Zwentendorf โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ไม่เคยเปิดใช้งาน

1

©  Isaak/Flickr
.


.
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Zwentendorf
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Danube
จาก Vienna ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ประมาณ 20 ไมล์ของประเทศออสเตรีย
เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพียงแห่งเดียวในโลก
ทึ่สร้างเสร็จพร้อมที่จะเดินเครื่องใช้งานแล้ว
แต่แล้วชาวกรุง Vienna ก็ลงมติตัดสินใจว่า
ไม่ไว้วางใจพลังงานนิวเคลียร์อีกต่อไป
ทำให้โครงการโรงไฟฟ้านี้ก็ถูกยุติลงไป
พร้อมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เสร็จสมบูรณ์
เพียงทึ่เดียวในโลกที่ไม่เคยได้ใช้งานจริง
 
ในช่วงปี 1960
โรงไฟฟ้า Zwentendorf
คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 ใน 10 แห่ง
ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลออสเตรีย
ด้วยกำลังการผลิต 692 MW
คาดว่าจะตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า
ภายในประเทศได้ราว 1 ใน 10

ในปี 1972
การก่อสร้างโรงงานก็เริ่มขึ้น
ด้วยการร่วมทุนของบริษัทพลังงานไฟฟ้า
(เอกชน) ของออสเตรียหลายแห่ง
ต้นทุนเริ่มต้นของโรงงานอยู่ที่
5.2 พันล้านชิลลิงออสเตรีย(ก่อนร่วมกับ EU)
ราว 1.4 พันล้านยูโร(ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ)
ปล่องระบายอากาศโรงงานสูง 110 เมตร

แต่เพราะมติมหาชนที่เรียกร้อง/คัดค้าน
จึงต้องแยกไปสร้างโรงไฟฟ้า Dürnrohr
ใช้พลังงานถ่านหิน/แก๊ส ในที่ใกล้ ๆ กัน

.
2

The Zwentendorf Nuclear Power Plant
2.1


Dürnrohr power station
.


.
ในปี 1978
โรงไฟฟ้า Zwentendorf ก็สร้างเสร็จ
การใช้พลังงานนิวเคลียร์
กลายเป็นวาระแห่งชาติออสเตรีย
ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างดุเดือด
แต่ความจำเป็น/แนวโน้มที่ต้องมีพลังงานนี้
เพราะวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 1973
ที่ราคาน้ำมันกลุ่ม OPEC เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ Bruno Kreisky นายกรัฐมนตรีออสเตรีย
มีเหตุผลและจุดยืนในในเรื่องพลังงานนิวเคลียร์
 
โรงไฟฟ้า Zwentendorf
มีการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด
ที่มีวงจรระบายความร้อนเพียงแกนเดียว
แกนเครื่องปฏิกรณ์จะทำให้น้ำร้อนขึ้น
จะเปลี่ยนน้ำเป็นไอน้ำไปผลักดัน
ขับเคลื่อนกังหัน/ไดนาโมผลิตไฟฟ้า
ความร้อนที่เกิดขึ้นมาจากกัมมันตภาพรังสี
ที่สร้างความร้อนยิ่งยวดในแกนเครื่อง
จากห้องโถงเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณุ

โรงไฟฟ้า Zwentendorf
ไม่มีหอทำความเย็นเหมือนกับ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่อื่น ๆ
เพราะการออกแบบให้ระบายความร้อน
ด้วยน้ำจากแม่น้ำ Danube โดยตรง

ในเวลานั้น ถือว่าการออกแบบทันสมัยมาก
​​แต่เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูก็ยังมีปัญหา
และมีข้อข้อบกพร่องในการออกแบบ
ในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย
ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินถูกวางไว้ด้านนอก
จึงมีความเสี่ยงที่จะเสียหายเพราะน้ำท่วม
เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งในเยอรมนี
ที่ออกแบบเดียวกับโรงไฟฟ้า Zwentendorf
ก็ยังต้องปิดตัวลงอย่างถาวรเพราะปัญหาแบบนี้
.
3

© Raimund Appel / Flickr
.


