▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
การก่อสร้างและต่อเติมอาคาร
การออกแบบตกแต่งภายนอก (Exterior Design)
ดูแลและซ่อมแซมบ้าน
กระเบื้องลอนคู่
ออกแบบและสร้างบ้าน
นำเสนอวิธีการติดตั้งหลังคากระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์แบบปรับปรุงใหม่ของผมเองครับ
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างขอเกี่ยวหลังคากระเบื้องแบบเก่า กับ ขอเกี่ยวหลังคากระเบื้องแบบใหม่
หน้าตาของโครงสร้างห้องเก็บของที่จะสร้างขึ้นมาใหม่
ส่วนด้านหน้าของหลังคาที่ใช้ขอเกี่ยวหลังคา เราใช้แผ่นหลังคาขนาดยาว 1.50 เมตร ซึ่งดูเหมือนว่า แผ่นหลังคาขนาดนี้ ไม่เป็นที่นิยมใช้กันนะ ในตลาดจะนิยมใช้แผ่นหลังคายาว 1.20 เมตรมากกว่า ใช้ขอเกี่ยวเกี่ยวในทุกลอนหลังคา ซึ่งแผ่นหลังคาแถวแรกนั้น ส่วนใหญ่ก็จะนิยมใช้ขอเกี่ยวเกี่ยวทุกๆลอนของแผ่นหลังคานะ อีกอย่างที่ผมเกี่ยวในทุกๆลอนแผ่นหลังคานั้น นอกจากเพื่อความแข็งแรงแล้ว ยังเป็นการโชว์สินค้าของเราด้วย
ส่วนด้านหลังจะเห็นได้ว่า ตัวขอเกี่ยวหลังคาแบบใหม่นี้ มีช่องไว้ให้สามารถสอดปีกของรางนัำฝนให้เข้ามายังในตัวด้านในของโครงสร้างหลังคาได้ด้วย ซึ่งจริงๆแล้วอยากจะทำให้ปีกของรางนำ้ฝนมีความกว้างให้สอดเข้ามายังตัวขอเกี่ยวให้สุดๆเลยนะ แต่มันก็ยังสั้นไปอีก
ขาส่วนบนของตัวขอเกี่ยวมีไว้สอดแผ่นหลังคาส่วนบนให้เกินเข้าในตัวขอเกี่ยว 10 เซนติเมตร แต่ในรูปนี้เนื่องจากช่างได้สั่งแผ่นหลังคาขนาด 1.20 เมตรมาไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงไม่สามารถสอดแผ่นหลังคาส่วนบนเข้ามาในตัวขอเกี่ยวได้ เพราะมันมีความยาวไม่พอ เป็นความผิดพลาดเนื่องจากช่างยังไม่คุ้นเคยกับขอเกี่ยวแบบใหม่ของผม จึงเกิดการคำนวนซื้อแผ่นหลังคามาใช้ผิดพลาด ซึ่งถ้าใช้แผ่นหลังคาขนาด 1.50เมตรแล้ว ก็คงต้องนำแผ่นหลังคามาตัดออกอีก 20เซนติเมตรได้มั้ง เพื่อจะได้ทำการสอดใส่ได้พอดีกับตัวขาขอเกี่ยว (คำนวนผิดตั้งแต่ระยะติดตั้งแปแล้ว)
หลังคาที่ติดตั้งผมไม่ได้ตัดมุมแผ่นหลังคากระเบื้อง เพราะดูจากหลายๆที่แล้วไม่จำเป็น อาจทำให้เกิดช่องแสงได้นิดหน่อย แต่ทดสอบดูแล้วว่านำ้ฝนไม่สามารถกระเด็นเข้ามาได้ การตัดมุมกระเบื้องที่ทำๆกัน ก็เพื่อให้หลังคากระเบื้องนั้นวางทับกันสนิทขึ้น แต่การที่จะตัดมุมหลังคาให้แนบสนิท ชนมุมกันพอดีในทุกๆแผ่นนั้น ผมยังไม่เคยเห็นนะ ซึ่งจุดนี้เองก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำฝนซึมลงมาได้ ซึ่งก็เป็นจุดที่หลายๆท่านมองข้ามกัน
