บทความนี้เป็นการสรุปการเสวนาเรื่อง “อนาคตของพม่า และสิ่งที่คนไทยต้องรับมือ” ซึ่งผม (ปั๊บ) จัดทำกับคุณกานต์ ยืนยง นักวิเคราะห์ภูมิรัฐศาสตร์ เจ้าของเว็บไซต์ GeoPolitics.Asia เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานะครับ บทความนี้ว่าด้วย วิกฤตการประท้วงพม่าที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันนี้อาจสามารถนำพม่าไปสู่อนาคตได้กี่แบบ อนาคตแบบใดจึงเป็นประโยชน์กับไทยมากที่สุด ประเทศไทยควรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดอนาคตดังกล่าว และควรเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากอนาคตแต่ละแบบอย่างไร
เกริ่นว่าประเทศพม่านั้นตั้งอยู่ใกล้เคียงกับไทย ผ่านพ้นวิกฤตการณ์หลายอย่างในประวัติศาสตร์คล้ายกับไทย แต่มีระดับของความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ที่รุนแรงกว่า นอกจากนั้นสิ่งที่เราไม่ค่อยพูดถึงคือพม่าผ่านยุคสงครามปราบคอมมิวนิสต์อย่างหนักมาก่อน
สงครามและความขัดแย้งต่างๆ ทำให้รัฐบาลทหารพม่ามักอ้างวาทกรรมที่ว่า “พม่าจำเป็นต้องปกครองด้วยทหาร มิฉะนั้นจะไม่สามารถรวมประเทศเป็นเอกภาพได้” ซึ่งมักมาคู่กับวาทกรรมที่ว่า “ถ้าอองซานซูจีหรือฝ่ายประชาธิปไตยขึ้นครองอำนาจ ประเทศพม่าจะแตกเป็นเสี่ยงๆ” เรื่องนี้มองบางมุมก็มองได้ แต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น
ภาพแนบ: พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำฝ่ายทหาร
วิธีคิดดังกล่าวทำให้ทหารพม่ามักเน้นแนวทางสายเหยี่ยว พยายามสยบศัตรูด้วยความโหดเหี้ยมรุนแรง โดยมีข้ออ้างคือทำเพื่อความมั่นคง สิ่งนี้ย่อมสร้างความไม่พอใจไว้มากมาย ทำให้ยิ่งต้องใช้ความรุนแรงอย่างหนักไปเรื่อยๆ
วิธีคิดดังกล่าวยังทำให้พม่ามักไม่ไว้วางใจต่างชาติ พวกเขาเน้นเสริมกำลังป้องกันตนเองมาตลอด มิได้เป็นมิตรแท้กับจีนอย่างที่หลายคนเชื่อ ยิ่งมิได้เป็นมิตรแท้กับไทย เพราะคิดว่าไทยแอบสนับสนุนกองกำลังชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน เช่นกองกำลังไทยใหญ่ของเจ้ายอดศึกไว้เป็นกันชน แท้จริงความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับจีน, ไทย, และรวมถึงชาติอื่นๆ นั้น เป็นความสัมพันธ์แบบเข้าๆ ออกๆ
กองกำลังชนกลุ่มน้อยของพม่าไม่ได้ชอบรัฐบาลของนางอองซานซูจี เพราะเห็นว่าเข้าข้างคนเชื้อชาติพม่ามากกว่าจะแสดงความเป็นกลางต่อชนทุกกลุ่ม
แต่เนื่องจากส่วนใหญ่เกลียดทหารมาก จึงมีชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มคุยกับรัฐบาลนางอองซานซูจีว่าจะช่วยกันสู้กับทหาร และถ้าชนะจะขอให้พม่ามีการปกครองแบบสาธารณรัฐ
