าเรียนพิเศษ ค่าหนังสือ ค่าถ่ายเอกสาร
แฟนปัจจุบันอายุ34 จำได้ว่าคุณแม่จ่ายค่าเรียนต่าง ๆ ประมาณ 500 ยูโร ต่อปี ต่อลูก1คน เมื่อ 20ปีที่แล้ว และโรงเรียนสามารถขอบริจาคจากผู้ปกครองได้ เพื่อนำไปช่วยเด็กที่บ้านยากจน ไม่สามารถจ่ายส่วนต่าง ๆ ตรงนี้ได้
วันหยุดช่วงตั้งครรภ์ เลือกหยุดได้6สัปดาห์ หรือเลือกหยุดหลังจากคลอดแล้ว
วันหยุดหลังคลอด 9 สัปดาห์ ได้100% เงินเดือน
วันหยุดสำหรับพ่อ 15 วัน ได้ 100% เงินเดือน
ถ้าเจ็บป่วย โรงพยาบาลฟรี ถ้าอยากนอนห้องเดี่ยว ซื้อประกันเพิ่มไว้เดือนละ 50 ยูโรโดยประมาณขึ้นอยู่กับเพศ อายุ โรคประจำตัว
ถ้าหากว่าตกงาน จะได้รับ 70% ของเงินเดือนที่หักnet แล้ว
และในส่วนที่ทำงานที่มีดี จะทำประกันไว้ให้จ่ายในส่วน 30%ที่เหลือ ในเดือนสุดท้ายของปีจะได้โบนัส100 % หลังจากหักภาษีแล้ว 1 เดือน
อยากทำงานในบ้านเค้า อยู่ดี ๆ ไปสมัครงานทำเลยได้ไหม
ไม่ได้ค่ะ ถูกจับ ผิดกฎหมาย ต้องมีบัตรส้ม ที่มีหมายเลขการเสียภาษี เคยมีเคสคนไทยแอบทำงาน รับเงินสด เอาเงินสดไปใส่ตู้ธนาคาร ส่งมาให้บ้านที่เมืองไทย ธนาคารเค้าตรวจสอบเจอ เค้าแจ้งรัฐ บางคนผ่านไป 3 ปีนึกว่ารอด เจอเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไป 10,000 ยูโรก็มี แฟนบอกว่า เค้ามาถึงบ้านเลย ไม่มีใครรอด ทุกการมีรายได้ต้องเสียภาษี เงินต้องมีที่มาที่ไป
ภาษีมรดกถ้าจะยกให้โดยไม่เสียภาษี ต้องยกให้ก่อนเสียชีวิต 3 ปี ถ้าเสียชีวิตก่อน 3 ปี
บ้าน ที่ดิน เงินในบัญชี ไวน์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ งานศิลปะ นับหมด
กรณีสามี-ภรรยา บุตร หลาน
มรดกมูลค่า
0-50,000ยูโร  เสียภาษีร้อยละ 3
50,000-200,000 ยูโรเสียภาษีร้อยละ 9
250,000 ยูโรขึ้นไป เสียภาษร้อยละ 27
แต่ถ้าเป็นภาษีมรดก ที่ให้ระหว่างพี่น้อง
0-35000 ยูโร เสียภาษีร้อยละ 25
35,000-75,000 ยูโร เสียภาษีร้อยละ 30
75,000 ยูโรขึ้น  เสียภาษีร้อยละ 55ยูโร
ถ้าเล่นหุ้นล่ะ เล่นหุ้นได้ปันผล เสียภาษี30% ค่ะ
ถ้าเล่นหุ้นมูลค่า 1ล้านยูโรขึ้นไปเสียภาษี 0.15%
ถ้าซื้อหุ้นเสียภาษี 0.35% เสียภาษีในส่วนนี้มูลค่าสูงสุดไม่เกิน1600ยูโร
ภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าทุกชนิด 21%
ยกเว้น หนังสือ ยา น้ำประปา 6%
