“ไม่เคยคิดท้อใจ หรือหมดกำลังใจเลย เมื่อรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง เพราะเราเชื่อมั่นในตัวหมอ เมื่อเราพร้อม ทางโรงพยาบาลก็จัดการให้เราอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะเป็นการปลูกถ่ายไขกระดูกครั้งที่ 3 แต่ความรู้สึกที่รู้ว่าต้องหายแน่นอน ก็ยังมีอยู่เหมือนเพิ่งพบเจอกับมะเร็งครั้งแรก” ถ้อยคำที่แฝงด้วยความมั่นใจในการรักษาที่
ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ของคุณ ฐิติชญา ภูธนปาลวัฒน์ ผู้ป่วย
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาว สาเหตุที่หาไม่ได้แม้จะเคยแข็งแรงมาก่อน
จุดเริ่มต้นของการเป็นโรคที่ใครๆต่างไม่ปรารถนาที่จะเป็น อย่างเช่นมะเร็งของคุณ ฐิติชญา เกิดขึ้นเมื่อช่วงอายุ 47 ปี “ตอนนั้นรู้สึกว่าเริ่มไม่สบาย เหมือนว่าจะท้องอืด เรอบ่อย และตอนนั้นกิจการโรงงานเหล็กที่ทำอยู่ก็งานเยอะ พักผ่อนน้อย รู้สึก
เครียด แต่ยังคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นอะไรมาก น่าจะเป็นแค่
กรดไหลย้อนเท่านั้น” การสันนิษฐานเบื้องต้นของคุณฐิติชญา ที่ไม่คิดว่าอาการเหล่านั้นจะนำพาไปสู่ผู้ป่วยโรคมะเร็งในที่สุด
“ตอนแรกเราก็ไปหาหมอที่โรงพยาบาลแถวบ้านที่สมุทรสาคร ซึ่งเมื่อตรวจเบื้องต้นแล้วก็ ถูกส่งตัวมาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เลย เราก็รู้สึกอุ่นใจนะ เพราะเคยได้ยินชื่อเสียงในการรักษาที่ดีมาก่อนแล้ว พอตรวจอย่างละเอียด ก็เข้าสู่การรักษากับนายแพทย์วิเชียร มงคลศรีตระกูลเลย” คุณฐิติชญาเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว “ได้รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ตกใจ เพราะเป็นคนสุขภาพดีมาตลอด ถ้าหากว่าเป็นคนสูบบุหรี่แล้วเจอว่าเป็นมะเร็งปอด หรือกินเหล้าเยอะแล้วตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับจะไม่แปลกใจ แต่ตัวเองดูแลสุขภาพมาดีตลอด กินแต่อาหารที่มีประโยชน์ เหล้า บุหรี่ไม่แตะต้องเลย ทำไมถึงต้องมาเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบนี้”
ปลูกถ่ายไขกระดูก ทางรอดที่ถูกเลือก
อาการที่พบในตอนแรก มีอาการตับโต และลุกลามไปเรื่อย จนได้มาพบกับแพทย์เฉพาะทางด้านเลือด “โชคดีมากที่เราได้พบกับแพทย์เฉพาะทาง ทำให้การรักษาทำได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด ซึ่งคุณหมอวิเชียรได้บอกเราว่า รักษาหายได้นะแต่การรักษาจะยาก ซึ่งเราได้ยินก็สบายใจและเชื่อมั่นมาก ๆ โดยการรักษาจะเป็นการปลูกถ่ายไขกระดูก”
คุณฐิติชญา เล่าถึงประสบการณ์การปลูกถ่ายไขกระดูกจาก 2 ครั้งที่ผ่านมาว่า “ไม่รู้สึกเจ็บอะไรเลย กินได้ตามปกติ จะมีผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อย อย่างเช่นท้องเสีย หรืออาการอ่อนเพลียเท่านั้น” การปลูกถ่ายสเต็มเซ็ลล์ หรือการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้น เป็นการรักษาที่เมื่อเตรียมตัวพร้อม เตรียมแผนการรักษาและการประเมินจากแพทย์แล้ว อาจจะมีการฉายแสงก่อนตามอาการผู้ป่วย และต้องอยู่ในห้องปลอดเชื้อแบบพิเศษ จากนั้นถึงจะเข้าสู่กระบวนการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ผ่านทางหลอดเลือดดำ “เรื่องความเจ็บแทบไม่รู้สึก แต่ที่ทรมานมากที่สุดคือการต้องอยู่ในห้องพักฟื้น ไปไหนไม่ได้ รู้สึกอึดอัดมาก เพราะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่นิ่งๆ ชอบไปไหนมาไหนตลอด” คุณฐิติชญา เล่าด้วยรอยยิ้ม