อนึ่งลึกๆ ชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่อยากได้เอกราช แต่ถ้าอ้างว่าสู้เพื่อเอกราชจะทำให้ร่วมมือกันลำบาก จึงขอเรื่องสหพันธรัฐเป็นลำดับแรกก่อน
ภาพแนบ: กองกำลังชนกลุ่มน้อย
นี่นำสู่สถานการณ์ในอนาคตสามแบบใหญ่ๆ ได้แก่:
(1) รัฐบาลทหารชนะโดยเร็ว สามารถปราบปรามการประท้วงได้อย่างสงบราบคาบ
(2) ฝ่ายผู้ประท้วงชนะโดยเร็ว สามารถโค่นล้มเผด็จการทหาร หรือกดดันให้เกิดการเจรจาที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
(3) ทั้งสองฝ่ายไม่แพ้ไม่ชนะ การต่อสู้ยืดเยื้อยาวนาน อาจมีต่างชาติเข้ามาแทรกแซง
ในสามทางนี้ คุณกานต์มองว่า ทางที่สามมีโอกาสมากที่สุด รองมาคือทางที่หนึ่ง และสองตามลำดับ สาเหตุที่เป็นแบบนั้นเพราะ:
(1) นโยบายของทหารพม่าเป็นแนวทางสายเหยี่ยวมาตลอดดังที่กล่าวไป หากเจรจากันเขาจะยื่นข้อเสนอที่ฝ่ายผู้ประท้วงรับไม่ได้ เช่นให้รัฐบาลทหารมีอำนาจต่อ
(2) ฝ่ายผู้ประท้วงเองมีทีท่าว่าจะต่อสู้ไม่คิดชีวิต โดยเฉพาะเมื่อมีคนตายกว่า 700 คนแล้ว หากเจรจากันเขาจะยื่นข้อเสนอที่ฝ่ายทหารรับไม่ได้ เช่นให้ลงโทษผู้นำทหาร
(3) เมื่อมีปัจจัยที่ทำให้เจรจากันได้ยาก ก็ต้องดูว่าแต่ละฝ่ายมีกำลังมากพอจะชนะฝั่งตรงข้ามอย่างรวดเร็วไหม ซึ่งตอนแรกดูเหมือนฝ่ายทหารจะมีกำลังมากกว่า (เพราะแม้จะมีทหารแตกแถวไปอยู่ฝ่ายตรงข้ามบ้าง แต่ก็ยังไม่มากพอ ส่วนกองกำลังชนกลุ่มน้อยสู้กองทัพพม่าไม่ได้อยู่แล้ว)
อย่างไรก็ตามสถานการณ์เปลี่ยนไป เมื่อรัฐบาลไบเดนของอเมริกาแสดงความชัดเจนมากขึ้นในข้อ 4...
(4) รัฐบาลไบเดนชูนโยบายต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน พวกเขาแสดงจุดยืนชัดเจนว่าต่อต้านการปฏิวัติของทหารพม่า และการทำร้ายผู้ประท้วง ตอนนี้พวกเขาได้ทำการคว่ำบาตรพม่าทางเศรษฐกิจอยู่ แต่ดูเหมือนไม่ได้ผล เมื่อสถานการณ์ในพม่ามีความรุนแรงขึ้น (เช่นมีคนตายมากกว่านี้ คุณกานต์ประมาณว่าอยู่ในระดับ 1,000 – 2,000 คน ซึ่งตอนนี้ตายไปกว่า 700 คนแล้ว) รัฐบาลอเมริกาน่าจะต้องยกระดับการแทรกแซง
(5) เทคโนโลยีโดรน ทำให้การแทรกแซงทางทหารมีราคาถูกลง อเมริกาอาจส่งแค่ทหารระดับสูงมาฝึกฝน และให้คำแนะนำแก่กองกำลังฝ่ายประท้วง และส่งโดรนเทคโนโลยีสูงมาช่วย ก็สามารถทำให้รัฐบาลทหารพม่าระส่ำระสายได้ นั่นทำให้อเมริกาอาจตัดสินใจแทรกแซงง่ายขึ้น
ภาพแนบ: นายโจ ไบเดน