.
โรงไฟฟ้า Zwentendorf ก็เริ่มมีปัญหา 
เพราะแค่เวลาผ่านไปเกือบ 2 สัปดาห์
หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง
แรงสั่นสะเทือนได้สร้างความเสียหายบางส่วน
ทำให้ฐานรากของโรงไฟฟ้า Zwentendorf
เกิดการชำรุดจนต้องเทพื้นคอนกรีตใหม่

ในช่วงแม่น้ำ Danube น้ำเกิดล้นตลิ่ง
น้ำได้ไหลซึมเข้าไปในบ่อพักน้ำโรงงาน
(พักให้เย็น/กรองก่อนปล่อยลงแม่น้ำ)
ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการรั่วไหลภายในบริเวณบ่อพัก
ถ้าเกิดควบคุมน้ำบ่อพักไม่ได้แล้ว
น้ำที่ปนเปื้อนจะไหลลงสู่แม่น้ำ Danube

ทั้งนี้ยังไม่มีแผนสำรอง
สำหรับการกำจัดกากนิวเคลียร์
เดิมคิดแต่ว่า ฝังพวกมันไว้ให้ลึกลงไป
ใต้เทือกเขา Alps ที่จะจัดหามาใช้เพื่อการนี้
แต่หมู่บ้านที่ถูกเลือกให้เป็นที่ฝังขยะนิวเคลียร์
ได้ออกมาประท้วงกันอย่างรุนแรง/หนักหน่วง
แม้ว่ารัฐบาลออสเตรียเสนอขายขยะนิวเคลียร์
ให้ ฮังการี อียิปต์ จีน เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้
แต่ทุกชาติต่างปฏิเสธแบบให้ฟรีก็ไม่เอา

การเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญ
มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก
ในเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ว่าจำเป็นหรือไม่
รัฐบาลออสเตรียจึงถูกบังคับ
ให้จัดให้มีการลงประชามติใน Vienna
เพื่อให้ประชาชนที่มีส่วนได้เสียในเรื่องนี้
และมีสิทธิ์ลงมติ/ตัดสินใจว่าจะใช้งาน
โรงไฟฟ้า Zwentendorf อีกต่อไปหรือไม่

ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 1978
ประชาชนใน Vienna จำนวน 1.6 ล้านคน
ลงคะแนนเสียงคัดค้านการใช้งาน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากถึง  50.5%
แม้ว่าอัตราการชนะเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย
แต่ก็มากพอที่จะตอกฝาโลงชะตากรรม
ของโรงไฟฟ้า Zwentendorf ตลอดกาล

ในปี 1978 รัฐบาลออสเตรียได้ออกกฎหมาย
ห้ามการก่อสร้างและการใช้งาน
เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูสำหรับผลิต
พลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์เพิ่มขึ้นอีก
ให้หาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตอื่นทดแทน

ดังนั้นโรงงานในปัจจุบันจึงถูกใช้งาน
ที่มีวัตถุประสงค๋เพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์
พร้อมด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก
จำนวน 3 เครื่อง ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1960

(USA กลับไม่โวยว่าพร้อมที่จะพัฒนา
ทำระเบิดนิวเคลียร์เหมือนกับอิหร่าน
เพราะออสเตรียอยู่ในกลุ่ม NATO
วิศวกรเยอรมันอยู่ในแนวหน้าระดับโลก
ผลิตของทนถึก ใช้ทนใช้นาน ใช้จนรำคาญ
ถ้าผลิตจริงคงไม่ยากเกินไขว่คว้าแน่นอน)

ทุกวันนี้ ที่ออสเตรียไม่มีมีโรงไฟฟ้านิวเคียร์

 .
4

ผู้เยี่ยมชมตรวจสอบแผงควบคุม
ในห้องควบคุมของโรงไฟฟ้า Zwentendorf 
© Raimund Appel / Flickr
.


