พอดูไปครึ่งทาง เราก็จับทางจับจริต “นิทานพันดาว” ได้ถูกว่า มันไม่ใช่ซีรี่ส์วายแบบที่คุ้นเคย แต่มันเป็นละคร สไตล์ละครหลังข่าวของช่อง 3 หรือช่อง 7 ต่างหาก แล้วจากตรงนั้นมันก็ทำให้เราดูซีรี่ส์เรื่องนี้ได้สนุกขึ้นอีกเยอะ พลางคิดต่อไปอีกว่า หากเมืองไทยเราสามารถส่งออกซีรี่ส์วายเข้าสู่ตลาดโลกได้ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างที่เป็นอยู่ สิ่งที่นิทานพันดาวอาจทำได้ก็คือ การพารสชาติใหม่ๆ และความเป็นละค๊อนละครไทยอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนกันไปสู่ตลาดโลกได้ด้วย
.
เรื่องราวของ “เธียร” คุณหนูไฮโซที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจาก “ทอฝัน” ครูอาสาสาวผู้ประสบอุบัติเหตุรถชนเสียชีวิต จนทำให้เค้าเริ่มมองเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่อีกครั้ง และตัดสินใจเดินทางไปผาปันดาวเพื่อทำหน้าที่เป็นครูอาสาเหมือนกับทอฝัน แต่เค้าไม่รู้เลยว่า หมู่บ้านผาปันดาวและ “หัวหน้าภูผา” เจ้าหน้าที่ป่าไม้ผู้มีหน้าที่ดูแลเค้าจะทำให้หัวใจของเค้าหวั่นไหวไปด้วย
.
ด้วยวัตถุดิบของนวนิยายต้นเรื่องนั้นมันทำให้นิทานพันดาวนั้นน่าสนใจและน่ากลัวในเวลาเดียวกัน คือในความสูตรแบบละคร (นางเอก/นายเอก ต้องเข้าไปใช้ชีวิตในหมู่บ้านในป่าในเขา ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมและชีวิตใหม่ พร้อมกับได้เรียนรู้หัวใจตัวเอง และต้องตัดสินใจอีกครั้งว่า จะใช้ชีวิตเช่นนั้นต่อไปหรือจะต้องกลับไปอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงในเมืองใหญ่เหมือนเดิม) มันก็อาจจะทำให้คนดูส่วนหนึ่งตื่นเต้นกับรสชาติที่คุ้นเคย แต่กับอีกกลุ่มก็อาจจะรู้สึกว่า มันช่างเชย ล้าสมัย หรือมีความเป็นละครสอนคุณธรรมมากเกินไป แต่ก็นั่นแหละ ลางเนื้อของลางยา สำหรับเราแล้ว นิทานพันดาว เป็นละครสนุกๆ ที่ทำให้เราซาบซึ้ง ตื่นเต้น เพลิดเพลิน และฟินจิกหมอนได้แบบพอดีๆ เลยล่ะ แล้วถึงแม้ตัวเรื่องของนิทานพันดาวจะสูตรหรือจะเชยแค่ไหน แต่ลีลาการเล่า การตัดต่อ และการเก็บรายละเอียด หยอดเบาะแสต่างๆ ไว้รายทาง ก่อนจะมาตลบหลังไล่เก็บทุกเม็ดมันก็ทำให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะเล่นและเล่าอะไรใหม่ๆ ของคนทำงานมาก
.
อีกส่วนสำคัญที่ทำให้นิทานพันดาวทำงานกับตัวเรามากก็คือ เคมีและการแสดงของสองนักแสดงนำอย่าง “มิกซ์ สหภาพ วงศ์ราษฎร์” ในบทเธียร และ “เอิร์ท พิรพัฒน์ วัฒนเศรษสิริ” ในบทหัวหน้าภูผา ฝั่งมิกซ์นั้นคือความมหัศจรรย์ของการแสดงที่เป็นธรรมชาติ วิธีการเล่นที่ละเอียดยิบและทำให้เราเชื่อในตัวละครได้อย่างหมดจด ส่วนเอิร์ทนั้นคือการบาลานซ์คาแร็คเตอร์หนักแน่นแบบที่เราคุ้นเคยในละครสไตล์นี้ให้อ่อนโยนลง และส่งเสน่ห์ออกมาได้อย่างพอเหมาะพอดี ส่งความชื่นชมไปถึงนักแสดงรายรอบทุกคนในเรื่องด้วย นี่คือตัวละครสมทบที่มีบทบาทต่อเรื่อง สร้างบรรยากาศและสนับสนุนให้เรื่องราวได้มีชีวิตชีวามากขึ้นจริงๆ
.