เหตุพลิกผัน สู่การรักษาอีกรูปแบบของการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
การรักษาผ่านไปด้วยดี แต่เมื่อต้องติดตามอาการ และพบแพทย์ตามตารางนัด กลับพบการกลับมาของเซลล์มะเร็งอีกครั้ง เธอจึงตัดสินใจรักษา “ครั้งที่ 3 ที่เข้ารับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้น คุณหมอแจ้งว่าจะใช้วิธีใหม่ โดยครั้งนี้ไม่ได้ใช้สเต็มเซลล์ของพี่ชายเหมือนเช่นเคย แต่จะใช้สเต็มเซลล์ของลูกชายคนเล็กแทน และคิดว่าผลจะออกมาดี ซึ่งเมื่อรักษาแล้ว อาการข้างเคียงแทบไม่มีเลย รู้สึกดีขึ้นมาก”
“ลูกชายก็ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาแม่ เป็นเหมือนยิ่งกว่าการบวชทดแทนคุณเสียอีก ก็รู้สึกดีใจจริงๆ คนที่บ้านก็เป็นอีกกำลังใจอยู่เสมอ อย่างเช่นสามีก็จะโทรถามอาการ วันละ 3 ครั้ง ทุกวันและส่งดอกไม้มาให้อีกด้วย”
อดทนจนทะลุความอดทน คือหนทางสู่การรักษา
คุณฐิติชญา ได้ให้แง่คิด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษามะเร็งว่า “สำหรับตนเองแล้ว การอดทนทะลุความอดทนสำคัญมาก เพราะเราอาจต้องเจอกับสภาวะที่ต้องพักฟื้นอยู่โดดเดี่ยวในห้องพิเศษ ต้องอยู่บนเตียง เดินไปไหนมาไหนไม่ได้ หรือบางครั้งอ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำในสิ่งที่อยากทำ ก็จะต้องอดทน ให้มากขึ้นจนเกินคำว่าอดทน แล้วจะเห็นทางอันสดใสตามมาเอง”
“ที่สำคัญคือหากใครรู้ว่าตัวเองกำลังเป็นมะเร็งตรงไหน ก็อยากให้รีบไปพบแพทย์ทางด้านนั้น เฉพาะจุดที่เป็น เพราะสำคัญมาก ยิ่งเราพร้อมทั้งกายและใจ และทีมแพทย์ก็พร้อมจะรักษาเรา การรักษาแล้วหายมีโอกาสสูงขึ้น มีเวลาให้กับครอบครัวอีกครั้ง ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อมูล การปลูกถ่ายไขกระดูกไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากใจและกายพร้อม จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/april-2021/bone-marrow-transplant
การปลูกถ่ายไขกระดูกไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากใจและกายพร้อม
มะเร็งเม็ดเลือดขาว สาเหตุที่หาไม่ได้แม้จะเคยแข็งแรงมาก่อน
จุดเริ่มต้นของการเป็นโรคที่ใครๆต่างไม่ปรารถนาที่จะเป็น อย่างเช่นมะเร็งของคุณ ฐิติชญา เกิดขึ้นเมื่อช่วงอายุ 47 ปี “ตอนนั้นรู้สึกว่าเริ่มไม่สบาย เหมือนว่าจะท้องอืด เรอบ่อย และตอนนั้นกิจการโรงงานเหล็กที่ทำอยู่ก็งานเยอะ พักผ่อนน้อย รู้สึกเครียด แต่ยังคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นอะไรมาก น่าจะเป็นแค่กรดไหลย้อนเท่านั้น” การสันนิษฐานเบื้องต้นของคุณฐิติชญา ที่ไม่คิดว่าอาการเหล่านั้นจะนำพาไปสู่ผู้ป่วยโรคมะเร็งในที่สุด
“ตอนแรกเราก็ไปหาหมอที่โรงพยาบาลแถวบ้านที่สมุทรสาคร ซึ่งเมื่อตรวจเบื้องต้นแล้วก็ ถูกส่งตัวมาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เลย เราก็รู้สึกอุ่นใจนะ เพราะเคยได้ยินชื่อเสียงในการรักษาที่ดีมาก่อนแล้ว พอตรวจอย่างละเอียด ก็เข้าสู่การรักษากับนายแพทย์วิเชียร มงคลศรีตระกูลเลย” คุณฐิติชญาเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว “ได้รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ตกใจ เพราะเป็นคนสุขภาพดีมาตลอด ถ้าหากว่าเป็นคนสูบบุหรี่แล้วเจอว่าเป็นมะเร็งปอด หรือกินเหล้าเยอะแล้วตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับจะไม่แปลกใจ แต่ตัวเองดูแลสุขภาพมาดีตลอด กินแต่อาหารที่มีประโยชน์ เหล้า บุหรี่ไม่แตะต้องเลย ทำไมถึงต้องมาเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบนี้”