ทองคำ ภาษี 0%
แต่ ๆ ไม่สามารถนำเงินสดมูลค่าสูงกว่า 3,000 ยูโร ไปซื้อสินค้าใด ๆ ได้ ต้องใช้วิธีโอนเงินค่ะ
สำหรับภาษีธุรกิจ ถ้ามีบริษัท ได้กำไรจ่ายภาษี 33%
ภาษีสำหรับสิ่งแวดล้อม
ภาษีขยะ ทุกคนต้องซื้อถุง ถุงขาว ถุงฟ้า ถุงเขียว
ถุงฟ้า สำหรับใส่พลาสติก
ถุงเขียว สำหรับใส่เศษอาหาร ขยะเปียกที่ย่อยสลายได้
ถุงขาว สำหรับใส่ขยะอื่น ๆ
กระดาษกล่องต่าง ๆ ต้องไปใส่ในที่รัฐจัดให้ ชั่งกิโลเสียเงินสำหรับนำไปทิ้ง
ขวดแก้วต่าง ๆ มีคอนเทนเนอร์ที่รัฐจัดให้
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค ทีวีเสีย ตู้เย็นเสีย คอมพิวเตอร์เสีย แลปทอป เตียงพัง ยางรถยนต์เก่า ตู้เสื้อผ้าเก่า ชั่งน้ำหนัก จ่ายเงิน ถึงนำเข้าไปทิ้งได้ โยนทิ้งน้ำแบบเมืองไทยไม่ได้นะจ๊ะ
ภาษีรถยนต์  ขึ้นอยู่กับมูลค่ารถ ความแรงของรถ และขึ้นอยู่กับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ดีเซลคือแพงมาก
จ่ายภาษี 21% ก่อนเริ่มแรก เอารถมาขับบนถนนครั้งแรก จ่ายก่อน หลังจากนั้นจ่ายภาษีทุกปี เฉลี่ยอยู่ที่ 600-1000 ยูโร/ปี
ถ้าคุณขับรถบรรทุก จ่ายภาษีตามกิโลที่ขับ ต้องมีการติดตั้ง GPSในรถ และตอนนี้รัฐบาลวางแผนจะทำแบบนี้กับรถทุกประเภท ขับเท่าไหร่จ่ายเท่านั้น
ภาษีโรงเรือน ขึ้นอยู่กับขนาดบ้าน พื้นที่โดยรอบ จ่ายสูงมาก บ้านใหญ่ ยิ่งทำเลดี อาจจ่ายถึงปีละหลักหมื่นยูโร
ถ้าซื้อบ้าน ที่ดิน จ่ายภาษีร้อยละ 10 ของมูลค่าบ้านหรือที่ดินนั้น
คุณแม่แฟนมีบ้านอยู่ในพื้นที่สีเขียว คุณแม่ต้องจ่ายค่าขยะที่สร้างขึ้น ส่วนนั้นคือภาษีท้องถิ่น
ถ้ามีบ้านมากกว่า 1 หลัง ถือว่าคุณมีHoliday house ซึ่งจะต้องเสียภาษีบ้านหลังที่ 2 ด้วย
จอดรถในเมืองหลวง 3 ยูโร/ชั่วโมง
ชายทะเล 10 ยูโร/ชั่วโมง
ไม่จ่ายค่าจอดได้ไหม แอบจอด ถ้ามีคนตรวจมาเจอ 25-45 ยูโร ต่อ1 การปรับ
ยังมีภาษีอื่น ๆ อีกมากมาย ภาษีแอลกอฮอล์ ภาษียาสูบ ภาษีน้ำมัน ภาษีน้ำอัดลม
เกิดอยู่ที่นู่น วันนี้ทำบราวนี่ขอเอามาวางขายหน้าบ้านหน่อย คำตอบคือไม่ได้ค่ะ เพราะเรื่องอาหารเค้าเข้มงวดมาก ต้องมีใบขออนุญาต ต้องผ่านโน่นนี่ หลายอย่างมาก
แก ชั้นซื้อเสื้อมาว่ะ แต่มันเล็กไป ขอโพสต์ขายในfacebookหน่อยก็แล้วกัน ตำรวจมาบ้านเด้อ ทำไม่ได้เหมือนที่เมืองไทยทำนะ
