นักวิชาการชี้ ติดโควิดพุ่ง ฉุดยอดใช้จ่ายวูบ 20% แล้ว แนะธุรกิจจับตา 14 วันอันตรายหลังสงกรานต์
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2674792
นักวิชาการชี้ ติดโควิดพุ่ง ฉุดยอดใช้จ่ายวูบ 20% แล้ว แนะธุรกิจจับตา 14 วันอันตรายหลังสงกรานต์
เมื่อวันที่ 15 เมษายน นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวกับ “
มติชน” ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบ 3 และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 1 พันคนต่อวัน อีกทั้งอยู่ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์นั้น ได้สร้างความวิตกกังวลต่อประชาชนมากขึ้น ทำให้จำนวนประชาชนชะลอแผนการออกนอกบ้าน การเดินทางข้ามจังหวัด และพักผ่อนท่องเที่ยวไม่ว่าจะจังหวัดไกลหรือใกล้มากขึ้น จากเดิมประเมินตอนเกิดคลัสเตอร์ทองหล่อและพบผู้ติดเชื้อหลายร้อยคนต่อวัน ทำให้ประชาชนบางส่วนระงับแผนเดินทางและยกเลิกกิจกรรม ประเมินกระทบต่อเงินใช้จ่ายสะพัดต่อวันหายไป 5-10%
นาย
ธนวรรธน์กล่าวว่า เมื่อรวมกับการเลื่อนเวลาปิดห้างและร้านค้าในห้าง รวมถึงเริ่มทำงานที่บ้าน ก็จะกระทบต่อใช้จ่ายหายไปเพิ่มเป็น 20% ซึ่งเงินจะหายไปจากระบบเศรษฐกิจ 1-1.5 แสนล้านบาทต่อเดือน
“
ที่กังวลเพิ่มขึ้นตอนนี้ คือจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มเกินพันคนต่อวันแล้ว ส่งผลให้ประชาชนยิ่งประหยัดใช้จ่ายและธุรกิจเลื่อนเวลาปิด บางพื้นที่อาจถูกล็อกดาวน์ โดยเฉพาะช่วง 14 วันอันตรายหลังสงกรานต์ หลังจากประชาชนเดินทางเข้าทำงานและอยู่ในระยะฟักเชื้อ อาจทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งเร็ว จนรัฐต้องเพิ่มมาตรการเข้มงวดขึ้นอีก
“จากที่ประเมินเงินใช้จ่ายลบ 20% ก็จะเพิ่มเป็น 30% หรือเสียหายเดือนละ 2-3 แสนล้านบาท โดยทุก 1 แสนล้านบาทกระทบต่อจีดีพี 0.7%
“ส่วนระยะเวลาฟื้นตัวนั้นเมื่อดูย้อนหลังการระบาดโควิด 2 รอบแรก จะกินเวลา 45 วัน กว่าตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อจะนิ่ง และคนรายได้น้อยจะเริ่มผ่อนคลายและใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
“จึงประเมินว่าการแพร่ระบาดรอบ 3 คงใช้เวลา 2-3 เดือนในการฟื้นความเชื่อมั่นอีกครั้ง เท่ากับไตรมาส 2 เงินสะพัดใช้จ่ายจะหายไป 3-4 แสนล้านบาท และจีดีพีติดลบ 2% ส่งผลต่อจีดีพีทั้งปีนี้โตแค่ 2.5-3%” นาย
ธนวรรธน์กล่าว
เอกชน ชี้โควิดระลอกใหม่ฉุดจีดีพี ปี’64 ไปไม่ถึงฝัน ตั้งเป้าไว้ 4%
https://www.matichon.co.th/economy/news_2673508
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ว่า เดิมสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาระบาดในช่วงปลายปี 2563 เริ่มเบาบางลงแล้ว ซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ การปรับปรุงมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น เป็นต้น แต่ช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงขึ้นอีกครั้ง จากเดิมที่ภาคเอกชนประเมินว่าผลิตภัณฑ์มลรวมของประเทศ (จีดีพี) ปี 2564 เติบโตอยู่ที่ 2.5-2.8% แต่รัฐบาลต้องการดันจีดีพี ให้เติบโต 4% มองว่าคงเป็นไปได้ยากแล้ว เนื่องจากเกิดการระบาดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คาดว่าจะสร้างเงินสะพัดจำนวนมากให้กับเศรษฐกิจไทยพอดี