ปลูกถ่ายไขกระดูก ทางรอดที่ถูกเลือก
อาการที่พบในตอนแรก มีอาการตับโต และลุกลามไปเรื่อย จนได้มาพบกับแพทย์เฉพาะทางด้านเลือด “โชคดีมากที่เราได้พบกับแพทย์เฉพาะทาง ทำให้การรักษาทำได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด ซึ่งคุณหมอวิเชียรได้บอกเราว่า รักษาหายได้นะแต่การรักษาจะยาก ซึ่งเราได้ยินก็สบายใจและเชื่อมั่นมาก ๆ โดยการรักษาจะเป็นการปลูกถ่ายไขกระดูก”
คุณฐิติชญา เล่าถึงประสบการณ์การปลูกถ่ายไขกระดูกจาก 2 ครั้งที่ผ่านมาว่า “ไม่รู้สึกเจ็บอะไรเลย กินได้ตามปกติ จะมีผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อย อย่างเช่นท้องเสีย หรืออาการอ่อนเพลียเท่านั้น” การปลูกถ่ายสเต็มเซ็ลล์ หรือการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้น เป็นการรักษาที่เมื่อเตรียมตัวพร้อม เตรียมแผนการรักษาและการประเมินจากแพทย์แล้ว อาจจะมีการฉายแสงก่อนตามอาการผู้ป่วย และต้องอยู่ในห้องปลอดเชื้อแบบพิเศษ จากนั้นถึงจะเข้าสู่กระบวนการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ผ่านทางหลอดเลือดดำ “เรื่องความเจ็บแทบไม่รู้สึก แต่ที่ทรมานมากที่สุดคือการต้องอยู่ในห้องพักฟื้น ไปไหนไม่ได้ รู้สึกอึดอัดมาก เพราะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่นิ่งๆ ชอบไปไหนมาไหนตลอด” คุณฐิติชญา เล่าด้วยรอยยิ้ม
เหตุพลิกผัน สู่การรักษาอีกรูปแบบของการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
การรักษาผ่านไปด้วยดี แต่เมื่อต้องติดตามอาการ และพบแพทย์ตามตารางนัด กลับพบการกลับมาของเซลล์มะเร็งอีกครั้ง เธอจึงตัดสินใจรักษา “ครั้งที่ 3 ที่เข้ารับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้น คุณหมอแจ้งว่าจะใช้วิธีใหม่ โดยครั้งนี้ไม่ได้ใช้สเต็มเซลล์ของพี่ชายเหมือนเช่นเคย แต่จะใช้สเต็มเซลล์ของลูกชายคนเล็กแทน และคิดว่าผลจะออกมาดี ซึ่งเมื่อรักษาแล้ว อาการข้างเคียงแทบไม่มีเลย รู้สึกดีขึ้นมาก”
“ลูกชายก็ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาแม่ เป็นเหมือนยิ่งกว่าการบวชทดแทนคุณเสียอีก ก็รู้สึกดีใจจริงๆ คนที่บ้านก็เป็นอีกกำลังใจอยู่เสมอ อย่างเช่นสามีก็จะโทรถามอาการ วันละ 3 ครั้ง ทุกวันและส่งดอกไม้มาให้อีกด้วย”
อดทนจนทะลุความอดทน คือหนทางสู่การรักษา
คุณฐิติชญา ได้ให้แง่คิด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษามะเร็งว่า “สำหรับตนเองแล้ว การอดทนทะลุความอดทนสำคัญมาก เพราะเราอาจต้องเจอกับสภาวะที่ต้องพักฟื้นอยู่โดดเดี่ยวในห้องพิเศษ ต้องอยู่บนเตียง เดินไปไหนมาไหนไม่ได้ หรือบางครั้งอ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำในสิ่งที่อยากทำ ก็จะต้องอดทน ให้มากขึ้นจนเกินคำว่าอดทน แล้วจะเห็นทางอันสดใสตามมาเอง”
“ที่สำคัญคือหากใครรู้ว่าตัวเองกำลังเป็นมะเร็งตรงไหน ก็อยากให้รีบไปพบแพทย์ทางด้านนั้น เฉพาะจุดที่เป็น เพราะสำคัญมาก ยิ่งเราพร้อมทั้งกายและใจ และทีมแพทย์ก็พร้อมจะรักษาเรา การรักษาแล้วหายมีโอกาสสูงขึ้น มีเวลาให้กับครอบครัวอีกครั้ง ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้