สิ่งที่ชอบมากๆ ของนิทานพันดาวก็คือ การระบุชัดเจนถึงตัวตนทางเพศของตัวละครหลักไปเลยชัดๆ ว่าเขาเป็นอะไร เขาชอบอะไร และแม้จะมีตัวละครที่ยังสับสนหรือสงสัยในตัวเองอยู่ว่า เขาเป็นเกย์หรือไม่ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไรกันแน่ ก็ยังมีตัวละครเพื่อนที่คอยซัพพอร์ตสนับสนุนและพยายามบอกว่า “ถ้าชอบเขา ก็เป็นเกย์ แค่นั้นเอง” ในขณะที่ซีรี่ส์วายหลายๆ เรื่องก่อนหน้านี้ มักจะนำเสนอว่า ตัวละครพระเอก/นายเอกนั้นไม่ได้เป็นเกย์ พวกเค้าเพียงตกหลุมรักกันและกันเท่านั้น จนเหมือนจะกลายเป็นขนบของซีรี่ส์วายเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ เรายังชอบมาก ที่สุดท้ายปัญหาในความสัมพันธ์ของตัวละครไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย แต่เกิดขึ้นเพราะเรื่องอื่นๆ อย่างชนชั้น ความแตกต่างของฐานะ ครอบครัว และสังคมต่างหาก จนทำให้ประเด็นปัญหาเพศวิถีหรือความเป็นเกย์ของตัวละครนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ หรืออาจจะพูดได้ว่า มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาเสียด้วยซ้ำ
.
อย่างไรก็ตาม กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่เราได้จากนิทานพันดาว ไม่ใช่การเรียนรู้จากตัวเรื่องหรือตัวละคร แต่เป็นเรื่องวิธีการทำงานของผู้กำกับอย่าง “พี่อ๊อฟ นพณัช ชัยวิมล” ต่างหาก ในเรื่องราวที่เป็นสูตรสำเร็จ การบิดเส้นเรื่องและสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ นั้นจำเป็นเสมอ ในวันที่เราเสพสื่อต่างๆ จนเริ่มเบื่อหน่าย พลางบ่นอยู่บ่อยๆ ว่าไม่มีอะไรใหม่ ก็ยังมีความเป็นไปได้เสมอกับอะไรใหม่ๆ ในสิ่งเก่าๆ ที่เราคุ้นเคยดี
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] นิทานพันดาว (2021)
พอดูไปครึ่งทาง เราก็จับทางจับจริต “นิทานพันดาว” ได้ถูกว่า มันไม่ใช่ซีรี่ส์วายแบบที่คุ้นเคย แต่มันเป็นละคร สไตล์ละครหลังข่าวของช่อง 3 หรือช่อง 7 ต่างหาก แล้วจากตรงนั้นมันก็ทำให้เราดูซีรี่ส์เรื่องนี้ได้สนุกขึ้นอีกเยอะ พลางคิดต่อไปอีกว่า หากเมืองไทยเราสามารถส่งออกซีรี่ส์วายเข้าสู่ตลาดโลกได้ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างที่เป็นอยู่ สิ่งที่นิทานพันดาวอาจทำได้ก็คือ การพารสชาติใหม่ๆ และความเป็นละค๊อนละครไทยอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนกันไปสู่ตลาดโลกได้ด้วย
.
เรื่องราวของ “เธียร” คุณหนูไฮโซที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจาก “ทอฝัน” ครูอาสาสาวผู้ประสบอุบัติเหตุรถชนเสียชีวิต จนทำให้เค้าเริ่มมองเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่อีกครั้ง และตัดสินใจเดินทางไปผาปันดาวเพื่อทำหน้าที่เป็นครูอาสาเหมือนกับทอฝัน แต่เค้าไม่รู้เลยว่า หมู่บ้านผาปันดาวและ “หัวหน้าภูผา” เจ้าหน้าที่ป่าไม้ผู้มีหน้าที่ดูแลเค้าจะทำให้หัวใจของเค้าหวั่นไหวไปด้วย
.