(6) อย่างไรก็ตามจีนเองมีผลประโยชน์ในพม่า ที่ทำให้ทอดทิ้งได้ยาก ได้แก่ต้องอาศัยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจากทะเลอันดามันเพื่อหล่อเลี้ยงมณฑลทางใต้ หากอเมริกามา จีนก็น่าจะต้องยื่นมาสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์เช่นกัน
(7) กองทัพพม่าที่มีรากฐานยาวนาน ใช้ทุนพัฒนาสูงมาตลอดไม่ใช่สิ่งที่โค่นล้มได้ง่าย ต่อให้อเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ยื่นมือเข้ามาแทรกแซง แต่ทัพพม่าก็น่าจะมีชาติเช่นจีนหรือรัสเซียมาหนุน ทำให้ไม่สามารถรบเอาแพ้ชนะ หรือกดดันให้ยุติความขัดแย้งด้วยการเจรจาได้อย่างรวดเร็ว
ภาพแนบ: ท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ต่อจากอันดามันไปยังเมืองคุนหมิง
ถ้าเกิดสถานการณ์ที่ 3 จะเกิดอะไรกับไทย? คำตอบคือเกิดได้หลายอย่าง แต่หลักๆ จะมีผู้ลี้ภัยพม่าอพยพเข้ามาจำนวนมาก
ให้คิดดูว่าในสงครามซีเรียนั้น มีคนซีเรียหนีไปตุรกีราว 3 ล้านเศษ หนีไปจอร์แดนราว 1 ล้าน จากประชากรซีเรียประมาณ 21 ล้านคน แค่นี้ก็ทำให้ทั้งสองประเทศเผชิญปัญหามากแล้ว หากพม่าซึ่งมีประชากรราว 53 ล้านคนเกิดสงคราม จะมีคนหนีมาไทยเท่าใด?
...ซึ่งแม้ไทยเองมีชาวพม่าเข้ามาทำงานมากอยู่แล้ว แต่นั่นคือแรงงานที่เข้ามาทำงาน หากคนพม่าทุกเพศทุกวัยหนีสงครามสู่ไทย จะต้องมีวิกฤตทางสังคม เศรษฐกิจ และมนุษยธรรมตามมาแน่นอน
ในมุมอื่น อาจมองได้ว่าเมื่อพม่าเกิดสงครามกลางเมืองและแตกเป็นเสี่ยงๆ ไทยอาจจะสนับสนุนกองกำลังบางกลุ่ม เช่นกลุ่มไทยใหญ่ให้เป็นตัวแทนต่อสู้ เหมือนที่ตุรกีแทรกแซงซีเรีย ...ในตอนจบนี่อาจนำไปสู่บั้นปลายได้หลายแบบ แต่รวมๆ แล้วมันเสี่ยงมาก ...ทำให้อนาคตแบบที่สามน่าจะเป็นผลร้ายกับไทยมากกว่าดี
ภาพแนบ: กองกำลังไทยใหญ่
สำหรับอนาคตแบบที่หนึ่ง หรือการที่รัฐบาลทหารชนะอย่างรวดเร็ว สามารถปราบคู่แข่งอย่างสงบราบคาบนั้น เป็นอนาคตที่ทำให้พม่าแย่ลง
สำหรับไทยแล้วก็เหมือนต้องดีลกับพม่าที่ถอยหลังไปหลายปี และมีระเบิดเวลาลูกใหญ่ขึ้นซ่อนอยู่ อย่างไรก็ตามอนาคตแบบนี้ยังเป็นได้มากกว่าแบบที่สองด้วยเหตุผลต่างๆ ที่กล่าวมา
ถามว่าไทยต้องการทางออกแบบใด คำตอบคือต้องการทางออกแบบที่สอง แม้จะมีความเป็นไปได้น้อยที่สุด
อย่างไรก็ตามทางออกแบบที่สองนั้นดีกับทุกฝ่าย (อาจจะยกเว้นผู้นำทหาร) ระยะยาวจะช่วยให้ประเทศพม่ารุ่งเรืองขึ้น สิทธิมนุษยชนได้รับการดูแลมากขึ้น มีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เศรษฐกิจก็จะดีขึ้นนั่นเอง
เพื่อให้เกิดอนาคตนี้ ไทย และกลุ่มอาเซียนสามารถเข้าไปร่วมกันกดดันให้เกิดการเจรจาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างทหาร และผู้ประท้วง
