สวัสดีครับ จากกระทู้ที่ได้เคยเขียนไว้ "สาเหตุของหลังคากระเบื้องลอนคู่หลังติดตั้งแล้วมีปัญหาน้ำรั่ว มันเกิดจากสาเหตุอย่างนี้ใช้ไหมภาค1,2 ?"
ภาค1
https://ppantip.com/topic/38078280
ภาค2
https://ppantip.com/topic/38078307
ในภาคนี้ถือเป็นภาคต่อจากภาค1,2 ละกันนะครับ และเป็นภาคจบไปในตัวเลย ทางแก้ไขที่ผมได้คิดขึ้นมาก็คือการเปลี่ยนแปลงการติดตั้งหลังคากระเบื้องลอนคู่จากที่ใช้สกรูเกลียวปล่อยยึดกระเบื้องเข้ากับตัวแป ให้มาใช้การยึดด้วยตัวตะขอเกี่ยวกระเบื้องแบบเก่า เหมือนที่เราท่านเคยติดตั้งกันมาตามแนวทางในอดีตของการติดตั้งหลังคากระเบื้องลอนคู่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมของหลังคากระเบื้องลอนคู่น้อยกว่าการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่ด้วยตัวสกรูเกลียวปล่อย โดยผมได้ออกแบบแก้ไขดีไซน์ของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องในรูปแบบใหม่นี้ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องแบบเก่าที่ยังมีบางจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขมันให้เกิดการใช้งานที่ดีขึ้น เสริมจุดแข็งของการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่บนตัวแปด้วยตัวขอเกี่ยวกระเบื้องหลังคาแบบใหม่นี้ ให้เป็นวิธีที่ดีกว่าการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่ด้วยการใช้สกรูเกลียวปล่อยยิง ลองติชมกันดูครับ
1.เป็นการออกแบบโดยนำตัวตะขอยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแบบเดิมมาปรับปรุงเพื่อแก้ไขจุดอ่อนของตัวตะขอยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแบบเก่า โดยในตัวตะขอยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแบบใหม่นี้ได้เพิ่มความยาวของตัวส่วนหัวของตัวตะขอยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินเพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับการวางตัวส่วนหัวกระเบื้องซีเมนต์ใยหินส่วนที่เกินจากส่วนที่วางไว้บนแปของโครงสร้างหลังคา ข้อดีก็คือ จะมีส่วนเกินที่ทับกันระหว่างตัวกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแผ่นด้านล่างกับตัวกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแผ่นด้านบนมีพื้นที่เกยกันมากขึ้น ป้องกันการไหลย้อนของตัวน้ำฝนเวลาที่เกิดฝนตกหนักและทิศทางการไหลของตัวน้ำฝนไหลย้อนขึ้นสวนทางกับทิศทางความลาดเอียงของตัวกระเบื้องซีเมนต์ใยหิน
2.กระเบื้องลอนคู่แผ่นที่อยู่ด้านล่างที่วางไว้บนแปของโครงหลังคาเมื่อมีพื้นที่ให้ส่วนปลายด้านบนของกระเบื้องสามารถวางเกยขึ้นมาบนแปของโครงสร้างหลังคาได้มากขึ้น ก็จะส่งผลถึงความแข็งแรงของกระเบื้องในการรับน้ำหนักในเวลาที่มีคนมาเดินเหยียบบนหลังคา เนื่องจากตำแหน่งการวางกระเบื้องลอนคู่ในแบบเดิมนั้นส่วนปลายด้านบนของกระเบื้องลอนคู่เท่านั้นที่เป็นส่วนที่ใช้วางบนตัวแปรของโครงสร้างหลังคา น้ำหนักก็จะถูกกดทับตรงบริเวณพื้นที่ส่วนปลายด้านบนของกระเบื้องลอนคู่เท่านั้น แต่เมื่อเราสามารถเลื่อนตำแหน่งของจุดที่ใช้วางกระเบื้องลอนคู่บนแปของโครงสร้างหลังคาจากส่วนปลายหัวด้านบนของกระเบื้องลอนคู่มาเป็นส่วนที่ต่ำลงมาได้ ก็จะทำให้น้ำหนักที่กดทับเฉพาะในบริเวณพื้นที่ส่วนปลายหัวด้านบนของกระเบื้องลอนคู่ได้มีพื้นที่กระจายแรงกดทับได้มากขึ้น ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับการรับน้ำหนักของตัวกระเบื้องลอนคู่ได้ดีขึ้นด้วย (แข็งแรงขึ้น)
