สู้อีกยกก่อนลมหายใจสุดท้ายที่ถนนข้าวสาร
ที่นี่เคยคึกคัก มีผู้คนมากมายจากทั่วโลกมาเยือน แต่ตอนนี้ถนนข้าวสารแทบจะไม่มีผู้คน บางจุดมืดสนิท คนที่นี่มีแต่ความกังวล และเหนื่อยล้า แม้จะมีความหวังว่าอีกหนึ่งปีครึ่งความคึกคักน่าจะกลับคืนมา แต่นั่นก็ริบหรี่ไม่น้อย
นี่คือผลจากการระบาดหนักของโควิด-19 ในเดือนเมษายน 2564 ซึ่งถือเป็นรอบที่สามในประเทศไทย นับจากการระบาดรอบแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2563 และรอบสองในเดือนมกราคม 2564 ที่รวมแล้วกว่า 1 ปี มียอดผู้ติดเชื้อในไทย ณ วันที่ 8 เมษายน 2564 ทะลุ 30,000 รายแล้ว รวมยอดสะสมแล้วสูงกว่าการระบาดรอบสองกว่าเท่าตัว
รอบสามนี้ที่มีคลัสเตอร์ หรือการระบาดเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ เอกมัย ซึ่งแน่นอนว่าถนนข้าวสาร แหล่งท่องเที่ยวที่มีสถานบันเทิงจำนวนมากในกรุงเทพมหานครไม่มีทางเลือก นอกจากปิดตัวเอง เพื่อป้องการระบาดไม่ให้ลุกลามมากไปกว่านี้ เป็นช่วงที่ต้องรับสภาพ ท่ามกลางความหวังที่ดับวูบลง จากก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ที่นี่ต่างเตรียมนับเงินล้านจากงานใหญ่เทศกาลสงกรานต์ 2564
“
ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนแล้วที่สถานบันเทิงที่ถนนข้าวสารปิดร้าน เพราะรอบนี้ชัดเจนว่าแหล่งบันเทิงกลางคืนมีการะบาดอย่างหนัก” นาย
สง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยถึงการรับมือโควิด-19 ระบาดรอบนี้ ก่อนที่รัฐสั่งปิดสถานบันเทิง 14 วัน
เวลานี้ผู้ประกอบการเองไม่ได้อยู่ในโหมดแค่การรอมาตรการรัฐช่วยเหลือ แต่ก็พยายามช่วยเหลือตัวเอง พยายามปรับตัวให้อยู่รอด ซึ่งก่อนหน้านี้ธุรกิจร้านค้าต่างๆ ยังพอมีนักท่องเที่ยวคนไทยมาบ้าง แต่พอโควิด-19 รอบสามมา บอกได้เลยว่า
"
ทุกคนเหนื่อย หมดอาลัยตายยาก หลายคนก็ถอยแล้ว เพราะไม่รู้ว่าจะกลับมาได้ตอนไหน"
นี่คือสิ่งที่นาย
สง่า และผู้ประกอบการบนถนนข้าวสารกำลังเผชิญในแบบที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะต้องเจอ ต่างจากช่วงเฟื่องฟูของการท่องเที่ยว ที่มีต่างชาติจากทั่วโลกมาที่ถนนข้าวสาร และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เคาต์ดาวน์ปีใหม่ ฮาโลวีน ที่นี่จะมีสีสันและคึกคัอย่างมาก
นาย
สง่า เล่าถึงช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดว่าแต่ละวัน ที่ถนนข้าวสารจะมีเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่าวันละ 20 ล้านบาท หากเป็นเทศกาลสงกรานต์มีมากถึงวันละ 100 ล้านบาท หรือปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท หล่อเลี้ยงชีวิตพนักงาน คนที่ค้าขายที่นี่กว่า 5,000 คน จากธุรกิจโรงแรม ที่พัก กว่า 2,000 ห้อง ซึ่งมีพนักงาน 400 คน สถานบันเทิงกว่า 50 แห่ง มีพนักงาน 2,500 คน ร้านนวดกว่า 100 แห่ง พนักงานกว่า 2,000 คน และยังมีร้านรถเข็นผัดไทย ไข่เจียว 100 คัน และร้านแผงลอยเสื้อผ้า ของที่ระลึก 400 ร้านค้า
ภาพนี้ยังไม่รู้ว่าจะกลับมาตอนไหน หลายคนเริ่มหยุด และปิดกิจการแล้ว ส่วนที่ยังสู้ตอนนี้ เท่าที่ทำได้อย่างหนึ่งคือ ผู้ประกอบการแต่ละรายต้องประหยัดให้มากที่สุด อย่างน้อยยืนระยะให้ได้อีกหนึ่งปีครึ่งนับจากนี้ ทุกอย่างน่าจะค่อยๆ ดีขึ้น เพราะการฉีดวัคซีนของคนทั่วโลกมากขึ้นแล้ว
ภาพ :
วัชรชัย คล้ายพงษ์
กราฟิก :
ธีรพงศ์ ไชยเทพ
ททท.มึนรายได้สงกรานต์หาย 2.4 พันล้าน
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2066119