“เป้าหมายจีดีพีในปีนี้ คงไปไม่ถึง 4% อย่างที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ แต่จะเติบโตได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการควบคุมสถานการณ์ว่าจะสามารถทำได้ดีไหม หากใช้เวลาในการควบคุมสถานการณ์ประมาณ 1 เดือน คาดว่าอาจสร้างความเสียหายไม่เกิน 0.5% ของจีดีพี แต่ถ้าคุมสถานการณ์ไม่ได้ก็ต้องมาประเมินใหม่อีกครั้ง หากเป็นเช่นนั้น สิ่งที่กระทบตามมาอีกเรื่อง คือแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ” นายเกรียงไกร กล่าว
นายเกรียงไกร กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ถือว่าสร้างความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากการระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากรหนาแน่น และส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดที่เดินทางมาทำงานในกรุงเทพฯ และบางส่วนได้เดินทางกลับภูมิลำเนา หรือท่องเที่ยวต่างจังหวัด ส่งผลให้การควบคุมสถานการณ์เป็นไปได้ยากกว่าช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดที่จังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงสัปดาห์หน้า หรือสัปดาห์หลังการหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปว่าการแพร่ระบาดจะมีมากขึ้นไหม คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า ภาครัฐจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เมื่อไหร่
นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐเองต้องเข้มงวดเช่นกัน หากสถานการณ์ในอาทิตย์หน้าไม่รุนแรงเชื่อว่าจะไม่มีการประกาศล็อกดาวน์ แต่ถ้าโรงพยาบาล หรือสถานที่ และบุคลากรทางการแพทย์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เชื่อว่าการล็อกดาวน์จะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่รัฐบาลจะนำมาตัดสินใจ
JJNY : 4in1 ใช้จ่ายวูบ20%แล้ว│เอกชนชี้จีดีพีไปไม่ถึงฝัน4%│ตกงาน6ล.จบใหม่เตะฝุ่น1.3ล.│สาวป่วยโควิดนั่งคีย์หวยบ้านพ่อกำนัน
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2674792
นักวิชาการชี้ ติดโควิดพุ่ง ฉุดยอดใช้จ่ายวูบ 20% แล้ว แนะธุรกิจจับตา 14 วันอันตรายหลังสงกรานต์
เมื่อวันที่ 15 เมษายน นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวกับ “มติชน” ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบ 3 และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 1 พันคนต่อวัน อีกทั้งอยู่ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์นั้น ได้สร้างความวิตกกังวลต่อประชาชนมากขึ้น ทำให้จำนวนประชาชนชะลอแผนการออกนอกบ้าน การเดินทางข้ามจังหวัด และพักผ่อนท่องเที่ยวไม่ว่าจะจังหวัดไกลหรือใกล้มากขึ้น จากเดิมประเมินตอนเกิดคลัสเตอร์ทองหล่อและพบผู้ติดเชื้อหลายร้อยคนต่อวัน ทำให้ประชาชนบางส่วนระงับแผนเดินทางและยกเลิกกิจกรรม ประเมินกระทบต่อเงินใช้จ่ายสะพัดต่อวันหายไป 5-10%
นายธนวรรธน์กล่าวว่า เมื่อรวมกับการเลื่อนเวลาปิดห้างและร้านค้าในห้าง รวมถึงเริ่มทำงานที่บ้าน ก็จะกระทบต่อใช้จ่ายหายไปเพิ่มเป็น 20% ซึ่งเงินจะหายไปจากระบบเศรษฐกิจ 1-1.5 แสนล้านบาทต่อเดือน
“ที่กังวลเพิ่มขึ้นตอนนี้ คือจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มเกินพันคนต่อวันแล้ว ส่งผลให้ประชาชนยิ่งประหยัดใช้จ่ายและธุรกิจเลื่อนเวลาปิด บางพื้นที่อาจถูกล็อกดาวน์ โดยเฉพาะช่วง 14 วันอันตรายหลังสงกรานต์ หลังจากประชาชนเดินทางเข้าทำงานและอยู่ในระยะฟักเชื้อ อาจทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งเร็ว จนรัฐต้องเพิ่มมาตรการเข้มงวดขึ้นอีก
