แนะนำญาติ ในการดูแลผู้ป่วยสงสัย/ยืนยันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่บ้าน
อุปกรณ์ที่ต้องมีในบ้าน
ปรอทวัดไข้แยกใช้ของผู้ดูแลใกล้ชิด และผู้ป่วย
แบบบันทึกอาการแต่ละวันของผู้ดูแลใกล้ชิดและผู้ป่วย
ถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด โดยเป็นถังขยะแบบที่ใช้เท้าเหยียบเปิดฝาถัง
กระดาษทิชชู หน้ากากอนามัย
ผู้ดูแล/สมาชิกในครอบครัว/คู่สมรส ที่ดูแลผู้ป่วย ควรติดตามสังเกตอาการของตนเอง
หากมีอาการเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์
ผู้ดูแล/สมาชิกในครอบครัว/คู่สมรส ที่ดูแลผู้ป่วย ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้
จัดหาอาหาร สิ่งของที่จำเป็น ยา ให้ผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย หากมีบุคคลอื่นอยู่ร่วมในบริเวณเดียวกัน
งดเยี่ยมทุกกรณี และไม่ควรมีบุคคลอื่นเข้ามาที่พักอาศัยโดยไม่จำเป็น
ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าดูแลผู้ป่วย หากเป็นไปได้ควรดูแลโดยเว้นระยะห่างจากผู้ป่วยอย่างน้อย 1 เมตร
ผู้ดูแล/สมาชิกในครอบครัว/คู่สมรส ควรพักแยกห้องกับผู้ป่วย และหากเป็นไปได้ควรแยกห้องน้ำ
ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ภาชนะทานข้าว ผ้าเช็ดตัว ชุดเครื่องนอน และควรทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง
ไม่ให้ผู้ป่วยดูแลสัตว์เลี้ยง ป้อนอาหาร แบ่งอาหารจากผู้ป่วย อุ้ม กอด จูบสัตว์เลี้ยง
เปิดหน้าต่าง เพื่อให้มีการระบายอากาศภายในห้อง ที่พักอาศัย
ติดตามอาการผู้ป่วยและบันทึกอาการของผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกวัน
หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง เช่น หอบเหนื่อย ไข้สูง ไอมาก ติดต่อ COVID-19 Call Center 06 4585 2420 , 06 4585 2421
แจ้งชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย
แจ้งว่าเป็นผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อเตรียมเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย
หากเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทรแจ้ง 1669 แจ้งชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย พร้อมทั้งแจ้งว่าเป็นผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันการติดเชื้อไวรัส COVID-19
โปรดให้ความร่วมมือในการส่งแบบฟอร์มการรายงานติดตามอาการ และทางโรงพยาบาลจัดเจ้าหน้าที่สอบถามเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วย และให้คำแนะนำ
ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาทีต่อครั้ง หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ 70-95% ทำความสะอาดทั่วทั้งมือจนแห้ง แต่หากมือเปื้อนสกปรกชัดเจน แนะนำให้ล้างมือด้วยสบู่
ล้างมือก่อนสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูกของตนเอง
ผู้ดูแลใส่หน้ากากอนามัย และถุงมือก่อนสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ป่วยเช่น น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ หรือเศษอาหารจากการอาเจียนของผู้ป่วย หลังทำความสะอาดทิ้งหน้ากากและถุงมือของตนเองทุกครั้ง และล้างมือ
ขั้นตอนการถอดอุปกรณ์ป้องกันตัวเองของผู้ดูแล ทำตามลำดับดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
ถอดถุงมือทิ้งถังขยะที่มีฝาปิด
ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล
ถอดหน้ากากอนามัย (จับที่สายคล้อง)
ล้างมือด้วยสบู่ หรือ alcohol hand rub
การทำความสะอาด
ทำความสะอาดพื้นผิว อุปกรณ์ที่จับบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ ห้องน้ำ โทรศัพท์ แป้นพิมพ์ ทุกวันด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปรคลอไรด์ (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน)
ซักเสื้อผ้า เครื่องนอนที่เลอะเลือด อุจจาระ ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งจากร่างกายด้วยสบู่หรือผงซักฟอกและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 องศาเซลเซียส
ใส่ถุงมือก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง หลังทำความสะอาด
( ข้อมูลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ )
ขอเพิ่มเติม ในส่วนของอุปกรณ์ที่ช่วยประเมินผู้ป่วยว่ามีอาการหายใจเริ่มเหนื่อยหรือ ปอดทำงานได้ลดลง คือ pulse oximeter
ใช้เพื่อวัด ระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วมือ ราคา หลักร้อยต้นๆ ( ถ้าระดับออกซิเจน ต่ำกว่า 95% คือ ผิดปกติ ถ้าต่ำกว่า 90% ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย หายใจเร็วขึ้น จำเป็นต้องได้รับ ออกซิเจน เพิ่มเติม และ ควรเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล ก่อนที่จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น
คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่บ้าน
อุปกรณ์ที่ต้องมีในบ้าน
ปรอทวัดไข้แยกใช้ของผู้ดูแลใกล้ชิด และผู้ป่วย
แบบบันทึกอาการแต่ละวันของผู้ดูแลใกล้ชิดและผู้ป่วย
ถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด โดยเป็นถังขยะแบบที่ใช้เท้าเหยียบเปิดฝาถัง
กระดาษทิชชู หน้ากากอนามัย
ผู้ดูแล/สมาชิกในครอบครัว/คู่สมรส ที่ดูแลผู้ป่วย ควรติดตามสังเกตอาการของตนเอง
หากมีอาการเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์
ผู้ดูแล/สมาชิกในครอบครัว/คู่สมรส ที่ดูแลผู้ป่วย ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้
จัดหาอาหาร สิ่งของที่จำเป็น ยา ให้ผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย หากมีบุคคลอื่นอยู่ร่วมในบริเวณเดียวกัน
งดเยี่ยมทุกกรณี และไม่ควรมีบุคคลอื่นเข้ามาที่พักอาศัยโดยไม่จำเป็น
ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าดูแลผู้ป่วย หากเป็นไปได้ควรดูแลโดยเว้นระยะห่างจากผู้ป่วยอย่างน้อย 1 เมตร
ผู้ดูแล/สมาชิกในครอบครัว/คู่สมรส ควรพักแยกห้องกับผู้ป่วย และหากเป็นไปได้ควรแยกห้องน้ำ
ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ภาชนะทานข้าว ผ้าเช็ดตัว ชุดเครื่องนอน และควรทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง
ไม่ให้ผู้ป่วยดูแลสัตว์เลี้ยง ป้อนอาหาร แบ่งอาหารจากผู้ป่วย อุ้ม กอด จูบสัตว์เลี้ยง
เปิดหน้าต่าง เพื่อให้มีการระบายอากาศภายในห้อง ที่พักอาศัย
ติดตามอาการผู้ป่วยและบันทึกอาการของผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกวัน
หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง เช่น หอบเหนื่อย ไข้สูง ไอมาก ติดต่อ COVID-19 Call Center 06 4585 2420 , 06 4585 2421
แจ้งชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย
แจ้งว่าเป็นผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อเตรียมเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย
หากเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทรแจ้ง 1669 แจ้งชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย พร้อมทั้งแจ้งว่าเป็นผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันการติดเชื้อไวรัส COVID-19
โปรดให้ความร่วมมือในการส่งแบบฟอร์มการรายงานติดตามอาการ และทางโรงพยาบาลจัดเจ้าหน้าที่สอบถามเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วย และให้คำแนะนำ
ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาทีต่อครั้ง หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ 70-95% ทำความสะอาดทั่วทั้งมือจนแห้ง แต่หากมือเปื้อนสกปรกชัดเจน แนะนำให้ล้างมือด้วยสบู่
ล้างมือก่อนสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูกของตนเอง
ผู้ดูแลใส่หน้ากากอนามัย และถุงมือก่อนสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ป่วยเช่น น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ หรือเศษอาหารจากการอาเจียนของผู้ป่วย หลังทำความสะอาดทิ้งหน้ากากและถุงมือของตนเองทุกครั้ง และล้างมือ
ขั้นตอนการถอดอุปกรณ์ป้องกันตัวเองของผู้ดูแล ทำตามลำดับดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
ถอดถุงมือทิ้งถังขยะที่มีฝาปิด
ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล
ถอดหน้ากากอนามัย (จับที่สายคล้อง)
ล้างมือด้วยสบู่ หรือ alcohol hand rub
การทำความสะอาด
ทำความสะอาดพื้นผิว อุปกรณ์ที่จับบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ ห้องน้ำ โทรศัพท์ แป้นพิมพ์ ทุกวันด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปรคลอไรด์ (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน)
ซักเสื้อผ้า เครื่องนอนที่เลอะเลือด อุจจาระ ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งจากร่างกายด้วยสบู่หรือผงซักฟอกและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 องศาเซลเซียส
ใส่ถุงมือก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง หลังทำความสะอาด
( ข้อมูลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ )
ขอเพิ่มเติม ในส่วนของอุปกรณ์ที่ช่วยประเมินผู้ป่วยว่ามีอาการหายใจเริ่มเหนื่อยหรือ ปอดทำงานได้ลดลง คือ pulse oximeter
ใช้เพื่อวัด ระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วมือ ราคา หลักร้อยต้นๆ ( ถ้าระดับออกซิเจน ต่ำกว่า 95% คือ ผิดปกติ ถ้าต่ำกว่า 90% ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย หายใจเร็วขึ้น จำเป็นต้องได้รับ ออกซิเจน เพิ่มเติม และ ควรเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล ก่อนที่จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น