นาย
ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า จากการระบาดของโควิด-19 รอบ 3 ขณะนี้ ททท.คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้การท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ 6 วันตั้งแต่วันที่ 10-15 เม.ย.64 จากเดิมเคยคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวค่อนข้างดี สร้างรายได้สะพัดกว่า 12,000 ล้านบาททั่วประเทศ แต่จากสถานการณ์ล่าสุด ททท.คาดว่าจะมียอดยกเลิกการเดินทาง 20% ทำให้รายได้การท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์นี้หายไป 20% เช่นกัน หรือคิดเป็นสูญรายได้ 2,400 ล้านบาท คงเหลือรายได้สะพัด 9,600 ล้านบาท
ทั้งนี้ ททท.ได้ประเมินสถานการณ์ซึ่งมีโควิด-19 ระบาดรอบ 3 เป็นตัวแปรสำคัญ แบ่งเป็น 3 สมมติฐาน คือ
1. นักเดินทางชาวไทยยังคงเดินทางปกติ และการเดินทางส่วนใหญ่เน้นกลับภูมิลำเนาเพื่อเยี่ยมญาติ ไม่ใช่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนทั่วไป หลังไม่ได้กลับช่วงสงกรานต์ปี 63 และปีใหม่ 64 ประกอบกับรัฐบาลประกาศวันหยุดยาว 6 วัน ทำให้มีการ วางแผนการเดินทางไว้แล้ว
2. นักเดินทางชาวไทยยังเดินทางแต่เลือกเปลี่ยนที่หมาย เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19 โดยเลือกนั่งรถยนต์ส่วนบุคคลและเดินทางพร้อมบุคคลที่มั่นใจ ไปยังจุดหมายใกล้กรุงเทพฯ หรือพื้นที่ที่ยอดผู้ติดเชื้อน้อย
3. นักเดินทางชาวไทยบางส่วนเลือกยกเลิกเดินทางเพื่อความสบายใจ โดย ททท.ให้น้ำหนักกับสมมติฐาน ที่ 2 มากที่สุด 50%, สมมติฐานที่ 1 ที่ 30% และสมมติฐานที่ 3 ที่ 20% ตามลำดับ.
JJNY : สู้อีกยกก่อนลมหายใจสุดท้ายที่ถ.ข้าวสาร│ททท.มึนรายได้สงกรานต์หาย│แม่ค้าโอดเสื้อลายดอก ขาดทุนยับ│พท.ซัดรัฐล้มเหลว
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2066108
ที่นี่เคยคึกคัก มีผู้คนมากมายจากทั่วโลกมาเยือน แต่ตอนนี้ถนนข้าวสารแทบจะไม่มีผู้คน บางจุดมืดสนิท คนที่นี่มีแต่ความกังวล และเหนื่อยล้า แม้จะมีความหวังว่าอีกหนึ่งปีครึ่งความคึกคักน่าจะกลับคืนมา แต่นั่นก็ริบหรี่ไม่น้อย
นี่คือผลจากการระบาดหนักของโควิด-19 ในเดือนเมษายน 2564 ซึ่งถือเป็นรอบที่สามในประเทศไทย นับจากการระบาดรอบแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2563 และรอบสองในเดือนมกราคม 2564 ที่รวมแล้วกว่า 1 ปี มียอดผู้ติดเชื้อในไทย ณ วันที่ 8 เมษายน 2564 ทะลุ 30,000 รายแล้ว รวมยอดสะสมแล้วสูงกว่าการระบาดรอบสองกว่าเท่าตัว
รอบสามนี้ที่มีคลัสเตอร์ หรือการระบาดเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ เอกมัย ซึ่งแน่นอนว่าถนนข้าวสาร แหล่งท่องเที่ยวที่มีสถานบันเทิงจำนวนมากในกรุงเทพมหานครไม่มีทางเลือก นอกจากปิดตัวเอง เพื่อป้องการระบาดไม่ให้ลุกลามมากไปกว่านี้ เป็นช่วงที่ต้องรับสภาพ ท่ามกลางความหวังที่ดับวูบลง จากก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ที่นี่ต่างเตรียมนับเงินล้านจากงานใหญ่เทศกาลสงกรานต์ 2564
“ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนแล้วที่สถานบันเทิงที่ถนนข้าวสารปิดร้าน เพราะรอบนี้ชัดเจนว่าแหล่งบันเทิงกลางคืนมีการะบาดอย่างหนัก” นายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยถึงการรับมือโควิด-19 ระบาดรอบนี้ ก่อนที่รัฐสั่งปิดสถานบันเทิง 14 วัน