ส่วนบนของสันหลังคาที่แผ่นหลังคามาชนกัน พยายามให้เกิดช่องว่างให้น้อยที่สุด และได้ใช้แผ่นยางกันรั่วแปะไว้ด้านบน พร้อมทำขายื่นไปรับกับแปส่วนกลางด้านบน โดยแปส่วนนี้มีไว้ยึดกับสกรูของตัวครอบหลังคา และบริเวณรอบๆขาเหล็กที่ยืนไปรับกับแปด้านบนนั้น เราก็ได้ตัดหลังคาให้สามารถปิดล้อมรอบโคนของเสาให้ได้พอดีด้วย
สกรูที่นำมายึดกับครอบสันหลังคานั้น ก็ได้ใช้พียูบีบไว้ที่แหวนยางด้วย เพื่อให้แหวนยางติดแน่นกับตัวครอบสันกระเบื้องหลังคา กันน้ำรั่วซึม และเพิ่มความแน่ให้กับตัวสกรูที่ยึดบนครอบสันหลังคาด้วย โดยตัวขอบของครอบสันหลังคาด้านในนั้น ก็ได้บีบพียูยาวตลอดแนวของขอบครอบสันหลังคา เพื่อกันลม กันน้ำรั่วซึม และเพิ่มความยึดติดให้แน่นหนาเพิ่มขึ้นระหว่างตัวครอบสันหลังคาทั้งสองที่ต้องมาทับซ้อนกัน โดยตำแหน่งที่เจาะยึดสกรูนั้นใช้ครงปลายของครอบสันหลังคา ไม่ได้ใช้ตำแหน่งตรงกลางของครอบสันหลังคาเหมือนอย่างบางช่างนิยมเจาะยึดกันนะครับ ซึ่งจริงๆแล้วทีแรกผมยังอยากจะให้ช่างใช้สกรูแบบอื่นเจาะยึดครอบสันหลังคาไว้ด้านในของตัวครอบ แล้วค่อยใช้พียูทาปิดทับตามด้วยครอบสันหลังคาดัวบน แต่ทางช่างคิดว่ามันจะไม่แน่นหนา และหัวของสกรูก็จะทำให้ตัวครอบสันหลังคาด้านบน ตัวที่จะมาปิดทับกับตัวด้านในนั้น จะปิดทับกันไม่สนิท สุดท้ายก็เลยใช้สกรูเจาะยึดในตำแหน่งขอบด้านนอกอย่างที่ท่านเห็นนี่ละครับ
ชายแผ่นกระเบื้องด้านหน้ายืนออกมาประมาณ 11 เซนติเมตร แต่เมื่อนำแผ่นปิดเชิงชายแบบกันร่องมาปิดทับที่ชายด้านหน้าอีกที่ ชายหลังคาก็น่าจะยื่นออกมาประมาณ 10 เซนติเมตรนะ รอที่จะนำรางน้ำฝนมาติดตั้งทับด้านหน้าอีกทีหนึ่ง
ทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวอย่างคราวๆของการติดตั้งหลังคากระเบื้องในแบบที่ผมคิดไว้ว่ามันดี ทำให้ดีกว่าแบบเก่าๆที่มีมา ถึงแม้ว่าบางอย่างของติดตั้งนั้น มันจะไม่สามารถเป็นไปตามที่เราอยากจะคิดทำได้ แต่ผมก็ให้งานนี้ 80เปอร์เซนต์ จากความคิดที่ผมคิดไว้ว่าอยากจะทำนะครับ ส่วนรูปข้างล่างนี้เป็นผลงานความเสียหายจากการใช้สกรูในการยึดหลังคา ซึ่งเป็นตัวอย่างอันน้อยนิด จากการติดตั้งที่เกิดขึ้นจริงที่บ้านของผม ส่วนท่านใดอยากดูความเสียหายจากการใช้สกรูในการติดตั้งหลังคาในรูปแบบหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นจริงในบ้านของผมนั้น ก็สามารถหาอ่านได้จากกระทู้ที่ผมเขียนอธิบายถึงข้อเสียของการใช้สกรูในการติดตั้งหลังคาบ้าน อ้อลืมบอกไปว่าขอเกี่ยวหลังคากระเบื้องแบบใหม่นี้ ผมได้รับอนุสิทธิบ้ตรคุ้มครองการออกแบบแล้วด้วยนะครับ ซึ่งหมายความว่า ขอเกี่ยวหลังคากระเบื้องในรูปแบบนี้ ได้รับความคุ้มครองจากการลอกเลียนแบบไปอีก 9ปีเลยนะครับ......จะบอกให้