ผลประนีประนอมนั้นอาจจะออกมาประมาณ จัดให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งที่มีความเป็นธรรม และมีกำหนดเวลาชัดเจน แต่อย่างที่บอกว่าหลังจากคนตายไปหลายร้อย ทั้งสองฝ่ายก็เจรจากันยากขึ้นเรื่อยๆ
การต่อสู้ของพม่าดูเหมือนจะเป็นการต่อสู้ระยะยาว ฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตยอาจต้องเจ็บปวดและอดทนอีกมาก
แต่หากมองอย่างมีความหวัง อาจมองว่าการที่เทคโนโลยีการสื่อสารดีขึ้นทำให้ผู้คนรู้เห็นมากขึ้น และต้องการสิทธิเสรีภาพมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้เกิดการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยขึ้นทั่วโลก เช่นที่ตะวันออกกลาง ที่พม่า รวมทั้งในไทย
แม้ที่ผ่านมาจะสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่สิ่งนี้เป็นเทรนด์ใหญ่ ไม่มีอะไรขัดขวางได้ ซึ่งระยะยาวมันก็เป็นความหวังที่จะสร้างโลกที่ดีขึ้นให้กับเรา
:: ::: :::
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตามเพจ
https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/
กรุ๊ปประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ
https://www.facebook.com/groups/thewildchronicles/
กรุ๊ปท่องเที่ยว เที่ยวโหดเหมือนโกรธบ้าน
https://www.facebook.com/groups/wildchroniclestravel/
Line Square:
https://line.me/ti/g2/8pIcVHp3cc6-jyQJdzIFrg
และ youtube:
https://youtube.com/user/Apotalai
*** อนาคตของพม่า และสิ่งที่คนไทยต้องรับมือ ***
เกริ่นว่าประเทศพม่านั้นตั้งอยู่ใกล้เคียงกับไทย ผ่านพ้นวิกฤตการณ์หลายอย่างในประวัติศาสตร์คล้ายกับไทย แต่มีระดับของความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ที่รุนแรงกว่า นอกจากนั้นสิ่งที่เราไม่ค่อยพูดถึงคือพม่าผ่านยุคสงครามปราบคอมมิวนิสต์อย่างหนักมาก่อน
สงครามและความขัดแย้งต่างๆ ทำให้รัฐบาลทหารพม่ามักอ้างวาทกรรมที่ว่า “พม่าจำเป็นต้องปกครองด้วยทหาร มิฉะนั้นจะไม่สามารถรวมประเทศเป็นเอกภาพได้” ซึ่งมักมาคู่กับวาทกรรมที่ว่า “ถ้าอองซานซูจีหรือฝ่ายประชาธิปไตยขึ้นครองอำนาจ ประเทศพม่าจะแตกเป็นเสี่ยงๆ” เรื่องนี้มองบางมุมก็มองได้ แต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น
ภาพแนบ: พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำฝ่ายทหาร
วิธีคิดดังกล่าวทำให้ทหารพม่ามักเน้นแนวทางสายเหยี่ยว พยายามสยบศัตรูด้วยความโหดเหี้ยมรุนแรง โดยมีข้ออ้างคือทำเพื่อความมั่นคง สิ่งนี้ย่อมสร้างความไม่พอใจไว้มากมาย ทำให้ยิ่งต้องใช้ความรุนแรงอย่างหนักไปเรื่อยๆ