เวลานี้ผู้ประกอบการเองไม่ได้อยู่ในโหมดแค่การรอมาตรการรัฐช่วยเหลือ แต่ก็พยายามช่วยเหลือตัวเอง พยายามปรับตัวให้อยู่รอด ซึ่งก่อนหน้านี้ธุรกิจร้านค้าต่างๆ ยังพอมีนักท่องเที่ยวคนไทยมาบ้าง แต่พอโควิด-19 รอบสามมา บอกได้เลยว่า
"ทุกคนเหนื่อย หมดอาลัยตายยาก หลายคนก็ถอยแล้ว เพราะไม่รู้ว่าจะกลับมาได้ตอนไหน"
นี่คือสิ่งที่นายสง่า และผู้ประกอบการบนถนนข้าวสารกำลังเผชิญในแบบที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะต้องเจอ ต่างจากช่วงเฟื่องฟูของการท่องเที่ยว ที่มีต่างชาติจากทั่วโลกมาที่ถนนข้าวสาร และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เคาต์ดาวน์ปีใหม่ ฮาโลวีน ที่นี่จะมีสีสันและคึกคัอย่างมาก
นายสง่า เล่าถึงช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดว่าแต่ละวัน ที่ถนนข้าวสารจะมีเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่าวันละ 20 ล้านบาท หากเป็นเทศกาลสงกรานต์มีมากถึงวันละ 100 ล้านบาท หรือปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท หล่อเลี้ยงชีวิตพนักงาน คนที่ค้าขายที่นี่กว่า 5,000 คน จากธุรกิจโรงแรม ที่พัก กว่า 2,000 ห้อง ซึ่งมีพนักงาน 400 คน สถานบันเทิงกว่า 50 แห่ง มีพนักงาน 2,500 คน ร้านนวดกว่า 100 แห่ง พนักงานกว่า 2,000 คน และยังมีร้านรถเข็นผัดไทย ไข่เจียว 100 คัน และร้านแผงลอยเสื้อผ้า ของที่ระลึก 400 ร้านค้า
ภาพนี้ยังไม่รู้ว่าจะกลับมาตอนไหน หลายคนเริ่มหยุด และปิดกิจการแล้ว ส่วนที่ยังสู้ตอนนี้ เท่าที่ทำได้อย่างหนึ่งคือ ผู้ประกอบการแต่ละรายต้องประหยัดให้มากที่สุด อย่างน้อยยืนระยะให้ได้อีกหนึ่งปีครึ่งนับจากนี้ ทุกอย่างน่าจะค่อยๆ ดีขึ้น เพราะการฉีดวัคซีนของคนทั่วโลกมากขึ้นแล้ว
ภาพ : วัชรชัย คล้ายพงษ์
กราฟิก : ธีรพงศ์ ไชยเทพ
ททท.มึนรายได้สงกรานต์หาย 2.4 พันล้าน
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2066119
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า จากการระบาดของโควิด-19 รอบ 3 ขณะนี้ ททท.คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้การท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ 6 วันตั้งแต่วันที่ 10-15 เม.ย.64 จากเดิมเคยคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวค่อนข้างดี สร้างรายได้สะพัดกว่า 12,000 ล้านบาททั่วประเทศ แต่จากสถานการณ์ล่าสุด ททท.คาดว่าจะมียอดยกเลิกการเดินทาง 20% ทำให้รายได้การท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์นี้หายไป 20% เช่นกัน หรือคิดเป็นสูญรายได้ 2,400 ล้านบาท คงเหลือรายได้สะพัด 9,600 ล้านบาท
ทั้งนี้ ททท.ได้ประเมินสถานการณ์ซึ่งมีโควิด-19 ระบาดรอบ 3 เป็นตัวแปรสำคัญ แบ่งเป็น 3 สมมติฐาน คือ
1. นักเดินทางชาวไทยยังคงเดินทางปกติ และการเดินทางส่วนใหญ่เน้นกลับภูมิลำเนาเพื่อเยี่ยมญาติ ไม่ใช่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนทั่วไป หลังไม่ได้กลับช่วงสงกรานต์ปี 63 และปีใหม่ 64 ประกอบกับรัฐบาลประกาศวันหยุดยาว 6 วัน ทำให้มีการ วางแผนการเดินทางไว้แล้ว
2. นักเดินทางชาวไทยยังเดินทางแต่เลือกเปลี่ยนที่หมาย เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19 โดยเลือกนั่งรถยนต์ส่วนบุคคลและเดินทางพร้อมบุคคลที่มั่นใจ ไปยังจุดหมายใกล้กรุงเทพฯ หรือพื้นที่ที่ยอดผู้ติดเชื้อน้อย
3. นักเดินทางชาวไทยบางส่วนเลือกยกเลิกเดินทางเพื่อความสบายใจ โดย ททท.ให้น้ำหนักกับสมมติฐาน ที่ 2 มากที่สุด 50%, สมมติฐานที่ 1 ที่ 30% และสมมติฐานที่ 3 ที่ 20% ตามลำดับ.