ด้วยวัตถุดิบของนวนิยายต้นเรื่องนั้นมันทำให้นิทานพันดาวนั้นน่าสนใจและน่ากลัวในเวลาเดียวกัน คือในความสูตรแบบละคร (นางเอก/นายเอก ต้องเข้าไปใช้ชีวิตในหมู่บ้านในป่าในเขา ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมและชีวิตใหม่ พร้อมกับได้เรียนรู้หัวใจตัวเอง และต้องตัดสินใจอีกครั้งว่า จะใช้ชีวิตเช่นนั้นต่อไปหรือจะต้องกลับไปอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงในเมืองใหญ่เหมือนเดิม) มันก็อาจจะทำให้คนดูส่วนหนึ่งตื่นเต้นกับรสชาติที่คุ้นเคย แต่กับอีกกลุ่มก็อาจจะรู้สึกว่า มันช่างเชย ล้าสมัย หรือมีความเป็นละครสอนคุณธรรมมากเกินไป แต่ก็นั่นแหละ ลางเนื้อของลางยา สำหรับเราแล้ว นิทานพันดาว เป็นละครสนุกๆ ที่ทำให้เราซาบซึ้ง ตื่นเต้น เพลิดเพลิน และฟินจิกหมอนได้แบบพอดีๆ เลยล่ะ แล้วถึงแม้ตัวเรื่องของนิทานพันดาวจะสูตรหรือจะเชยแค่ไหน แต่ลีลาการเล่า การตัดต่อ และการเก็บรายละเอียด หยอดเบาะแสต่างๆ ไว้รายทาง ก่อนจะมาตลบหลังไล่เก็บทุกเม็ดมันก็ทำให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะเล่นและเล่าอะไรใหม่ๆ ของคนทำงานมาก
.
อีกส่วนสำคัญที่ทำให้นิทานพันดาวทำงานกับตัวเรามากก็คือ เคมีและการแสดงของสองนักแสดงนำอย่าง “มิกซ์ สหภาพ วงศ์ราษฎร์” ในบทเธียร และ “เอิร์ท พิรพัฒน์ วัฒนเศรษสิริ” ในบทหัวหน้าภูผา ฝั่งมิกซ์นั้นคือความมหัศจรรย์ของการแสดงที่เป็นธรรมชาติ วิธีการเล่นที่ละเอียดยิบและทำให้เราเชื่อในตัวละครได้อย่างหมดจด ส่วนเอิร์ทนั้นคือการบาลานซ์คาแร็คเตอร์หนักแน่นแบบที่เราคุ้นเคยในละครสไตล์นี้ให้อ่อนโยนลง และส่งเสน่ห์ออกมาได้อย่างพอเหมาะพอดี ส่งความชื่นชมไปถึงนักแสดงรายรอบทุกคนในเรื่องด้วย นี่คือตัวละครสมทบที่มีบทบาทต่อเรื่อง สร้างบรรยากาศและสนับสนุนให้เรื่องราวได้มีชีวิตชีวามากขึ้นจริงๆ
.
สิ่งที่ชอบมากๆ ของนิทานพันดาวก็คือ การระบุชัดเจนถึงตัวตนทางเพศของตัวละครหลักไปเลยชัดๆ ว่าเขาเป็นอะไร เขาชอบอะไร และแม้จะมีตัวละครที่ยังสับสนหรือสงสัยในตัวเองอยู่ว่า เขาเป็นเกย์หรือไม่ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไรกันแน่ ก็ยังมีตัวละครเพื่อนที่คอยซัพพอร์ตสนับสนุนและพยายามบอกว่า “ถ้าชอบเขา ก็เป็นเกย์ แค่นั้นเอง” ในขณะที่ซีรี่ส์วายหลายๆ เรื่องก่อนหน้านี้ มักจะนำเสนอว่า ตัวละครพระเอก/นายเอกนั้นไม่ได้เป็นเกย์ พวกเค้าเพียงตกหลุมรักกันและกันเท่านั้น จนเหมือนจะกลายเป็นขนบของซีรี่ส์วายเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ เรายังชอบมาก ที่สุดท้ายปัญหาในความสัมพันธ์ของตัวละครไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย แต่เกิดขึ้นเพราะเรื่องอื่นๆ อย่างชนชั้น ความแตกต่างของฐานะ ครอบครัว และสังคมต่างหาก จนทำให้ประเด็นปัญหาเพศวิถีหรือความเป็นเกย์ของตัวละครนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ หรืออาจจะพูดได้ว่า มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาเสียด้วยซ้ำ
.
อย่างไรก็ตาม กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่เราได้จากนิทานพันดาว ไม่ใช่การเรียนรู้จากตัวเรื่องหรือตัวละคร แต่เป็นเรื่องวิธีการทำงานของผู้กำกับอย่าง “พี่อ๊อฟ นพณัช ชัยวิมล” ต่างหาก ในเรื่องราวที่เป็นสูตรสำเร็จ การบิดเส้นเรื่องและสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ นั้นจำเป็นเสมอ ในวันที่เราเสพสื่อต่างๆ จนเริ่มเบื่อหน่าย พลางบ่นอยู่บ่อยๆ ว่าไม่มีอะไรใหม่ ก็ยังมีความเป็นไปได้เสมอกับอะไรใหม่ๆ ในสิ่งเก่าๆ ที่เราคุ้นเคยดี
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้