3.มีรูบริเวณด้านบนของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องลอนคู่ซึ่งออกแบบมาไว้สำหรับให้ใช้ตะปูเกลียวปล่อยยึดระหว่างตัวขอเกี่ยวยึดกระเบื้องลอนคู่ผ่านตัวกระเบื้องลอนคู่ทะลุจนมายึดกับตัวแปของโครงสร้างหลังคา ซึ่งในจุดนี้ก็เป็นการออกแบบมาใหม่ของตัวขอยึดกระเบื้องลอนคู่ที่ยังไม่มีเจ้าใดในท้องตลาดทำการผลิตขึ้น ซึ่งจุดประสงค์ของการออกแบบให้มีรูบริเวณด้านบนของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องลอนคู่ก็เพื่อใช้ยึดกระเบื้องลอนคู่ให้ยึดติดกับตัวแปของโครงสร้างหลังคา ทำให้หลังคาไม่เลื่อน เคลื่อนที่ไปไหน อีกทั้งตรงจุดที่ใช้ยึดนี้ก็เป็นจุดที่ถูกเจาะรูมาแล้วของตัวขอเกี่ยวยึดกระเบื้องลอนคู่เพื่อใช้ยึดตัวขอเกี่ยวกระเบื้องลอนคู่ไม่ให้เคลื่อนไหวไปไหนได้ด้วย และเมื่อเราใช้ตะปูเกลียวปล่อยยิงผ่านรูของขอเกี่ยวยึดกระเบื้องลอนคู่ตรงจุดนี้ยังเหมือนกับได้ใช้ตัวขอเกี่ยวกระเบื้องลอนคู่แทนเป็นแหวนรองยึดระหว่างตัวส่วนหัวของตัวตะปูเกลียวปล่อยกับตัวกระเบื้องลอนคู่ เป็นการกระจายแรงกดตรงจุดที่ส่วนหัวของตัวตะปูเกลียวปล่อยทะลุลงบนตัวกระเบื้องลอนคู่ไม่ให้กดทับตรงบริเวณจุดนั้นจุดเดียว เป็นการป้องกันการแตกของกระเบื้องลอนคู่ไปในตัว อีกทั้งส่วนที่ทำการเจาะทะลุเพื่อให้ตะปูเกลียวปล่อยยึดผ่านระหว่างตัวขอเกี่ยวผ่านกระเบื้องลอนคู่จนมายึดกับแปของโครงสร้างหลังคาก็เป็นส่วนท้องหรือเป็นส่วนแบนราบของตัวกระเบื้องหลังคาไม่ใช่ส่วนลอนหลังคา ทำให้ตัวกระเบื้องลอนคู่แนบติดกับตัวแปของโครงสร้างหลังคาได้ดีขึ้นด้วย
4.จากการออกแบบติดตั้งในข้อ 3. ทำให้เมื่อปูกระเบื้องลอนคู่แผ่นด้านบนทับกระเบื้องลอนคู่แผ่นด้านล่างแล้ว จะไม่มีกระเบื้องมุงหลังคาแผ่นไหนที่มีรูเจาะให้มองเห็นได้จากด้านบนของการมอง ซึ่งก็หมายถึงไม่มีรูที่จะทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำฝนผ่านตัวกระเบื้องมุงหลังคาด้วย
5.ฐานของขาเกี่ยวขอยึดกระเบื้องลอนคู่ที่ออกแบบมาใหม่ ทำให้ฐานมีพื้นที่กว้างขึ้นไว้สำหรับยึดกับด้านข้างตัวแปของโครงสร้างหลังคาที่ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเคลื่อนไหว เอียงซ้ายหรือเอียงขวาได้ดีขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบกับตัวขาของขอเกี่ยวยึดกระเบื้องลอนคู่ในแบบเก่าที่ออกแบบมาเป็นก้านไว้สำหรับเกี่ยวด้านข้างของตัวแปของโครงสร้างหลังคาเพียงอย่างเดียว แต่แบบใหม่ตัวฐานของขอเกี่ยวนั้นใช้ดันกับตัวแปของโครงสร้างหลังคา รวมถึงมีฐานสัมผัสกับด้านข้างของตัวแปของโครงสร้างหลังคาที่กว้างขึ้น แข็งแรงขึ้นด้วย
น่าตาแบบใหม่ของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องหลังคาลอนคู่หน้าตาแบบนี้ จะไปได้ดีไหมครับ ลองติชมกันมานะครับ ขอบคุณครับ