ไม่มีที่ทำมาหากินขอพื้นที่หน้าฟุตบาท เอามาตั้งแผงขายของละกัน
ตัดภาพมาที่บ้านเรา ได้เงินเดือนน้อย ไม่เสียภาษีได้ไหม หาเช้ากินค่ำ ได้เนอะ 300-400 เอง ขนาดได้เงินน้อย ๆ บางคนยังมีเงินกินเหล้า
มาดูปัญหาเรื่องคนอพยพกันต่อ มีคนอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยที่คนอพยพเหล่านี้จะเลือกมาในประเทศเบลเยี่ยม เยอรมัน สวีเดน และได้รับเงินเดือนตั้งแต่เดือนแรกที่มาอยู่
ในประเทศบ้านแฟน
จะได้อยู่ที่ 984ยูโรถ้าโสด และถ้ามีลูก1330 ยูโร
ถ้าอยู่เป็นคู่ 656 ยูโรต่อคน  ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้สถานการณ์ทางการเงินของประเทศจะเข้าสู่สภาวะล้มละลาย เพราะผู้อพยพ อพยพเข้ามาอยู่ แต่ไม่เคยไปทำงาน ไม่เคยจ่ายภาษีเข้าระบบประกันสังคม เมื่อมีลูก ลูกก็ต้องเข้าไปเรียนกับเด็กท้องถิ่น ซึ่งเด็กพวกนี้พูดภาษาถิ่นไม่ได้
การเรียนของเด็กในท้องถิ่นก็พลอยล่าช้าไปด้วย
เพราะครูสอนเร็วไม่ได้ เด็กอพยพไม่เข้าใจ
ผู้อพยพก็เข้าใจอพยพนะ ไปอยู่กลางเมืองที่พัฒนาแล้ว ทุกอย่างสะดวกสบาย แบบนี้ระบบในประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะผู้อพยพมีเพิ่มขึ้นทุกปี คนจ่ายเงินเข้าส่วนกลางต้องถูกเรียกเก็บภาษีมากขึ้น แฟนเองก็เสียภาษีสูงมากทุกปี
และรัฐเริ่มออกมาตัดสิทธิบางอย่าง พยายามขอจ่ายกรณีว่างงานเหลือแค่ 60% มีการจับการทุจริตในกลุ่มนักการเมืองได้
และคนก็เริ่มจะหมดศรัทธากับการที่จะต้องมานั่งจ่ายภาษีเพื่ออุ้มชูคนอื่น
ลองคิดเล่น ๆ เมืองไทยมาทำแบบนี้บ้าง ห้ามทุกอย่าง
เสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีรายรับ100,000 หักภาษีเหลือ 50,000ต่อเดือน จะมีกี่คนที่ยกมืออยากทำ
ทางโน้นภาษีโหดมาก และคนส่วนใหญ่ไม่ได้รวย ใช้สอยกินอยู่อย่างประหยัด เค้าจะทำรายรับรายจ่ายเพราะรายจ่ายเยอะมากมายค่ะ
ความคิดเห็นที่ 15
เวลาเงินไม่พอใช้
คนสมัยก่อน - ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือย ประหยัด หารายได้เพิ่ม

คนสมัยนี้ - ด่าประเทศ โทษความเหลื่อมล้ำ โทษโครงสร้างสังคม โทษรัฐบาล โทษนายทุน โทษทุนนิยม แล้วก็ยังซื้อโทรศัพท์แพง ๆ สวมแบรนด์เนม กินบุฟเฟต์ จิบกาแฟยี่ห้อดังเหมือนเดิม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่