.
ในปี 1985 อีก 7 ปีต่อมา
โรงไฟฟ้า Zwentendorf ยังมีสภาพใช้งานได้
หากความคิดประชาชนเปลี่ยนไป
ก็มีโอกาสที่จะกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

ในปี 1986
ภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่ Chernobyl
ทำให้มีสารกัมมันตรังสีรั่วไหลไปทั่ว
และบางส่วนแพร่กระจายไปถึงออสเตรีย
ทำให้ยุติความหวังการเปิดใช้งาน
โรงไฟฟ้า Zwentendorf ไปตลอดกาล

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
ไม่นานนัก รัฐบาลออสเตรียก็เริ่มสั่งให้รื้อถอน
โรงไฟฟ้า Zwentendorf ออกบางส่วน
บางส่วนถูกขายให้กับบริษัทนิวเคลียร์เยอรมัน

แต่สภาพอาคารโรงไฟฟ้า Zwentendorf
ยังอยู่ในสภาพที่ดีแม้ว่าจะเก่าแก่บ้าง
จึงขายให้กับ EVN Group
บรรษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของออสเตรีย

ในปี 2005 ได้เริ่มจัดตั้ง
ศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย
และพร้อมให้เช่าสำหรับทำกิจการต่าง ๆ
เช่น การถ่ายทำภาพยนตร์ ถ่ายภาพ

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2009
ได้มีการติดตั้ง Solar Cell 1,000 แผงในที่นี่
สามารถให้พลังงานไฟฟ้าราว 180 MW/ปี
แม้ว่าในทางทฤษฎีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 5,455,728 MW/ปี
(สมมติฐานว่ามีปัจจัยด้านกำลังการผลิต 90%)

ด้วยความร่วมมือกับ
Technical University Vienna
จึงมีการก่อตั้งศูนย์วิจัย Photovoltaik-
Forschungszentrum Zwentendorf
ได้ติดตั้ง Solar Cell ขนาด 190 KW
ซึ่งประกอบด้วย Module 2 ชุด
พร้อมชุดติดตามแสงอาทิตย์
และใช้ในการฝึกอบรมเรื่อง Solar Cell

.
เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3dglzJJ
https://bit.ly/32aB6V1
https://bit.ly/3a6Zsn2
https://bit.ly/3uO1G2j
https://bit.ly/3g8b2C0
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
AKW Zwentendorf Trainigscenter
.


5.

Reactor pressure vessel


6

Control rod mechanism on the bottom of 
the reactor pressure vessel of 
the Zwentendorf Nuclear Power Plant


7

Low pressure turbines


8

Control panel in the Plant's control room 


9


10


11


12


13


14


15


16


17
18


.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
น้ำมันแพง
.


.
เรื่องเล่าไร้สาระ


เมืองไทยเวลามีปัญหาไฟตก ไฟดับ น้ำมันแพง
น้ำมันขาดแคลน คุยกับแฟน ก็ต้องดับไฟ
ก็มักจะตามมาด้วยเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้า
ใช้ถ่านหิน ชีวมวล แก๊ส กังหันลม นิวเคลียร์
เพื่อสำรองไฟฟ้าให้พอเพียงในประเทศ
หรืออ้างว่าเวียตนามมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
แต่ รัฐสภาเวียดนามโหวตล้ม
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ วอนรัสเซีย-ญี่ปุ่นเข้าใจ


เรื่องโรงไฟฟ้า จขกท. ไม่ถึงกับต่อต้าน
แต่ไม่ถึงกับสนับสนุนแบบเต็มแม็กกาซีน
เพราะมีหลายเรื่องหลายราวที่ต้องรอดูกันต่อไป