แนวทางการแก้ไขปัญหาการติดตั้งกระเบื้องหลังคาลอนคู่แล้วเกิดปัญหาน้ำรั่วซึม
ภาค1 https://ppantip.com/topic/38078280
ภาค2 https://ppantip.com/topic/38078307
ในภาคนี้ถือเป็นภาคต่อจากภาค1,2 ละกันนะครับ และเป็นภาคจบไปในตัวเลย ทางแก้ไขที่ผมได้คิดขึ้นมาก็คือการเปลี่ยนแปลงการติดตั้งหลังคากระเบื้องลอนคู่จากที่ใช้สกรูเกลียวปล่อยยึดกระเบื้องเข้ากับตัวแป ให้มาใช้การยึดด้วยตัวตะขอเกี่ยวกระเบื้องแบบเก่า เหมือนที่เราท่านเคยติดตั้งกันมาตามแนวทางในอดีตของการติดตั้งหลังคากระเบื้องลอนคู่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมของหลังคากระเบื้องลอนคู่น้อยกว่าการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่ด้วยตัวสกรูเกลียวปล่อย โดยผมได้ออกแบบแก้ไขดีไซน์ของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องในรูปแบบใหม่นี้ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องแบบเก่าที่ยังมีบางจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขมันให้เกิดการใช้งานที่ดีขึ้น เสริมจุดแข็งของการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่บนตัวแปด้วยตัวขอเกี่ยวกระเบื้องหลังคาแบบใหม่นี้ ให้เป็นวิธีที่ดีกว่าการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่ด้วยการใช้สกรูเกลียวปล่อยยิง ลองติชมกันดูครับ
1.เป็นการออกแบบโดยนำตัวตะขอยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแบบเดิมมาปรับปรุงเพื่อแก้ไขจุดอ่อนของตัวตะขอยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแบบเก่า โดยในตัวตะขอยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแบบใหม่นี้ได้เพิ่มความยาวของตัวส่วนหัวของตัวตะขอยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินเพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับการวางตัวส่วนหัวกระเบื้องซีเมนต์ใยหินส่วนที่เกินจากส่วนที่วางไว้บนแปของโครงสร้างหลังคา ข้อดีก็คือ จะมีส่วนเกินที่ทับกันระหว่างตัวกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแผ่นด้านล่างกับตัวกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแผ่นด้านบนมีพื้นที่เกยกันมากขึ้น ป้องกันการไหลย้อนของตัวน้ำฝนเวลาที่เกิดฝนตกหนักและทิศทางการไหลของตัวน้ำฝนไหลย้อนขึ้นสวนทางกับทิศทางความลาดเอียงของตัวกระเบื้องซีเมนต์ใยหิน
2.กระเบื้องลอนคู่แผ่นที่อยู่ด้านล่างที่วางไว้บนแปของโครงหลังคาเมื่อมีพื้นที่ให้ส่วนปลายด้านบนของกระเบื้องสามารถวางเกยขึ้นมาบนแปของโครงสร้างหลังคาได้มากขึ้น ก็จะส่งผลถึงความแข็งแรงของกระเบื้องในการรับน้ำหนักในเวลาที่มีคนมาเดินเหยียบบนหลังคา เนื่องจากตำแหน่งการวางกระเบื้องลอนคู่ในแบบเดิมนั้นส่วนปลายด้านบนของกระเบื้องลอนคู่เท่านั้นที่เป็นส่วนที่ใช้วางบนตัวแปรของโครงสร้างหลังคา น้ำหนักก็จะถูกกดทับตรงบริเวณพื้นที่ส่วนปลายด้านบนของกระเบื้องลอนคู่เท่านั้น แต่เมื่อเราสามารถเลื่อนตำแหน่งของจุดที่ใช้วางกระเบื้องลอนคู่บนแปของโครงสร้างหลังคาจากส่วนปลายหัวด้านบนของกระเบื้องลอนคู่มาเป็นส่วนที่ต่ำลงมาได้ ก็จะทำให้น้ำหนักที่กดทับเฉพาะในบริเวณพื้นที่ส่วนปลายหัวด้านบนของกระเบื้องลอนคู่ได้มีพื้นที่กระจายแรงกดทับได้มากขึ้น ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับการรับน้ำหนักของตัวกระเบื้องลอนคู่ได้ดีขึ้นด้วย (แข็งแรงขึ้น)