วิธีคิดดังกล่าวยังทำให้พม่ามักไม่ไว้วางใจต่างชาติ พวกเขาเน้นเสริมกำลังป้องกันตนเองมาตลอด มิได้เป็นมิตรแท้กับจีนอย่างที่หลายคนเชื่อ ยิ่งมิได้เป็นมิตรแท้กับไทย เพราะคิดว่าไทยแอบสนับสนุนกองกำลังชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน เช่นกองกำลังไทยใหญ่ของเจ้ายอดศึกไว้เป็นกันชน แท้จริงความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับจีน, ไทย, และรวมถึงชาติอื่นๆ นั้น เป็นความสัมพันธ์แบบเข้าๆ ออกๆ
กองกำลังชนกลุ่มน้อยของพม่าไม่ได้ชอบรัฐบาลของนางอองซานซูจี เพราะเห็นว่าเข้าข้างคนเชื้อชาติพม่ามากกว่าจะแสดงความเป็นกลางต่อชนทุกกลุ่ม
แต่เนื่องจากส่วนใหญ่เกลียดทหารมาก จึงมีชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มคุยกับรัฐบาลนางอองซานซูจีว่าจะช่วยกันสู้กับทหาร และถ้าชนะจะขอให้พม่ามีการปกครองแบบสาธารณรัฐ
อนึ่งลึกๆ ชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่อยากได้เอกราช แต่ถ้าอ้างว่าสู้เพื่อเอกราชจะทำให้ร่วมมือกันลำบาก จึงขอเรื่องสหพันธรัฐเป็นลำดับแรกก่อน
ภาพแนบ: กองกำลังชนกลุ่มน้อย
นี่นำสู่สถานการณ์ในอนาคตสามแบบใหญ่ๆ ได้แก่:
(1) รัฐบาลทหารชนะโดยเร็ว สามารถปราบปรามการประท้วงได้อย่างสงบราบคาบ
(2) ฝ่ายผู้ประท้วงชนะโดยเร็ว สามารถโค่นล้มเผด็จการทหาร หรือกดดันให้เกิดการเจรจาที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
(3) ทั้งสองฝ่ายไม่แพ้ไม่ชนะ การต่อสู้ยืดเยื้อยาวนาน อาจมีต่างชาติเข้ามาแทรกแซง
ในสามทางนี้ คุณกานต์มองว่า ทางที่สามมีโอกาสมากที่สุด รองมาคือทางที่หนึ่ง และสองตามลำดับ สาเหตุที่เป็นแบบนั้นเพราะ:
(1) นโยบายของทหารพม่าเป็นแนวทางสายเหยี่ยวมาตลอดดังที่กล่าวไป หากเจรจากันเขาจะยื่นข้อเสนอที่ฝ่ายผู้ประท้วงรับไม่ได้ เช่นให้รัฐบาลทหารมีอำนาจต่อ
(2) ฝ่ายผู้ประท้วงเองมีทีท่าว่าจะต่อสู้ไม่คิดชีวิต โดยเฉพาะเมื่อมีคนตายกว่า 700 คนแล้ว หากเจรจากันเขาจะยื่นข้อเสนอที่ฝ่ายทหารรับไม่ได้ เช่นให้ลงโทษผู้นำทหาร
(3) เมื่อมีปัจจัยที่ทำให้เจรจากันได้ยาก ก็ต้องดูว่าแต่ละฝ่ายมีกำลังมากพอจะชนะฝั่งตรงข้ามอย่างรวดเร็วไหม ซึ่งตอนแรกดูเหมือนฝ่ายทหารจะมีกำลังมากกว่า (เพราะแม้จะมีทหารแตกแถวไปอยู่ฝ่ายตรงข้ามบ้าง แต่ก็ยังไม่มากพอ ส่วนกองกำลังชนกลุ่มน้อยสู้กองทัพพม่าไม่ได้อยู่แล้ว)
อย่างไรก็ตามสถานการณ์เปลี่ยนไป เมื่อรัฐบาลไบเดนของอเมริกาแสดงความชัดเจนมากขึ้นในข้อ 4...