ในปัจจุบันหน่วยงานเอกชนหลายแห่ง
เริ่มติดตั้ง Solar Cell บนหลังคาที่ทำงาน
โดยเน้นจะใช้ไฟฟ้าเฉพาะในช่วงกลางวัน
เช่น แสงสว่าง AirCondition ปั้มน้ำ
แต่ไม่ลงทุน Battery เก็บไฟฟ้าในยามค่ำคืน
ถ้ากลางวันไฟฟ้าจาก Solar Cell ไม่เพียงพอ
ระบบจึงจะปรับมาใช้ไฟฟ้าที่ทางการขาย
ยิ่งทำให้ระบบการผลิตไฟฟ้าปั่นป่วน
เพราะการใช้ไฟฟ้ากลางวันไม่แน่นอน
กลางคืนจึงจะขายไฟฟ้าได้ตามปกติ
มีผลต่อการประมาณการกำลังผลิตไฟฟ้า
เพราะเครื่องจักรผลิตไฟฟ้าเดินเครื่องแล้ว
ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำตามเขื่อน แก๊ส กังหันลม
เวลาเดินเครื่องแล้วแทบจะหยุดเครื่องไม่ได้
เพราะไม่คุ้มต้นทุน/ปัจจัยการผลิตแต่อย่างใด

ไม่เหมือนกับการทำงานของรถยนต์
ที่จะดับเครื่อง/เร่งเครื่องช้าเร็วได้ตามใจคนขับ
ทำให้ทางการมีปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออก
จนต้องออกมาเรียกร้องปรับค่าไฟฟ้าใหม่
และการบังคับให้มีมิเตอร์ไฟฟ้ากันย้อนกลับ
เพื่อป้องกันคนงานถูกไฟฟ้าชอร์ท
แม้ไฟฟ้าทางการจะดับไปแล้วก็ตาม
เพราะกระแสไฟฟ้าจาก Solar Cell
ที่ผลิตได้ไหลย้อนกลับไปยังสาย Main


ปัญหากำลังผลิตไฟฟ้าคงแก้ยาก
เพราะราคา Solar Cell/Battery
คงจะถูกลงกว่าเดิมอีกมาก
ตามหลัก Economique of Scale
(ยิ่งผลิตมาก ยิ่งถูกลง
เพราะต้นทุนคงที่ไม่เพิ่มอีกแล้ว
เหลือแต่ค่าโสหุ้ย ค่าแรง ต้นทุนแปรผัน)

ยิ่งรถยนต์ไฟฟ้ามาแรงแซงทางโค้ง
การใช้ไฟฟ้าคงจะเพิ่มขึ้นในช่วงกลางวัน
พร้อม ๆ กับประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
การผลิตไฟฟ้าจาก Solar Cell
ในการ Charge Battery รถยนต์กลางวัน
ข่วงเวลาทำงานเตรียมสำรองไว้ก่อน

โรงไฟฟ้าจาก Solar Cell ในตอนนี้
ก็เป็นทางเลือกของหลายประเทศแล้ว
เช่น จีน อินเดีย สหรัฐ เยอรมัน

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งจากผู้รู้
คือ การ Charge Battery รถยนต์ไฟฟ้า
จะต้องลงทุนแยกสายไฟฟ้าเบอร์ใหญ่กว่าเดิม
เพิ่มต่างหากจากระบบไฟฟ้าในบ้านเดิม
เพราะใช้พลังงานไฟฟ้ามาก/สายไฟจะรัอนมาก
และต้องมีมิเตอร์ไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45) 3 เฟส

ดังที่มีข่าวว่า รถหรูราคาแพง
ใช้ไฟฟ้าในบ้าน Charge Battery
ทำให้เกิดไฟไหม้บ้านเพราะไฟฟ้าลัดวงจร
เพราะไม่ได้เดินสายไฟฟ้าแยกสายต่างหาก
ในการ Charge Battery รถยนต์ไฟฟ้า
.
19

20

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่