ยอดโควิด-19 วันนี้ ทะลุ 4 หมื่นราย! ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1,547 ราย
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/932870
สถานการณ์ "โควิด-19" วันนี้ 17 เม.ย.64 ไทยยังน่าเป็นห่วง รายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ พุ่งสูงอีก 1,547 ราย ทะลุพันห้าเป็นวันที่ 3 ขณะยอดผู้ป่วยสะสมทะลุเกิน 4 หมื่นรายไปแล้ว
รายงานสถานการณ์โคโรนาไวรัสล่าสุด วันนี้ยังคงน่าเป็นห่วง หลังพบยอดผู้ติดเชื้อพันห้าร้อยรายติดต่อกันเป็นวันที่ 3 โดย นพ.เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ กระทรวงสาธารณสุข รายงานอัพเดทสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน 17 เมษายน 2564 หรือ ยอดผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" วันนี้ ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1,547 ราย ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 40,585 ราย
เกษตรกรอ่วม 3 ปัจจัยดันปุ๋ยเคมีราคากระฉูด
https://www.prachachat.net/local-economy/news-646667
โควิดระบาด-ตู้คอนเทนเนอร์ขาด-น้ำมันขึ้นราคา ทำวงการค้าปุ๋ยเคมีป่วน ราคานำเข้าแม่ปุ๋ยสูตรสำคัญปรับราคา แถมของขาดตลาด ส่งผลผู้นำเข้า-โรงงานปุ๋ยประกาศขึ้นราคาปุ๋ยเคมีกระสอบละ 50-75 บาท ยืนยันปุ๋ยยังไม่ขาดตลาด แต่สต๊อกลดลง เตือนเกษตรกรรับมือต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ช่วงปลูกพืช จับตาไตรมาส 2 ปุ๋ยแห่ขึ้นราคาอีกระลอกแน่
สามปัจจัยปุ๋ยราคาพุ่ง
ดร.
กรีฑา วีระนันทนาพันธ์ ประธาน บริษัทนันทกรี จำกัด จ.สมุทรสาคร ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีตรามุกมังกร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ราคาปุ๋ยเคมีในท้องตลาดได้ปรับราคาสูงขึ้น เนื่องจากแม่ปุ๋ยเคมีที่ประเทศไทยนำเข้าจากต่างประเทศปีละกว่า 6 ล้านตัน ขยับราคาสูงขึ้นมากจาก 3 ปัจจัยหลักคือ
1) น้ำมันมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น โดยปุ๋ยทุกสูตรมีสารตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเกิดการสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยนำมีเทนมาสังเคราะห์ให้ได้ก๊าซแอมโมเนีย ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับแอมโมเนีย
2) ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่ปรับขึ้นทั่วโลก
และ 3) โรงงานผลิตแม่ปุ๋ยสูตรวัตถุดิบต้นทางในต่างประเทศฉวยโอกาสปั่นราคาขึ้นไปกว่า 20% ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าในช่วงไตรมาส 2/2564 ราคาปุ๋ยเคมีอาจปรับสูงขึ้นไปถึง 500 บาทต่อกระสอบ (ขนาด 50 กก.) ในช่วงที่มีการเพาะปลูกมากและถือเป็นการปรับราคาขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี แต่สำหรับปุ๋ยอินทรีย์เคมี “ตรามุกมังกร” ไม่ได้ใช้แม่ปุ๋ยเคมีจึงไม่ได้รับผลกระทบทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบ
โควิดทำโรงงานแม่ปุ๋ยปิดตัว
ด้านนาย
ดุษฎี วงศ์โรจน์ เจ้าของร้านจำหน่ายปุ๋ย “เกษตรเนินสูง” อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี กล่าวว่า ปุ๋ยเคมีที่ปรับราคาขึ้นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์มีสาเหตุมาจาก “แม่ปุ๋ย” ซึ่งเป็นวัตถุดิบปรับราคาสูงขึ้น โดยยูเรียสูตร 46-0-0, ได-แอมโมเนียมฟอสเฟตสูตร 18-46-0, โพแทสเซียมคลอไรด์สูตร 0-0-60 ที่นำเข้ามาปรับราคาสูงขึ้น 1,500-2,000 บาท/ตัน โดยทั้ง 3 ตัวนี้ใช้ผลิตปุ๋ยสูตร 15-15-15, สูตร 16-16-16 และสูตร 8-24-24 ที่เกษตรกรนิยมใช้กันมาก
“
กลุ่มประเทศยุโรปผู้ผลิตวัตถุแม่ปุ๋ยยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 โรงงานปิดตัวลงทำให้ปริมาณวัตถุดิบแม่ปุ๋ยผลิตน้อยลงไปด้วย ขณะที่ตลาดจีนและไทยมีความต้องการวัตถุดิบแม่ปุ๋ยชนิดนี้สูง ประกอบกับค่าขนส่งทางเรือเพิ่มขึ้น 100% โดยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ตัน จากตู้ละ 700 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 1,400 เหรียญ รวมทั้งค่าเงินบาทที่ผันผวน ส่งผลให้ราคาขายปลีกปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต้องปรับเพิ่มขึ้น 75-150 บาทต่อกระสอบ ขนาด 50 กก.