(4) รัฐบาลไบเดนชูนโยบายต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน พวกเขาแสดงจุดยืนชัดเจนว่าต่อต้านการปฏิวัติของทหารพม่า และการทำร้ายผู้ประท้วง ตอนนี้พวกเขาได้ทำการคว่ำบาตรพม่าทางเศรษฐกิจอยู่ แต่ดูเหมือนไม่ได้ผล เมื่อสถานการณ์ในพม่ามีความรุนแรงขึ้น (เช่นมีคนตายมากกว่านี้ คุณกานต์ประมาณว่าอยู่ในระดับ 1,000 – 2,000 คน ซึ่งตอนนี้ตายไปกว่า 700 คนแล้ว) รัฐบาลอเมริกาน่าจะต้องยกระดับการแทรกแซง
(5) เทคโนโลยีโดรน ทำให้การแทรกแซงทางทหารมีราคาถูกลง อเมริกาอาจส่งแค่ทหารระดับสูงมาฝึกฝน และให้คำแนะนำแก่กองกำลังฝ่ายประท้วง และส่งโดรนเทคโนโลยีสูงมาช่วย ก็สามารถทำให้รัฐบาลทหารพม่าระส่ำระสายได้ นั่นทำให้อเมริกาอาจตัดสินใจแทรกแซงง่ายขึ้น
ภาพแนบ: นายโจ ไบเดน
(6) อย่างไรก็ตามจีนเองมีผลประโยชน์ในพม่า ที่ทำให้ทอดทิ้งได้ยาก ได้แก่ต้องอาศัยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจากทะเลอันดามันเพื่อหล่อเลี้ยงมณฑลทางใต้ หากอเมริกามา จีนก็น่าจะต้องยื่นมาสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์เช่นกัน
(7) กองทัพพม่าที่มีรากฐานยาวนาน ใช้ทุนพัฒนาสูงมาตลอดไม่ใช่สิ่งที่โค่นล้มได้ง่าย ต่อให้อเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ยื่นมือเข้ามาแทรกแซง แต่ทัพพม่าก็น่าจะมีชาติเช่นจีนหรือรัสเซียมาหนุน ทำให้ไม่สามารถรบเอาแพ้ชนะ หรือกดดันให้ยุติความขัดแย้งด้วยการเจรจาได้อย่างรวดเร็ว
ภาพแนบ: ท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ต่อจากอันดามันไปยังเมืองคุนหมิง
ถ้าเกิดสถานการณ์ที่ 3 จะเกิดอะไรกับไทย? คำตอบคือเกิดได้หลายอย่าง แต่หลักๆ จะมีผู้ลี้ภัยพม่าอพยพเข้ามาจำนวนมาก
ให้คิดดูว่าในสงครามซีเรียนั้น มีคนซีเรียหนีไปตุรกีราว 3 ล้านเศษ หนีไปจอร์แดนราว 1 ล้าน จากประชากรซีเรียประมาณ 21 ล้านคน แค่นี้ก็ทำให้ทั้งสองประเทศเผชิญปัญหามากแล้ว หากพม่าซึ่งมีประชากรราว 53 ล้านคนเกิดสงคราม จะมีคนหนีมาไทยเท่าใด?