3.มีรูบริเวณด้านบนของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องลอนคู่ซึ่งออกแบบมาไว้สำหรับให้ใช้ตะปูเกลียวปล่อยยึดระหว่างตัวขอเกี่ยวยึดกระเบื้องลอนคู่ผ่านตัวกระเบื้องลอนคู่ทะลุจนมายึดกับตัวแปของโครงสร้างหลังคา ซึ่งในจุดนี้ก็เป็นการออกแบบมาใหม่ของตัวขอยึดกระเบื้องลอนคู่ที่ยังไม่มีเจ้าใดในท้องตลาดทำการผลิตขึ้น ซึ่งจุดประสงค์ของการออกแบบให้มีรูบริเวณด้านบนของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องลอนคู่ก็เพื่อใช้ยึดกระเบื้องลอนคู่ให้ยึดติดกับตัวแปของโครงสร้างหลังคา ทำให้หลังคาไม่เลื่อน เคลื่อนที่ไปไหน อีกทั้งตรงจุดที่ใช้ยึดนี้ก็เป็นจุดที่ถูกเจาะรูมาแล้วของตัวขอเกี่ยวยึดกระเบื้องลอนคู่เพื่อใช้ยึดตัวขอเกี่ยวกระเบื้องลอนคู่ไม่ให้เคลื่อนไหวไปไหนได้ด้วย และเมื่อเราใช้ตะปูเกลียวปล่อยยิงผ่านรูของขอเกี่ยวยึดกระเบื้องลอนคู่ตรงจุดนี้ยังเหมือนกับได้ใช้ตัวขอเกี่ยวกระเบื้องลอนคู่แทนเป็นแหวนรองยึดระหว่างตัวส่วนหัวของตัวตะปูเกลียวปล่อยกับตัวกระเบื้องลอนคู่ เป็นการกระจายแรงกดตรงจุดที่ส่วนหัวของตัวตะปูเกลียวปล่อยทะลุลงบนตัวกระเบื้องลอนคู่ไม่ให้กดทับตรงบริเวณจุดนั้นจุดเดียว เป็นการป้องกันการแตกของกระเบื้องลอนคู่ไปในตัว อีกทั้งส่วนที่ทำการเจาะทะลุเพื่อให้ตะปูเกลียวปล่อยยึดผ่านระหว่างตัวขอเกี่ยวผ่านกระเบื้องลอนคู่จนมายึดกับแปของโครงสร้างหลังคาก็เป็นส่วนท้องหรือเป็นส่วนแบนราบของตัวกระเบื้องหลังคาไม่ใช่ส่วนลอนหลังคา ทำให้ตัวกระเบื้องลอนคู่แนบติดกับตัวแปของโครงสร้างหลังคาได้ดีขึ้นด้วย
4.จากการออกแบบติดตั้งในข้อ 3. ทำให้เมื่อปูกระเบื้องลอนคู่แผ่นด้านบนทับกระเบื้องลอนคู่แผ่นด้านล่างแล้ว จะไม่มีกระเบื้องมุงหลังคาแผ่นไหนที่มีรูเจาะให้มองเห็นได้จากด้านบนของการมอง ซึ่งก็หมายถึงไม่มีรูที่จะทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำฝนผ่านตัวกระเบื้องมุงหลังคาด้วย
5.ฐานของขาเกี่ยวขอยึดกระเบื้องลอนคู่ที่ออกแบบมาใหม่ ทำให้ฐานมีพื้นที่กว้างขึ้นไว้สำหรับยึดกับด้านข้างตัวแปของโครงสร้างหลังคาที่ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเคลื่อนไหว เอียงซ้ายหรือเอียงขวาได้ดีขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบกับตัวขาของขอเกี่ยวยึดกระเบื้องลอนคู่ในแบบเก่าที่ออกแบบมาเป็นก้านไว้สำหรับเกี่ยวด้านข้างของตัวแปของโครงสร้างหลังคาเพียงอย่างเดียว แต่แบบใหม่ตัวฐานของขอเกี่ยวนั้นใช้ดันกับตัวแปของโครงสร้างหลังคา รวมถึงมีฐานสัมผัสกับด้านข้างของตัวแปของโครงสร้างหลังคาที่กว้างขึ้น แข็งแรงขึ้นด้วย
น่าตาแบบใหม่ของตัวขอเกี่ยวกระเบื้องหลังคาลอนคู่หน้าตาแบบนี้ จะไปได้ดีไหมครับ ลองติชมกันมานะครับ ขอบคุณครับ