ส่วนน้ำหนัก 1 ตัน ที่ราคาเดิม 895-900 บาท ปรับขึ้นเป็น 960-980 บาท คาดว่าหากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลายอาจจะต้องปรับขึ้นราคาปุ๋ยอีก ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบแน่นอน จากความจำเป็นที่จะต้องใช้ปุ๋ยหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนพฤกษาคม-มิถุนายนนี้” นาย
ดุษฎีกล่าว
ด้านนาย
นิมิต สุวัฒน์ศรีสกุล เจ้าของร้านเทพนิมิตการเกษตร จำกัด อ.เขาสมิง จ.ตราด กล่าวเพิ่มเติมว่า ปุ๋ยที่นำเข้าจากต่างประเทศมีการขึ้นราคามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นการทยอยปรับขึ้นราคามาเป็นระยะ ๆ บริษัทที่นำเข้าแจ้งว่า เพราะจีน-ออสเตรเลียมีความต้องการใช้สูงจึงหยุดการส่งออก ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นและกรณีเรือขวางคลองสุเอซต้องรอคิวนำเข้าอีก
“
วัตถุดิบแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 เป็นปุ๋ยชนิดที่ผสมใช้กับต้นปาล์มน้ำมันปรับราคาสูงสุดครั้งละ 600-700 ถึง 1,100 บาทต่อตัน ปุ๋ยเคมีขนาดกระสอบละ 50 กิโลกรัม สูตร 15-15-15 กับสูตร 16-16-16 ขึ้นราคากระสอบละ 75 บาท แต่ในช่วงนี้เกษตรกรบางส่วนมีการซื้อตุนไว้บ้างเพราะยังไม่ถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้วยเกรงว่าปุ๋ยจะขึ้นราคาอีก
แต่ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรไม่มีกำลังซื้อเพราะปีนี้สภาพอากาศแปรปรวนต้องใช้เงินลงทุนซื้อปุ๋ยมาก ทุเรียนได้ราคาดี เกษตรกรยอมรับที่จะใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปแม้จะขึ้นราคา เพราะปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เหมือนปุ๋ยเคมี ส่วนผู้ประกอบการร้านค้าได้รับผลกระทบที่ต้นทุนสูงขึ้นแม้ว่าจะปรับเปลี่ยนราคาตามราคาของบริษัทนำเข้าปุ๋ยก็ตาม” นาย
นิมิตกล่าว
เอเย่นต์อ้างของน้อย
นาย
นัด ดวงใส รองประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) กล่าวว่า ทางเอเย่นต์ปุ๋ยได้ให้เหตุผล “ปุ๋ยมีปริมาณน้อยมาก” เนื่องจากโรงงานผลิตปุ๋ยที่มีอยู่ชะลอการผลิตและบางแห่งก็ปิดโรงงานไปเลย ส่วนโรงงานที่จะเปิดใหม่ก็ขาดแคลนแรงงานจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ปุ๋ยในสต๊อกมีปริมาณลดลงมาก ดังนั้นราคาปุ๋ยจึงขยับขึ้น
“
เทียบกับช่วงปกติในหน้าแล้งประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เกษตรกรจะไม่ใช้ปุ๋ย ราคาปุ๋ยก็จะปรับตัวลงประมาณ 10 บาท/กระสอบ ร้านขายปุ๋ยต้องระบายสินค้าออกเพื่อลดต้นทุน แต่พอเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝนเกษตรกรทุกประเภทจะใส่ปุ๋ยบำรุงพืช ทั้งยางพารา-ปาล์มน้ำมัน-ผลไม้ ตอนนั้นราคาปุ๋ยก็จะเริ่มขยับขึ้น แต่ปีนี้เหตุการณ์กลับตรงกันข้า”
“