...ซึ่งแม้ไทยเองมีชาวพม่าเข้ามาทำงานมากอยู่แล้ว แต่นั่นคือแรงงานที่เข้ามาทำงาน หากคนพม่าทุกเพศทุกวัยหนีสงครามสู่ไทย จะต้องมีวิกฤตทางสังคม เศรษฐกิจ และมนุษยธรรมตามมาแน่นอน
ในมุมอื่น อาจมองได้ว่าเมื่อพม่าเกิดสงครามกลางเมืองและแตกเป็นเสี่ยงๆ ไทยอาจจะสนับสนุนกองกำลังบางกลุ่ม เช่นกลุ่มไทยใหญ่ให้เป็นตัวแทนต่อสู้ เหมือนที่ตุรกีแทรกแซงซีเรีย ...ในตอนจบนี่อาจนำไปสู่บั้นปลายได้หลายแบบ แต่รวมๆ แล้วมันเสี่ยงมาก ...ทำให้อนาคตแบบที่สามน่าจะเป็นผลร้ายกับไทยมากกว่าดี
ภาพแนบ: กองกำลังไทยใหญ่
สำหรับอนาคตแบบที่หนึ่ง หรือการที่รัฐบาลทหารชนะอย่างรวดเร็ว สามารถปราบคู่แข่งอย่างสงบราบคาบนั้น เป็นอนาคตที่ทำให้พม่าแย่ลง
สำหรับไทยแล้วก็เหมือนต้องดีลกับพม่าที่ถอยหลังไปหลายปี และมีระเบิดเวลาลูกใหญ่ขึ้นซ่อนอยู่ อย่างไรก็ตามอนาคตแบบนี้ยังเป็นได้มากกว่าแบบที่สองด้วยเหตุผลต่างๆ ที่กล่าวมา
ถามว่าไทยต้องการทางออกแบบใด คำตอบคือต้องการทางออกแบบที่สอง แม้จะมีความเป็นไปได้น้อยที่สุด
อย่างไรก็ตามทางออกแบบที่สองนั้นดีกับทุกฝ่าย (อาจจะยกเว้นผู้นำทหาร) ระยะยาวจะช่วยให้ประเทศพม่ารุ่งเรืองขึ้น สิทธิมนุษยชนได้รับการดูแลมากขึ้น มีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เศรษฐกิจก็จะดีขึ้นนั่นเอง
เพื่อให้เกิดอนาคตนี้ ไทย และกลุ่มอาเซียนสามารถเข้าไปร่วมกันกดดันให้เกิดการเจรจาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างทหาร และผู้ประท้วง
ผลประนีประนอมนั้นอาจจะออกมาประมาณ จัดให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งที่มีความเป็นธรรม และมีกำหนดเวลาชัดเจน แต่อย่างที่บอกว่าหลังจากคนตายไปหลายร้อย ทั้งสองฝ่ายก็เจรจากันยากขึ้นเรื่อยๆ
การต่อสู้ของพม่าดูเหมือนจะเป็นการต่อสู้ระยะยาว ฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตยอาจต้องเจ็บปวดและอดทนอีกมาก
แต่หากมองอย่างมีความหวัง อาจมองว่าการที่เทคโนโลยีการสื่อสารดีขึ้นทำให้ผู้คนรู้เห็นมากขึ้น และต้องการสิทธิเสรีภาพมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้เกิดการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยขึ้นทั่วโลก เช่นที่ตะวันออกกลาง ที่พม่า รวมทั้งในไทย
แม้ที่ผ่านมาจะสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่สิ่งนี้เป็นเทรนด์ใหญ่ ไม่มีอะไรขัดขวางได้ ซึ่งระยะยาวมันก็เป็นความหวังที่จะสร้างโลกที่ดีขึ้นให้กับเรา
:: ::: :::
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตามเพจ https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/
กรุ๊ปประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ https://www.facebook.com/groups/thewildchronicles/
กรุ๊ปท่องเที่ยว เที่ยวโหดเหมือนโกรธบ้าน https://www.facebook.com/groups/wildchroniclestravel/
Line Square: https://line.me/ti/g2/8pIcVHp3cc6-jyQJdzIFrg
และ youtube: https://youtube.com/user/Apotalai