“จากที่ประเมินเงินใช้จ่ายลบ 20% ก็จะเพิ่มเป็น 30% หรือเสียหายเดือนละ 2-3 แสนล้านบาท โดยทุก 1 แสนล้านบาทกระทบต่อจีดีพี 0.7%
“ส่วนระยะเวลาฟื้นตัวนั้นเมื่อดูย้อนหลังการระบาดโควิด 2 รอบแรก จะกินเวลา 45 วัน กว่าตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อจะนิ่ง และคนรายได้น้อยจะเริ่มผ่อนคลายและใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
“จึงประเมินว่าการแพร่ระบาดรอบ 3 คงใช้เวลา 2-3 เดือนในการฟื้นความเชื่อมั่นอีกครั้ง เท่ากับไตรมาส 2 เงินสะพัดใช้จ่ายจะหายไป 3-4 แสนล้านบาท และจีดีพีติดลบ 2% ส่งผลต่อจีดีพีทั้งปีนี้โตแค่ 2.5-3%” นายธนวรรธน์กล่าว
เอกชน ชี้โควิดระลอกใหม่ฉุดจีดีพี ปี’64 ไปไม่ถึงฝัน ตั้งเป้าไว้ 4%
https://www.matichon.co.th/economy/news_2673508
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ว่า เดิมสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาระบาดในช่วงปลายปี 2563 เริ่มเบาบางลงแล้ว ซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ การปรับปรุงมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น เป็นต้น แต่ช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงขึ้นอีกครั้ง จากเดิมที่ภาคเอกชนประเมินว่าผลิตภัณฑ์มลรวมของประเทศ (จีดีพี) ปี 2564 เติบโตอยู่ที่ 2.5-2.8% แต่รัฐบาลต้องการดันจีดีพี ให้เติบโต 4% มองว่าคงเป็นไปได้ยากแล้ว เนื่องจากเกิดการระบาดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คาดว่าจะสร้างเงินสะพัดจำนวนมากให้กับเศรษฐกิจไทยพอดี
“เป้าหมายจีดีพีในปีนี้ คงไปไม่ถึง 4% อย่างที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ แต่จะเติบโตได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการควบคุมสถานการณ์ว่าจะสามารถทำได้ดีไหม หากใช้เวลาในการควบคุมสถานการณ์ประมาณ 1 เดือน คาดว่าอาจสร้างความเสียหายไม่เกิน 0.5% ของจีดีพี แต่ถ้าคุมสถานการณ์ไม่ได้ก็ต้องมาประเมินใหม่อีกครั้ง หากเป็นเช่นนั้น สิ่งที่กระทบตามมาอีกเรื่อง คือแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ” นายเกรียงไกร กล่าว
นายเกรียงไกร กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ถือว่าสร้างความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากการระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากรหนาแน่น และส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดที่เดินทางมาทำงานในกรุงเทพฯ และบางส่วนได้เดินทางกลับภูมิลำเนา หรือท่องเที่ยวต่างจังหวัด ส่งผลให้การควบคุมสถานการณ์เป็นไปได้ยากกว่าช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดที่จังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงสัปดาห์หน้า หรือสัปดาห์หลังการหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปว่าการแพร่ระบาดจะมีมากขึ้นไหม คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า ภาครัฐจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เมื่อไหร่
นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐเองต้องเข้มงวดเช่นกัน หากสถานการณ์ในอาทิตย์หน้าไม่รุนแรงเชื่อว่าจะไม่มีการประกาศล็อกดาวน์ แต่ถ้าโรงพยาบาล หรือสถานที่ และบุคลากรทางการแพทย์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เชื่อว่าการล็อกดาวน์จะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่รัฐบาลจะนำมาตัดสินใจ