ตอนนี้ราคาปุ๋ยขยับขึ้นแทบทุกตัวประมาณกระสอบละ 50 บาท หรือจาก 700 บาท ขึ้นราคาเป็น 750-800 บาทต่อกระสอบ (ขนาด 50 กก.) เราคาดการณ์ว่าราคาปุ๋ยจะปรับตัวขึ้นอีกระลอกประมาณ 40-50 บาท/กระสอบ ในช่วงหน้าฝนแน่นอน ถือว่า ราคาปุ๋ยปีนี้จะขยับขึ้น 2 รอบ หรือเท่ากับราคาได้ขยับขึ้นเกือบ 100 บาท/กระสอบ ดังนั้นร้านขายปุ๋ยที่มีสินค้าเก่าเหลือในสต๊อกก็เหมือนได้ส้มหล่นราคาปุ๋ยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 100 บาท/กระสอบ” นาย
นัดกล่าว
ส่วนนาย
นิยม พานิกร เจ้าของร้านไทยนิยม อ.เมือง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ช่วงนี้ทางเอเย่นต์มีการปรับราคาปุ๋ยขึ้นเฉลี่ยกระสอบละประมาณ 30 บาท เนื่องจากไม่มีสินค้าลอตใหม่ส่งเข้ามา มีเพียงสินค้าที่อยู่ในสต๊อกเท่านั้น แต่ยืนยันว่า “ปุ๋ยยังไม่ขาดตลาด”
สอบถามเอเย่นต์ทราบเพียงว่า วัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาไม่ได้และทางร้านเองเมื่อซื้อปุ๋ยมาแพงก็ปรับราคาขึ้นบวกกำไรเล็กน้อย เพราะลูกค้าเกษตรกรล้วนเป็นขาประจำ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ราคาร้านใหญ่ 670 บาท ที่ร้านขาย 680 บาท ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปีที่แล้วกระสอบละ 800 บาทขึ้นราคาอีก 30 บาท ทางร้านก็ขาย 850 บาท เป็นต้น
โดยยอดขายปุ๋ยช่วงนี้ยังปกติเพราะเกษตรกรที่ปลูกมัน อ้อย และข้าวนาปรังจำเป็นต้องใช้ ในส่วนของปุ๋ยอินทรีย์ยอดขายปกติ สำหรับปีนี้ปุ๋ยที่สั่งไว้น่าจะเพียงพอ แต่ปีหน้าหากไม่มีปุ๋ยเข้ามาอีก เกษตรกรคงต้องลำบากแน่
ด้านนาย
วิชิต แสนแก้ว อดีตนายกสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดมหาสารคาม ประธานกลุ่มผู้ปลูกอ้อย อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับขึ้นประมาณ 10-30 บาท ทางร้านให้เหตุผลว่า โรงงานใหญ่ไม่ส่งปุ๋ยมาทำให้สินค้ามีจำกัด แต่ถึงราคาแพงเกษตรกรจำเป็นต้องใช้และมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยเพื่อลดต้นทุน เพราะหากจะใช้ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง โดยราคาเฉลี่ยปุ๋ยเคมีช่วงนี้ประมาณกระสอบละกว่า 800 บาท ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 400 บาท
JJNY : ติดเชื้อเพิ่ม 1,547ราย│ปุ๋ยเคมีราคากระฉูด│โควิดทำติดเชื้อปอดอักเสบมากขึ้น│หนุ่มโพสต์ติดโควิด7วัน รพ.แจ้งเตียงเต็ม
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/932870
สถานการณ์ "โควิด-19" วันนี้ 17 เม.ย.64 ไทยยังน่าเป็นห่วง รายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ พุ่งสูงอีก 1,547 ราย ทะลุพันห้าเป็นวันที่ 3 ขณะยอดผู้ป่วยสะสมทะลุเกิน 4 หมื่นรายไปแล้ว
รายงานสถานการณ์โคโรนาไวรัสล่าสุด วันนี้ยังคงน่าเป็นห่วง หลังพบยอดผู้ติดเชื้อพันห้าร้อยรายติดต่อกันเป็นวันที่ 3 โดย นพ.เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ กระทรวงสาธารณสุข รายงานอัพเดทสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน 17 เมษายน 2564 หรือ ยอดผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" วันนี้ ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1,547 ราย ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 40,585 ราย
เกษตรกรอ่วม 3 ปัจจัยดันปุ๋ยเคมีราคากระฉูด
https://www.prachachat.net/local-economy/news-646667
โควิดระบาด-ตู้คอนเทนเนอร์ขาด-น้ำมันขึ้นราคา ทำวงการค้าปุ๋ยเคมีป่วน ราคานำเข้าแม่ปุ๋ยสูตรสำคัญปรับราคา แถมของขาดตลาด ส่งผลผู้นำเข้า-โรงงานปุ๋ยประกาศขึ้นราคาปุ๋ยเคมีกระสอบละ 50-75 บาท ยืนยันปุ๋ยยังไม่ขาดตลาด แต่สต๊อกลดลง เตือนเกษตรกรรับมือต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ช่วงปลูกพืช จับตาไตรมาส 2 ปุ๋ยแห่ขึ้นราคาอีกระลอกแน่
สามปัจจัยปุ๋ยราคาพุ่ง
ดร.กรีฑา วีระนันทนาพันธ์ ประธาน บริษัทนันทกรี จำกัด จ.สมุทรสาคร ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีตรามุกมังกร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ราคาปุ๋ยเคมีในท้องตลาดได้ปรับราคาสูงขึ้น เนื่องจากแม่ปุ๋ยเคมีที่ประเทศไทยนำเข้าจากต่างประเทศปีละกว่า 6 ล้านตัน ขยับราคาสูงขึ้นมากจาก 3 ปัจจัยหลักคือ
1) น้ำมันมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น โดยปุ๋ยทุกสูตรมีสารตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเกิดการสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยนำมีเทนมาสังเคราะห์ให้ได้ก๊าซแอมโมเนีย ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับแอมโมเนีย
2) ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่ปรับขึ้นทั่วโลก
และ 3) โรงงานผลิตแม่ปุ๋ยสูตรวัตถุดิบต้นทางในต่างประเทศฉวยโอกาสปั่นราคาขึ้นไปกว่า 20% ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าในช่วงไตรมาส 2/2564 ราคาปุ๋ยเคมีอาจปรับสูงขึ้นไปถึง 500 บาทต่อกระสอบ (ขนาด 50 กก.) ในช่วงที่มีการเพาะปลูกมากและถือเป็นการปรับราคาขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี แต่สำหรับปุ๋ยอินทรีย์เคมี “ตรามุกมังกร” ไม่ได้ใช้แม่ปุ๋ยเคมีจึงไม่ได้รับผลกระทบทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบ
โควิดทำโรงงานแม่ปุ๋ยปิดตัว
ด้านนายดุษฎี วงศ์โรจน์ เจ้าของร้านจำหน่ายปุ๋ย “เกษตรเนินสูง” อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี กล่าวว่า ปุ๋ยเคมีที่ปรับราคาขึ้นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์มีสาเหตุมาจาก “แม่ปุ๋ย” ซึ่งเป็นวัตถุดิบปรับราคาสูงขึ้น โดยยูเรียสูตร 46-0-0, ได-แอมโมเนียมฟอสเฟตสูตร 18-46-0, โพแทสเซียมคลอไรด์สูตร 0-0-60 ที่นำเข้ามาปรับราคาสูงขึ้น 1,500-2,000 บาท/ตัน โดยทั้ง 3 ตัวนี้ใช้ผลิตปุ๋ยสูตร 15-15-15, สูตร 16-16-16 และสูตร 8-24-24 ที่เกษตรกรนิยมใช้กันมาก
“กลุ่มประเทศยุโรปผู้ผลิตวัตถุแม่ปุ๋ยยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 โรงงานปิดตัวลงทำให้ปริมาณวัตถุดิบแม่ปุ๋ยผลิตน้อยลงไปด้วย ขณะที่ตลาดจีนและไทยมีความต้องการวัตถุดิบแม่ปุ๋ยชนิดนี้สูง ประกอบกับค่าขนส่งทางเรือเพิ่มขึ้น 100% โดยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ตัน จากตู้ละ 700 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 1,400 เหรียญ รวมทั้งค่าเงินบาทที่ผันผวน ส่งผลให้ราคาขายปลีกปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต้องปรับเพิ่มขึ้น 75-150 บาทต่อกระสอบ ขนาด 50 กก.
ส่วนน้ำหนัก 1 ตัน ที่ราคาเดิม 895-900 บาท ปรับขึ้นเป็น 960-980 บาท คาดว่าหากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลายอาจจะต้องปรับขึ้นราคาปุ๋ยอีก ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบแน่นอน จากความจำเป็นที่จะต้องใช้ปุ๋ยหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนพฤกษาคม-มิถุนายนนี้” นายดุษฎีกล่าว
ด้านนายนิมิต สุวัฒน์ศรีสกุล เจ้าของร้านเทพนิมิตการเกษตร จำกัด อ.เขาสมิง จ.ตราด กล่าวเพิ่มเติมว่า ปุ๋ยที่นำเข้าจากต่างประเทศมีการขึ้นราคามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นการทยอยปรับขึ้นราคามาเป็นระยะ ๆ บริษัทที่นำเข้าแจ้งว่า เพราะจีน-ออสเตรเลียมีความต้องการใช้สูงจึงหยุดการส่งออก ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นและกรณีเรือขวางคลองสุเอซต้องรอคิวนำเข้าอีก
“วัตถุดิบแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 เป็นปุ๋ยชนิดที่ผสมใช้กับต้นปาล์มน้ำมันปรับราคาสูงสุดครั้งละ 600-700 ถึง 1,100 บาทต่อตัน ปุ๋ยเคมีขนาดกระสอบละ 50 กิโลกรัม สูตร 15-15-15 กับสูตร 16-16-16 ขึ้นราคากระสอบละ 75 บาท แต่ในช่วงนี้เกษตรกรบางส่วนมีการซื้อตุนไว้บ้างเพราะยังไม่ถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้วยเกรงว่าปุ๋ยจะขึ้นราคาอีก
แต่ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรไม่มีกำลังซื้อเพราะปีนี้สภาพอากาศแปรปรวนต้องใช้เงินลงทุนซื้อปุ๋ยมาก ทุเรียนได้ราคาดี เกษตรกรยอมรับที่จะใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปแม้จะขึ้นราคา เพราะปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เหมือนปุ๋ยเคมี ส่วนผู้ประกอบการร้านค้าได้รับผลกระทบที่ต้นทุนสูงขึ้นแม้ว่าจะปรับเปลี่ยนราคาตามราคาของบริษัทนำเข้าปุ๋ยก็ตาม” นายนิมิตกล่าว
เอเย่นต์อ้างของน้อย
นายนัด ดวงใส รองประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) กล่าวว่า ทางเอเย่นต์ปุ๋ยได้ให้เหตุผล “ปุ๋ยมีปริมาณน้อยมาก” เนื่องจากโรงงานผลิตปุ๋ยที่มีอยู่ชะลอการผลิตและบางแห่งก็ปิดโรงงานไปเลย ส่วนโรงงานที่จะเปิดใหม่ก็ขาดแคลนแรงงานจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ปุ๋ยในสต๊อกมีปริมาณลดลงมาก ดังนั้นราคาปุ๋ยจึงขยับขึ้น
“เทียบกับช่วงปกติในหน้าแล้งประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เกษตรกรจะไม่ใช้ปุ๋ย ราคาปุ๋ยก็จะปรับตัวลงประมาณ 10 บาท/กระสอบ ร้านขายปุ๋ยต้องระบายสินค้าออกเพื่อลดต้นทุน แต่พอเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝนเกษตรกรทุกประเภทจะใส่ปุ๋ยบำรุงพืช ทั้งยางพารา-ปาล์มน้ำมัน-ผลไม้ ตอนนั้นราคาปุ๋ยก็จะเริ่มขยับขึ้น แต่ปีนี้เหตุการณ์กลับตรงกันข้า”
“ตอนนี้ราคาปุ๋ยขยับขึ้นแทบทุกตัวประมาณกระสอบละ 50 บาท หรือจาก 700 บาท ขึ้นราคาเป็น 750-800 บาทต่อกระสอบ (ขนาด 50 กก.) เราคาดการณ์ว่าราคาปุ๋ยจะปรับตัวขึ้นอีกระลอกประมาณ 40-50 บาท/กระสอบ ในช่วงหน้าฝนแน่นอน ถือว่า ราคาปุ๋ยปีนี้จะขยับขึ้น 2 รอบ หรือเท่ากับราคาได้ขยับขึ้นเกือบ 100 บาท/กระสอบ ดังนั้นร้านขายปุ๋ยที่มีสินค้าเก่าเหลือในสต๊อกก็เหมือนได้ส้มหล่นราคาปุ๋ยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 100 บาท/กระสอบ” นายนัดกล่าว
ส่วนนายนิยม พานิกร เจ้าของร้านไทยนิยม อ.เมือง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ช่วงนี้ทางเอเย่นต์มีการปรับราคาปุ๋ยขึ้นเฉลี่ยกระสอบละประมาณ 30 บาท เนื่องจากไม่มีสินค้าลอตใหม่ส่งเข้ามา มีเพียงสินค้าที่อยู่ในสต๊อกเท่านั้น แต่ยืนยันว่า “ปุ๋ยยังไม่ขาดตลาด”
สอบถามเอเย่นต์ทราบเพียงว่า วัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาไม่ได้และทางร้านเองเมื่อซื้อปุ๋ยมาแพงก็ปรับราคาขึ้นบวกกำไรเล็กน้อย เพราะลูกค้าเกษตรกรล้วนเป็นขาประจำ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ราคาร้านใหญ่ 670 บาท ที่ร้านขาย 680 บาท ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปีที่แล้วกระสอบละ 800 บาทขึ้นราคาอีก 30 บาท ทางร้านก็ขาย 850 บาท เป็นต้น
โดยยอดขายปุ๋ยช่วงนี้ยังปกติเพราะเกษตรกรที่ปลูกมัน อ้อย และข้าวนาปรังจำเป็นต้องใช้ ในส่วนของปุ๋ยอินทรีย์ยอดขายปกติ สำหรับปีนี้ปุ๋ยที่สั่งไว้น่าจะเพียงพอ แต่ปีหน้าหากไม่มีปุ๋ยเข้ามาอีก เกษตรกรคงต้องลำบากแน่
ด้านนายวิชิต แสนแก้ว อดีตนายกสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดมหาสารคาม ประธานกลุ่มผู้ปลูกอ้อย อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับขึ้นประมาณ 10-30 บาท ทางร้านให้เหตุผลว่า โรงงานใหญ่ไม่ส่งปุ๋ยมาทำให้สินค้ามีจำกัด แต่ถึงราคาแพงเกษตรกรจำเป็นต้องใช้และมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยเพื่อลดต้นทุน เพราะหากจะใช้ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง โดยราคาเฉลี่ยปุ๋ยเคมีช่วงนี้ประมาณกระสอบละกว่า 800 บาท ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 400 บาท